ห่างเหินการเขียนกระทู้มาหลายเดือน เนื่องจากอาการป่วย
บัดนี้อาการป่วยดีขึ้นมาก ประกอบกับทุก
วันที่ 9 เดือน 9 ของทุกปีจะเขียนบทความให้ห้องเพลง
ปีนี้เลยอยากทำหน้าที่ต่อ จึงขออนุญาต MC ห้องเพลง เขียนกระทู้ ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์พื้นที่เหมือนเช่นเคย
ก็ขอขอบคุณ เพื่อนสมาชิกห้องเพลงทุกคนไว้ ณ. ที่นี้
ย้อนไปอดีตเมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ 2528
ในตอนเวลาประมาณตี 3 รถถังจาก
กองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า ม.พัน 4 รอ.
ก็เข้าควบคุมกองบัญชาการทหารสูงสุด พร้อมกับสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งใน กทม
คณะทหารก่อการชุดนี้ ได้ให้
นายทหารนอกราชการ 3 คนเป็นผู้นำคือ
พลเอก เสริม ณ.นคร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ.อยุธยา
(ต่อไปนี้จะเรียกฝ่ายนี้ว่า "ฝ่ายกบฏ")
เมื่อถึงเวลาเช้า ฝ่ายกบฏเริ่มเปิดฉากยิงไปที่เสาอากาศของสถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
และยิงปืนกลกราดเข้าไปในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ทำให้มีผู้สื่อข่าวต่างชาติเสียชีวิต 2 คน
ซึ่งเป็นเรื่องแปลกอยู่อย่างคือ 1 ในนักข่าวที่เสียชีวิต เคยทำข่าวผ่านสงครามเวียดนาม
ที่ได้ชื่อว่าโหดร้ายมากที่สุดสมรภูมิหนึ่ง แต่กลับไม่เป็นไร แต่ต้องมาตายเพราะกบฏเล็กๆที่เมืองไทย
ภาพความเสียหายที่ฝ่ายกบฎยิงสถานีวิทยุ
ขณะนั้นผู้นำระดับสูงของไทยคือ นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม และ ผบ.ทบ พลเอก อาทิตย์
ไปราชการต่างประเทศทั้งคู่ หน้าที่ในการปราบกบฏจึงตกเป็นของ
พลเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ รอง ผบ.ทบ ในขณะนั้น
เมื่อถึงเวลาบ่าย ความชัดเจนก็เริ่มปรากฎขึ้นว่า หัวหน้าฝ่ายกบฏที่แท้จริงคือ
2 พี่น้อง พันเอก มนูญ และ นาวาโท มนัส รูปขจร
การเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายกบฏดำเนินมาถึงตอนเย็นก็ยุติ
โดยพันเอก มนูญ ได้ก้มลงกราบ พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ ตัวแทนฝ่ายรัฐบาล เพื่อฝากฝังครอบครัว
และยอมลี้ภัยไปต่างประเทศ สิ้นสุดการกบฏในครั้งนี้
ภายหลังกบฏครั้งนี้ มีการวิเคราะห์กันว่า
ลำพังขุมกำลังของสองพี่น้อง มนูญ มนัส ไม่น่ากล้าก่อการ น่าจะมีนายทหารที่คุมกำลังขณะนั้น
หนุนหลังอยู่ จึงมีวลีสำหรับกบฏครั้งนี้ว่า
"กบฏ นัดแล้วไม่มา"
(ผู้ที่เป็นไอ้โม่งที่นัดแล้วไม่มา เป็น 2 นายทหารใหญ่ คนหนึ่งเสียชีวิตแล้ว อีกคนก่อนหน้านี้มีตำแหน่งที่ทรงเกียรติ)
ผู้สื่อข่าวสมัยนั้นจึงมักเขียนแซวเหตุการณ์ครั้งนี้
โดยใช้เนื้อร้องท่อนหนึ่งของเพลงฮิตสมัยนั้นว่า
"นัดกันไว้ นัดแล้วไยไม่มา นัดเอาไว้ นัดแล้วลืมสัญญา ฮา หา ฮ่า ฮา ฮ้า"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หาเพลงนี้ไม่เจอ ใครหาได้ช่วยมาเปิดหน่อย ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ยังมีตัวละครพลเรือนอีก 2 คน ที่มีบทบาทในกบฏครั้งนี้คือ
เอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ต้องหาคดี แชร์ชาร์เตอร์ ที่ลือกันว่า เป็นผู้สนับสนุนทุนรอนในการก่อการครั้งนี้
อีกคนที่มีบทบาทมากในกบฏครั้งนี้คือ
ยืนยง โอภากุล หรือ แอ้ด คาราบาว
ตามแผนการ คาราบาว ได้รับมอบหมายให้เปิดเวทีแสดงคอนเสิร์ตที่สวนอัมพร
และจะมีการถ่ายทอดสด พร้อมกับ อ่านแถลงการณ์คณะผู้ก่อการ
แต่แผนไม่สำเร็จ รถถังฝ่ายรัฐบาลได้ยิงไปที่เวทีจนกระเจิง
อีก 3 เดือนต่อมา คาราบาว ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 6 มีชื่อว่า
"อเมริโกย"
แต่ถ้าเราพิจารณาจากปกแล้วก็จะรู้ความนัยที่คาราบาวมีความสัมพันธ์กับกบฎครั้งนี้ คือ
เมื่อกลับปกเทปคาราบาวชุดนี้ ข้อความจะเป็น 9 กันยายน ดังรูป
และในเพลงที่ 2 ของอัลบั้มชุดนี้ ที่มีชื่อว่า "มะโหนก" ในเนื้อเพลง
ได้
กล่าวยกย่อง พลทหาร มะโหนก ซึ่งสังกัด ม.พัน 4 รอ. ซึ่งเป็นหน่วยที่ พันเอก มนูญ
เคยบังคับบัญชาอยู่ และที่สำคัญในตอนจบของเพลงนี้ ได้มีการจำลองเสียงปืน
และเสียงคนตะโกนโหวกเหวก ที่ยิงใส่เวทีแสดงสด ที่สวนอัมพรในวันที่ 9 เดือน 9 ของปีนั้นด้วย
มาลองฟังเพลง มะโหนก กันดู
ป.ล ข้อมูลและเนื้อหาในกระทู้บางส่วนมาจากหนังสือ
"กบฏสองพี่น้อง"
ป.ล 2 การเมืองไทยในสมัยก่อน ไม่ได้เล่นกันเอาเป็นเอาตายเหมือนสมัยนี้
ป.ล 3 สายตายังไม่เข้าที่ดี ถ้ามีตัวสะกดผิด ขอโทษด้วย ใช้สายตานานๆแล้วเบลอ
ป.ล 4 เนื้อหาอาจจะหนักไปหน่อย ไม่ค่อยเหมาะกับห้องเพลง ที่มีบรรยากาศสบายๆ อย่าว่ากันนะ
ป.ล 5 วันที่ 9 เดือน 9 ปีหน้า ขอบุ๊คคิวไว้ก่อน จะมาเขียนอีกครั้ง ถ้ายังสมบูรณ์ดี 555
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
ห้องเพลง*คนรากหญ้า*..... 9/9/2017.... (กบฏครั้งสุดท้ายในประเทศไทยกับบทเพลงคาราบาว)
บัดนี้อาการป่วยดีขึ้นมาก ประกอบกับทุกวันที่ 9 เดือน 9 ของทุกปีจะเขียนบทความให้ห้องเพลง
ปีนี้เลยอยากทำหน้าที่ต่อ จึงขออนุญาต MC ห้องเพลง เขียนกระทู้ ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์พื้นที่เหมือนเช่นเคย
ก็ขอขอบคุณ เพื่อนสมาชิกห้องเพลงทุกคนไว้ ณ. ที่นี้
ย้อนไปอดีตเมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ 2528
ในตอนเวลาประมาณตี 3 รถถังจากกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า ม.พัน 4 รอ.
ก็เข้าควบคุมกองบัญชาการทหารสูงสุด พร้อมกับสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งใน กทม
คณะทหารก่อการชุดนี้ ได้ให้นายทหารนอกราชการ 3 คนเป็นผู้นำคือ
พลเอก เสริม ณ.นคร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ.อยุธยา
(ต่อไปนี้จะเรียกฝ่ายนี้ว่า "ฝ่ายกบฏ")
เมื่อถึงเวลาเช้า ฝ่ายกบฏเริ่มเปิดฉากยิงไปที่เสาอากาศของสถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
และยิงปืนกลกราดเข้าไปในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ทำให้มีผู้สื่อข่าวต่างชาติเสียชีวิต 2 คน
ซึ่งเป็นเรื่องแปลกอยู่อย่างคือ 1 ในนักข่าวที่เสียชีวิต เคยทำข่าวผ่านสงครามเวียดนาม
ที่ได้ชื่อว่าโหดร้ายมากที่สุดสมรภูมิหนึ่ง แต่กลับไม่เป็นไร แต่ต้องมาตายเพราะกบฏเล็กๆที่เมืองไทย
ภาพความเสียหายที่ฝ่ายกบฎยิงสถานีวิทยุ
