จุดจบ ”หมอวิชัย ไอเฟค” / สุนันท์ ศรีจันทรา
เผยแพร่: 11 ก.ย. 2560 14:50:00
การประกาศกล่าวโทษในความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นการปิดฉากนายแพทย์วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือหุ้นไอเฟค
หุ้นไอเฟคกำลังจะเริ่มต้นนับหนึ่ง ในกระบวนการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูการดำเนินงาน เพราะเมื่อไม่มีนายแพทย์วิชัยแล้ว ความขัดแย้งในการบริหารบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้น่าจะคลายตัวลง
สำหรับนายแพทย์วิชัยนับจากนี้คงไม่ต้องวุ่นวายกับการวางแผนในการกุมอำนาจการบริหารในไอเฟคแล้ว เพราะจะต้องสาละวนกับคดีต่างๆ ที่ถาโถมเข้าใส่
ไม่เฉพาะคดีที่ก.ล.ต.กล่าวโทษ ในความผิดแสวงหาประโยชน์โดยมิควรจากการเลือกตั้งกรรมการบริษัท ด้วยการลงคะแนนเสียงสะสม ทั้งที่ตามข้อบังคับบริษัททำ “ไม่ได้” และยังมีอีกหลายคดีที่จะตามมา
แน่แน่ที่ตามมาแล้วคือ คดีที่อดีตกรรมการบริษัทฟ้องในความผิดฐานแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท
ความปั่นป่วนของหุ้นไอเฟคเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนธันวาคม 2559 หลังจากบริษัทประกาศผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน (บี/อี) ครั้งแรก วงเงินประมาณ 100 ล้านบาท ก่อนที่จะมีการผิดนัดชำระหนี้อื่นตามมาเป็นระลอก
นอกจากปัญหาหนี้ที่ไม่สามรรถสะสางได้แล้ว งบการเงินปี 2559 บริษัทฯยังไม่สามารถนำส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ได้ตามกำหนดเวลาอีกด้วย
หุ้นไอเฟคถูกขึ้นเครื่องหมาย “เอสพี” พักการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2556 รวมเวลา 7 เดือนเต็มที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รับผลกระทบ โดยไม่รู้ชะตากรรมว่าจะใช้เวลานานขนาดไหนในการแก้ไขปัญหาภายใน
และอีกเมื่อไหร่หุ้นจะกลับมาซื้อขายใหม่แต่ที่หนักกว่าคือ กิจการที่ถือหุ้นอยู่จะล้มละลายหรือไม่
ไอเฟคอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากผู้ถือหุ้นใหญ่สองกลุ่ม ระหว่างกลุ่มนายแพทย์วิชัยและนายทวิช เตชะนาวากุล ซึ่งถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งในสัดส่วน 10.03 % ของทุนจดทะเบียนเกิดความขัดแย้งรุนแรง จนไม่อาจร่วมบริหารงานกันได้
การจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อคัดเลือกกรรมการชุดใหม่ แม้กลุ่มนายทวิชจะได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการไอเฟคเสียงข้างมาก แต่นายแพทย์วิชัยก็ยังกุมอำนาจการบริหารเบ็ดเสร็จ จนกรรมการกลุ่มนายทวิชต้องยกทีมลาออก
และเมื่อประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกกรรมการใหม่อีก นายแพทย์วิชัยก็ใช้วิธีการลงคะแนนสะสม ทำให้กลุ่มตัวเองได้รับการคัดเลือก
แต่การคัดเลือกกรรมการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้นายแพทย์วิชัยถูกก.ล.ต.กล่าวโทษ และต้องพ้นจากทุกตำแหน่งในนไอเฟค
การดิ้นรนเพื่อกุมอำนาจในไอเฟคของนายแพทย์วิชัยสิ้นสุดลงแล้ว และอีกไม่นาน “ไอเฟค” จะมีคณะกรรมการชุดใหม่
คณะกรรมการไอเฟคชุดใหม่ ไม่เพียงแต่จะเข้าไปสะสางปัญหาต่างๆ ในบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้เท่านั้น แต่จะเข้าไปรื้อค้นสิ่งที่นายแพทย์วิชัยทำไว้ เพื่อตรวจสอบว่า มีขยะอะไรซุกไว้ใต้พรมหรือไม่
คนที่ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน ถือว่ามีฐานะเป็น ”เจ้าสัว” และ อาจจะเป็น “เจ้าสัวน้อย” มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง
ถ้าไม่โลภ ถ้าไม่กระทำความผิด บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ ตระหนักถึงความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นรายย่อย ไม่คิดโกง ไม่คิดเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย ชาตินี้น่าจะใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย
แต่หลายคนโลภ หลายคนไม่เพียงพอกับสิ่งที่มีอยู่ หลงเดินทางผิด คิดเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย และทำให้ตัวเองต้องเผชิญกับวิบากกรรม
นายแพทย์วิชัยแห่ง “ไอเฟค” น่าจะเป็นอุทาหรณ์ของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนคนอื่นๆ เมื่อสร้างเวรกับผู้ถือหุ้นรายย่อย วันหนึ่งจะหนี้กฎแห่งกรรมไม่พ้น
