เพลิงบุญ (2017)
---
ละครเรื่องนี้อาจซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด
อยากรู้ อ่านเล้ย!
นับเป็นละครที่ดูสนุก แซ่บ เผ็ดร้อนเรื่องหนึ่ง ละครเรื่องนี้สามารถมองได้หลายแง่มุม วันนี้อยากชวนมาสวมแว่นจิตวิเคราะห์มอง 'เพลิงบุญ' กันสักนิด
...
///ตัวละครหลักทั้งสามล้วนวนเวียนอยู่ในตัวเรา///
เราทุกคนมีความเป็นใจเริง พี่ฤกษ์ และพิม อยู่ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าวันไหน เวลาใดที่ตัวไหนจะเผยตัวเองออกมาให้คนอื่นได้เห็น ละครโทรทัศน์มักเสนอตัวละครแบบขาวจัดดำจัด ยิ่งทำให้ตัวละครแต่ละตัวสะท้อนคุณสมบัติแต่ละด้านของมนุษย์ได้ชัดเจน มาดูกันว่าเราเป็นใครในเรื่องบ้าง
...
///ใจเริง คือ อิด///
หากเชื่อฟรอยด์ มนุษย์เรามีโครงสร้าง 3 อย่างอยู่ในจิตใจ คือ Id / Ego / Superego "ใจเริง" เป็นตัวแทนของ "อิด" คือตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งยังไม่ถูกขัดเกลา อิดบังคับให้เราทำตามสัญชาตญาณดิบของตัวเอง คือสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตต่างๆ เช่น ความอยากอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย หลีกจากความตาย จะว่าไป "อิด" มีนิสัยเหมือนเด็กบวกกับคนโลภ คือหักห้ามใจตัวเองไม่ได้ เอาตัวเองเป็นใหญ่ ไม่คิดถึงจิตใจคนอื่น ไม่คำนึงถึงค่านิยมของสังคม หากตัดสินด้วยไม้บรรทัดของสังคม คนแบบ "ใจเริง" ย่อมถูกมองว่าเป็นคนที่มีพฤติกรรม "ไม่เหมาะสม" ในบรรดาตัวละครหลักสามคน "ใจเริง" นับเป็นคนที่ "ดิบ" ที่สุด ซึ่งชื่อก็สะท้อนถึงความเป็น "อิด" ของเธอชัดเจน "ใจเริง" คือคนที่ทำอะไรเพื่อบำเรอใจตัวเองให้เริงรมย์
...
///พี่ฤกษ์ คือ อีโก้///
"อีโก้" คือส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ "อิด" โดยอาศัยกฎเกณฑ์ของสังคม และหลักแห่งความเป็นจริงมาช่วยในการตัดสินใจ "อีโก้" จะไม่ยอมให้ "อิด" พาเราไปตามความพอใจหรือตามสัญชาตญาณดิบเพียงอย่างเดียว "อีโก้" จึงเป็นส่วนของจิตใจที่มีเหตุผล ทำอะไรเหมาะกับกาลเทศะ คนที่มี "อีโก้" แข็งแรงจะสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งชื่อของ "พี่ฤกษ์" ก็สะท้อนถึงสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดี การไม่เอาแต่ใจตัวเอง ดูฤกษ์งามยามเหมาะ ล้วนแล้วแต่เป็นกติกาที่ยอมรับร่วมกันในสังคม แต่ "อีโก้" ต้องต่อสู้กับ "อิด" อยู่เสมอ บางทีก็ชนะ บางทีก็แพ้
...
///พิม คือ ซูเปอร์อีโก้///
บางคนอาจหงุดหงิดเวลาเห็น "พิม" ที่ทำตัวเหมือนแม่พระ แต่บุคลิกพิมถูกกำหนดมาให้ต่างจาก "ใจเริง" คนละขั้ว หาก "ใจเริง" คือ "ความดิบ" "พิม" คือ "การขัดเกลา" ซูเปอร์อีโก้คือมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจากการอบรมสั่งสอน จากประสบการณ์ส่วนตัว โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่างๆ ในสังคมนั้น "พิม" จึงเป็นตัวแทนความดีงามทั้งกาย วาจา ใจ โดยแท้ ซึ่งคำว่า "พิม" นั้นกร่อนมาจากคำว่า "พิมพ์" ก็สะท้อนถึงสิ่งนี้ชัดเจนเช่นกัน "พิม" คือพิมพ์นิยมของสังคม หากทำตัวได้แบบ "พิม" สังคมก็จะชื่นชมและรักใคร่
...
