ปัจจุบันเรากำลังศึกษาทางสังคมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยา และเราสนใจศึกษาชนชั้นในสังคมและปัญหาของรากหญ้าว่าทำไมพวกเขา/เธอ ถึงเป็นหนี้มากมายขนาดนี้ ด้วยที่เราเป็นมนุษย์และเป็นสมาชิกของสังคมทำให้เราหยุดคิดไม่ได้ว่า พวกเขาจะหาเงินจากไหนมาใช้เงินต้น แล้วเมื่อไรจะปลดหนี้หมด ที่สำคัญการศึกษาของพวกเขาไม่ได้สูง การงานอาชีพที่ทำอยู่สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตของพวกเขาได้จริงหรือ ? เราขอใช้ประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้เจอมากับครอบครัว จนทำให้เราสนใจปัญหาสังคมโดยเฉพาะคนที่ถูกนักวิชาการ รัฐ และคนในสังคม มองคนไม่จบปริญญาว่าเป็นคนชนชั้นล่าง เพราะขายของข้างทางตามตลาดนัด หรืออาชีพที่คนมีการศึกษาเขาไม่ทำกันและไม่ได้ทำงานที่มีเงินเดือนเหมือนพนักงานบริษัทและข้าราชการทั่วไป
ครอบครัวเราประกอบด้วย พ่อ แม่ เรา และพี่สาว ตัวเรากำลังศึกษามหาวิทยาลัยที่ใช้เงินค่อนข้างมากพอสมควร(ไม่ขอบอกชั้นปี) ส่วนพี่สาวเรียนจบและกำลังสอบเข้ารับราชการ(ยังไม่มีรายได้) แต่เราทั้งสี่คนมีลักษณะเหมือนกัน คือ ประหยัดและไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย แต่อยู่มาวันหนึ่งเราพบว่าแม่ตนเองเป็นหนี้จากการเล่นพนันเพื่อหาเงินพิเศษ เบ็ดเสร็จเกือบ 1 ล้าน เพราะแม่เราเป็นเจ้ามือหวยแต่ไม่ได้คำนึงว่าถ้าลูกหวยถูกจะหาเงินมาใช้ได้อย่างไร สุดท้ายพ่อเป็นคนปลดหนี้ให้ทั้งหมด 5 แสน แต่คนเป็นแม่ไม่บอกว่าตัวเองยังเป็นหนี้อีก 1 แสน และยังจ่ายดอกเขาไปเรื่อย ๆ ซึ่งแม่ของเราเป็นแม่ค้าขายของในตลาดนัด ที่ไปหยิบยืมจากคนนู้นคนนี้ ทั้งที่รู้ว่าตนเองจะไม่มีเงินต้นมาใช้ แต่ต้องจ่ายดอกตกเดือนละ 4000 บาท - 6000 บาท กำไรขายของได้ก็ไม่มากโขลงแต่อย่างใด แต่ทำไมเจ้าหนี้ถึงยอมให้กู้เงิน ทั้งที่รู้ว่าพ่อค้าแม่ค้าขายของตามตลาดนัดจะไม่มีเงินต้นมาใช้ นอกจากกินดอกไปวัน ๆ ? แม่เราเป็นคนชอบช่วยเหลือคนและเป็นที่รักทั้งคนในระแวกบ้านรวมทั้งที่ตลาดนัด แต่เพราะชอบเล่นการพนันสมัยสาว ๆ จนเมื่ออายุ 50 ที่เป็นหนี้อย่างหนัก ส่วนพ่อเรารับราชการ(ไม่ขอบอกอาชีพ) เงินเดือน 4-5หมื่น แต่ใกล้จะปลดเกษียณอีก 4 ปี และในบัญชีมีเงินเกือบ 1 ล้าน แต่ให้แม่ไปปลดหนี้ จนเหลือ 5แสนบาทในบัญชี และพึ่งมาทราบว่าแม่เป็นหนี้ยังใช้ไม่หมดอีก 1 แสนกว่าบาท
ครอบครัวเราแบ่งชนชั้นได้ชัดเจน พ่อเป็นข้าราชการที่มีเงินเดือนมั่นคงและทำงานนั่งโต๊ะในห้องแอร์ ส่วนแม่จบเพียงแค่ ป.4 เป็นคนรากหญ้าไม่ได้มีเงินเดือนสูง ๆ เหมือนพ่อ ซึ่งเราในฐานะนักสังคมวิทยาจึงเห็นประเด็นนี้ได้ชัดเจนว่าทำไมคนถึงกระสนที่อยากเรียนจนได้วุฒิปริญญา แต่ปัญหาอยู่ที่ทำไมคนจนในสังคมไทยถึงเป็นหนี้มากมายขนาดนี้ ? เมื่อวันก่อนขณะที่เรากำลังรีดผ้าอยู่ห้องนั่งเล่นของหอพัก เราได้ยินเสียงแม่บ้านคุยกันว่า "ไอติ๋ม(นามสมมติ)มันไม่ได้มาทำความสะอาดหลายวันแล้ว มันไปยืมเงินจากป้าตุ้ย(นามสมมติ)มา 3,000 บาท แล้วกลับบ้านไปทำนา แต่กูไม่เชื่อหรอกช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงทำนา