กระทู้นี้จะมารีวิว หอสมุดกรุงเทพมหาครแห่งใหม่ ที่ถนนราชดำเนินกลางครับ
ซึ่งผมเพิ่งได้มีโอกาสไปสัมผัสหอสมุดครั้งแรกด้วยตัวเอง หลักจากที่มีการเปิดตัวมานานพอควร
และคิดคราวๆ จากภาพข่าวว่าหอสมุดแห่งนี้ สวย ทันสมัย ไม่ธรรมดาแน่นอน
เมื่อเข้าไปถึงผ่านประตูหอสมุด สิ่งที่เห็นประการแรก เราต้องใช้บัตรประชาชน เสียบบัตรลงไปเพื่อรอให้ประตูเปิด
แรกเห็น ณ ตอนนั้น มีคนเสียบบัตร เปิดบ้าง ไม่เปิดบ้าง เป็นเวลาพอควร เจ้าหน้าที่ต้องมาคอยเสียบบัตรให้
ทำให้ง่ายกว่านี้ น่าจะให้สแกนบัตร หรือรูดบัตร อย่างเดียวไปเลย ดีกว่าเสียบบัตร ทีละอัน
แถมประตูเข้าออก มีอย่างละหนึ่ง แทนที่จะทำหลายๆ ประตูทางเข้า เผื่อคนมาต่อคิวยาวๆ
ผมก็คิดในใจ แค่เดินเข้ามา ก็เห็นปัญหาของหอสมุดนี้แล้วนะ อยากจะทำให้ทันสมัย แต่สร้างความลำบากแบบไม่รู้ตัว
ต่อมาเมื่อผมเดินเข้าไปหอสมุดอย่างเต็มตัว ผมจะขอรีวิวเป็นข้อๆ ให้เห็นภาพกันชัดๆ
1. หอสมุดเล็กกะทัดรัดมาก นี่คือสิ่งที่ กทม ลงทุนไปหลายร้อยล้าน (ค่าปรับปรุง 296 ล้าน) ด้วยจำนวนประชากรเกือบ 10 ล้านคน ใน กทม.
ไม่เข้าใจ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร ทำไมมาปรับปรุงเป็นหอสมุดที่เล็กมากๆ
มองไปขนาดว่า ทำไมไม่สร้างตึกใหม่ไปเลย มาปรับปรุงตึกเก่าขนาดเล็กเพื่ออะไร
หอสมุดที่สหรัฐอเมริกา (เมืองพรอวิเดนซ์) ในเมืองมีประชากร 1 แสนกว่าคน ยังสร้างขนาดใหญ่กว่าหอสมุดกรุงเทพมหาสคร
2. จำนวนหนังสือ น้อยมาก จนน่าใจหาย เดินวนไปชั้น 1 ยันชั้น 4 กวาดสายตามองเห็นหนังสือทั้งหอสมุดภายในระยะเวลาครึ่งชั่วโมงก็ครบแล้ว
ลงทุนตัวอาคารเยอะมาก แต่ลืมลงทุนหนังสือ
ทั้งๆ ที่ยุคนี้ เราควรเน้นหนังสือภาษาอังกฤษได้แล้ว แต่จำนวนหนังสือภาษาอังกฤษแทบไม่ต้องพูดถึง น้อยจริงๆ
3. พื้นที่ใช้สอย ไม่คุ้มค่ากับการใช้งาน การจัดวางโต๊ะเก้าอี้ ต้องปฏิรูปใหม่ครับ เพราะเห็นพื้นที่ว่างจำนวนมาก แต่วางโต๊ะนั่งน้อยเดียว
