แฟนๆบ้าน Creed เคยสงสัยกันบ้างไหมคะ ว่าคำว่า Millesime หรือ Millésimé ที่ปรากฎอยู่เสมอๆบนกล่อง หรือ บนขวด หรือปรากฎอยู่แม้กระทั่งในชื่อน้ำหอมบางรุ่นของครีดอย่าง Imperial Millesime และ Millesime 1849 มันสื่อความหมายว่าอะไรกันแน่ ?
แถมคำคำนี้ยังไม่ได้เจอแค่ในน้ำหอมบ้านนี้เท่านั้นนะคะ เราก็ยังเจอในบ้านอื่นๆอีกเหมือนกันเช่น
Amarige Mimosa de Grasse Millesime จาก Givenchy
Laetitia Millesime Rance จาก Rance 1795
หากจะกล่าวง่ายๆสั้นๆ Millesime นั้นแปลได้ว่า Vintage ซึ่งกินความหมายกว้างกว่าคำว่าน้ำหอมเก่าเก็บกว่าบ้านเรามากมายนัก
แต่หากเราจะพิจารณาสารแฝงที่อยู่ในคำว่า Millesime โดยเทียบเคียงจากผู้ที่คลุกคลีอยู่วงการไวน์ก็จะพบว่าไวน์ใดผะยี่ห้อว่า Millesime ไว้ที่ข้างขวดนั้น ก็แปลว่าเป็นไวน์ที่หมักมาจากองุ่นที่ออกผลในปีที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ผู้ดื่มไวน์ว่าเมื่อใช้องุ่นที่ให้ผลในปีนั้นๆ จากภูมิภาคนั้นๆย่อมได้ไวน์ที่คุณภาพดีเป็นพิเศษกว่าปีอื่นๆ แม้จะมาจากแปลงองุ่นแปลงเดิม
เมื่อคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับ ย่อมเป็นที่ต้องการของตลาดเพราะเราไม่อาจรู้แน่ว่าแล้วเมื่อไหร่กันหนอที่ธรรมชาติจะรังสรรค์ผลงานที่พิเศษอยู่แล้วให้พิเศษยิ่งๆขึ้นไปได้อีก
เรียกว่าบันทึกกันเป็นรายปีเลยที่เดียว ดังนั้นในวงการไวน์ ไวน์ผลิตจากที่ไหน ปีไหนจึงสำคัญยิ่ง
เช่นเดียวกันกับน้ำหอม...
อย่างที่รู้กันว่าน้ำหอมในโลกเก่า เราพึ่งพาธรรมชาติกันสูงมาก แต่ละแบรนด์ต่างค้นหา ช่วงชิงพื้นที่ ทำสัญญาลึกลับกับผู้ผลิตสารน้ำมันหอมระเหยแต่ละรายว่าตนจะต้องได้สิ่งที่ดีที่สุด
มะลิต้องเมืองกราส ลาเวนเดอร์ต้องโพรวองซ์ วนิลลาต้องมาดากัสกา ไม้จันทน์ต้องจากแคว้นมัยซอร์ ดอกส้มก็ต้องจากตูนิเซีย
ซึ่งสิ่งที่ธรรมชาติรังสรรค์เหล่านี้ย่อมไม่อาจจะกะเกณฑ์ได้แน่นอนว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดาที่เจ้าของฟาร์มจะพยายามควบคุมทุกอย่างให้ได้มาตราฐานตามปกติ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก
ถ้าไม่ได้มาตราฐานก็คัดทิ้ง ไม่ส่งให้รายใหญ่ เพื่อรักษาเครดิตตนไว้ ส่งให้รายเล็กๆ ไม่ซีเรียส อิอิ
แล้วถ้าปีใดปีหนึ่งมันเกิดดีกว่ามาตราฐานขึ้นมาล่ะ ???