แต่มันไม่มีเงินมาใช้ป้าแกต่างหาก" แม่บ้านอีกคนก็ตอบกลับว่าตนเองก็เป็นหนี้ที่ไปยืมจากคนอื่นมา 3,000 บาท แต่ก็หาเงินมาใช้ไม่ได้ จึงเก็บขวดที่นักศึกษาทิ้งและกระดาษในถุงดำไปขายเพื่อหาเงินมาจ่ายดอก ไม่จบเพียงเท่านี้ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นสามวัน เรากำลังต่อแถวซื้อข้าวในโรงอาหาร เราเห็นแม่ค้ากำลังจดใบโพหวย(ใต้ดิน) แต่แกก็ลุกมาตักข้าวให้ลูกค้าทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น วันต่อมาเราสังเกตอาการของแกทำให้พอทราบได้จาก(อัตตวิสัย)สีหน้าที่เป็นหนี้แล้วไม่มีเงินให้เช่นเดียวกับแม่ของเรา
นอกจากแม่บ้าน แม่ค้า ที่เป็นหนี้แล้ว ยังมีบุคคลากรในมหาวิทยาลัยที่เงินก็ไม่พอใช้ วันหนึ่งเรากำลังเดินไปเรียนที่ตึกของอาคารเรียนรวมหลากหลายคณะ ได้ยินเจ้าหน้าที่คนหนึ่งพูดคุยผ่านโทรศัพท์ว่าเงินไม่พอใช้ และถามถึงอาการที่แม่ของเขาป่วย แต่เงินยังไม่พอโอนไปให้ ทำให้เราวิตกอยู่นานตลอดเดือนว่าทำไมคนถึงเป็นหนี้ขนาดนี้ และยิ่งมารู้ว่าแม่ตนเองเป็นหนี้แล้วปกปิดเราไม่ให้รู้ เพราะไม่อยากให้เราเครียด แต่เราอดไม่ได้จริง ๆ เลยต่อว่าแม่ผ่านโทรศัพท์ด้วยคำที่หยาบคาย เพราะเราโมโหว่าทำไมแม่ถึงยังจ่ายดอกเขาแล้วทำไมไม่ปรึกษาคนในครอบครัว เราจะได้ช่วยกันหาทางออก แต่ทำไมถึงยังไปจ่ายดอกเขา เราโทรไปหาพ่อเพื่อขอความช่วยเหลือมาปลดหนี้ให้แม่ แต่พ่อช่วยแม่มามากคือเกือบทั้งชีวิตที่เขาเก็บตังเอาไว้ให้ลูกทั้งสองคนไปเรียนต่อ แต่ต้องมาใช้ให้เมียตัวเองถึง 3 ครั้งแล้ว พ่อจึงบอกกับเราว่า ให้เรียนหนังสือโดยที่ไม่ต้องสนใจแม่ ปล่อยเขาให้เป็นไปตามเวรตามกรรม แต่เราเรียนสังคมศาสตร์มาทำให้ความรู้สึกของคนเป็นลูกเพิกเฉยกับเหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้ เราจึงอ้อนวอนให้พ่อช่วยแม่อีกสักครั้งเพราะถ้าไม่ช่วย แม่ก็จะไปหยิบยืมคนอื่นมาปลดคนนั้นคนนี้ไม่จบไม่สิ้น พ่อบอกกับเราก่อนวางโทรศัพท์ว่าเดี๋ยวจะให้พี่เราดำเนินการไปคืนหนี้ให้
เราเชื่อมั่นว่าพ่อค้าแม่ค้าในตลาดนัดต้องเจอค้ายกรณีแบบเราแน่ คือ พวกเขาอยากได้เงินเพื่อเอาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ส่งเงินให้ลูกเรียนสูง ๆ พวกเขายอมเป็นหนี้ หรือขายของขาดทุนก็ต้องไปหยิบยืมเจ้าหนี้แล้วดอกร้อยละ 20 สุดท้ายระบบการเงินในครอบครัวรวนหาทางออกไม่ได้ก็จะไปก่ออาชญากรรมหรือหนี แต่ถ้าทางตันก็ฆ่าตัวตาย เฉกเช่นกรณีของแม่เราที่เรากลัวว่าเขาจะคิดสั้น คนเป็นแม่ค้าขายของกำไรไม่ได้มากมายจะเอาเงินจากที่ไหนมาให้เจ้าหนี้ วันนั้นเราเลยต่อว่าอย่างรุนแรงเพราะความโมโหของเรา ทำให้เราตั้งคำถามว่าสถาบันศาสนาพุทธที่สอนไม่ให้เราด่าพ่อด่าแม่เพราะจะเป็นบาปสามารถอธิบายกรณีของเราได้ไหม ? เราต่อว่าแม่เพราะเราเป็นลูก เราเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียงย่านปทุมธานีเราสอบเข้ามาได้ แล้วเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.9 แต่เราเจ็บใจที่แม่ไม่บอกปัญหาให้เราทราบ ใจหนึ่งไม่อยากให้ผัวและลูกเครียด อีกใจอยากจะบอกแต่ไม่กล้าเลยยอมจ่ายดอก จนตัวเองไม่มีเงินเหลือแล้ว ครอบครัวของคุณเป็นไหม ?
