ในปัจจุบันนี้ การซื้อรถโดยส่วนใหญ่แล้ว ใช้การผ่อนชำระ หรือที่เรียกกันว่า จัดไฟแนนท์ กันซะเป็นส่วนใหญ่
น้อยครั้งที่เราจะเห็นการซื้อรถด้วยเงินสดจำนวนเต็ม
เอาละ ผมในฐานะที่เคยเป็นพนักงานสินเชื่อมาก่อน จะมาเล่าให้ฟังว่า เขามีวิธีพิจารณาสินเชื่อกันอย่างไง
เริ่มแรก อยากให้เข้าใจก่อนว่า การจัดไฟแนนท์ คือการ กู้เงิน จากสถาบันการเงินต่าง ๆ (หมายรวมถึง รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์)
คำว่าสถาบันการเงินนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นแบงค์อย่างเดียว อาจจะมาจากหลาย ๆ แหล่งได้ เช่น ธนบรรณ หรือ อีออน
ทำไมเราถึงต้องไปกู้เงินเหล่านั้นละ ?
ก็คำตอบง่าย ๆ ครับ คุณมีเงินไม่พอจะซื้อรถคันที่คุณอยากได้นั้นแหละ
ดังนั้น การไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงินนั้น จึงเป็นทางออกสำหรับการซื้อรถสักคันครับ
คราวนี้ สถาบันการเงินเหล่านั้น ก็จะมาดูแล้วละว่าเราเนี้ย เป็นใครมาจากไหน โหงวเฮ้งดีไหม๊
เอาเงินไปแล้ว จะมีปัญญาใช้หนี้คืนตูหรือเปล่า จึงเป็นที่มาของหลักการพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้นครับ
เข้าเรื่องกันเลย
อย่างแรก เขาจะเอาชื่อเราไปเช็คประวัติที่เครดิตบูโรก่อน ว่าเรานั้นนะ มีสินเชื่ออะไรบ้าง และผ่อนดีไหม
ถ้าอย่างแรกนี้ไม่ผ่าน ก็ไม่พิจารณาอย่างอื่นต่อแล้วครับ คุณควรจะไปปิดหนี้สินที่ค้างไว้ให้เป็น สถานะปกติ จะดีที่สุดครับ
กลับกันถ้าคุณไม่เคยผ่อนบ้านผ่อนรถเลย แล้วมาซื้อรถ อันนี้ก็ค่อนข้างผ่านง่าย ผิดกับ บัตรเครดิตนะ
หลักการพิจารณาต่อไปก็คือ ดูจำนวนเงินดาวน์ครับ
ก็อย่างที่บอกครับ ยิ่งคุณมีเงินดาวน์เยอะ ยิ่งมีเปอร์เซ็นการขอกู้ผ่านที่สูง เพราะอะไรน่ะหรอ
เหตุผลคือ คุณอุสาหะเก็บหอมรอมริบมา คุณคงไม่อยากให้รถที่คุณดาวน์มาแพง ๆ ต้องโดนยึดเพราะคุณไม่จ่ายค่างวดหรอกครับ
แต่ถ้าคุณมีความจำเป็นต้องใช้รถ แต่เงินจำกัดจริง ๆ เขาก็มีทางออกให้คุณด้วยการ หาคนค้ำประกันมาครับ นั่นเลยเป็นที่มาว่า
ถ้าดาวน์น้อยต้องมีคนมาค้ำประกันครับ
เดี๋ยวนี้จะเห็นโฆษณาตามเฟสบุ๊ค ฟรีดาวน์ หรือ ดาวน์น้อย หรือแทบไม่ต้องดาวน์ อย่าไปเชื่อเลยครับ ดอกจันเล็ก ๆ เงื่อนไขบานเบอะ
เผลอ ๆ จัดไม่ผ่านหรอก คุณไม่มีเงินดาวน์รถแล้วจะมีเงินผ่อนหรอสถาบันการเงินชอบคิดแบบนี้ครับ และมักจะพ่วงมากับคนค้ำ 1 หรือ 2 คน
แคมเปญพวกเนี้ย พอเอาเข้าจริง ๆ สำหรับเจ้าของกิจการ เงินในบัญชีหมุนกันเยอะ ๆ เท่านั้นแหละครับที่ผ่าน
ต่อไปหลังจากเงินดาวน์แล้ว หลักในการดูสินเชื่อต่อมาเขาก็จะมาพิจารณาดูรายได้ของเรากันครับ