ตรงนี้แหละสำคัญและเป็นที่มาของการเขียนครั้งนี้
หากใครเคยปลูกต้นไม้ย่อมจะเข้าใจในจุดนี้ดี ยกตัวอย่างเราเองก็ได้ เราสังเกตว่ามะลิลา หรือ Sambac พื้นๆในประเทศเรานั้นต้องการแดดจัด ดังนั้นในหน้าร้อนมะลิก็จะออกดอกขาวพราวไปทั้งต้น แต่ถ้าเข้าหน้าหนาวแดดน้อยลง มะลิก็จะให้ดอกไม่เยอะเท่าหน้าหนาว
แต่เราสังเกตได้ว่ามะลิที่ออกดอกในหน้าหนาวนั้นแม้จะไม่เยอะในเชิงปริมาณ แต่ว่ากลิ่นที่ได้จะเข้มข้น รุนแรงไปทางแอนนิมอลลิคมากกว่าดอกที่บานในหน้าร้อน
หรือถ้าช่วงหน้าร้อนปีใด เรารานกิ่งดอกมะลิออกก่อนที่นางจะให้ดอก หน้าหนาวปีนั้นดอกก็จะดกกว่าหน้าหนาวปีก่อนๆและแน่นอนว่ากลิ่นก็เข้มข้นขรึมขลังกว่ากันมาก
ดังที่ยกตัวอย่างจากการสังเกตธรรมชาติด้วยตัวเองมานี้เราจึงจะเห็นได้ว่าในแต่ละปี ด้วยสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หรือปัจจัยอื่นๆก็ยังผลให้เกษตรกรผู้ปลูกได้ผลผลิตที่แตกต่างกันออกไป
และเมื่อผลผลิตที่ได้เกิด "ดีเป็นพิเศษ" ดังกล่าว จึงเกิดการรังสรรค์ผลงานที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เน้นย้ำถึงคุณภาพที่สูงกว่าปกติมากขึ้น และแน่นอนว่าแพงมากขึ้นด้วย
คราวนี้เรากลับมาที่ครีด แฟนครีดทุกท่านคงรู้ดีว่าครีดนั้นเก่าแก่เพียงใด และมักจะเน้นย้ำถึงคุณภาพของวัตถุดิบเสมอๆ และก็ยังเป็นแบรนด์ที่เน้นเรื่องของการใช้สารหอมจากธรรมชาติ แม้หลังๆจะหนักไปทางเคมีเพราะด้วยกฎสารพัดสารพัน แต่ก็ยังเน้นเรื่องสารหอมจากธรรมชาติเท่าที่กฎกติกาจะอำนวย
จึงไม่แปลกที่ครีดจะเคลมว่าน้ำหอมของตนนั้นใช้น้ำมันหอมระเหยที่มาจากธรรมชาติในคุณภาพระดับท๊อป เป็นปีที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในช่วงนั้นๆนั่นเอง (แต่นี่ก็ยังคิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับชื่อของน้ำหอมกลิ่น Imperial Millesime นะคะ เพราะกี่ปี กี่ปีก็ชื่อนี้)
ซึ่งการใช้สารหอมจากธรรมชาตินี้ก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียของแบรนด์เพราะแฟนๆต้องลุ้นเอาเองว่ากลิ่นที่ซื้อมาจะดีกว่าเดิม หรือแค่เสมอตัว เพราะกลิ่นจะเปลี่ยนไปในเชิงของรายละเอียด (เรื่องแย่ลงเราไม่พูดเนาะ เพราะแบรนด์ระดับนี้เขาก็มีมาตราฐานของเขาที่เขาต้องรักษา)
ดูอย่างอเวนทัสสิ บางคนสนุกด้วยซ้ำกับการ Batch Code ที่เข้ากับรสนิยมตัวเอง ชอบควันๆก็ปีนี้ ชอบสับปะรดก็ปีนั้น อะไรว่ากันไป
หรือยกตัวอย่างใกล้ๆตัวเลยก็คือ Creed White Flower ของเราตามแบบในรูป
เป็นกลิ่นที่เราเคยรีวิวไว้ว่า "กลิ่นนี้สง่างาม สดใส เหมือนกับวันแต่งงาน ที่เจ้าสาวสวมมงกุฎดอกไม้ที่เป็นดอกไม้ขาวกลีบบางใส เคล้ากับน้ำค้างยามเช้า มีเด็กน้อยที่กำลังกัดแอ๊ปเปิ้ลเขียวสดกรอบวิ่งหัวเราะไปรอบๆจนแก้มแดง เป็นฟลอรัลฟรุ๊ตตี้ที่ไม่เสียดแทงจมูกเลยค่ะ แถมยังติดทนพอสมควร อีกด้วย
