เทคนิคการถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยว
1. ใช้รูรับแสงแคบ + วางขาตั้งกล้องให้ได้ระดับเสมอกัน
รูรับแสงหรือ Aperture คือปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่กล้อง มันถูกติดตั้งอยู่ที่ตัวเลนส์โดยมีลักษณะที่สามารถย่อให้เล็กหรือขยายให้ใหญ่ได้จากการควบคุมของผู้ถ่ายภาพผ่านกลไกการทำงานของกล้องและเลนส์ โดยหน้าที่ของมันคือการควบคุมปริมาณแสงที่จะเดินทางผ่านเลนส์ ยิ่งรูรับแสงมีขนาดใหญ่มากแสงก็จะยิ่งผ่านได้มาก ในทางกลับกันถ้ารูรับแสงมีขนาดที่เล็กลงแสงก็จะเดินทางผ่านเข้าไปได้น้อยด้วย ซึ่งลักษณะในการควบคุมปริมาณแสงนี้จะมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพที่ต้องใช้แสงในการบันทึกภาพ หากแสงมีปริมาณน้อยเกินไปภาพก็จะมืด แต่ถ้าแสงมีปริมาณมากเกินไปภาพก็จะสว่าง
สิ่งที่ทุกคนอยากได้จากการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คือรายละเอียดของภาพท่องเที่ยวที่ครบถ้วน คมชัด ดูมีมิติ การตั้งค่ากล้องควรตั้งค่ารูรับแสงให้เล็กที่สุด เพื่อเพิ่มระยะความชัดลึกของภาพ แต่ขอให้ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงเพื่อชดเชยด้วย เมื่อความเร็วชัตเตอร์ช้าลง โอกาสที่ภาพจะเบลอมีสูง จึงแนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องประกอบการถ่ายภาพท่องเที่ยวเช่นกัน
2. ใช้ Filter กรองแสง / ลดแสง เข้าช่วย
ภาพวิวในตอนกลางวัน บางมุมแสงจะมากเป็นพิเศษ ถึงถ่ายออกมาแล้วสวย แต่อาจขาดความน่าสนใจ การใช้ฟิลเตอร์สีชาเพื่อกรองแสงลง ทำให้สีสันส่วนอื่นของวิวในภาพดูเด่นขึ้น คล้ายกับการที่เราใส่แว่นกันแดดมองวิวกลางแดดจ้า สิ่งที่เห็นหลังแว่นกันแดดย่อมครบถ้วน คมชัด และสวยกว่าการมองตาเปล่ากลางแดด และสามารถประยุกต์มาถ่ายกับวิวประเภทน้ำตก หรือหมอกได้
-UV Filter ฟิลเตอร์ชนิดนี้นั้นย่อมาจาก Ultra Violet Filter คือตัวกรองแสงยูวี ดังนั้น ฟิลเตอร์ชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพท่องเที่ยว หรือถ่ายภาพวิวท่ามกลางแสงแดด เป็นต้น
–C-PL Filter อันนี้มีชื่อย่อมาจาก Circular Polarlize Filter คือ ตัวกรองที่ช่วยลดหรือตัดแสงสะท้อนในธรรมชาติ ทำให้ภาพมีสีสดและดูอิ่มตัวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ลดแสงสะท้อน จากใบไม้ที่โดนแดน แสงสะท้อนจากผิวน้ำ เป็นต้น
-ND Filter ฟิลเตอร์ชนิดที่สามนี้มีชื่อย่อมาจาก Natural Density Filter คือ ตัวกรองแสงอีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการลดแสงสะท้อนเช่นกัน เหมาะสำหรับการนำไปใช้ถ่ายกลางแดดจัดๆ ภาพทะเล ภาพน้ำตกที่มีแสงสะท้อนจากน้ำซึ่งมีปริมาณมากกว่าภาพทั่วไป
-Skylight Filter เป็นฟิลเตอร์ที่เหมาะสำหรับภาพถ่ายภาพคนเพราะให้สีของผิวเนื้อออกอมชมพู สวยงามมากขึ้น
3. กลับมาถ่ายที่เดิมในเวลาที่ต่างออกไป
ในการเดินทางไปเที่ยวหลายๆครั้งนั้น เราจะพบว่าสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งสวยทั้งตอนกลางวันและกลางคืน หรือสถานที่ท่องเที่ยวเดียวกัน แต่สภาพอากาศคนละแบบ ก็ให้อารมณ์ภาพที่แตกต่างกันได้ การกลับมาถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวในที่เดิมในเวลาและสภาพที่ต่างกันออกไป ทำให้เราได้ภาพที่ให้อารมณ์ที่แตกต่างกันออกไปได้อีกเหมือนกัน
4. จัดองค์ประกอบภาพด้วยทฤษฎีกฎสามส่วน (Rule of Third)
การถ่ายภาพท่องเที่ยวนั้นมีหลักการของทฤษฎีกฎสามส่วน (Rule of Third) ซึ่งจะเป็นวิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ภาพถ่ายท่องเที่ยวออกมาดูดี โดย หลีกเลี่ยง การวางตำแหน่งของวัตถุหลักที่เราจะถ่าย ไม่ให้อยู่ตรงจุดกึ่งกลางภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพนั้นไม่สวยงามเท่าไร และทำให้เราดูเหมือนพวกมือใหม่หัดถ่ายอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://xn--n3ckucc2b4bod6e9h.blogspot.com/2017/08/blog-post.html