มองย้อนดูศาสนาที่สั่งสอนไม่ให้ด่าพ่อด่าแม่เพราะบาป เลยโยนความผิดว่าเป็นกรรมแต่ชาติปางก่อน คุณคิดว่าจริงต่อคนหาเช้ากินค่ำไหม ? แล้วทำไมคนถึงเป็นหนี้มากมายขนาดนี้ หลายคนอาจจะมองกรณีแม่เราว่าติดพนันก็สมควรแล้ว แต่เรามองกลับกัน คนจนที่เล่นพนันเขาก็อยากได้เงินมาช่วยค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว เช่น หวย(ใต้ดิน) แต่ต้องดูบางกรณีที่เล่นเพราะสนุกจนเป็นหนี้สินถึงขั้นขายทุกอย่างที่สร้างมาทั้งชีวิตตามละครไทย แล้วคนที่ไม่ได้จบการศึกษาสูงเฉกเช่นแบบพี่เราหรือพ่อเราเขาจะหาเงินพิเศษจากไหน เราคิดว่าตัวเราโชคดีที่ได้เกิดมาในครอบครัวที่เห็นพ่อสบายแต่เขาลำบากมาตอนต้น ส่วนแม่เป็นคนรากหญ้าไม่ได้รวยแต่พอมีเงินเก็บจนเป็นหนี้เลยกลับสู่สภาวะในอดีตอีกครั้ง สถาบันการศึกษาที่คนมีความรู้รวมทั้งเราเองมองว่าคนต้องมีการศึกษาถึงจะมีชีวิตที่ดี คุณว่าจริงหรือ? คุณเคยคำนวณไหมว่าคุณต้องจ่ายเงินให้กับสถานศึกษาที่คุณเรียนมากี่บาท เพียงแค่จบออกไปมีเงินเดือนจึงทำให้เลื่อนชนชั้นและสวัสดิการที่เขาถึงมากกว่าคนจนหรือ ? เรากลับมองว่าต้นทุนแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนอยากเรียนหนังสือแต่ก็ไม่สามารถสอบเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยได้ เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินส่งให้ลูกเรียน เราหันกลับมาดูนักศึกษาปัจจุบันที่บางคนอาจจะไม่รู้ว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เป็นคนส่งค่าเทอม อาจจะเป็นหนี้อยู่ก็ได้แต่ปกปิดไม่ให้ลูกรู้เพราะกลัวลูกคิดมาก
ถ้าคุณเดินตามตลาดนัดในช่วงเย็นหรือใกล้เก็บร้าน คุณจะเห็นเจ้าหนี้เดินตามทวงแม่ค้าบางราย ไม่ใช่มาเก็บค่าที่แต่มาเก็บเงินที่พ่อค้าแม่ค้ายืมไปต่างหาก เราเคยเดินตลาดนัดที่แม่ขายของมาเกือบ 10 กว่าปี(ตัวเมืองที่อยู่ต่างจังหวัด) เราสังเกตว่าแม่ค้าจะรีบเก็บผักใส่ถุง และรีบยกข้าวของใส่รถ แต่กิจกรรมตอนนั้นต้องจบลง เพราะมีคนมาทวงอะไรสักอย่าง เราสังเกตอยู่สักพักจนรู้ว่าแม่ค้าต้องจ่ายเงินให้กับคนนั้น วันนั้นเราเห็นมี 5 คน ที่ต้องควักเงินเป็นแบงก์พันให้คนที่มายืนต่อหน้า เราอดคิดไม่ได้ว่าทำไมพวกเขาต้องจ่ายเงิน วันต่อมาเรามาสังเกตอีกครั้งและทำทีไปคุยกับป้าคนนั้นทำให้รู้คำตอบว่าเป็น "หนี้" เขา 12,000 บาท แต่ต้องจ่ายดอกให้ทุกวัน เรามองว่าสถานที่ที่เราไปจับจ่ายใช้สอยในตลาดสดเป็นแหล่งที่ทำให้เจ้าหนี้เข้าถึงพ่อค้าแม่ค้าได้ง่าย เพราะพ่อค้าแม่ค้าไม่ได้มีการศึกษาสูงเช่นเดียวกับแม่เรา จึงตกเป็นเหยื่อของวงจรอุบาทว์นี้ได้ง่าย แต่ก็ไม่เสมอไปในบางร้าน ก่อนมหาวิทยาลัยเปิดเรียนสองสัปดาห์ ขณะที่เรากำลังซื้อก๋วยเตี๋ยวมีผู้ชาย 1 คน ถือกระดาษขนาด A 5 มาวางไว้ข้างตู้ใส่วัตถุดิบทำก๋วยเตี๋ยว เราเหลือบไปเห็นว่าเป็นใบปล่อยเงินกู้ดอกร้อยละ15 แม่ค้ารีบหยิบกระดาษมาขยำแล้วใส่ถุงดำทันที