นี่ถ้ามีโอกาสได้แต่งงานเอง เราก็จะเลือกใส่กลิ่นนี้ในงานตอนเช้าไม่พลาดแน่ค่ะ
หลายๆคนเห็นชื่อ white flower ก็จะพาลนึกไปถึงดอกไม้ขาวกลีบหนาหนัก อย่างดอกพุด หรือ แม็กโนเลีย แต่ขนบทำน้ำหอมของครีดไม่ใช่แบบนั้นนะคะ เพราะเขาเลียนแบบน้ำหอมได้เหมือนธรรมชาติ ราวกับเด็ดจากต้นมาดมค่ะ
กลิ่นเย็นฉ่ำอมเปรี้ยวของน้ำแอ๊ปเปิ้ลเขียว กับเลมอนเหลือง และกลิ่นหวานใส สง่างามของมะลิที่ถูกเด็ดมาครั้งที่น้ำค้างยังไม่โดนแดดเช้าให้ระเหิดระเหยไป แต่ก็มีกลิ่นของแดฟโฟดิลปนความเขียวของใบไวโอเล็ตมาด้วย ทำให้ออกแนวอควาติคแบบธรรมชาติ ไม่สังเคราะห์จัดเจน
ตามด้วยกลิ่นสวีทพีที่หวานฉ่ำ แต่ก็ปลอดโปร่งราวท้องฟ้าหน้าร้อน
อยากให้ได้ลองค่ะ แฟนๆน้ำหอมแนวฟลอรัลคงหลงรัก"
แน่นอนว่าเป็นกลิ่นที่เรารักมาก เลยตุนไว้ถึง 2 ขวด แต่เมื่อได้มาเราก็ได้รู้ว่ามันต่างกันในรายละเอียด
เหมือนสูตรอาหารที่สืบทอดกันมา แต่เมื่อต่างเชฟเอามาปรุงก็มีรสชาดเป็นหนทางเป็นของตัวเอง
รุ่นที่ผลิตปี 2011 นั้นกลิ่นฟลอรัลจะเรียบๆนุ่มนวลด้วยกลิ่นวนิลลา
ในขณะที่รุ่นปี 2013 นั้นฟรุ๊ตตี้จะเด่นกว่า กลิ่นแอปเปิ้ลเขียวสดกรอบแมงดานาจะแสดงตัวชัดเจนกว่า (อันนี้ไม่ได้พูดเล่นเอาสนุกนะคะ เพราะว่าโมเลกุลของแอปเปิ้ลเขียว และ กลิ่นแมงดานา มันคล้ายกัน และครีดก็ไม่สามารถสกัดสารหอมจากธรรมชาติจากกลิ่นแอปเปิ้ลเขียวได้ เพราะมันไม่มีน้ำมันหอมระเหยให้สกัด)
ซึ่งถามว่าต่างกันมากไหม ก็ไม่มากนะคะ ต้องลองพิจารณาดีๆแบบลองซ้ำหลายครั้ง เพราะหากดมสลับกันไปมา ก็แทบไม่พบความต่างเลย
นี่คือครีด ความครีดเป็นเช่นนี้
คราวนี้เราจะรู้ได้อย่างไรเล่าว่าปีไหนผลผลิตดี ปีไหนน้ำมันกุหลาบคุณภาพสูง เราจะได้ตามเก็บถูก
พูดง่ายๆคือไม่มีทางรู้ได้ จนกว่าแบรนด์ หรือฟาร์มนั้นจะออกมาประชาสัมพันธ์
แต่จะพอบอกได้คร่าวๆโดยใช้การอนุมานได้เช่น
Minosa Absolute ที่ปลูกใน เมืองTanneron ที่ Côte d'Azur, นั้นให้ผลผลิตที่ดีที่สุดในปี 2008 เพราะ Givenchy เหมากว่า 70% ที่ผลิตได้ในปีนั้นไปผลิตเป็น Amarige Mimosa de Grasse Millesime โดยเพิ่มราคาไปกว่าเดิม 20%
แถมยังเหลือพอไปผลิต Organza กับ Very Irresistibleในคอลเลคชั่น GIVENCHY HARVEST 2008 อีกด้วย
หรือจะ Narcissus Absolute ที่เก็บเกี่ยวในปี 2005 จากแคว้น Lozère ทางใต้ของฝรั่งเศสก็ถูก L`Artisan Parfumeur เหมาไปผลิต Fleur de Narcisse มาขายในปี 2006
เช่นนี้เป็นต้น
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่งงก็จะพอเดาได้เนาะว่า Millesime มันคืออะไร
หมายความตรงตัวว่าอะไร
และมีสารแฝงว่าอะไร
ขอให้สนุกกับโลกแห่งความหอมนะคะ ;)
แฟนๆน้ำหอม Creed เคยสงสัยกันบ้างไหมคะ ว่าอะไรคือ Millesime ???
