สงสัยการรับข่าวสารของเจ้านายในเชียงเงิน?

เห็นอุตส่าหฺยกย่องราชสำนักอมรปุระ(เมืองมัณฑ์)ว่า มีความทรนงศักดิ์ศรี ไม่ยอมปรับเปลี่ยนขนบธรรมเนียมบางอย่าง เพื่อลดข้อครหาจากตะวันตก  เรื่องหยุมหยิมเล็กๆแค่นี้เห็นรู้ดีกันจริง  

แต่ทำไมเจ้าแม้นเมืองถึงไม่ได้ยินไมรู้เรื่องข่าวใหญ่ระดับภูมิภาคอาเซียนที่ว่า อมรปุระนั้นรบแพ้กองทัพอังกฤษใหญ่ๆจนแทบหมดอำนาจ และ กำลังนับถอยหลงสู่ความล่มสลาย  เรื่องน่าจะเป็นเหตุใหญ่แพร่ข่าวไปทั่วกว่าเรื่องทะเลาะกับฝรั่งด้วยเหตุรองเท้าซะอีก ทำไมเชียงเงินซึ่งอยากจะก่อการแข็งเมืองกลับไม่สนใจเรื่องนี้ไปสนเรื่องวิวาทเล็กในวังมัณฑะเล  

แบบนี้คงไม่แลปกที่จะการล้มเหลว
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
เพราะเมืองเหล่านี้มองว่าเมืองมัณฑ์แค่ "เสียดินแดน" ตรงอาระกันและรัฐมอญเท่านั้นครับ
คงประมาณว่าสยามเสียเขมร สิบสองจุไท และมลายูไป ไม่ได้กระทบกระเทือนต่อเอกราชมากนัก

เมืองเหล่านี้ยังคงมองสยามและเมืองมัณฑ์ยิ่งใหญ่ตามจารีตรัฐบรรณาการ และเอาเข้าจริง กลุ่มเมืองรัฐฉานซึ่งถูกจำลองให้เป็นเชียงเงิน มองเมืองมัณฑ์ซึ่งถูกจำลองจากราชสำนักมัณฑะเลย์ ว่าแข็งแกร่งกว่าสยามด้วยซ้ำ เพราะแม้อังวะจะถูกอังกฤษตีขนาบตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าจักกายแมง จนเสียเมืองทวาย มะริด แปร สิเรียม เมาะตะมะ เย  รวมทั้งยะไข่ จนเมื่อจะเกิดสงครามกับอังกฤษอีกครั้งในรัชกาลพระเจ้าพุกามแมง ล้านนาฉวยโอกาสตีเมืองเชียงตุงจากพม่าถึง ๒ ครั้ง ภายใต้การสนับสนุนของสยาม แต่กลับต้านกองทัพเชียงตุงและอังวะที่ส่งลงมาช่วยไม่ได้ แต่ก็มีความพยามเข้าตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ ๓ ซึ่งคราวนี้สยามยกขึ้นมาเอง และส่งพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่อย่างพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ขึ้นมาเป็นแม่ทัพด้วย แต่ผลก็คือ ตีเมืองเชียงตุงไม่สำเร็จอีกเช่นเคย

จะเห็นว่า ขนาดราชสำนักพม่าถูกอังกฤษบีบขนาดนั้น แต่การรบกับเมืองแถบนี้กลับไม่ได้ด้วยลงไปเลย แม้สยามจะเริ่มเข้าสู่ยุคการจัดกองทัพตามตะวันตกบ้างแล้ว แต่ก็ยังเอาอังวะไม่ลงอยู่ดี เมืองเหล่านี้จึงให้ภาษีด้านการรบแก่พม่ามากกว่าสยาม ยิ่งเข้าสู่รัชกาลพระเจ้ามินดง ความแข็งแกร่งของพม่าก็เริ่มกลับคืนมาบ้างแล้ว ถ้าพระองค์อยู่นานกว่านี้ การปฏิรูประเทศของพม่าจะเปลี่ยนโฉมอยู่ไม่น้อย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่