พ่อค้าแม่ค้าเป็นหนี้ สรุปเป็นหนี้เพราะอะไร ? ทำไมจึงอยากได้เงิน ? แล้วคนเป็นลูกรู้ไหมว่ารายจ่ายของครอบครัวมีอะไรบ้าง? เรามองว่ากว่าจะได้วุฒิปริญญาตรีได้ก็ต้องใช้กำลังทรัพย์มากพอสมควร เราเห็นประสบการณ์จากคนในครอบครัวที่ครั้งหนึ่งเคยตกเป็นเหยื่อเพราะหาทางออกไม่ได้ เราจึงไม่อยากปฏิบัติต่อคนที่ไม่มีเงินเดือนแบบพวกเขาดูโง่ แม่บ้านที่ทำความสะอาดหอพักอายุไล่เลี่ยกับปู่ย่าตายายไม่สวมถุงมือในขณะล้วงขวดน้ำที่อยู่ในถุงดำขึ้นมาแยกเพื่อเอาไปขาย หรือนั่งฉีกกระดาษเพื่อชั่งไปขายแลกกับเงินเล็กน้อยเขาก็ทำ ด้วยเราอายุยังน้อยจึงไม่เจอโลกมากนะแต่พอสังเกตได้ในชีวิตประจำวันได้บ้างว่าแม่ค้าตามตลาดนัดต่างเป็นหนี้กันทั้งนั้นและส่วนมากก็เป็นคนที่มีอายุมาก เราขอใช้เวลาเรียนอีกนิดหนึ่ง เราจะกลับมาศึกษาว่าปัญหาของคน "จน" ที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ เราจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขาไม่รู้ว่า "ประชาธิปไตย" ตามที่คนมีความรู้แบบพวกเราคืออะไร มีคุณป้าอายุ 67 ปี ขายผักอยู่ในตลาดนัดฐานะยากจน(อัตติวิสัยของเรา)เล่าให้ฟังจากคำถามที่เราถามไปว่านายกคนไหนที่ป้าชอบ ปีหน้าจะมีการเลือกตั้งแล้วนะป้าชอบไหม ป้าตอบว่าป้าชอบทุกคนใครก็ได้ที่ทำให้ป้ารวย เราคิดอยู่ในใจสักพักว่าแล้วคนที่หาเช้ากินค่ำที่ไม่มีเงินเดือนต้องการนโยบายแบบไหน ยิ่งไปกว่านั้นเราคิดไปอีกขั้นว่าทำไมนักวิชาการหรือคนที่ได้เรียนหนังสือต้องการประชาธิปไตยเพื่อได้สิทธิเสรีภาพตามอุดมคติของระบอบการเมือง แต่ทำไมมองข้ามคนขายของตามตลาด บางทีเราก็ไปดูถูกว่าเขาโง่ที่เล่นหวย(ใต้ดิน)หรือไปโรยแป้งตามโอ่งแล้วเห็นเลขเด็ด เราก็เป็นคนหนึ่งที่เคยมองแบบนั้น แต่พวกเขาไม่รู้จักคำว่า"enlightenment" คืออะไร "ยุคมืด" มันทำไม "Post-modern" เกี่ยวไรกับชีวิตเขา คำถามของเราคือปัญหาที่แท้จริงของพวกเขาคืออะไรกันแน่ ? แล้วสาเหตุที่ทำให้เขาเป็นหนี้มาจากตัวเขาหรือสถาบันทางสังคมอะไรกันแน่ ? กิจกรรมทางการเมืองเขารู้ไหมประชาธิปไตยต่างจากเผด็จการในทางพฤตินัยที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร ? แล้วมีโอกาสที่เขาจะไม่โดนเจ้าหนี้นอกระบบหลอกให้เขากู้เงินเป็นไปได้ไหม ?