จุดจบ " หมอวิชัย " เตรียมรื้อขยะที่หมอซุกไว้ โดยสุนันท์ ศรีจันทรา IFEC
เผยแพร่: 11 ก.ย. 2560 14:50:00
การประกาศกล่าวโทษในความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นการปิดฉากนายแพทย์วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือหุ้นไอเฟค
หุ้นไอเฟคกำลังจะเริ่มต้นนับหนึ่ง ในกระบวนการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูการดำเนินงาน เพราะเมื่อไม่มีนายแพทย์วิชัยแล้ว ความขัดแย้งในการบริหารบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้น่าจะคลายตัวลง
สำหรับนายแพทย์วิชัยนับจากนี้คงไม่ต้องวุ่นวายกับการวางแผนในการกุมอำนาจการบริหารในไอเฟคแล้ว เพราะจะต้องสาละวนกับคดีต่างๆ ที่ถาโถมเข้าใส่
ไม่เฉพาะคดีที่ก.ล.ต.กล่าวโทษ ในความผิดแสวงหาประโยชน์โดยมิควรจากการเลือกตั้งกรรมการบริษัท ด้วยการลงคะแนนเสียงสะสม ทั้งที่ตามข้อบังคับบริษัททำ “ไม่ได้” และยังมีอีกหลายคดีที่จะตามมา
แน่แน่ที่ตามมาแล้วคือ คดีที่อดีตกรรมการบริษัทฟ้องในความผิดฐานแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท
ความปั่นป่วนของหุ้นไอเฟคเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนธันวาคม 2559 หลังจากบริษัทประกาศผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน (บี/อี) ครั้งแรก วงเงินประมาณ 100 ล้านบาท ก่อนที่จะมีการผิดนัดชำระหนี้อื่นตามมาเป็นระลอก
นอกจากปัญหาหนี้ที่ไม่สามรรถสะสางได้แล้ว งบการเงินปี 2559 บริษัทฯยังไม่สามารถนำส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ได้ตามกำหนดเวลาอีกด้วย
หุ้นไอเฟคถูกขึ้นเครื่องหมาย “เอสพี” พักการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2556 รวมเวลา 7 เดือนเต็มที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รับผลกระทบ โดยไม่รู้ชะตากรรมว่าจะใช้เวลานานขนาดไหนในการแก้ไขปัญหาภายใน
และอีกเมื่อไหร่หุ้นจะกลับมาซื้อขายใหม่แต่ที่หนักกว่าคือ กิจการที่ถือหุ้นอยู่จะล้มละลายหรือไม่
ไอเฟคอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากผู้ถือหุ้นใหญ่สองกลุ่ม ระหว่างกลุ่มนายแพทย์วิชัยและนายทวิช เตชะนาวากุล ซึ่งถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งในสัดส่วน 10.03 % ของทุนจดทะเบียนเกิดความขัดแย้งรุนแรง จนไม่อาจร่วมบริหารงานกันได้
การจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อคัดเลือกกรรมการชุดใหม่ แม้กลุ่มนายทวิชจะได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการไอเฟคเสียงข้างมาก แต่นายแพทย์วิชัยก็ยังกุมอำนาจการบริหารเบ็ดเสร็จ จนกรรมการกลุ่มนายทวิชต้องยกทีมลาออก
และเมื่อประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกกรรมการใหม่อีก นายแพทย์วิชัยก็ใช้วิธีการลงคะแนนสะสม ทำให้กลุ่มตัวเองได้รับการคัดเลือก
แต่การคัดเลือกกรรมการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้นายแพทย์วิชัยถูกก.ล.ต.กล่าวโทษ และต้องพ้นจากทุกตำแหน่งในนไอเฟค
การดิ้นรนเพื่อกุมอำนาจในไอเฟคของนายแพทย์วิชัยสิ้นสุดลงแล้ว และอีกไม่นาน “ไอเฟค” จะมีคณะกรรมการชุดใหม่
คณะกรรมการไอเฟคชุดใหม่ ไม่เพียงแต่จะเข้าไปสะสางปัญหาต่างๆ ในบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้เท่านั้น แต่จะเข้าไปรื้อค้นสิ่งที่นายแพทย์วิชัยทำไว้ เพื่อตรวจสอบว่า มีขยะอะไรซุกไว้ใต้พรมหรือไม่
คนที่ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน ถือว่ามีฐานะเป็น ”เจ้าสัว” และ อาจจะเป็น “เจ้าสัวน้อย” มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง
ถ้าไม่โลภ ถ้าไม่กระทำความผิด บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ ตระหนักถึงความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นรายย่อย ไม่คิดโกง ไม่คิดเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย ชาตินี้น่าจะใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย
แต่หลายคนโลภ หลายคนไม่เพียงพอกับสิ่งที่มีอยู่ หลงเดินทางผิด คิดเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย และทำให้ตัวเองต้องเผชิญกับวิบากกรรม
นายแพทย์วิชัยแห่ง “ไอเฟค” น่าจะเป็นอุทาหรณ์ของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนคนอื่นๆ เมื่อสร้างเวรกับผู้ถือหุ้นรายย่อย วันหนึ่งจะหนี้กฎแห่งกรรมไม่พ้น