///พี่ฤกษ์ผู้อยู่ตรงกลางของความขัดแย้ง///
ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ อีโก้เป็นผู้อยู่ตรงกลางที่ต้องคอยสร้างความประนีประนอมระหว่างอิดกับซูเปอร์อีโก้ตลอดเวลา หาก "อิด" เอาแต่ใจตัวเองเกินไปก็ต้องกดไว้ ไม่งั้นชีวิตจะ
แต่ถ้า "ซูเปอร์อีโก้" ดีงามเกินไปก็อาจพบความลำบากในชีวิตได้เช่นกัน พี่ฤกษ์จึงเป็นตัวแทนของการรับมือกับความต้องการดิบเถื่อน และความดีงามระดับนางฟ้า ซึ่งการอยู่กับทั้งสองฟากฝั่งที่สุดโต่งทั้งคู่นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ในบรรดาตัวละครทั้งสาม "พี่ฤกษ์" จึงมีความเป็นมนุษย์ปุถุชนที่สุด นั่นทำให้คนดูต้องคอยลุ้นให้พี่ฤกษ์ไม่แพ้ "อิด" แบบใจเริง แล้วมุ่งหน้าคืนดีกับ "ซูเปอร์อีโก้" แบบพิมให้ได้
...
///เหตุใดเราจึงไม่เกลียดใจเริงเสียทีเดียว///
ในส่วนลึกที่สุด แม้เรารังเกียจใจเริงมากแค่ไหน แต่ลึกๆ แล้วเราพอจะทำความเข้าใจตัวละครตัวนี้ได้ บางครั้งถึงขั้นสงสาร และอาจมีบางแว่บด้วยซ้ำที่แอบคิดว่า ฉันก็อยากทำแบบนี้ในบางเวลา อยากหลุดออกไปจากกรอบของสังคม อยากทำอะไรตามใจ อยากทำอะไรที่บำเรอความสุขให้ตัวเองบ้าง ทั้งนี้เพราะ "ใจเริง" ก็อยู่ในตัวเราทุกคน เพราะเธอคือ "อิด" ที่เราทุกคนมี แต่ถูก "อีโก้" กดทับไว้ เมื่อได้ดู "ใจเริง" อิดในตัวเราจึงเต้นเร่าๆ เพราะถูกกระตุ้นโดยเพื่อนของมัน
...
///ดีเกินไปก็น่าเบื่อ///
สุดท้าย "เพลิงบุญ" น่าจะดำเนินไปสู่จุดที่มนุษย์ทั้งหลายในเรื่องพยายามหา "สมดุล" ในชีวิตและในจิตใจของตัวเองให้เจอ "พิม" ต้องเปลี่ยนตัวเองให้ไม่ดีงามดุจนางฟ้า ต้องยอมลด "ซูเปอร์อีโก้" ของตัวเองลงมาสู้รบกับมนุษย์มนาบ้าง มองอะไรตามจริงบ้าง มิใช่สวยงามล่องลอยอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ ส่วน "ใจเริง" เองก็คงต้องพยายามใส่ "ซูเปอร์อีโก้" เข้าไปในตัว หรือไม่ก็ยอมให้พี่ฤกษ์หรือ "อีโก้" ควบคุมให้อยู่ในร่องในรอยมากขึ้น มิฉะนั้นละครเรื่องนี้ก็อาจจบลงตามสูตรละครไทยทั่วไปคือ นางอิจฉาต้องเป็นบ้าและถูกกันออกจากสังคม เพราะสังคมไม่ต้อนรับ "อิด" ที่ดิบขนาดนั้น ส่วน "พี่ฤกษ์" ก็คงได้บทเรียนจากการยอมตามใจ "อิด" ขณะเดียวกันก็ต้องการสมดุลที่ขึ้นของ "ซูเปอร์อีโก้" เพราะถ้าต้องอยู่กับพิมที่ดีงามดุจนางฟ้าตลอดเวลาก็อาจทำให้โหยหาความดิบเถื่อนอยู่เหมือนกัน ดีเกินไปก็น่าเบื่อ ไม่ได้หมายถึงพิม หากหมายถึงชีวิตทั่วๆ ไปที่ถ้าต้องดีงามตลอดเวลาก็คงน่าเบื่อน่าดู
...