นักสังคมวิทยา : ปัญหาของคน"จน"ที่แท้จริงคืออะไร ? สถาบันทางสังคมจะอธิบายคำตอบได้อย่างไร ?
ครอบครัวเราประกอบด้วย พ่อ แม่ เรา และพี่สาว ตัวเรากำลังศึกษามหาวิทยาลัยที่ใช้เงินค่อนข้างมากพอสมควร(ไม่ขอบอกชั้นปี) ส่วนพี่สาวเรียนจบและกำลังสอบเข้ารับราชการ(ยังไม่มีรายได้) แต่เราทั้งสี่คนมีลักษณะเหมือนกัน คือ ประหยัดและไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย แต่อยู่มาวันหนึ่งเราพบว่าแม่ตนเองเป็นหนี้จากการเล่นพนันเพื่อหาเงินพิเศษ เบ็ดเสร็จเกือบ 1 ล้าน เพราะแม่เราเป็นเจ้ามือหวยแต่ไม่ได้คำนึงว่าถ้าลูกหวยถูกจะหาเงินมาใช้ได้อย่างไร สุดท้ายพ่อเป็นคนปลดหนี้ให้ทั้งหมด 5 แสน แต่คนเป็นแม่ไม่บอกว่าตัวเองยังเป็นหนี้อีก 1 แสน และยังจ่ายดอกเขาไปเรื่อย ๆ ซึ่งแม่ของเราเป็นแม่ค้าขายของในตลาดนัด ที่ไปหยิบยืมจากคนนู้นคนนี้ ทั้งที่รู้ว่าตนเองจะไม่มีเงินต้นมาใช้ แต่ต้องจ่ายดอกตกเดือนละ 4000 บาท - 6000 บาท กำไรขายของได้ก็ไม่มากโขลงแต่อย่างใด แต่ทำไมเจ้าหนี้ถึงยอมให้กู้เงิน ทั้งที่รู้ว่าพ่อค้าแม่ค้าขายของตามตลาดนัดจะไม่มีเงินต้นมาใช้ นอกจากกินดอกไปวัน ๆ ? แม่เราเป็นคนชอบช่วยเหลือคนและเป็นที่รักทั้งคนในระแวกบ้านรวมทั้งที่ตลาดนัด แต่เพราะชอบเล่นการพนันสมัยสาว ๆ จนเมื่ออายุ 50 ที่เป็นหนี้อย่างหนัก ส่วนพ่อเรารับราชการ(ไม่ขอบอกอาชีพ) เงินเดือน 4-5หมื่น แต่ใกล้จะปลดเกษียณอีก 4 ปี และในบัญชีมีเงินเกือบ 1 ล้าน แต่ให้แม่ไปปลดหนี้ จนเหลือ 5แสนบาทในบัญชี และพึ่งมาทราบว่าแม่เป็นหนี้ยังใช้ไม่หมดอีก 1 แสนกว่าบาท
ครอบครัวเราแบ่งชนชั้นได้ชัดเจน พ่อเป็นข้าราชการที่มีเงินเดือนมั่นคงและทำงานนั่งโต๊ะในห้องแอร์ ส่วนแม่จบเพียงแค่ ป.4 เป็นคนรากหญ้าไม่ได้มีเงินเดือนสูง ๆ เหมือนพ่อ ซึ่งเราในฐานะนักสังคมวิทยาจึงเห็นประเด็นนี้ได้ชัดเจนว่าทำไมคนถึงกระสนที่อยากเรียนจนได้วุฒิปริญญา แต่ปัญหาอยู่ที่ทำไมคนจนในสังคมไทยถึงเป็นหนี้มากมายขนาดนี้ ? เมื่อวันก่อนขณะที่เรากำลังรีดผ้าอยู่ห้องนั่งเล่นของหอพัก เราได้ยินเสียงแม่บ้านคุยกันว่า "ไอติ๋ม(นามสมมติ)มันไม่ได้มาทำความสะอาดหลายวันแล้ว มันไปยืมเงินจากป้าตุ้ย(นามสมมติ)มา 3,000 บาท แล้วกลับบ้านไปทำนา แต่กูไม่เชื่อหรอกช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงทำนา แต่มันไม่มีเงินมาใช้ป้าแกต่างหาก" แม่บ้านอีกคนก็ตอบกลับว่าตนเองก็เป็นหนี้ที่ไปยืมจากคนอื่นมา 3,000 บาท แต่ก็หาเงินมาใช้ไม่ได้ จึงเก็บขวดที่นักศึกษาทิ้งและกระดาษในถุงดำไปขายเพื่อหาเงินมาจ่ายดอก ไม่จบเพียงเท่านี้ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นสามวัน เรากำลังต่อแถวซื้อข้าวในโรงอาหาร เราเห็นแม่ค้ากำลังจดใบโพหวย(ใต้ดิน) แต่แกก็ลุกมาตักข้าวให้ลูกค้าทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น วันต่อมาเราสังเกตอาการของแกทำให้พอทราบได้จาก(อัตตวิสัย)สีหน้าที่เป็นหนี้แล้วไม่มีเงินให้เช่นเดียวกับแม่ของเรา
