สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ทำไม จขกท เข้าใจว่าคอมมิวนิสต์ก่อการร้ายทั่วดินแดนเยอรมัน? คอมมิวนิสต์ในเยอรมันนี่มาเป็นจริงเป็นจังก็ปี 1946 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วก็ไปเติบโตอยู่ในเยอรมันตะวันออกภายใต้การปกครองของรัสเซีย ตอนนั้นยังไม่ได้สำคัญอะไรมากมาย แถมต่อมาโดนนาซีตามล้างอีก
ในยุค Kaiser Wilhelm II นั้นพรรคที่เกิดมาก่อนและเป็นปึกเป็นแผ่นแล้วคือพรรค สังคมนิยมประชาธิปไตย หรือ Sozialdemokratische Partei หรือ SPD ซึ่งคือพรรค Marxist เดิม ต้องการประชาธิปไตยเหมือนกันแต่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ SPD ทุกวันนี้ก็ยังเป็นพรรคใหญ่เป็นที่ 2 ของเยอรมันอยู่ พรรคคอมมิวนิสต์ตอนนี้ไม่มีอยู่แล้ว กลายเป็นพรรค Die Linke แทนหรือพรรคฝ่ายซ้าย
รัฐบาลเยอรมันขณะนั้นถูกตั้งเงื่อนไขจากอเมริกาให้ไกเซอร์ต้องสละราชบัลลังค์ จึงแจ้งให้พระองค์ทราบและแนะนำให้ทำตามนั้น แต่พระองค์ไม่ได้ยินยอมยังเดินทางไปเมือง Spa ในเบลเยี่ยมเนื่องจากมีกองบัญชาการทหารเยอรมันตั้งอยู่ที่นั่น เพื่อขอกำลังการสนับสนุนทางทหาร
แต่เวลาไม่รอท่าแล้ว วันที่ 9 พฤศจิกายน 1918 ผู้นำรัฐบาลเยอรมันในขณะนั้นคือ Max von Baden จึงฉวยโอกาสประกาศสละราชสมบัติของไกเซอร์เสียเองโดยที่พระองค์ไม่ทราบเรื่องด้วยซ้ำ ทันทีที่รู้ถึงได้ลั่นวาจาว่า "กบฏ"
ไกเซอร์จึงได้ขอลี้ภัยในฮอลแลนด์ไปจากเบลเยี่ยม ซึ่งได้รับอนุญาต ไกเซอร์มาลงนามสละราชสมบัติเป็นทางการในฮอลแลนด์นี่เองหลังจากการประกาศของผู้นำรัฐบาลเยอรมันถึง 3 สัปดาห์คือเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1918
ไม่เกี่ยวกับว่าเยอรมันใหญ่หรือเล็กกว่ารัสเซีย ฮอลแลนด์อยู่ติดกันแค่นั้น ประเทศก็เล็กนิดเดียว ถ้าฝ่ายปกครองเยอรมันที่ตามมาทีหลังต้องการตามล่าไกเซอร์กลับมาจริงๆ แล้วสามารถทำได้ไม่ยาก
แต่แท้จริงแล้วยังมีคนเยอรมันอีกจำนวนมากที่สนับสนุนจงรักภักดีต่อไกเซอร์ จะเห็นว่าไกเซอร์มีชีวิตอย่างหรูหราสมฐานะของไกเซอร์ในระหว่างลี้ภัยตลอดชีวิตในฮอลแลนด์ ต้องถามว่าแล้วพระองค์เอาเงินมาจากไหน?