///คนดูได้อะไร///
นอกจากความสะใจ เกลียดชัง และตามเชียร์ ด่าคนแย่งเมีย ด่าผัว และอะไรต่อมิอะไรที่เราได้กระทำกันด้วยความหฤหรรษ์แล้ว สิ่งที่คนดูน่าจะได้รับจากละครเรื่องนี้คือ ความเข้าใจในตัวเพื่อนมนุษย์ที่ล้วนแล้วแต่มีองค์ประกอบทั้งสามสิ่งนี้ในจิตใจ บางคนอาจอยู่ในช่วงเวลาที่ "อิด" ออกมาเริงระบำมากหน่อย บางคนอาจยังอยู่ในช่วงเพ้อฝันแบบ "ซูเปอร์อีโก้" ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการเวลาให้ "อีโก้" ได้จัดการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นในจิตใจด้วยกันทั้งสิ้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่
นอกจากนั้นยังได้ลองสังเกตจิตใจตัวเองอีกด้วยว่า กำลังเสียสมดุลไปทางไหน หากเป็น "พิม" มากเกินไปก็อาจต้องหาเวลาและพื้นที่ให้ "ความเป็นใจเริง" ของตัวเองได้ออกมาวิ่งเล่นบ้างในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ได้หมายถึงการแย่งสามีชาวบ้าน แต่อาจเป็นการทำอะไรตามใจตัวเองเล็กๆ น้อยๆ เป็นครั้งคราว เช่น กินของหวานๆ อร่อยๆ โดดลงน้ำทะเล แหกปากร้องคาราโอเกะดังๆ ฯลฯ ให้ความดิบในตัวได้ปลดปล่อยออกมาบ้าง ไม่กดมันไว้ในกฎระเบียบตลอดเวลาจนเหมือนภูเขาไฟที่รอวันปะทุ
ดีเกินไปก็อึดอัด เพราะเรากด "อิด" ไว้มากไป
ดิบเกินไปก็ไม่ไหว เพราะสังคมไม่ยอมรับ จะลำบาก
"พี่ฤกษ์" ในตัวเราย่อมทำงานหนัก หากไม่หมั่นสร้างสมดุลในจิตใจไว้เสมอๆ เพราะ "ใจเริง" กับ "พิม" จะต่อสู้กันอย่างรุนแรง
และนี่เองที่อาจทำให้เราดู "เพลิงบุญ" ด้วยความสนุกสนานสำราญใจ เพราะตัวละครหลักทั้งสามตัวล้วนวนเวียนอยู่ในจิตใจของเรา ถึงจะเกลียดตัวละครบางตัว ถึงจะผิดหวังกับตัวละครบางตัว ถึงจะหมั่นไส้ตัวละครบางตัว แต่เราก็นั่งดูต่อไปอย่างติดหนึบ ทั้งนี้เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในละคร หากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราอยู่ทุกเวลานาที
ใช่, ในใจเรามีการต่อสู้ระหว่างใจเริง พี่ฤกษ์ และพิม อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
---
หมายเหตุ: คะแนน 7 คือความสนุกสนานของละคร นับเป็นละครที่ดูสนุกและชวนติดตาม แต่ด้วยความชัดเจนของตัวละครที่ขาวจัด-ดำจัดตามลักษณะละครไทยทำให้ความลึกของความเป็นมนุษย์น้อยไปสักนิด ถึงอย่างไรก็มีเรื่องชวนคิดมากมายในแง่จิตวิเคราะห์ ซึ่งสนุกดีครับ
---
กดไลก์/กดติดตามเพจนี้ไว้ได้นะครับ
จะทยอยนำหนัง/ละครมาชวนกันค้นความหมายไปเรื่อยๆ
#บรู๊ซวิลลิสเป็นผี #ดูหนังจบแล้วมาคุยกัน
#หนังจบคนดูไม่จบ
https://www.facebook.com/136849053597390/photos/a.137064470242515.1073741828.136849053597390/137328303549465/?type=3&theater
เพลิงบุญ (2017) --- ละครเรื่องนี้อาจซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด อยากรู้ อ่านเล้ย! เป็นบทวิเคราะห์ที่ดีมาก
---
ละครเรื่องนี้อาจซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด
อยากรู้ อ่านเล้ย!