นอกจากแม่บ้าน แม่ค้า ที่เป็นหนี้แล้ว ยังมีบุคคลากรในมหาวิทยาลัยที่เงินก็ไม่พอใช้ วันหนึ่งเรากำลังเดินไปเรียนที่ตึกของอาคารเรียนรวมหลากหลายคณะ ได้ยินเจ้าหน้าที่คนหนึ่งพูดคุยผ่านโทรศัพท์ว่าเงินไม่พอใช้ และถามถึงอาการที่แม่ของเขาป่วย แต่เงินยังไม่พอโอนไปให้ ทำให้เราวิตกอยู่นานตลอดเดือนว่าทำไมคนถึงเป็นหนี้ขนาดนี้ และยิ่งมารู้ว่าแม่ตนเองเป็นหนี้แล้วปกปิดเราไม่ให้รู้ เพราะไม่อยากให้เราเครียด แต่เราอดไม่ได้จริง ๆ เลยต่อว่าแม่ผ่านโทรศัพท์ด้วยคำที่หยาบคาย เพราะเราโมโหว่าทำไมแม่ถึงยังจ่ายดอกเขาแล้วทำไมไม่ปรึกษาคนในครอบครัว เราจะได้ช่วยกันหาทางออก แต่ทำไมถึงยังไปจ่ายดอกเขา เราโทรไปหาพ่อเพื่อขอความช่วยเหลือมาปลดหนี้ให้แม่ แต่พ่อช่วยแม่มามากคือเกือบทั้งชีวิตที่เขาเก็บตังเอาไว้ให้ลูกทั้งสองคนไปเรียนต่อ แต่ต้องมาใช้ให้เมียตัวเองถึง 3 ครั้งแล้ว พ่อจึงบอกกับเราว่า ให้เรียนหนังสือโดยที่ไม่ต้องสนใจแม่ ปล่อยเขาให้เป็นไปตามเวรตามกรรม แต่เราเรียนสังคมศาสตร์มาทำให้ความรู้สึกของคนเป็นลูกเพิกเฉยกับเหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้ เราจึงอ้อนวอนให้พ่อช่วยแม่อีกสักครั้งเพราะถ้าไม่ช่วย แม่ก็จะไปหยิบยืมคนอื่นมาปลดคนนั้นคนนี้ไม่จบไม่สิ้น พ่อบอกกับเราก่อนวางโทรศัพท์ว่าเดี๋ยวจะให้พี่เราดำเนินการไปคืนหนี้ให้
เราเชื่อมั่นว่าพ่อค้าแม่ค้าในตลาดนัดต้องเจอค้ายกรณีแบบเราแน่ คือ พวกเขาอยากได้เงินเพื่อเอาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ส่งเงินให้ลูกเรียนสูง ๆ พวกเขายอมเป็นหนี้ หรือขายของขาดทุนก็ต้องไปหยิบยืมเจ้าหนี้แล้วดอกร้อยละ 20 สุดท้ายระบบการเงินในครอบครัวรวนหาทางออกไม่ได้ก็จะไปก่ออาชญากรรมหรือหนี แต่ถ้าทางตันก็ฆ่าตัวตาย เฉกเช่นกรณีของแม่เราที่เรากลัวว่าเขาจะคิดสั้น คนเป็นแม่ค้าขายของกำไรไม่ได้มากมายจะเอาเงินจากที่ไหนมาให้เจ้าหนี้ วันนั้นเราเลยต่อว่าอย่างรุนแรงเพราะความโมโหของเรา ทำให้เราตั้งคำถามว่าสถาบันศาสนาพุทธที่สอนไม่ให้เราด่าพ่อด่าแม่เพราะจะเป็นบาปสามารถอธิบายกรณีของเราได้ไหม ? เราต่อว่าแม่เพราะเราเป็นลูก เราเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียงย่านปทุมธานีเราสอบเข้ามาได้ แล้วเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.9 แต่เราเจ็บใจที่แม่ไม่บอกปัญหาให้เราทราบ ใจหนึ่งไม่อยากให้ผัวและลูกเครียด อีกใจอยากจะบอกแต่ไม่กล้าเลยยอมจ่ายดอก จนตัวเองไม่มีเงินเหลือแล้ว ครอบครัวของคุณเป็นไหม ?
