เนื่องจากได้จดทะเบียนหย่ากับอดีตสามีได้ประมาณ 10 ปี แล้ว ในวันหย่า ไม่ได้ลงบันทึกอะไร
นอกจากบุตรทั้ง 2 คนอยู่ในการดูแลของเรา
หลังจากนั้นได้รับคำแนะนำจากคุณพ่อว่าให้อดีตสามีทำหนังสือเรื่องส่งเสียค่าเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนของลูกด้วย (เราไม่ได้ทำงาน)
เราได้พยายามอ้อนวอนให้อดีตสามีทำบันทึกเรื่องดังกล่าว แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงมาเรื่อยๆ ยื่นข้อแม้ต่างๆ
ซึ่งเราก็ได้ทำตามข้อแม้เพื่อที่จะได้บันทึกเรื่องค่าเลี้ยงดู ยอมรับค่ะว่าไม่ได้ศึกษากฏหมายให้ดีก่อนจะหย่า
และยังไว้ใจในความเป็นพ่อของลูกว่า เค้าคงไม่ละเลยหน้าที่
หลังจากได้บันทึกเพิ่มเติม เคยโทรไปสอบถามกับทางที่ว่าการอำเภอ ว่าเราสามารถนำบันทึกฉบับนี้แนบท้ายใบหย่าได้หรือไม่
ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่สามารถทำได้ เราเลยโทรปรึกษาทนายความว่า .... ถ้าในกรณีที่เค้าไม่ยอมส่งเสียค่าเลี้ยงดูตามเนื้อความในบันทึก เราจะแจ้งดำเนินคดีได้หรือไม่ ..... ทางทนายความแจ้งว่าสามารถทำได้
จนเมื่อประมาณ 7 เดือนที่ผ่านมา อดีตสามีไม่ได้ส่งเสียค่าเลี้ยงดู และค่าเล่าเรียน
ลูก, น้องสาว และคุณพ่อ พยายามติดต่อไปทุกทางก็ไม่มีการตอบรับ
ส่งไลน์ไปเปิดอ่านแต่ไม่ตอบกลับ โทรไปไม่รับสาย เงียบไปเฉยๆ แต่....ใน IG, Facebook โพสต์รูปภาพไปเที่ยว ไปทำบุญ
ทานอาหารร้านหรูๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น น้องสาวและลูกส่งไลน์ไปว่า มีเงินเรียนแค่เทอมนี้เทอมสุดท้าย
ก็ไม่ได้รับคำตอบอะไรกลับมา
เราเลยไปแจ้งความพร้อมนำบันทึกที่อดีตสามีเคยทำไว้ไปด้วย
คำตอบที่ได้จากเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ....
1. ไม่มีบันทึกหลังใบหย่า ทำอะไรไม่ได้อยู่แล้ว
2. ในเนื้อความไม่ได้ระบุว่าจะส่งเสียจำนวนเท่าไหร่
3. ต้องพิสูจน์อักษร ว่าเป็นของอดีตสามีจริงหรือไม่ เนื่องจากในบันทึกเขียนไม่มีหัวจดหมายจากบริษัท
มีเพียงชื่อ นามสกุล / วันที่ทำบันทึก / เนื้อความ / รหัสบริษัท / รหัสเงินเดือน / รหัสหน่วยงาน / ลายเซ็นต์
4. เป็นการทำบันทึกเพียงฝ่ายเดียว ไม่มีพยาน ไม่มีลายเซ็นต์เรา มีแต่ลายเซ็นต์อดีตสามี
5. ถ้าจะทำบันทึกไว้ สามารถทำได้ เพื่อนำไปฟ้องศาล
และสุดท้าย เจ้าหน้าให้ข้อคิดเห็นว่า .... ผู้หญิงหลายคน ไม่ได้รับค่าเลี้ยงดูจากอดีตสามี แต่เค้าก็ยอมรับได้ ไม่เห็นต้องมาแจ้งความเหมือนเรา ....