เขียน โจ้ จุตินันท์
เทคนิคถ่ายภาพท่องเที่ยว
1. ใช้รูรับแสงแคบ + วางขาตั้งกล้องให้ได้ระดับเสมอกัน
รูรับแสงหรือ Aperture คือปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่กล้อง มันถูกติดตั้งอยู่ที่ตัวเลนส์โดยมีลักษณะที่สามารถย่อให้เล็กหรือขยายให้ใหญ่ได้จากการควบคุมของผู้ถ่ายภาพผ่านกลไกการทำงานของกล้องและเลนส์ โดยหน้าที่ของมันคือการควบคุมปริมาณแสงที่จะเดินทางผ่านเลนส์ ยิ่งรูรับแสงมีขนาดใหญ่มากแสงก็จะยิ่งผ่านได้มาก ในทางกลับกันถ้ารูรับแสงมีขนาดที่เล็กลงแสงก็จะเดินทางผ่านเข้าไปได้น้อยด้วย ซึ่งลักษณะในการควบคุมปริมาณแสงนี้จะมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพที่ต้องใช้แสงในการบันทึกภาพ หากแสงมีปริมาณน้อยเกินไปภาพก็จะมืด แต่ถ้าแสงมีปริมาณมากเกินไปภาพก็จะสว่าง
สิ่งที่ทุกคนอยากได้จากการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คือรายละเอียดของภาพท่องเที่ยวที่ครบถ้วน คมชัด ดูมีมิติ การตั้งค่ากล้องควรตั้งค่ารูรับแสงให้เล็กที่สุด เพื่อเพิ่มระยะความชัดลึกของภาพ แต่ขอให้ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงเพื่อชดเชยด้วย เมื่อความเร็วชัตเตอร์ช้าลง โอกาสที่ภาพจะเบลอมีสูง จึงแนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องประกอบการถ่ายภาพท่องเที่ยวเช่นกัน
2. ใช้ Filter กรองแสง / ลดแสง เข้าช่วย
ภาพวิวในตอนกลางวัน บางมุมแสงจะมากเป็นพิเศษ ถึงถ่ายออกมาแล้วสวย แต่อาจขาดความน่าสนใจ การใช้ฟิลเตอร์สีชาเพื่อกรองแสงลง ทำให้สีสันส่วนอื่นของวิวในภาพดูเด่นขึ้น คล้ายกับการที่เราใส่แว่นกันแดดมองวิวกลางแดดจ้า สิ่งที่เห็นหลังแว่นกันแดดย่อมครบถ้วน คมชัด และสวยกว่าการมองตาเปล่ากลางแดด และสามารถประยุกต์มาถ่ายกับวิวประเภทน้ำตก หรือหมอกได้
-UV Filter ฟิลเตอร์ชนิดนี้นั้นย่อมาจาก Ultra Violet Filter คือตัวกรองแสงยูวี ดังนั้น ฟิลเตอร์ชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพท่องเที่ยว หรือถ่ายภาพวิวท่ามกลางแสงแดด เป็นต้น
–C-PL Filter อันนี้มีชื่อย่อมาจาก Circular Polarlize Filter คือ ตัวกรองที่ช่วยลดหรือตัดแสงสะท้อนในธรรมชาติ ทำให้ภาพมีสีสดและดูอิ่มตัวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ลดแสงสะท้อน จากใบไม้ที่โดนแดน แสงสะท้อนจากผิวน้ำ เป็นต้น
-ND Filter ฟิลเตอร์ชนิดที่สามนี้มีชื่อย่อมาจาก Natural Density Filter คือ ตัวกรองแสงอีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการลดแสงสะท้อนเช่นกัน เหมาะสำหรับการนำไปใช้ถ่ายกลางแดดจัดๆ ภาพทะเล ภาพน้ำตกที่มีแสงสะท้อนจากน้ำซึ่งมีปริมาณมากกว่าภาพทั่วไป
-Skylight Filter เป็นฟิลเตอร์ที่เหมาะสำหรับภาพถ่ายภาพคนเพราะให้สีของผิวเนื้อออกอมชมพู สวยงามมากขึ้น
3. กลับมาถ่ายที่เดิมในเวลาที่ต่างออกไป
ในการเดินทางไปเที่ยวหลายๆครั้งนั้น เราจะพบว่าสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งสวยทั้งตอนกลางวันและกลางคืน หรือสถานที่ท่องเที่ยวเดียวกัน แต่สภาพอากาศคนละแบบ ก็ให้อารมณ์ภาพที่แตกต่างกันได้ การกลับมาถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวในที่เดิมในเวลาและสภาพที่ต่างกันออกไป ทำให้เราได้ภาพที่ให้อารมณ์ที่แตกต่างกันออกไปได้อีกเหมือนกัน
4. จัดองค์ประกอบภาพด้วยทฤษฎีกฎสามส่วน (Rule of Third)
การถ่ายภาพท่องเที่ยวนั้นมีหลักการของทฤษฎีกฎสามส่วน (Rule of Third) ซึ่งจะเป็นวิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ภาพถ่ายท่องเที่ยวออกมาดูดี โดย หลีกเลี่ยง การวางตำแหน่งของวัตถุหลักที่เราจะถ่าย ไม่ให้อยู่ตรงจุดกึ่งกลางภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพนั้นไม่สวยงามเท่าไร และทำให้เราดูเหมือนพวกมือใหม่หัดถ่ายอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม http://xn--n3ckucc2b4bod6e9h.blogspot.com/2017/08/blog-post.html
เขียน โจ้ จุตินันท์