นั่นเพราะว่า ทางรัฐบาลเยอรมันยกทรัพย์สมบัติส่วนหนึ่งของพระองค์คืนให้ แถมด้วยขนเครื่องใช้สอยรวมทั้งเฟอร์นิเจอร์และกรุสมบัติสะสมของเก่าพวกรูปภาพส่วนหนึ่งส่งไปให้ถึงราชวังที่พำนักในฮอแลนด์ ปัจจุบันราชวังนี้ก็เปิดเป็นพิพิทธภัณฑ์ให้คนเข้าชมเป็นประจักษ์พยานได้
ไกเซอร์ วิลเฮล์มต่างจากซาร์นิโคลัสอย่างมากตรงที่ว่า สมัยพระองค์นั้นได้ออกกฏหมายมาให้สิทธิ์และสวัสดิการคุ้มครองต่อชนชั้นกรรมกรมากมายหลายสิบมาตรา เช่น การห้ามลูกจ้างทำงานวันอาทิตย์ การกำหนดอายุขั้นต่ำในการจ้างงานเพื่อคุ้มครองไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก การกำหนดให้แม่มีวันหยุดเมื่อคลอดและหลังคลอดลูก การบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินเกษียณอายุ และอื่นๆ อีกมากมายเกิดขึ้นในสมัยไกเซอร์วิลเฮล์มทั้งนั้น กฏหมายสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจึงเกิดขึ้นในเยอรมันเป็นแห่งแรกของโลก
นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังพยายามที่จะปรองดองชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในเยอรมันเข้าด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มยิว กลุ่มโปแลนด์ กลุ่มคาทอลิค และ กลุ่มโปรแตสแตนท์
ถึงแม้ว่าพระองค์จะนำประเทศเข้าสู่สงครามประชาชนตายไปกว่า 10 ล้านคน เผาผลาญเงินงบประมาณประเทศไปมหาศาลเพื่อสร้างกองทัพ แต่ความดีที่พระองค์ทำให้แก่ประชาชนก็มีมากมาย
ต่างกับซาร์ของรัสเซียที่เสวยสุขฟุ่มเฟือยแต่ปล่อยประชาชนอดอยาก ปฏิกริยาการต่อต้านของประชาชนถึงได้เต็มไปด้วยความเกลียดชังโกรธแค้นรุนแรง
ไกเซอร์วิลเฮล์มไม่ได้รับผลการเกลียดชังจากประชาชนเพราะพระองค์ให้ความยุติธรรมต่อพสกนิกร แต่ดำเนินนโยบายนำประเทศผิดพาคนไปตายเสียมากมาย
ทุกวันนี้ก็ยังมีวันรำลึกถึงพระองค์อยู่ มีการตั้งชื่อสถานที่สำคัญๆ ต่างมากมายตามชื่อของพระองค์ เช่น ถนนหนทาง สะพาน เรือรบ และแม้แต่เมืองท่าสำคัญทางเหนือคือ Wilhelmshaven พระองค์เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศสำหรับคนรุ่นหลังได้ศึกษาทั้งคุณประโยชน์ที่พระองค์ได้ทิ้งไว้ให้ และสิ่งผิดพลาดที่พึงหลีกเลี่ยงไม่ซ้ำรอยเดิมอีก
สภานที่ลี้ภัยของ Kaiser Wilhelm II ในแนเธอร์แลนด์ชื่อ Haus Doorn
ในยุค Kaiser Wilhelm II นั้นพรรคที่เกิดมาก่อนและเป็นปึกเป็นแผ่นแล้วคือพรรค สังคมนิยมประชาธิปไตย หรือ Sozialdemokratische Partei หรือ SPD ซึ่งคือพรรค Marxist เดิม ต้องการประชาธิปไตยเหมือนกันแต่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ SPD ทุกวันนี้ก็ยังเป็นพรรคใหญ่เป็นที่ 2 ของเยอรมันอยู่ พรรคคอมมิวนิสต์ตอนนี้ไม่มีอยู่แล้ว กลายเป็นพรรค Die Linke แทนหรือพรรคฝ่ายซ้าย
รัฐบาลเยอรมันขณะนั้นถูกตั้งเงื่อนไขจากอเมริกาให้ไกเซอร์ต้องสละราชบัลลังค์ จึงแจ้งให้พระองค์ทราบและแนะนำให้ทำตามนั้น แต่พระองค์ไม่ได้ยินยอมยังเดินทางไปเมือง Spa ในเบลเยี่ยมเนื่องจากมีกองบัญชาการทหารเยอรมันตั้งอยู่ที่นั่น เพื่อขอกำลังการสนับสนุนทางทหาร
แต่เวลาไม่รอท่าแล้ว วันที่ 9 พฤศจิกายน 1918 ผู้นำรัฐบาลเยอรมันในขณะนั้นคือ Max von Baden จึงฉวยโอกาสประกาศสละราชสมบัติของไกเซอร์เสียเองโดยที่พระองค์ไม่ทราบเรื่องด้วยซ้ำ ทันทีที่รู้ถึงได้ลั่นวาจาว่า "กบฏ"
ไกเซอร์จึงได้ขอลี้ภัยในฮอลแลนด์ไปจากเบลเยี่ยม ซึ่งได้รับอนุญาต ไกเซอร์มาลงนามสละราชสมบัติเป็นทางการในฮอลแลนด์นี่เองหลังจากการประกาศของผู้นำรัฐบาลเยอรมันถึง 3 สัปดาห์คือเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1918
ไม่เกี่ยวกับว่าเยอรมันใหญ่หรือเล็กกว่ารัสเซีย ฮอลแลนด์อยู่ติดกันแค่นั้น ประเทศก็เล็กนิดเดียว ถ้าฝ่ายปกครองเยอรมันที่ตามมาทีหลังต้องการตามล่าไกเซอร์กลับมาจริงๆ แล้วสามารถทำได้ไม่ยาก
แต่แท้จริงแล้วยังมีคนเยอรมันอีกจำนวนมากที่สนับสนุนจงรักภักดีต่อไกเซอร์ จะเห็นว่าไกเซอร์มีชีวิตอย่างหรูหราสมฐานะของไกเซอร์ในระหว่างลี้ภัยตลอดชีวิตในฮอลแลนด์ ต้องถามว่าแล้วพระองค์เอาเงินมาจากไหน?