ปัญหาจะกลายเป็นว่า โต๊ะนั่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งจะผลักให้คนไม่อยากเข้าหอสมุดด้วย
มีพื้นที่ว่างหลายที่ ที่ปล่อยไว้เฉยๆ ไม่มีโต๊ะนั่ง ซึ่งไม่รู้มัวจัดอะไรกันอยู่ เสียหายค่าเช่าตึกเป็นร้อยๆ ล้าน
(ชั้น 4 มีส่วนที่ปล่อยโล่งๆ เลย เหมือนลานขายของ)
4. บันไดไม่ชัดเจน และแคบมาก เข้าไปปุ๊ปหาก่อนเลยว่า บันไดอยู่ตรงไหน บันไดไปอยู่ข้างหลัง แบบคนไม่ค่อยขึ้น
คนจึงไปกดลิฟต์ซะเต็มที่เลย เพราะเห็นชัดเจน และแน่นอน กทม. ต้องอ่วมมาจ่ายค่าไฟส่วนนี้ แบบมหาศาลแน่ๆ
แทนที่จะมีป้ายบอกใหญ่ๆ หรือสร้างเป็นห้องโถงบันไดใหญ่ๆ ชัดเจนแบบเมืองนอก กลับไม่ทำ ไม่รู้...วิสัยทัศน์...ตอนก่อสร้าง หายไปไหน
5. มีโคมไฟบนโต๊ะ ที่ไม่ได้ใช้งาน ผมสังเกตโคมไฟโต๊ะอ่านหนังสือชั้น 4 ไม่ได้เสียบปลั๊กเอาไว้ หาที่เสียบไม่เจอด้วย อาจเป็นแค่โต๊ะผมก็ได้
ไฟเพดานก็สว่างเพียงพอแล้ว อ่านจน 1 ทุ่ม ก็ไม่มีใครใช้โคมไฟเลย ประเด็นคือ จะซื้อมาเปลืองเงินเล่นๆ ทำไม ถ้าไม่อำนวยให้คนใช้งาน
6. หนังสือแบ่งเป็นหมวดส่วนไม่ชัดเจน วางหนังสือจัดโชว์ไปทั่วเลย ผนังตรงไหนวางได้ก็วาง
แทนที่จะจัดเป็นหมวดหมู่ชัดเจน มีตัวเลข มีแผนผัง ป้ายชื่อใหญ่ๆ อย่างห้องสมุด TK park เซ็นทรัลเวิลด์ ดูเป็นสัดส่วน มีระเบียบกว่ามาก
แต่หอสมุด กทม ค่อนข้างไปทางตรงกันข้ามกับ TK park เลย แม้แต่โต๊ะคอมพิวเตอร์ยังจัดวางมั่วๆ ไม่เป็นระเบียบเลย
7. คอมพิวเตอร์ชั้น 1 ริมกระจก แทบไม่มีการใช้งาน มองไปเห็นคอมพิวเตอร์ เครื่องแรก มองยันไปเครื่องสุดท้าย ไม่มีการเปิดใช้งานสักเครื่อง
แต่มีคนเอาโน้ตบุ๊กมาวางเปิดใช้งาน บนโต๊ะคอมพิวเตอร์นั้น เพื่อ...... (กรอกตา มองบน 10 วินาที)
มีคอมพิวเตอร์ แต่ไม่เปิดใช้งาน แล้วซื้อมาทำไมครับ คอมพิวเตอร์ที่จะให้สืบค้นหนังสือก็บอกไม่ชัดเจน บางคนก็ใช้คอมเล่นเกม งงครับ
8. หอสมุด ดูไม่เอื้อให้คนต่างชาติใช้งาน คนต่างชาติฝรั่งจากถนนข้าวสาร หลงเข้ามาบ้างเป็นระยะๆ และเดินออก เพราะ...งง..??
