Right to be forgotten #อืนดี้ฟรีสไตล์

กระทู้คำถาม
วันนี้ นั่งอ่านกระทู้ซ้อแล้วทำให้มองเห็นการกระทำของใครหลายๆคน ก็เลยคิดว่าจะเอาอะไรมาให้อ่านกันสักหน่อย จริงๆ เคยพูดเรื่องนี้ไปทีนึงแล้ว แต่ค่อยมีใครเห็นความสำคัญของสิทธิของผู้อื่น มาวันนี้ อยากจะให้สำรวจอุดมการณ์ของท่านอีกครั้งว่า เดินทางไปในทิศทางใดกันบ้าง


The right to be forgotten is a concept discussed and put into practice in the European Union (EU) and Argentina since 2006. The issue has arisen from desires of individuals to "determine the development of their life in an autonomous way, without being perpetually or periodically stigmatized as a consequence of a specific action performed in the past."
เครดิต วิกี้

สิทธิที่จะถูกลืมคือแนวคิดที่พูดถึงและนำไปปฏิบัติในสหภาพยุโรป (EU) และอาร์เจนตินาตั้งแต่ปีพ. ศ. 2549 ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความปรารถนาของบุคคลที่จะ "กำหนดพัฒนาการของชีวิตของตนเองในทางที่เป็นอิสระโดยไม่ถูกประทับตราหรือเป็นผลมาจากการกระทำที่เฉพาะเจาะจงในอดีต"
เครดิต กูเกิ้ลแปล


นั่นก็คือ ทุกคนมีสิทธิที่จะมีอนาคตใหม่ โดยอิสระจากการกระทำในอดีต พูดง่ายๆว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับชีวิตใหม่ หลังจากการปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือ ได้รับโทษตามกฏหมายไปแล้ว ไม่ควรมีใครเอาโทษเก่าๆมาเป็นข้ออ้างในการเกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้กระทำผิดอีก เพราะบางกรณี เรื่องผ่านไปเป็นสิบปีแล้ว ยังมีคนขุดเรื่อเก่าๆ มาแซะเขาได้เรื่อยๆ เพียงเพราะใช้ google search (อินเตอร์เน็ท ร้ายกาจกว่าที่คุณคิด)

อย่างกรณีสาวผู้หนึ่ง ที่เคยโดนข้อหาฆาตรกรรม ได้ฟ้องร้องต่อศาลเมื่อมีค่ายหนังทำเรื่องราวของเธอขึ้นมาใหม่ ทำให้เธอไม่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเรียบง่าย เคสนี้ ศาลบอกว่า เฮ้ยย คนเขามีสิทธิที่จะใช้ชีวอตอย่างสงบนาเฟ่ย เอ็งไปทำหนังเกี่ยวกับความเลวร้ายของเขาขึ้นมาอีก แล้วเขาจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน รอบบ้านไม่พากันหวาดระแแวง จนไม่มีใครคบเหรอฟระ


In Melvin v. Reid (1931), an ex-prostitute was charged with murder and then acquitted; she subsequently tried to assume a quiet and anonymous place in society. However, the 1925 film The Red Kimono revealed her history, and she sued the producer. The court reasoned that "any person living a life of rectitude has that right to happiness which includes a freedom from unnecessary attacks on his character, social standing or reputation."
เครดิต วิกี้

ศาลบอกว่า "ใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในชีวิตของความถูกต้องมีสิทธิที่จะมีความสุขซึ่งรวมถึงอิสรภาพจากการโจมตีที่ไม่จำเป็นในตัวของเขายืนทางสังคมหรือชื่อเสียง"
เครดิต กูเกิ้ลแปล