ขณะนั้นผู้นำระดับสูงของไทยคือ นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม และ ผบ.ทบ พลเอก อาทิตย์
ไปราชการต่างประเทศทั้งคู่ หน้าที่ในการปราบกบฏจึงตกเป็นของ
พลเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ รอง ผบ.ทบ ในขณะนั้น
เมื่อถึงเวลาบ่าย ความชัดเจนก็เริ่มปรากฎขึ้นว่า หัวหน้าฝ่ายกบฏที่แท้จริงคือ
2 พี่น้อง พันเอก มนูญ และ นาวาโท มนัส รูปขจร
การเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายกบฏดำเนินมาถึงตอนเย็นก็ยุติ
โดยพันเอก มนูญ ได้ก้มลงกราบ พลโท พิจิตร กุลละวณิชย์ ตัวแทนฝ่ายรัฐบาล เพื่อฝากฝังครอบครัว
และยอมลี้ภัยไปต่างประเทศ สิ้นสุดการกบฏในครั้งนี้
ภายหลังกบฏครั้งนี้ มีการวิเคราะห์กันว่า
ลำพังขุมกำลังของสองพี่น้อง มนูญ มนัส ไม่น่ากล้าก่อการ น่าจะมีนายทหารที่คุมกำลังขณะนั้น
หนุนหลังอยู่ จึงมีวลีสำหรับกบฏครั้งนี้ว่า "กบฏ นัดแล้วไม่มา"
(ผู้ที่เป็นไอ้โม่งที่นัดแล้วไม่มา เป็น 2 นายทหารใหญ่ คนหนึ่งเสียชีวิตแล้ว อีกคนก่อนหน้านี้มีตำแหน่งที่ทรงเกียรติ)
ผู้สื่อข่าวสมัยนั้นจึงมักเขียนแซวเหตุการณ์ครั้งนี้
โดยใช้เนื้อร้องท่อนหนึ่งของเพลงฮิตสมัยนั้นว่า
"นัดกันไว้ นัดแล้วไยไม่มา นัดเอาไว้ นัดแล้วลืมสัญญา ฮา หา ฮ่า ฮา ฮ้า"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยังมีตัวละครพลเรือนอีก 2 คน ที่มีบทบาทในกบฏครั้งนี้คือ
เอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ต้องหาคดี แชร์ชาร์เตอร์ ที่ลือกันว่า เป็นผู้สนับสนุนทุนรอนในการก่อการครั้งนี้
อีกคนที่มีบทบาทมากในกบฏครั้งนี้คือ
ยืนยง โอภากุล หรือ แอ้ด คาราบาว
ตามแผนการ คาราบาว ได้รับมอบหมายให้เปิดเวทีแสดงคอนเสิร์ตที่สวนอัมพร
และจะมีการถ่ายทอดสด พร้อมกับ อ่านแถลงการณ์คณะผู้ก่อการ
แต่แผนไม่สำเร็จ รถถังฝ่ายรัฐบาลได้ยิงไปที่เวทีจนกระเจิง
อีก 3 เดือนต่อมา คาราบาว ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 6 มีชื่อว่า "อเมริโกย"
แต่ถ้าเราพิจารณาจากปกแล้วก็จะรู้ความนัยที่คาราบาวมีความสัมพันธ์กับกบฎครั้งนี้ คือ
เมื่อกลับปกเทปคาราบาวชุดนี้ ข้อความจะเป็น 9 กันยายน ดังรูป
และในเพลงที่ 2 ของอัลบั้มชุดนี้ ที่มีชื่อว่า "มะโหนก" ในเนื้อเพลง
ได้กล่าวยกย่อง พลทหาร มะโหนก ซึ่งสังกัด ม.พัน 4 รอ. ซึ่งเป็นหน่วยที่ พันเอก มนูญ
เคยบังคับบัญชาอยู่ และที่สำคัญในตอนจบของเพลงนี้ ได้มีการจำลองเสียงปืน
และเสียงคนตะโกนโหวกเหวก ที่ยิงใส่เวทีแสดงสด ที่สวนอัมพรในวันที่ 9 เดือน 9 ของปีนั้นด้วย
มาลองฟังเพลง มะโหนก กันดู
ป.ล ข้อมูลและเนื้อหาในกระทู้บางส่วนมาจากหนังสือ "กบฏสองพี่น้อง"
ป.ล 2 การเมืองไทยในสมัยก่อน ไม่ได้เล่นกันเอาเป็นเอาตายเหมือนสมัยนี้
ป.ล 3 สายตายังไม่เข้าที่ดี ถ้ามีตัวสะกดผิด ขอโทษด้วย ใช้สายตานานๆแล้วเบลอ
ป.ล 4 เนื้อหาอาจจะหนักไปหน่อย ไม่ค่อยเหมาะกับห้องเพลง ที่มีบรรยากาศสบายๆ อย่าว่ากันนะ
ป.ล 5 วันที่ 9 เดือน 9 ปีหน้า ขอบุ๊คคิวไว้ก่อน จะมาเขียนอีกครั้ง ถ้ายังสมบูรณ์ดี 555
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้