แถมคำคำนี้ยังไม่ได้เจอแค่ในน้ำหอมบ้านนี้เท่านั้นนะคะ เราก็ยังเจอในบ้านอื่นๆอีกเหมือนกันเช่น
Amarige Mimosa de Grasse Millesime จาก Givenchy
Laetitia Millesime Rance จาก Rance 1795
หากจะกล่าวง่ายๆสั้นๆ Millesime นั้นแปลได้ว่า Vintage ซึ่งกินความหมายกว้างกว่าคำว่าน้ำหอมเก่าเก็บกว่าบ้านเรามากมายนัก
แต่หากเราจะพิจารณาสารแฝงที่อยู่ในคำว่า Millesime โดยเทียบเคียงจากผู้ที่คลุกคลีอยู่วงการไวน์ก็จะพบว่าไวน์ใดผะยี่ห้อว่า Millesime ไว้ที่ข้างขวดนั้น ก็แปลว่าเป็นไวน์ที่หมักมาจากองุ่นที่ออกผลในปีที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ผู้ดื่มไวน์ว่าเมื่อใช้องุ่นที่ให้ผลในปีนั้นๆ จากภูมิภาคนั้นๆย่อมได้ไวน์ที่คุณภาพดีเป็นพิเศษกว่าปีอื่นๆ แม้จะมาจากแปลงองุ่นแปลงเดิม
เมื่อคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับ ย่อมเป็นที่ต้องการของตลาดเพราะเราไม่อาจรู้แน่ว่าแล้วเมื่อไหร่กันหนอที่ธรรมชาติจะรังสรรค์ผลงานที่พิเศษอยู่แล้วให้พิเศษยิ่งๆขึ้นไปได้อีก
เรียกว่าบันทึกกันเป็นรายปีเลยที่เดียว ดังนั้นในวงการไวน์ ไวน์ผลิตจากที่ไหน ปีไหนจึงสำคัญยิ่ง
เช่นเดียวกันกับน้ำหอม...
อย่างที่รู้กันว่าน้ำหอมในโลกเก่า เราพึ่งพาธรรมชาติกันสูงมาก แต่ละแบรนด์ต่างค้นหา ช่วงชิงพื้นที่ ทำสัญญาลึกลับกับผู้ผลิตสารน้ำมันหอมระเหยแต่ละรายว่าตนจะต้องได้สิ่งที่ดีที่สุด
มะลิต้องเมืองกราส ลาเวนเดอร์ต้องโพรวองซ์ วนิลลาต้องมาดากัสกา ไม้จันทน์ต้องจากแคว้นมัยซอร์ ดอกส้มก็ต้องจากตูนิเซีย
ซึ่งสิ่งที่ธรรมชาติรังสรรค์เหล่านี้ย่อมไม่อาจจะกะเกณฑ์ได้แน่นอนว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดาที่เจ้าของฟาร์มจะพยายามควบคุมทุกอย่างให้ได้มาตราฐานตามปกติ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก
ถ้าไม่ได้มาตราฐานก็คัดทิ้ง ไม่ส่งให้รายใหญ่ เพื่อรักษาเครดิตตนไว้ ส่งให้รายเล็กๆ ไม่ซีเรียส อิอิ
แล้วถ้าปีใดปีหนึ่งมันเกิดดีกว่ามาตราฐานขึ้นมาล่ะ ???