หลักการที่ใช้กันโดยทั่วไป สากล คือ 2 เท่า แล้วมัน 2 เท่าของอะไรละ ก็คือ income ต้องมากกว่า ค่างวดผ่อนรถ 2 เท่าขึ้นไปครับ
เพราะถึงคุณเก็บหอมรอมริบเป็นเงินดาวน์รถใหม่ในฝันคุณได้แล้ว แต่ถ้ารายได้ต่อเดือนของคุณมันไม่มากพอ ไฟแนนท์ไม่ให้ผ่านก็มีครับ
เช่น รถคันนี้ คิดออกมาแล้วว่าเราต้องผ่อนเดือนละ 5,000 บาท แล้วเราได้เงินเดือน 9,000 บาท หักค่างวดออกแล้วเราเหลือ
4,000 บาท ไม่พอกินแน่ครับ อันนี้ทางสถาบันการเงินมักขอคนกู้ร่วม เพื่อรวมรายได้ครับ อย่างแฟนที่จดทะเบียนกัน บุตร พ่อ แม่ ครับ
แต่ถ้าเรามั่นใจว่า income เรามากพอกว่าค่างวด 2 เท่าแน่ ๆ (รายได้นี่คือไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานเงินเดือน เขาก็จะดูหนังสือรับรองเงินเดือนประกอบกับสเตจเม้นท์ที่เดินบัญชีเป็นหลัก หรือ พ่อค้าแม่ค้า เขาจะดูรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยเป็นหลักที่แสดงได้ เช่น ใบเสียภาษีประจำปี สเตจเม้นท์ครับ)
หลักการพิจารณาสินเชื่อท้าย ๆ ก็ ภูมิลำเนา รุ่นรถกับวิถีชีวิต หลัง ๆ ไม่ค่อยมีไฟแนนท์ไหนสนใจเท่าไหร่แล้วครับ ขอแค่มีเงินดาวน์ ไม่ติดบูโร
มีเงินเดือนมากพอ ก็สามารถอนุมัติง่าย ๆ ครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามยอดฮิตที่ชอบถามกันคือ จะผ่านไหม
ถ้าว่าตามคุณสมบัติที่ผมกล่าวมาแล้วด้านบน ไม่มีอะไรบกพร่อง คุณก็ผ่านแน่ ๆ ครับ
แต่มักเกิดในกรณี มีหนี้อื่น ๆ เช่น ผ่อนบ้านอยู่ หรือมีรถที่ต้องผ่อนแล้ว จะกู้เพิ่มได้ไหม
พวกนี้ต้องไปดูในข้อสอง ว่า หลัก ๆ แล้ว income หลังหักค่าใช้จ่าย ๆ ต่าง ๆ แล้ว คุณยังเหลือเงิน 2 เท่าของหนี้ก้อนใหม่หรือไม่
ถ้ายังเหลือ ก็กู้ได้ครับ แต่ถ้าไม่เหลือแล้ว เขาเรียกเคสนี้ว่า ภาระหนี้สูงครับ
ถ้ามีใครมีคำถามอะไรเกี่ยวกับสินเชื่อเพิ่มเติม ถามได้ในกระทู้นะครับ ยินดีมาตอบคำถามให้ครับ
มาเล่าสู่กันฟัง ถึงวิธีการจัดไฟแนนท์ หลักการพิจารณาสินเชื่อคร่าว ๆ และคำถามยอดฮิต ไฟแนนท์จะผ่านไหม?
น้อยครั้งที่เราจะเห็นการซื้อรถด้วยเงินสดจำนวนเต็ม
เอาละ ผมในฐานะที่เคยเป็นพนักงานสินเชื่อมาก่อน จะมาเล่าให้ฟังว่า เขามีวิธีพิจารณาสินเชื่อกันอย่างไง
เริ่มแรก อยากให้เข้าใจก่อนว่า การจัดไฟแนนท์ คือการ กู้เงิน จากสถาบันการเงินต่าง ๆ (หมายรวมถึง รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์)
คำว่าสถาบันการเงินนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นแบงค์อย่างเดียว อาจจะมาจากหลาย ๆ แหล่งได้ เช่น ธนบรรณ หรือ อีออน
ทำไมเราถึงต้องไปกู้เงินเหล่านั้นละ ?