นับเป็นละครที่ดูสนุก แซ่บ เผ็ดร้อนเรื่องหนึ่ง ละครเรื่องนี้สามารถมองได้หลายแง่มุม วันนี้อยากชวนมาสวมแว่นจิตวิเคราะห์มอง 'เพลิงบุญ' กันสักนิด
...
///ตัวละครหลักทั้งสามล้วนวนเวียนอยู่ในตัวเรา///
เราทุกคนมีความเป็นใจเริง พี่ฤกษ์ และพิม อยู่ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าวันไหน เวลาใดที่ตัวไหนจะเผยตัวเองออกมาให้คนอื่นได้เห็น ละครโทรทัศน์มักเสนอตัวละครแบบขาวจัดดำจัด ยิ่งทำให้ตัวละครแต่ละตัวสะท้อนคุณสมบัติแต่ละด้านของมนุษย์ได้ชัดเจน มาดูกันว่าเราเป็นใครในเรื่องบ้าง
...
///ใจเริง คือ อิด///
หากเชื่อฟรอยด์ มนุษย์เรามีโครงสร้าง 3 อย่างอยู่ในจิตใจ คือ Id / Ego / Superego "ใจเริง" เป็นตัวแทนของ "อิด" คือตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งยังไม่ถูกขัดเกลา อิดบังคับให้เราทำตามสัญชาตญาณดิบของตัวเอง คือสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตต่างๆ เช่น ความอยากอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย หลีกจากความตาย จะว่าไป "อิด" มีนิสัยเหมือนเด็กบวกกับคนโลภ คือหักห้ามใจตัวเองไม่ได้ เอาตัวเองเป็นใหญ่ ไม่คิดถึงจิตใจคนอื่น ไม่คำนึงถึงค่านิยมของสังคม หากตัดสินด้วยไม้บรรทัดของสังคม คนแบบ "ใจเริง" ย่อมถูกมองว่าเป็นคนที่มีพฤติกรรม "ไม่เหมาะสม" ในบรรดาตัวละครหลักสามคน "ใจเริง" นับเป็นคนที่ "ดิบ" ที่สุด ซึ่งชื่อก็สะท้อนถึงความเป็น "อิด" ของเธอชัดเจน "ใจเริง" คือคนที่ทำอะไรเพื่อบำเรอใจตัวเองให้เริงรมย์
...
///พี่ฤกษ์ คือ อีโก้///
"อีโก้" คือส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ "อิด" โดยอาศัยกฎเกณฑ์ของสังคม และหลักแห่งความเป็นจริงมาช่วยในการตัดสินใจ "อีโก้" จะไม่ยอมให้ "อิด" พาเราไปตามความพอใจหรือตามสัญชาตญาณดิบเพียงอย่างเดียว "อีโก้" จึงเป็นส่วนของจิตใจที่มีเหตุผล ทำอะไรเหมาะกับกาลเทศะ คนที่มี "อีโก้" แข็งแรงจะสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งชื่อของ "พี่ฤกษ์" ก็สะท้อนถึงสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดี การไม่เอาแต่ใจตัวเอง ดูฤกษ์งามยามเหมาะ ล้วนแล้วแต่เป็นกติกาที่ยอมรับร่วมกันในสังคม แต่ "อีโก้" ต้องต่อสู้กับ "อิด" อยู่เสมอ บางทีก็ชนะ บางทีก็แพ้
...
///พิม คือ ซูเปอร์อีโก้///
บางคนอาจหงุดหงิดเวลาเห็น "พิม" ที่ทำตัวเหมือนแม่พระ แต่บุคลิกพิมถูกกำหนดมาให้ต่างจาก "ใจเริง" คนละขั้ว หาก "ใจเริง" คือ "ความดิบ" "พิม" คือ "การขัดเกลา" ซูเปอร์อีโก้คือมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจากการอบรมสั่งสอน จากประสบการณ์ส่วนตัว โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่างๆ ในสังคมนั้น "พิม" จึงเป็นตัวแทนความดีงามทั้งกาย วาจา ใจ โดยแท้ ซึ่งคำว่า "พิม" นั้นกร่อนมาจากคำว่า "พิมพ์" ก็สะท้อนถึงสิ่งนี้ชัดเจนเช่นกัน "พิม" คือพิมพ์นิยมของสังคม หากทำตัวได้แบบ "พิม" สังคมก็จะชื่นชมและรักใคร่
...