ตรงนี้แหละสำคัญและเป็นที่มาของการเขียนครั้งนี้
หากใครเคยปลูกต้นไม้ย่อมจะเข้าใจในจุดนี้ดี ยกตัวอย่างเราเองก็ได้ เราสังเกตว่ามะลิลา หรือ Sambac พื้นๆในประเทศเรานั้นต้องการแดดจัด ดังนั้นในหน้าร้อนมะลิก็จะออกดอกขาวพราวไปทั้งต้น แต่ถ้าเข้าหน้าหนาวแดดน้อยลง มะลิก็จะให้ดอกไม่เยอะเท่าหน้าหนาว
แต่เราสังเกตได้ว่ามะลิที่ออกดอกในหน้าหนาวนั้นแม้จะไม่เยอะในเชิงปริมาณ แต่ว่ากลิ่นที่ได้จะเข้มข้น รุนแรงไปทางแอนนิมอลลิคมากกว่าดอกที่บานในหน้าร้อน
หรือถ้าช่วงหน้าร้อนปีใด เรารานกิ่งดอกมะลิออกก่อนที่นางจะให้ดอก หน้าหนาวปีนั้นดอกก็จะดกกว่าหน้าหนาวปีก่อนๆและแน่นอนว่ากลิ่นก็เข้มข้นขรึมขลังกว่ากันมาก
ดังที่ยกตัวอย่างจากการสังเกตธรรมชาติด้วยตัวเองมานี้เราจึงจะเห็นได้ว่าในแต่ละปี ด้วยสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หรือปัจจัยอื่นๆก็ยังผลให้เกษตรกรผู้ปลูกได้ผลผลิตที่แตกต่างกันออกไป
และเมื่อผลผลิตที่ได้เกิด "ดีเป็นพิเศษ" ดังกล่าว จึงเกิดการรังสรรค์ผลงานที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เน้นย้ำถึงคุณภาพที่สูงกว่าปกติมากขึ้น และแน่นอนว่าแพงมากขึ้นด้วย
คราวนี้เรากลับมาที่ครีด แฟนครีดทุกท่านคงรู้ดีว่าครีดนั้นเก่าแก่เพียงใด และมักจะเน้นย้ำถึงคุณภาพของวัตถุดิบเสมอๆ และก็ยังเป็นแบรนด์ที่เน้นเรื่องของการใช้สารหอมจากธรรมชาติ แม้หลังๆจะหนักไปทางเคมีเพราะด้วยกฎสารพัดสารพัน แต่ก็ยังเน้นเรื่องสารหอมจากธรรมชาติเท่าที่กฎกติกาจะอำนวย
จึงไม่แปลกที่ครีดจะเคลมว่าน้ำหอมของตนนั้นใช้น้ำมันหอมระเหยที่มาจากธรรมชาติในคุณภาพระดับท๊อป เป็นปีที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในช่วงนั้นๆนั่นเอง (แต่นี่ก็ยังคิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับชื่อของน้ำหอมกลิ่น Imperial Millesime นะคะ เพราะกี่ปี กี่ปีก็ชื่อนี้)
ซึ่งการใช้สารหอมจากธรรมชาตินี้ก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียของแบรนด์เพราะแฟนๆต้องลุ้นเอาเองว่ากลิ่นที่ซื้อมาจะดีกว่าเดิม หรือแค่เสมอตัว เพราะกลิ่นจะเปลี่ยนไปในเชิงของรายละเอียด (เรื่องแย่ลงเราไม่พูดเนาะ เพราะแบรนด์ระดับนี้เขาก็มีมาตราฐานของเขาที่เขาต้องรักษา)
ดูอย่างอเวนทัสสิ บางคนสนุกด้วยซ้ำกับการ Batch Code ที่เข้ากับรสนิยมตัวเอง ชอบควันๆก็ปีนี้ ชอบสับปะรดก็ปีนั้น อะไรว่ากันไป
หรือยกตัวอย่างใกล้ๆตัวเลยก็คือ Creed White Flower ของเราตามแบบในรูป
เป็นกลิ่นที่เราเคยรีวิวไว้ว่า "กลิ่นนี้สง่างาม สดใส เหมือนกับวันแต่งงาน ที่เจ้าสาวสวมมงกุฎดอกไม้ที่เป็นดอกไม้ขาวกลีบบางใส เคล้ากับน้ำค้างยามเช้า มีเด็กน้อยที่กำลังกัดแอ๊ปเปิ้ลเขียวสดกรอบวิ่งหัวเราะไปรอบๆจนแก้มแดง เป็นฟลอรัลฟรุ๊ตตี้ที่ไม่เสียดแทงจมูกเลยค่ะ แถมยังติดทนพอสมควร อีกด้วย