หรืออีกกรณีหนึ่ง เด็กอัจฉริยะ ผู้มีชื่อเสียงคนนึง อยากใช้ชีวิตแบบไม่มีใครรู้จัก แต่ทำไม่ได้เพราะมีบทความเกี่ยวกับตัวเขาใน  The New Yorker ทำให้เขายังคงเป็นที่รู้จัก แต่เคสนี้ศาลบอกว่า เฮ้ย เอ็งมันดังเพราะเอ็งทำเองเด้อ ไม่สามารถปฏิเสธความเป็น เซเลบริตี้ของตัวเองได้เพียงแค่เพราะตัวเองต้องการหรอกเฟ้ย

However, in Sidis v. FR Publishing Corp. the plaintiff, William James Sidis, was a former child prodigy who wished to spend his adult life quietly, without recognition; however, this was disrupted by an article in The New Yorker. The court held here that there were limits to the right to control one's life and facts about oneself, and held that there is social value in published facts, and that a person cannot ignore their celebrity status merely because they want to.
เครดิต วิกี้

ศาลจัดขึ้นที่นี่ว่ามีข้อ จำกัด ด้านสิทธิในการควบคุมชีวิตและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวตนของตนเองและถือได้ว่ามีคุณค่าทางสังคมในข้อเท็จจริงที่เผยแพร่และบุคคลนั้นไม่สามารถละเลยสถานะชื่อเสียงของตนได้เพราะพวกเขาต้องการเท่านั้น
เครดิต กูเกิ้ลแปล


สำหรับกรณีของ google ที่เคยถูกศาลตัดสินให้ลบลิงค์ (แคช) ไปยังบุคคลบางคน (ศาลไม่ได้ให้ทำทั้งหมด) สามารถอ่านศึกษาได้ที่นี่ค่ะ (ภาษาไทยนะ)
https://t.co/yIVhRIblbp

ส่วนที่ญี่ปุ่น ก็มีเรื่องขบวนการค้าประเวณีเด็ก เขามองว่า สังคมควรได้รับรู้โดยทั่วกัน จึงให้คำร้องตกไป
https://t.co/SKlwU1KOXl

เรื่องราวของ Right to be forgotten นี้ ก็ได้มีการขัดแย้งจากหลายๆฝ่ายเหมือนกัน เช่นว่า เป็นการ "จำกัด" เสรีภาพทางการแสดงออกหรือเปล่า (Freedom of speech) หรือบางคนยังมองว่า เขาเองมีสิทธิที่จะรับรู้  และมีวิจารณญาณที่จะตัดสินเองเองว่า เขาจะทำตัวเช่นไร ในกรณีใดๆ

สำหรับคนไทย อาจจะพูดง่ายๆว่า นี่คือการขอโอกาสในการปรับตัว คือ ควรเปิดโอกาสให้คนที่เขามีความผิด ได้ใช้ชีวิตแบบคนธรรมดา แต่ฝรั่งเขาถือว่ามันเป็นสิทธิ
คำว่าสิทธิ คือการไม่ต้องร้องขอ รัฐให้สิทธินี้ โดยกำหนดเป็นข้อตกลงขึ้นมา เพื่อให้ประเทศในภาคีร่วมกันปฏิบัติอย่างเสมอภาค

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าสิ่งใดหากมันจำเป็นสำคับบางกรณี ก็จะต้องมีบางกรณีที่ได้รับผบพลอยได้จากกฏหมายแบบนี้
ฉนั้น ถ้าถามว่าเพื่อนๆ คิดเห็นอย่างไรกับสิทธินี้
พูดก็พูดได้หรอกว่า เห็นด้วยบางกรณีและไม่เห็นด้วยในบางกรณี
แต่ว่าอย่าลืมว่า กรณีที่ว่านี้ ขึ้นอยู่กับดุลย ของศาล ที่เพื่อนๆเองไม่มีสิทธิตัดสิน
และเหากสนับสนุนสิทธินี้ ก็ต้องให้สิทธินี้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม และทุกคนที่เข้าข่ายย่อมรับผลประโยชน์ไปด้วย

ด้วยเหตุนี้ จึงยังคงถาม มีใครเห็นด้วยกับสิทธินี้บ้างคะ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่