///พี่ฤกษ์ผู้อยู่ตรงกลางของความขัดแย้ง///
ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ อีโก้เป็นผู้อยู่ตรงกลางที่ต้องคอยสร้างความประนีประนอมระหว่างอิดกับซูเปอร์อีโก้ตลอดเวลา หาก "อิด" เอาแต่ใจตัวเองเกินไปก็ต้องกดไว้ ไม่งั้นชีวิตจะ แต่ถ้า "ซูเปอร์อีโก้" ดีงามเกินไปก็อาจพบความลำบากในชีวิตได้เช่นกัน พี่ฤกษ์จึงเป็นตัวแทนของการรับมือกับความต้องการดิบเถื่อน และความดีงามระดับนางฟ้า ซึ่งการอยู่กับทั้งสองฟากฝั่งที่สุดโต่งทั้งคู่นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ในบรรดาตัวละครทั้งสาม "พี่ฤกษ์" จึงมีความเป็นมนุษย์ปุถุชนที่สุด นั่นทำให้คนดูต้องคอยลุ้นให้พี่ฤกษ์ไม่แพ้ "อิด" แบบใจเริง แล้วมุ่งหน้าคืนดีกับ "ซูเปอร์อีโก้" แบบพิมให้ได้
...
///เหตุใดเราจึงไม่เกลียดใจเริงเสียทีเดียว///
ในส่วนลึกที่สุด แม้เรารังเกียจใจเริงมากแค่ไหน แต่ลึกๆ แล้วเราพอจะทำความเข้าใจตัวละครตัวนี้ได้ บางครั้งถึงขั้นสงสาร และอาจมีบางแว่บด้วยซ้ำที่แอบคิดว่า ฉันก็อยากทำแบบนี้ในบางเวลา อยากหลุดออกไปจากกรอบของสังคม อยากทำอะไรตามใจ อยากทำอะไรที่บำเรอความสุขให้ตัวเองบ้าง ทั้งนี้เพราะ "ใจเริง" ก็อยู่ในตัวเราทุกคน เพราะเธอคือ "อิด" ที่เราทุกคนมี แต่ถูก "อีโก้" กดทับไว้ เมื่อได้ดู "ใจเริง" อิดในตัวเราจึงเต้นเร่าๆ เพราะถูกกระตุ้นโดยเพื่อนของมัน
...
///ดีเกินไปก็น่าเบื่อ///
สุดท้าย "เพลิงบุญ" น่าจะดำเนินไปสู่จุดที่มนุษย์ทั้งหลายในเรื่องพยายามหา "สมดุล" ในชีวิตและในจิตใจของตัวเองให้เจอ "พิม" ต้องเปลี่ยนตัวเองให้ไม่ดีงามดุจนางฟ้า ต้องยอมลด "ซูเปอร์อีโก้" ของตัวเองลงมาสู้รบกับมนุษย์มนาบ้าง มองอะไรตามจริงบ้าง มิใช่สวยงามล่องลอยอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ ส่วน "ใจเริง" เองก็คงต้องพยายามใส่ "ซูเปอร์อีโก้" เข้าไปในตัว หรือไม่ก็ยอมให้พี่ฤกษ์หรือ "อีโก้" ควบคุมให้อยู่ในร่องในรอยมากขึ้น มิฉะนั้นละครเรื่องนี้ก็อาจจบลงตามสูตรละครไทยทั่วไปคือ นางอิจฉาต้องเป็นบ้าและถูกกันออกจากสังคม เพราะสังคมไม่ต้อนรับ "อิด" ที่ดิบขนาดนั้น ส่วน "พี่ฤกษ์" ก็คงได้บทเรียนจากการยอมตามใจ "อิด" ขณะเดียวกันก็ต้องการสมดุลที่ขึ้นของ "ซูเปอร์อีโก้" เพราะถ้าต้องอยู่กับพิมที่ดีงามดุจนางฟ้าตลอดเวลาก็อาจทำให้โหยหาความดิบเถื่อนอยู่เหมือนกัน ดีเกินไปก็น่าเบื่อ ไม่ได้หมายถึงพิม หากหมายถึงชีวิตทั่วๆ ไปที่ถ้าต้องดีงามตลอดเวลาก็คงน่าเบื่อน่าดู
...