มองย้อนดูศาสนาที่สั่งสอนไม่ให้ด่าพ่อด่าแม่เพราะบาป เลยโยนความผิดว่าเป็นกรรมแต่ชาติปางก่อน คุณคิดว่าจริงต่อคนหาเช้ากินค่ำไหม ? แล้วทำไมคนถึงเป็นหนี้มากมายขนาดนี้ หลายคนอาจจะมองกรณีแม่เราว่าติดพนันก็สมควรแล้ว แต่เรามองกลับกัน คนจนที่เล่นพนันเขาก็อยากได้เงินมาช่วยค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว เช่น หวย(ใต้ดิน) แต่ต้องดูบางกรณีที่เล่นเพราะสนุกจนเป็นหนี้สินถึงขั้นขายทุกอย่างที่สร้างมาทั้งชีวิตตามละครไทย แล้วคนที่ไม่ได้จบการศึกษาสูงเฉกเช่นแบบพี่เราหรือพ่อเราเขาจะหาเงินพิเศษจากไหน เราคิดว่าตัวเราโชคดีที่ได้เกิดมาในครอบครัวที่เห็นพ่อสบายแต่เขาลำบากมาตอนต้น ส่วนแม่เป็นคนรากหญ้าไม่ได้รวยแต่พอมีเงินเก็บจนเป็นหนี้เลยกลับสู่สภาวะในอดีตอีกครั้ง สถาบันการศึกษาที่คนมีความรู้รวมทั้งเราเองมองว่าคนต้องมีการศึกษาถึงจะมีชีวิตที่ดี คุณว่าจริงหรือ? คุณเคยคำนวณไหมว่าคุณต้องจ่ายเงินให้กับสถานศึกษาที่คุณเรียนมากี่บาท เพียงแค่จบออกไปมีเงินเดือนจึงทำให้เลื่อนชนชั้นและสวัสดิการที่เขาถึงมากกว่าคนจนหรือ ? เรากลับมองว่าต้นทุนแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนอยากเรียนหนังสือแต่ก็ไม่สามารถสอบเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยได้ เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินส่งให้ลูกเรียน เราหันกลับมาดูนักศึกษาปัจจุบันที่บางคนอาจจะไม่รู้ว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เป็นคนส่งค่าเทอม อาจจะเป็นหนี้อยู่ก็ได้แต่ปกปิดไม่ให้ลูกรู้เพราะกลัวลูกคิดมาก
ถ้าคุณเดินตามตลาดนัดในช่วงเย็นหรือใกล้เก็บร้าน คุณจะเห็นเจ้าหนี้เดินตามทวงแม่ค้าบางราย ไม่ใช่มาเก็บค่าที่แต่มาเก็บเงินที่พ่อค้าแม่ค้ายืมไปต่างหาก เราเคยเดินตลาดนัดที่แม่ขายของมาเกือบ 10 กว่าปี(ตัวเมืองที่อยู่ต่างจังหวัด) เราสังเกตว่าแม่ค้าจะรีบเก็บผักใส่ถุง และรีบยกข้าวของใส่รถ แต่กิจกรรมตอนนั้นต้องจบลง เพราะมีคนมาทวงอะไรสักอย่าง เราสังเกตอยู่สักพักจนรู้ว่าแม่ค้าต้องจ่ายเงินให้กับคนนั้น วันนั้นเราเห็นมี 5 คน ที่ต้องควักเงินเป็นแบงก์พันให้คนที่มายืนต่อหน้า เราอดคิดไม่ได้ว่าทำไมพวกเขาต้องจ่ายเงิน วันต่อมาเรามาสังเกตอีกครั้งและทำทีไปคุยกับป้าคนนั้นทำให้รู้คำตอบว่าเป็น "หนี้" เขา 12,000 บาท แต่ต้องจ่ายดอกให้ทุกวัน เรามองว่าสถานที่ที่เราไปจับจ่ายใช้สอยในตลาดสดเป็นแหล่งที่ทำให้เจ้าหนี้เข้าถึงพ่อค้าแม่ค้าได้ง่าย เพราะพ่อค้าแม่ค้าไม่ได้มีการศึกษาสูงเช่นเดียวกับแม่เรา จึงตกเป็นเหยื่อของวงจรอุบาทว์นี้ได้ง่าย แต่ก็ไม่เสมอไปในบางร้าน ก่อนมหาวิทยาลัยเปิดเรียนสองสัปดาห์ ขณะที่เรากำลังซื้อก๋วยเตี๋ยวมีผู้ชาย 1 คน ถือกระดาษขนาด A 5 มาวางไว้ข้างตู้ใส่วัตถุดิบทำก๋วยเตี๋ยว เราเหลือบไปเห็นว่าเป็นใบปล่อยเงินกู้ดอกร้อยละ15 แม่ค้ารีบหยิบกระดาษมาขยำแล้วใส่ถุงดำทันที
