### สรุปผลการแข่งวันที่ 3 World Grand Champions Cup 2017 / ทำเนียบแชมป์ ###

เสน่ห์ของกีฬา อยู่ที่การลุ้น



รายงานผลวันที่ 8 กันยายน 2560

คู่แรก

We’ve been improving our fighting spirit during the tournament - Karch Kiraly (USA)



นึกว่าจะเสร็จรัชช่า แต่อเมริกา (ข้า) ฆ่าไม่ตาย เซต 5 ต้องมีติดไม้ติดมือ



หอคอยเซ็ง (กอน 27, พี่เช 25)



แม่ยกเซ็ง (เซต 4-5 ต้องเปลี่ยนป้าบาร์ชลงกันเลย)



เมื่อวานวันเกิดเจ๊กิ๊บนะค้า (29 ขวบ)



สถิติ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


คู่ที่ 2

We were just thinking about playing efficient volleyball - Zhu Ting (CHN)



บล็อกปังอลังมาก (จีน 13, เกาหลี 0)



อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน



ส่วนจีนขอชนะอีกนัด การันตีความแชมป์



สถิติ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


คู่คอง

We want to keep this momentum for tomorrow’s match against USA - Kumi Nakada (JPN)



คู่หยุดโลก ยานลูกกำลังจอดป้ายที่ 2 โดนปาดหน้าตกบัลลังก์

(งานนี้ไม่รู้จะสงสารใคร ตัวตบโดนสเกาต์ดีมาก / อีกฝั่งก็สปีดเร็วกว่านรก)



วิถีบูชิโด



นิปปอนยังต้องการชัยชนะต่อเนื่อง แต่งานยากต้องเจอทั้งอเมริกาและจีน



สถิติ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


โปรแกรมแข่งวันที่ 9 กันยายน 2560

(เวลาไทย)

10.40 น. รัสเซีย - จีน

https://www.youtube.com/watch?v=njqTQbXiuBs

13.40 น. บราซิล - เกาหลีใต้

https://www.youtube.com/watch?v=X1y5m4iOE4I

17.15 น. ญี่ปุ่น - อเมริกา

https://www.youtube.com/watch?v=zkdFjkjaSCQ

วิธีเปลี่ยน VPN คลิก

หรือไลฟ์สด FB Volleyball online live


ทำเนียบแชมป์

รายการ World Grand Champions Cup จัดขึ้น
เพื่อมิให้ปีหลังโอลิมปิกต้องว่างเว้นการแข่งขัน
โดยมี ญี่ปุ่น รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพตั้งแต่ปี 1993

นั่นหมายความว่ามีแชมป์มาแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ 1

(1993)

ประเทศที่เข้าร่วม

ญี่ปุ่น (เจ้าภาพ), จีน (แชมป์เอเชีย), รัสเซีย (แชมป์ยุโรป)
คิวบา (แชมป์นอร์เซกา), เปรู (แชมป์อเมริกาใต้) และอเมริกา (ไวลด์การ์ด)

ผลการแข่งขัน

แชมป์ - คิวบา (ชนะรวด 5 นัด) รองแชมป์ - จีน (ชนะ 4 แพ้ 1)



MVP : นางสิงห์ซ้าย Regla Bell (CUB 180, 47)

(หากใครนึกไม่ออก ให้นึกถึงคู่กรณี Ana Moser ป้าคนนั้นแหละ ฮ่าาา)



ปล. จบเกม (หลายปี) สองป้ามานั่งดูเกมกันขำๆ งงตัวเองชั้นทำไปได้ไง



ครั้งที่ 2

(1997)

ประเทศที่เข้าร่วม

ญี่ปุ่น (เจ้าภาพ), จีน (แชมป์เอเชีย), รัสเซีย (แชมป์ยุโรป)
คิวบา (แชมป์นอร์เซกา), บราซิล (แชมป์อเมริกาใต้) และเกาหลีใต้ (ไวลด์การ์ด)

ผลการแข่งขัน

แชมป์ - รัสเซีย (ชนะรวด 5 นัด) รองแชมป์ - คิวบา (ชนะ 4 แพ้ 1)

ยุคไผเป็นไผ (ดูกันเอง)



MVP : Yevgeniya Artamonova (RUS 191, 42)



ครั้งที่ 3

(2001)

ประเทศที่เข้าร่วม

ญี่ปุ่น (เจ้าภาพ), จีน (แชมป์เอเชีย), รัสเซีย (แชมป์ยุโรป),
อเมริกา (แชมป์นอร์เซกา), บราซิล (แชมป์อเมริกาใต้) และเกาหลีใต้ (ไวลด์การ์ด)

ผลการแข่งขัน

แชมป์ - จีน (ชนะรวด 5 นัด) รองแชมป์ - รัสเซีย (ชนะ 3 แพ้ 2) เรโชเซ็ตดีกว่า ญี่ปุ่น (3)



MVP : Yang Hao (CHN 183, 37)

Feng Kun (2) Yang Hao (3)



ครั้งที่ 4

(2005)

ประเทศที่เข้าร่วม

ญี่ปุ่น (เจ้าภาพ), จีน (แชมป์เอเชีย), โปแลนด์ (แชมป์ยุโรป)
คิวบา (แชมป์นอร์เซกา), บราซิล (แชมป์อเมริกาใต้) และเกาหลีใต้ (ไวลด์การ์ด)

ผลการแข่งขัน

แชมป์ - บราซิล (ชนะรวด 5 นัด) รองแชมป์ - อเมริกา (ชนะ 4 แพ้ 1)



MVP : Sheilla Castro (BRA 185, 34)



ครั้งที่ 5

(2009)

ประเทศที่เข้าร่วม

ญี่ปุ่น (เจ้าภาพ), ไทย (แชมป์เอเชีย), อิตาลี (แชมป์ยุโรป)
โดมินิกัน (แชมป์นอร์เซกา), บราซิล (แชมป์อเมริกาใต้) และเกาหลีใต้ (ไวลด์การ์ด)

ผลการแข่งขัน

แชมป์ - อิตาลี (ชนะรวด 5 นัด) รองแชมป์ - บราซิล (ชนะ 4 แพ้ 1)



MVP : Simona Gioli (ITA 185, 39)



ครั้งที่ 6

(2013)

ประเทศที่เข้าร่วม

ญี่ปุ่น (เจ้าภาพ), ไทย (แชมป์เอเชีย), รัสเซีย (แชมป์ยุโรป)
อเมริกา (แชมป์นอร์เซกา), บราซิล (แชมป์อเมริกาใต้) และโดมินิกัน (ไวลด์การ์ด)

ผลการแข่งขัน

แชมป์ - บราซิล (ชนะรวด 5 นัด) รองแชมป์ - อเมริกา (ชนะ 4 แพ้ 1)



MVP : Fabiana Claudino (BRA 193, 32)



และปี 2017 แชมป์จะลง (มง) ที่ใคร

หลายคนบอกไม่ต้องลุ้น ลุ้นใครจะขึ้นโพเดี้ยมอีก 2 ทีมดีกว่า



อมยิ้ม17 ตามนั้น อมยิ้ม17


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่