///คนดูได้อะไร///
นอกจากความสะใจ เกลียดชัง และตามเชียร์ ด่าคนแย่งเมีย ด่าผัว และอะไรต่อมิอะไรที่เราได้กระทำกันด้วยความหฤหรรษ์แล้ว สิ่งที่คนดูน่าจะได้รับจากละครเรื่องนี้คือ ความเข้าใจในตัวเพื่อนมนุษย์ที่ล้วนแล้วแต่มีองค์ประกอบทั้งสามสิ่งนี้ในจิตใจ บางคนอาจอยู่ในช่วงเวลาที่ "อิด" ออกมาเริงระบำมากหน่อย บางคนอาจยังอยู่ในช่วงเพ้อฝันแบบ "ซูเปอร์อีโก้" ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการเวลาให้ "อีโก้" ได้จัดการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นในจิตใจด้วยกันทั้งสิ้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่
นอกจากนั้นยังได้ลองสังเกตจิตใจตัวเองอีกด้วยว่า กำลังเสียสมดุลไปทางไหน หากเป็น "พิม" มากเกินไปก็อาจต้องหาเวลาและพื้นที่ให้ "ความเป็นใจเริง" ของตัวเองได้ออกมาวิ่งเล่นบ้างในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ได้หมายถึงการแย่งสามีชาวบ้าน แต่อาจเป็นการทำอะไรตามใจตัวเองเล็กๆ น้อยๆ เป็นครั้งคราว เช่น กินของหวานๆ อร่อยๆ โดดลงน้ำทะเล แหกปากร้องคาราโอเกะดังๆ ฯลฯ ให้ความดิบในตัวได้ปลดปล่อยออกมาบ้าง ไม่กดมันไว้ในกฎระเบียบตลอดเวลาจนเหมือนภูเขาไฟที่รอวันปะทุ
ดีเกินไปก็อึดอัด เพราะเรากด "อิด" ไว้มากไป
ดิบเกินไปก็ไม่ไหว เพราะสังคมไม่ยอมรับ จะลำบาก
"พี่ฤกษ์" ในตัวเราย่อมทำงานหนัก หากไม่หมั่นสร้างสมดุลในจิตใจไว้เสมอๆ เพราะ "ใจเริง" กับ "พิม" จะต่อสู้กันอย่างรุนแรง
และนี่เองที่อาจทำให้เราดู "เพลิงบุญ" ด้วยความสนุกสนานสำราญใจ เพราะตัวละครหลักทั้งสามตัวล้วนวนเวียนอยู่ในจิตใจของเรา ถึงจะเกลียดตัวละครบางตัว ถึงจะผิดหวังกับตัวละครบางตัว ถึงจะหมั่นไส้ตัวละครบางตัว แต่เราก็นั่งดูต่อไปอย่างติดหนึบ ทั้งนี้เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในละคร หากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราอยู่ทุกเวลานาที
ใช่, ในใจเรามีการต่อสู้ระหว่างใจเริง พี่ฤกษ์ และพิม อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
---
หมายเหตุ: คะแนน 7 คือความสนุกสนานของละคร นับเป็นละครที่ดูสนุกและชวนติดตาม แต่ด้วยความชัดเจนของตัวละครที่ขาวจัด-ดำจัดตามลักษณะละครไทยทำให้ความลึกของความเป็นมนุษย์น้อยไปสักนิด ถึงอย่างไรก็มีเรื่องชวนคิดมากมายในแง่จิตวิเคราะห์ ซึ่งสนุกดีครับ
---
กดไลก์/กดติดตามเพจนี้ไว้ได้นะครับ
จะทยอยนำหนัง/ละครมาชวนกันค้นความหมายไปเรื่อยๆ
#บรู๊ซวิลลิสเป็นผี #ดูหนังจบแล้วมาคุยกัน
#หนังจบคนดูไม่จบ
https://www.facebook.com/136849053597390/photos/a.137064470242515.1073741828.136849053597390/137328303549465/?type=3&theater