นี่ถ้ามีโอกาสได้แต่งงานเอง เราก็จะเลือกใส่กลิ่นนี้ในงานตอนเช้าไม่พลาดแน่ค่ะ
หลายๆคนเห็นชื่อ white flower ก็จะพาลนึกไปถึงดอกไม้ขาวกลีบหนาหนัก อย่างดอกพุด หรือ แม็กโนเลีย แต่ขนบทำน้ำหอมของครีดไม่ใช่แบบนั้นนะคะ เพราะเขาเลียนแบบน้ำหอมได้เหมือนธรรมชาติ ราวกับเด็ดจากต้นมาดมค่ะ
กลิ่นเย็นฉ่ำอมเปรี้ยวของน้ำแอ๊ปเปิ้ลเขียว กับเลมอนเหลือง และกลิ่นหวานใส สง่างามของมะลิที่ถูกเด็ดมาครั้งที่น้ำค้างยังไม่โดนแดดเช้าให้ระเหิดระเหยไป แต่ก็มีกลิ่นของแดฟโฟดิลปนความเขียวของใบไวโอเล็ตมาด้วย ทำให้ออกแนวอควาติคแบบธรรมชาติ ไม่สังเคราะห์จัดเจน
ตามด้วยกลิ่นสวีทพีที่หวานฉ่ำ แต่ก็ปลอดโปร่งราวท้องฟ้าหน้าร้อน
อยากให้ได้ลองค่ะ แฟนๆน้ำหอมแนวฟลอรัลคงหลงรัก"
แน่นอนว่าเป็นกลิ่นที่เรารักมาก เลยตุนไว้ถึง 2 ขวด แต่เมื่อได้มาเราก็ได้รู้ว่ามันต่างกันในรายละเอียด
เหมือนสูตรอาหารที่สืบทอดกันมา แต่เมื่อต่างเชฟเอามาปรุงก็มีรสชาดเป็นหนทางเป็นของตัวเอง
รุ่นที่ผลิตปี 2011 นั้นกลิ่นฟลอรัลจะเรียบๆนุ่มนวลด้วยกลิ่นวนิลลา
ในขณะที่รุ่นปี 2013 นั้นฟรุ๊ตตี้จะเด่นกว่า กลิ่นแอปเปิ้ลเขียวสดกรอบแมงดานาจะแสดงตัวชัดเจนกว่า (อันนี้ไม่ได้พูดเล่นเอาสนุกนะคะ เพราะว่าโมเลกุลของแอปเปิ้ลเขียว และ กลิ่นแมงดานา มันคล้ายกัน และครีดก็ไม่สามารถสกัดสารหอมจากธรรมชาติจากกลิ่นแอปเปิ้ลเขียวได้ เพราะมันไม่มีน้ำมันหอมระเหยให้สกัด)
ซึ่งถามว่าต่างกันมากไหม ก็ไม่มากนะคะ ต้องลองพิจารณาดีๆแบบลองซ้ำหลายครั้ง เพราะหากดมสลับกันไปมา ก็แทบไม่พบความต่างเลย
นี่คือครีด ความครีดเป็นเช่นนี้
คราวนี้เราจะรู้ได้อย่างไรเล่าว่าปีไหนผลผลิตดี ปีไหนน้ำมันกุหลาบคุณภาพสูง เราจะได้ตามเก็บถูก
พูดง่ายๆคือไม่มีทางรู้ได้ จนกว่าแบรนด์ หรือฟาร์มนั้นจะออกมาประชาสัมพันธ์
แต่จะพอบอกได้คร่าวๆโดยใช้การอนุมานได้เช่น
Minosa Absolute ที่ปลูกใน เมืองTanneron ที่ Côte d'Azur, นั้นให้ผลผลิตที่ดีที่สุดในปี 2008 เพราะ Givenchy เหมากว่า 70% ที่ผลิตได้ในปีนั้นไปผลิตเป็น Amarige Mimosa de Grasse Millesime โดยเพิ่มราคาไปกว่าเดิม 20%
แถมยังเหลือพอไปผลิต Organza กับ Very Irresistibleในคอลเลคชั่น GIVENCHY HARVEST 2008 อีกด้วย
หรือจะ Narcissus Absolute ที่เก็บเกี่ยวในปี 2005 จากแคว้น Lozère ทางใต้ของฝรั่งเศสก็ถูก L`Artisan Parfumeur เหมาไปผลิต Fleur de Narcisse มาขายในปี 2006
เช่นนี้เป็นต้น
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่งงก็จะพอเดาได้เนาะว่า Millesime มันคืออะไร
หมายความตรงตัวว่าอะไร
และมีสารแฝงว่าอะไร
ขอให้สนุกกับโลกแห่งความหอมนะคะ ;)