ก็คำตอบง่าย ๆ ครับ คุณมีเงินไม่พอจะซื้อรถคันที่คุณอยากได้นั้นแหละ
ดังนั้น การไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงินนั้น จึงเป็นทางออกสำหรับการซื้อรถสักคันครับ
คราวนี้ สถาบันการเงินเหล่านั้น ก็จะมาดูแล้วละว่าเราเนี้ย เป็นใครมาจากไหน โหงวเฮ้งดีไหม๊
เอาเงินไปแล้ว จะมีปัญญาใช้หนี้คืนตูหรือเปล่า จึงเป็นที่มาของหลักการพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้นครับ
เข้าเรื่องกันเลย
อย่างแรก เขาจะเอาชื่อเราไปเช็คประวัติที่เครดิตบูโรก่อน ว่าเรานั้นนะ มีสินเชื่ออะไรบ้าง และผ่อนดีไหม
ถ้าอย่างแรกนี้ไม่ผ่าน ก็ไม่พิจารณาอย่างอื่นต่อแล้วครับ คุณควรจะไปปิดหนี้สินที่ค้างไว้ให้เป็น สถานะปกติ จะดีที่สุดครับ
กลับกันถ้าคุณไม่เคยผ่อนบ้านผ่อนรถเลย แล้วมาซื้อรถ อันนี้ก็ค่อนข้างผ่านง่าย ผิดกับ บัตรเครดิตนะ
หลักการพิจารณาต่อไปก็คือ ดูจำนวนเงินดาวน์ครับ
ก็อย่างที่บอกครับ ยิ่งคุณมีเงินดาวน์เยอะ ยิ่งมีเปอร์เซ็นการขอกู้ผ่านที่สูง เพราะอะไรน่ะหรอ
เหตุผลคือ คุณอุสาหะเก็บหอมรอมริบมา คุณคงไม่อยากให้รถที่คุณดาวน์มาแพง ๆ ต้องโดนยึดเพราะคุณไม่จ่ายค่างวดหรอกครับ
แต่ถ้าคุณมีความจำเป็นต้องใช้รถ แต่เงินจำกัดจริง ๆ เขาก็มีทางออกให้คุณด้วยการ หาคนค้ำประกันมาครับ นั่นเลยเป็นที่มาว่า
ถ้าดาวน์น้อยต้องมีคนมาค้ำประกันครับ
เดี๋ยวนี้จะเห็นโฆษณาตามเฟสบุ๊ค ฟรีดาวน์ หรือ ดาวน์น้อย หรือแทบไม่ต้องดาวน์ อย่าไปเชื่อเลยครับ ดอกจันเล็ก ๆ เงื่อนไขบานเบอะ
เผลอ ๆ จัดไม่ผ่านหรอก คุณไม่มีเงินดาวน์รถแล้วจะมีเงินผ่อนหรอสถาบันการเงินชอบคิดแบบนี้ครับ และมักจะพ่วงมากับคนค้ำ 1 หรือ 2 คน
แคมเปญพวกเนี้ย พอเอาเข้าจริง ๆ สำหรับเจ้าของกิจการ เงินในบัญชีหมุนกันเยอะ ๆ เท่านั้นแหละครับที่ผ่าน
ต่อไปหลังจากเงินดาวน์แล้ว หลักในการดูสินเชื่อต่อมาเขาก็จะมาพิจารณาดูรายได้ของเรากันครับ
หลักการที่ใช้กันโดยทั่วไป สากล คือ 2 เท่า แล้วมัน 2 เท่าของอะไรละ ก็คือ income ต้องมากกว่า ค่างวดผ่อนรถ 2 เท่าขึ้นไปครับ
เพราะถึงคุณเก็บหอมรอมริบเป็นเงินดาวน์รถใหม่ในฝันคุณได้แล้ว แต่ถ้ารายได้ต่อเดือนของคุณมันไม่มากพอ ไฟแนนท์ไม่ให้ผ่านก็มีครับ
เช่น รถคันนี้ คิดออกมาแล้วว่าเราต้องผ่อนเดือนละ 5,000 บาท แล้วเราได้เงินเดือน 9,000 บาท หักค่างวดออกแล้วเราเหลือ
4,000 บาท ไม่พอกินแน่ครับ อันนี้ทางสถาบันการเงินมักขอคนกู้ร่วม เพื่อรวมรายได้ครับ อย่างแฟนที่จดทะเบียนกัน บุตร พ่อ แม่ ครับ
แต่ถ้าเรามั่นใจว่า income เรามากพอกว่าค่างวด 2 เท่าแน่ ๆ (รายได้นี่คือไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานเงินเดือน เขาก็จะดูหนังสือรับรองเงินเดือนประกอบกับสเตจเม้นท์ที่เดินบัญชีเป็นหลัก หรือ พ่อค้าแม่ค้า เขาจะดูรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยเป็นหลักที่แสดงได้ เช่น ใบเสียภาษีประจำปี สเตจเม้นท์ครับ)
หลักการพิจารณาสินเชื่อท้าย ๆ ก็ ภูมิลำเนา รุ่นรถกับวิถีชีวิต หลัง ๆ ไม่ค่อยมีไฟแนนท์ไหนสนใจเท่าไหร่แล้วครับ ขอแค่มีเงินดาวน์ ไม่ติดบูโร
มีเงินเดือนมากพอ ก็สามารถอนุมัติง่าย ๆ ครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามยอดฮิตที่ชอบถามกันคือ จะผ่านไหม
ถ้าว่าตามคุณสมบัติที่ผมกล่าวมาแล้วด้านบน ไม่มีอะไรบกพร่อง คุณก็ผ่านแน่ ๆ ครับ
แต่มักเกิดในกรณี มีหนี้อื่น ๆ เช่น ผ่อนบ้านอยู่ หรือมีรถที่ต้องผ่อนแล้ว จะกู้เพิ่มได้ไหม
พวกนี้ต้องไปดูในข้อสอง ว่า หลัก ๆ แล้ว income หลังหักค่าใช้จ่าย ๆ ต่าง ๆ แล้ว คุณยังเหลือเงิน 2 เท่าของหนี้ก้อนใหม่หรือไม่
ถ้ายังเหลือ ก็กู้ได้ครับ แต่ถ้าไม่เหลือแล้ว เขาเรียกเคสนี้ว่า ภาระหนี้สูงครับ
ถ้ามีใครมีคำถามอะไรเกี่ยวกับสินเชื่อเพิ่มเติม ถามได้ในกระทู้นะครับ ยินดีมาตอบคำถามให้ครับ