นั่นเพราะว่า ทางรัฐบาลเยอรมันยกทรัพย์สมบัติส่วนหนึ่งของพระองค์คืนให้ แถมด้วยขนเครื่องใช้สอยรวมทั้งเฟอร์นิเจอร์และกรุสมบัติสะสมของเก่าพวกรูปภาพส่วนหนึ่งส่งไปให้ถึงราชวังที่พำนักในฮอแลนด์ ปัจจุบันราชวังนี้ก็เปิดเป็นพิพิทธภัณฑ์ให้คนเข้าชมเป็นประจักษ์พยานได้
ไกเซอร์ วิลเฮล์มต่างจากซาร์นิโคลัสอย่างมากตรงที่ว่า สมัยพระองค์นั้นได้ออกกฏหมายมาให้สิทธิ์และสวัสดิการคุ้มครองต่อชนชั้นกรรมกรมากมายหลายสิบมาตรา เช่น การห้ามลูกจ้างทำงานวันอาทิตย์ การกำหนดอายุขั้นต่ำในการจ้างงานเพื่อคุ้มครองไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก การกำหนดให้แม่มีวันหยุดเมื่อคลอดและหลังคลอดลูก การบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินเกษียณอายุ และอื่นๆ อีกมากมายเกิดขึ้นในสมัยไกเซอร์วิลเฮล์มทั้งนั้น กฏหมายสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจึงเกิดขึ้นในเยอรมันเป็นแห่งแรกของโลก
นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังพยายามที่จะปรองดองชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในเยอรมันเข้าด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มยิว กลุ่มโปแลนด์ กลุ่มคาทอลิค และ กลุ่มโปรแตสแตนท์
ถึงแม้ว่าพระองค์จะนำประเทศเข้าสู่สงครามประชาชนตายไปกว่า 10 ล้านคน เผาผลาญเงินงบประมาณประเทศไปมหาศาลเพื่อสร้างกองทัพ แต่ความดีที่พระองค์ทำให้แก่ประชาชนก็มีมากมาย
ต่างกับซาร์ของรัสเซียที่เสวยสุขฟุ่มเฟือยแต่ปล่อยประชาชนอดอยาก ปฏิกริยาการต่อต้านของประชาชนถึงได้เต็มไปด้วยความเกลียดชังโกรธแค้นรุนแรง
ไกเซอร์วิลเฮล์มไม่ได้รับผลการเกลียดชังจากประชาชนเพราะพระองค์ให้ความยุติธรรมต่อพสกนิกร แต่ดำเนินนโยบายนำประเทศผิดพาคนไปตายเสียมากมาย
ทุกวันนี้ก็ยังมีวันรำลึกถึงพระองค์อยู่ มีการตั้งชื่อสถานที่สำคัญๆ ต่างมากมายตามชื่อของพระองค์ เช่น ถนนหนทาง สะพาน เรือรบ และแม้แต่เมืองท่าสำคัญทางเหนือคือ Wilhelmshaven พระองค์เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศสำหรับคนรุ่นหลังได้ศึกษาทั้งคุณประโยชน์ที่พระองค์ได้ทิ้งไว้ให้ และสิ่งผิดพลาดที่พึงหลีกเลี่ยงไม่ซ้ำรอยเดิมอีก
สภานที่ลี้ภัยของ Kaiser Wilhelm II ในแนเธอร์แลนด์ชื่อ Haus Doorn
แสดงความคิดเห็น
ทำไมไกเซอร์วิลเฮล์มที่2 ไม่โดนจับเหมือนซาร์นิโคลลัสครับ?