ซึ่งผมแนะนำว่า ควรมีป้ายใหญ่ๆ บอก ณ ตรงหน้าประตูทางเข้าเลยว่า เข้ามาแล้วให้ทำอะไรบ้าง
โชว์บัตรประชาชน พาสปอร์ต หรือสมัครสมาชิกหอสมุดยังไง มีคนคอยบอกด้วยจะดีมากๆ ดูแล้วเคาเตอร์หน้าหอสมุด เล็กนิดเดียว
(ควรมีป้ายภาษาจีน ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ และอาจมีภาษาในประเทศอาเซียนเพิ่มมาด้วย)
9. ห้องอ่านหนังสือส่วนตัว น้อยมาก เห็นหลายๆ คนมานั่งทำการบ้านด้วย แต่มองไปแทบไม่มีห้องให้อ่านส่วนตัวเลย มีอยู่น้อยเดียว
ซึ่งเป็นสิ่งที่หอสมุดควรจะมีมากๆ ดูอย่างหอสมุดธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีหลายสิบห้องเลยทีเดียว
10. ไม่มีที่จอดรถ ทางหนีไฟไม่ชัดเจน (ส่วนตัวป้ายเล็กเกิน และน้อยเกิน)
แค่นี้ครับ ที่จะกล่าว แต่ถ้าถามข้อดี ก็มีเยอะครับ ออกแบบมาพยายามทำได้ดี แสง สวย ดี และเข้าฟรี
ส่วนข้อควรปรับปรุงก็คือที่กล่าวไปแล้ว ว่านี่คือหอสมุดของกรุงเทพ ที่ควรเป็นหน้า เป็นตาของกรุงเทพ
และควรจะมองก้าวข้าม และพัฒนาไปไกลกว่านี้ ได้ตั้งนานแล้ว และผมก็หวังว่าข้อติติง จะเป็นประโยชน์ต่อคนที่เกี่ยวข้องในอนาคต
ในการปรับปรุง แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น โดยตลอดเวลา ที่จะต้องเสียค่าเช่าตึก 600 ล้านบาท ในเวลา 30 ปี ให้คุ้มค่ามากที่สุด เท่าที่จะทำได้ครับ
ขอบคุณทุกๆ ท่านที่อ่านครับ
[รีวิว] หอสมุดกรุงเทพมหานคร สิ่งที่ต้องปรับปรุงและแก้ไข อย่างยิ่ง!!
ซึ่งผมเพิ่งได้มีโอกาสไปสัมผัสหอสมุดครั้งแรกด้วยตัวเอง หลักจากที่มีการเปิดตัวมานานพอควร
และคิดคราวๆ จากภาพข่าวว่าหอสมุดแห่งนี้ สวย ทันสมัย ไม่ธรรมดาแน่นอน
เมื่อเข้าไปถึงผ่านประตูหอสมุด สิ่งที่เห็นประการแรก เราต้องใช้บัตรประชาชน เสียบบัตรลงไปเพื่อรอให้ประตูเปิด
แรกเห็น ณ ตอนนั้น มีคนเสียบบัตร เปิดบ้าง ไม่เปิดบ้าง เป็นเวลาพอควร เจ้าหน้าที่ต้องมาคอยเสียบบัตรให้
ทำให้ง่ายกว่านี้ น่าจะให้สแกนบัตร หรือรูดบัตร อย่างเดียวไปเลย ดีกว่าเสียบบัตร ทีละอัน
แถมประตูเข้าออก มีอย่างละหนึ่ง แทนที่จะทำหลายๆ ประตูทางเข้า เผื่อคนมาต่อคิวยาวๆ
ผมก็คิดในใจ แค่เดินเข้ามา ก็เห็นปัญหาของหอสมุดนี้แล้วนะ อยากจะทำให้ทันสมัย แต่สร้างความลำบากแบบไม่รู้ตัว
ต่อมาเมื่อผมเดินเข้าไปหอสมุดอย่างเต็มตัว ผมจะขอรีวิวเป็นข้อๆ ให้เห็นภาพกันชัดๆ
1. หอสมุดเล็กกะทัดรัดมาก นี่คือสิ่งที่ กทม ลงทุนไปหลายร้อยล้าน (ค่าปรับปรุง 296 ล้าน) ด้วยจำนวนประชากรเกือบ 10 ล้านคน ใน กทม.