ตามรายละเอียดทั้งหมด เราไม่รู้ว่าเราควรทำอย่างไรต่อไป ตอนนี้ทั้งครอบครัวก็เครียดกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่รู้จะหันไปทางไหนค่ะ
รบกวนช่วยแนะนำทีนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
* ลบคำที่เกินออกค่ะ *
ไม่ได้ลงบันทึกหลังใบหย่าเรื่องค่าเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนบุตร มีแต่บันทึกหลังจากหย่า นำมาเรียกร้องได้หรือไม่
นอกจากบุตรทั้ง 2 คนอยู่ในการดูแลของเรา
หลังจากนั้นได้รับคำแนะนำจากคุณพ่อว่าให้อดีตสามีทำหนังสือเรื่องส่งเสียค่าเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนของลูกด้วย (เราไม่ได้ทำงาน)
เราได้พยายามอ้อนวอนให้อดีตสามีทำบันทึกเรื่องดังกล่าว แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงมาเรื่อยๆ ยื่นข้อแม้ต่างๆ
ซึ่งเราก็ได้ทำตามข้อแม้เพื่อที่จะได้บันทึกเรื่องค่าเลี้ยงดู ยอมรับค่ะว่าไม่ได้ศึกษากฏหมายให้ดีก่อนจะหย่า
และยังไว้ใจในความเป็นพ่อของลูกว่า เค้าคงไม่ละเลยหน้าที่
หลังจากได้บันทึกเพิ่มเติม เคยโทรไปสอบถามกับทางที่ว่าการอำเภอ ว่าเราสามารถนำบันทึกฉบับนี้แนบท้ายใบหย่าได้หรือไม่
ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่สามารถทำได้ เราเลยโทรปรึกษาทนายความว่า .... ถ้าในกรณีที่เค้าไม่ยอมส่งเสียค่าเลี้ยงดูตามเนื้อความในบันทึก เราจะแจ้งดำเนินคดีได้หรือไม่ ..... ทางทนายความแจ้งว่าสามารถทำได้
จนเมื่อประมาณ 7 เดือนที่ผ่านมา อดีตสามีไม่ได้ส่งเสียค่าเลี้ยงดู และค่าเล่าเรียน
ลูก, น้องสาว และคุณพ่อ พยายามติดต่อไปทุกทางก็ไม่มีการตอบรับ
ส่งไลน์ไปเปิดอ่านแต่ไม่ตอบกลับ โทรไปไม่รับสาย เงียบไปเฉยๆ แต่....ใน IG, Facebook โพสต์รูปภาพไปเที่ยว ไปทำบุญ
ทานอาหารร้านหรูๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น น้องสาวและลูกส่งไลน์ไปว่า มีเงินเรียนแค่เทอมนี้เทอมสุดท้าย
ก็ไม่ได้รับคำตอบอะไรกลับมา
เราเลยไปแจ้งความพร้อมนำบันทึกที่อดีตสามีเคยทำไว้ไปด้วย
คำตอบที่ได้จากเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ....
1. ไม่มีบันทึกหลังใบหย่า ทำอะไรไม่ได้อยู่แล้ว
2. ในเนื้อความไม่ได้ระบุว่าจะส่งเสียจำนวนเท่าไหร่
3. ต้องพิสูจน์อักษร ว่าเป็นของอดีตสามีจริงหรือไม่ เนื่องจากในบันทึกเขียนไม่มีหัวจดหมายจากบริษัท
มีเพียงชื่อ นามสกุล / วันที่ทำบันทึก / เนื้อความ / รหัสบริษัท / รหัสเงินเดือน / รหัสหน่วยงาน / ลายเซ็นต์
4. เป็นการทำบันทึกเพียงฝ่ายเดียว ไม่มีพยาน ไม่มีลายเซ็นต์เรา มีแต่ลายเซ็นต์อดีตสามี
5. ถ้าจะทำบันทึกไว้ สามารถทำได้ เพื่อนำไปฟ้องศาล
และสุดท้าย เจ้าหน้าให้ข้อคิดเห็นว่า .... ผู้หญิงหลายคน ไม่ได้รับค่าเลี้ยงดูจากอดีตสามี แต่เค้าก็ยอมรับได้ ไม่เห็นต้องมาแจ้งความเหมือนเรา ....
ตามรายละเอียดทั้งหมด เราไม่รู้ว่าเราควรทำอย่างไรต่อไป ตอนนี้ทั้งครอบครัวก็เครียดกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่รู้จะหันไปทางไหนค่ะ
รบกวนช่วยแนะนำทีนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
* ลบคำที่เกินออกค่ะ *