นาซ่าส่งยานไปดาวอังคารยังไงหรอครับไม่ให้ชนดาวเคราะห์สักดวง

แล้วเขาใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิงในการนำยานไปหรอครับ
เข้ารู้ได้ไงว่ายานจะไปถึงดาวอังคารได้กำหนดพิกัดยังไงตอนลงจอดอีก
ใช้เวลาส่งยานไปกี่วันหรอครับ
แล้วหุ่นยนต์ที่ส่งไปใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิงหรออย่างคิวริออสซิตี้เห็นในข่าวยังใช้งายได้หลายปีเลย
ทำไมนาซ่าไม่ออกแบบหุ้นยนต์สำรวจให้เดินเร็วๆหรอครับผมเห็นในข่าวไปได้ไม่กี่กิโลเองตั้งหลายปี
ไปถึงระดับนั้นแล้วทำไมเขาไม่ออกแบบหุ่นยนต์ให้เก็บตัวอย่างหินแร่กลับมาโลกด้วยละครับ
ที่หุ่นยนต์สำรวจได้เพราะเค้าโปรแกรมให้มันสำรวจเองหรอครับหรือเขาสงสัญญาณบังคับจากโลกไปคือสังสัยว่ามันไปเจาะหินได้ยังไงรู้ได้ไงว่าคือหินไหนจะเรื่องส่งภาพกลับมาอีก

ผมว่าผมเคยเห็นอยู่นะที่นาซ่าเอาวัตถุจากนอกโลกมาวิเคราะห์อะครับเห็นใส่ชุดป้องกันเชื้อโรคย่างดีเลยแล้วก็ตัวอย่างหินนั้นอยู่ในตู้กระจกพอจะเอามือไปจับก็สอดมืผ่านถุงพลาสติกข้าไปในกระจจำไม่ได้แล้วว่ามันคืออะไรถ้าใครรู้รบกวนบอกทีครับแต่ต้องป้องกันขนาดนั้นเลยหรอครับที่พวกหินอุกกาบาตยังเอามืเปล่าๆจับได้เลยไม่เห็นต้องกันเชื้อโลก
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
นาซ่าส่งยานไปดาวอังคารยังไงหรอครับไม่ให้ชนดาวเคราะห์สักดวง  แล้วเขาใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิงในการนำยานไปหรอครับ
ืน้องอาจจะลืมไปแล้ว  ว่าดาวอังคารนั้นอยู่ถัดจากโลกของเราเลยครับ  ดังนั้นในการเดินทางไปดาวอังคาร
ก็จะไม่ผ่านดาวเคราะห์ดวงใดเลย  ไปได้แบบตรง ๆ เลยครับ  แต่จริง ๆ แล้วการเดินทางไปดาวอังคาร
จะซับซ้อนกว่านั้นมาก  เพราะต้องโคจรรอบโลกก่อน แล้วค่อยใช้จรวดผลักดันไปที่ดาวอังคารอีกทีนึงครับ
ยานที่ไปดาวอังคาร  จะเดินทางไปด้วยแรงส่งจากจรวดที่ใช้กันอยู่เสมอ คือ จรวดชือว่า Atlas V
มันใช้เชื้อเพลิงแบบ Liquid oxygen / Liquid hydrogen ครับ  เป็นแก้สเหลวทั้งคู่  สร้างแรงขับดันได้สูงมาก

เข้ารู้ได้ไงว่ายานจะไปถึงดาวอังคารได้กำหนดพิกัดยังไงตอนลงจอดอีก  ใช้เวลาส่งยานไปกี่วันหรอครับ
ทาง NASA ได้คำนวณตำแหน่งของดาวอังคารตอนที่ปล่อยยานครับ  และคำนวณเวลาไปถึง
จากความเร็วของยานที่ทราบอยู่แล้ว  น้องดูตามภาพนี้จะเห็นชัดเจนครับ   เป็นการวิ่งโคจรไปดักหน้าดาวอังคาร


ลองดูคลิปประกอบไปด้วยครับ  อันนี้เป็นวิธีการเดินทางจากโลกไปดาวอังคาร (เหมือนเส้นบน)
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