พ่อค้าแม่ค้าเป็นหนี้ สรุปเป็นหนี้เพราะอะไร ? ทำไมจึงอยากได้เงิน ? แล้วคนเป็นลูกรู้ไหมว่ารายจ่ายของครอบครัวมีอะไรบ้าง? เรามองว่ากว่าจะได้วุฒิปริญญาตรีได้ก็ต้องใช้กำลังทรัพย์มากพอสมควร เราเห็นประสบการณ์จากคนในครอบครัวที่ครั้งหนึ่งเคยตกเป็นเหยื่อเพราะหาทางออกไม่ได้ เราจึงไม่อยากปฏิบัติต่อคนที่ไม่มีเงินเดือนแบบพวกเขาดูโง่ แม่บ้านที่ทำความสะอาดหอพักอายุไล่เลี่ยกับปู่ย่าตายายไม่สวมถุงมือในขณะล้วงขวดน้ำที่อยู่ในถุงดำขึ้นมาแยกเพื่อเอาไปขาย หรือนั่งฉีกกระดาษเพื่อชั่งไปขายแลกกับเงินเล็กน้อยเขาก็ทำ ด้วยเราอายุยังน้อยจึงไม่เจอโลกมากนะแต่พอสังเกตได้ในชีวิตประจำวันได้บ้างว่าแม่ค้าตามตลาดนัดต่างเป็นหนี้กันทั้งนั้นและส่วนมากก็เป็นคนที่มีอายุมาก เราขอใช้เวลาเรียนอีกนิดหนึ่ง เราจะกลับมาศึกษาว่าปัญหาของคน "จน" ที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ เราจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขาไม่รู้ว่า "ประชาธิปไตย" ตามที่คนมีความรู้แบบพวกเราคืออะไร มีคุณป้าอายุ 67 ปี ขายผักอยู่ในตลาดนัดฐานะยากจน(อัตติวิสัยของเรา)เล่าให้ฟังจากคำถามที่เราถามไปว่านายกคนไหนที่ป้าชอบ ปีหน้าจะมีการเลือกตั้งแล้วนะป้าชอบไหม ป้าตอบว่าป้าชอบทุกคนใครก็ได้ที่ทำให้ป้ารวย เราคิดอยู่ในใจสักพักว่าแล้วคนที่หาเช้ากินค่ำที่ไม่มีเงินเดือนต้องการนโยบายแบบไหน ยิ่งไปกว่านั้นเราคิดไปอีกขั้นว่าทำไมนักวิชาการหรือคนที่ได้เรียนหนังสือต้องการประชาธิปไตยเพื่อได้สิทธิเสรีภาพตามอุดมคติของระบอบการเมือง แต่ทำไมมองข้ามคนขายของตามตลาด บางทีเราก็ไปดูถูกว่าเขาโง่ที่เล่นหวย(ใต้ดิน)หรือไปโรยแป้งตามโอ่งแล้วเห็นเลขเด็ด เราก็เป็นคนหนึ่งที่เคยมองแบบนั้น แต่พวกเขาไม่รู้จักคำว่า"enlightenment" คืออะไร "ยุคมืด" มันทำไม "Post-modern" เกี่ยวไรกับชีวิตเขา คำถามของเราคือปัญหาที่แท้จริงของพวกเขาคืออะไรกันแน่ ? แล้วสาเหตุที่ทำให้เขาเป็นหนี้มาจากตัวเขาหรือสถาบันทางสังคมอะไรกันแน่ ? กิจกรรมทางการเมืองเขารู้ไหมประชาธิปไตยต่างจากเผด็จการในทางพฤตินัยที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร ? แล้วมีโอกาสที่เขาจะไม่โดนเจ้าหนี้นอกระบบหลอกให้เขากู้เงินเป็นไปได้ไหม ?