ไม่เข้าใจ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร ทำไมมาปรับปรุงเป็นหอสมุดที่เล็กมากๆ
มองไปขนาดว่า ทำไมไม่สร้างตึกใหม่ไปเลย มาปรับปรุงตึกเก่าขนาดเล็กเพื่ออะไร
หอสมุดที่สหรัฐอเมริกา (เมืองพรอวิเดนซ์) ในเมืองมีประชากร 1 แสนกว่าคน ยังสร้างขนาดใหญ่กว่าหอสมุดกรุงเทพมหาสคร
2. จำนวนหนังสือ น้อยมาก จนน่าใจหาย เดินวนไปชั้น 1 ยันชั้น 4 กวาดสายตามองเห็นหนังสือทั้งหอสมุดภายในระยะเวลาครึ่งชั่วโมงก็ครบแล้ว
ลงทุนตัวอาคารเยอะมาก แต่ลืมลงทุนหนังสือ
ทั้งๆ ที่ยุคนี้ เราควรเน้นหนังสือภาษาอังกฤษได้แล้ว แต่จำนวนหนังสือภาษาอังกฤษแทบไม่ต้องพูดถึง น้อยจริงๆ
3. พื้นที่ใช้สอย ไม่คุ้มค่ากับการใช้งาน การจัดวางโต๊ะเก้าอี้ ต้องปฏิรูปใหม่ครับ เพราะเห็นพื้นที่ว่างจำนวนมาก แต่วางโต๊ะนั่งน้อยเดียว
ปัญหาจะกลายเป็นว่า โต๊ะนั่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งจะผลักให้คนไม่อยากเข้าหอสมุดด้วย
มีพื้นที่ว่างหลายที่ ที่ปล่อยไว้เฉยๆ ไม่มีโต๊ะนั่ง ซึ่งไม่รู้มัวจัดอะไรกันอยู่ เสียหายค่าเช่าตึกเป็นร้อยๆ ล้าน
(ชั้น 4 มีส่วนที่ปล่อยโล่งๆ เลย เหมือนลานขายของ)
4. บันไดไม่ชัดเจน และแคบมาก เข้าไปปุ๊ปหาก่อนเลยว่า บันไดอยู่ตรงไหน บันไดไปอยู่ข้างหลัง แบบคนไม่ค่อยขึ้น
คนจึงไปกดลิฟต์ซะเต็มที่เลย เพราะเห็นชัดเจน และแน่นอน กทม. ต้องอ่วมมาจ่ายค่าไฟส่วนนี้ แบบมหาศาลแน่ๆ
แทนที่จะมีป้ายบอกใหญ่ๆ หรือสร้างเป็นห้องโถงบันไดใหญ่ๆ ชัดเจนแบบเมืองนอก กลับไม่ทำ ไม่รู้...วิสัยทัศน์...ตอนก่อสร้าง หายไปไหน
5. มีโคมไฟบนโต๊ะ ที่ไม่ได้ใช้งาน ผมสังเกตโคมไฟโต๊ะอ่านหนังสือชั้น 4 ไม่ได้เสียบปลั๊กเอาไว้ หาที่เสียบไม่เจอด้วย อาจเป็นแค่โต๊ะผมก็ได้
ไฟเพดานก็สว่างเพียงพอแล้ว อ่านจน 1 ทุ่ม ก็ไม่มีใครใช้โคมไฟเลย ประเด็นคือ จะซื้อมาเปลืองเงินเล่นๆ ทำไม ถ้าไม่อำนวยให้คนใช้งาน
6. หนังสือแบ่งเป็นหมวดส่วนไม่ชัดเจน วางหนังสือจัดโชว์ไปทั่วเลย ผนังตรงไหนวางได้ก็วาง
แทนที่จะจัดเป็นหมวดหมู่ชัดเจน มีตัวเลข มีแผนผัง ป้ายชื่อใหญ่ๆ อย่างห้องสมุด TK park เซ็นทรัลเวิลด์ ดูเป็นสัดส่วน มีระเบียบกว่ามาก