และคลิปนี้  เป็นขั้นตอนการร่อนลง  ซึ่งทำโดยอัตโนมัติหมดครับ  ไม่ได้คุมจากโลกเลย
ทุกอย่างทำตามโปรแกรมที่ใส่ใว้
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



แล้วหุ่นยนต์ที่ส่งไปใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิงหรออย่างคิวริออสซิตี้เห็นในข่าวยังใช้งายได้หลายปีเลย
ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบนี้ครับ  เครื่อง MMRTG นี้  จะผลิตไฟฟ้าได้ขั้นต่ำนานถึง 15 ปี


ทำไมนาซ่าไม่ออกแบบหุ้นยนต์สำรวจให้เดินเร็วๆหรอครับผมเห็นในข่าวไปได้ไม่กี่กิโลเองตั้งหลายปี
ผมก็ไม่แน่ใจว่าทาง NASA มีเหตุผลมากกว่านั้นหรือเปล่า  อาจเป็นการออกแบบให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยน่ะครับ
เพราะดาวอังคารก็ไม่ได้เรียบแบบถนน  วิ่งเร็วไปก็จะเสี่ยงคว่ำเสียเปล่า

ไปถึงระดับนั้นแล้วทำไมเขาไม่ออกแบบหุ่นยนต์ให้เก็บตัวอย่างหินแร่กลับมาโลกด้วยละครับ
โครงการนี้  ยังไม่ได้ออกแบบให้มีเทคโนโลยีก้าวหน้าแบบนั้นครับ  การส่งตัวอย่างหินแร่กลับมา
จะเรียกว่าโครงการแบบ Sample return ครับ  ซึ่งทาง NASA  ESA  และทาง Russia มีแผนที่ทำ
ในปี 2020 นี้แหละครับ  ชื่อว่าโครงการ ExoMars

ที่หุ้นยนต์สำรวจได้เพราะเค้าโปรแกรมให้มันสำรวจเองหรอครับหรือเขาสงสัญาญบังคับจากโลกไป
คือสังสัยว่ามันไปเจาะหินได้ยังไงรู้ได้ไงว่าคือหินไหนจะเรื่องส่งภาพกลับมาอีก

ทำทั้ง 2 อย่างเลยครับ  ยาน Curiosity นั้นมีกล้อง  มีระบบรับสัญญาณวิทยุจากโลก  ซึ่งถ่ายทอดลงมา
จากยานที่โคจรรอบดาวอังคารอีกที  ชื่อยาน Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ดังนั้น
เราจึงสั่งงานจากโลกได้  โดยทำตามแผนที่วางใว้

ผมว่าผมเคยเห็นอยู่นะที่นาซ่าเอาวัตถุจากนอกโลกมาวิเคราะห์อะครับเห็นใส่ชุดป้องกันเชื้อโลกย่างดีเลยแล้วก็ตัวอย่างหินนั้นอยู่ในตู้กระจก
พอจะเอามือไปจับก็สอดมืผ่านถุงพลาสติกข้าไปในกระจจำไม่ได้แล้วว่ามันคืออะไรถ้าใครรู้รบกวนบอกทีครับแต่ต้องป้องกันขนาดนั้น
เลยหรอครับที่พวกหินอุกกาบาตยังเอามืเปล่าๆจับได้เลยไม่เห็นต้องกันเชื้อโลก

ภาพคล้าย ๆ แบบนี้หรือเปล่าครับ  หากใช่  มันก็คือการวิเคราะห์หินตัวอย่างจากดวงจันทร์ครับ  ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้
เป็นการเก็บมาสด ๆ ใส่กล่องเฉพาะกิจมาเลย  ดังนั้น  ก็หมายความว่า อาจจะ มีสิ่งปนเปื้อนติดมาได้
จึงต้องมีการใส่ชุดป้องกันเต็มที่แบบนั้นครับ


ต่างจากก้อนอุกกาบาต  ที่ตั้งแสดงตามศูนย์ต่าง ๆ  พวกนั้นตกลงมาและผ่านการเผาไหม้ไปมากมายแล้วครับ
การปนเปื้อนจะหมดไปแล้วเพราะถูกความร้อนสูงจัดจากการเผาไหม้เป็นลูกไฟลงมา  ดังนั้น  จึงนำมาตั้งแสดงได้
จับได้  ไม่อันตรายครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่