แต่หอสมุด กทม ค่อนข้างไปทางตรงกันข้ามกับ TK park เลย แม้แต่โต๊ะคอมพิวเตอร์ยังจัดวางมั่วๆ ไม่เป็นระเบียบเลย
7. คอมพิวเตอร์ชั้น 1 ริมกระจก แทบไม่มีการใช้งาน มองไปเห็นคอมพิวเตอร์ เครื่องแรก มองยันไปเครื่องสุดท้าย ไม่มีการเปิดใช้งานสักเครื่อง
แต่มีคนเอาโน้ตบุ๊กมาวางเปิดใช้งาน บนโต๊ะคอมพิวเตอร์นั้น เพื่อ...... (กรอกตา มองบน 10 วินาที)
มีคอมพิวเตอร์ แต่ไม่เปิดใช้งาน แล้วซื้อมาทำไมครับ คอมพิวเตอร์ที่จะให้สืบค้นหนังสือก็บอกไม่ชัดเจน บางคนก็ใช้คอมเล่นเกม งงครับ
8. หอสมุด ดูไม่เอื้อให้คนต่างชาติใช้งาน คนต่างชาติฝรั่งจากถนนข้าวสาร หลงเข้ามาบ้างเป็นระยะๆ และเดินออก เพราะ...งง..??
ซึ่งผมแนะนำว่า ควรมีป้ายใหญ่ๆ บอก ณ ตรงหน้าประตูทางเข้าเลยว่า เข้ามาแล้วให้ทำอะไรบ้าง
โชว์บัตรประชาชน พาสปอร์ต หรือสมัครสมาชิกหอสมุดยังไง มีคนคอยบอกด้วยจะดีมากๆ ดูแล้วเคาเตอร์หน้าหอสมุด เล็กนิดเดียว
(ควรมีป้ายภาษาจีน ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ และอาจมีภาษาในประเทศอาเซียนเพิ่มมาด้วย)
9. ห้องอ่านหนังสือส่วนตัว น้อยมาก เห็นหลายๆ คนมานั่งทำการบ้านด้วย แต่มองไปแทบไม่มีห้องให้อ่านส่วนตัวเลย มีอยู่น้อยเดียว
ซึ่งเป็นสิ่งที่หอสมุดควรจะมีมากๆ ดูอย่างหอสมุดธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีหลายสิบห้องเลยทีเดียว
10. ไม่มีที่จอดรถ ทางหนีไฟไม่ชัดเจน (ส่วนตัวป้ายเล็กเกิน และน้อยเกิน)
แค่นี้ครับ ที่จะกล่าว แต่ถ้าถามข้อดี ก็มีเยอะครับ ออกแบบมาพยายามทำได้ดี แสง สวย ดี และเข้าฟรี
ส่วนข้อควรปรับปรุงก็คือที่กล่าวไปแล้ว ว่านี่คือหอสมุดของกรุงเทพ ที่ควรเป็นหน้า เป็นตาของกรุงเทพ
และควรจะมองก้าวข้าม และพัฒนาไปไกลกว่านี้ ได้ตั้งนานแล้ว และผมก็หวังว่าข้อติติง จะเป็นประโยชน์ต่อคนที่เกี่ยวข้องในอนาคต
ในการปรับปรุง แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น โดยตลอดเวลา ที่จะต้องเสียค่าเช่าตึก 600 ล้านบาท ในเวลา 30 ปี ให้คุ้มค่ามากที่สุด เท่าที่จะทำได้ครับ
ขอบคุณทุกๆ ท่านที่อ่านครับ