...ชีวิตในต่างแดนกับการ "ดิ้นรน".../วัชรานนท์

กระทู้คำถาม
ในภาพรวมและความหมายในบริบทของสังคมปัจจุบันการ “ดิ้นรน” หมายถึงลักษณะการต่อสู้เพื่อชีวิต  เพื่อการอยู่รอดหรือได้มาในสิ่งที่ดีกว่า   ซึ่งบางทีก็มักจะมีคำที่ตามท้ายมาด้วยคือ “กระเ-ือกกระสน” ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าดิ้นรนรุนแรงขนาดไหน      เท่าที่ผมได้ประสบมา  การดิ้นรนไปอยู่ต่างประเทศของคนไทยมีหลายลักษณะ   จะรวยระดับทักษิณหรือยิ่งลักษณ์หรือยากจนขนาดไหนล้วนต่างต้อง “ดิ้นรน”ทั้งนั้น  แตกต่างกันแค่ที่ดีกรีความยากง่ายของการดิ้นรน  ซึ่งก็ไม่มีใครรู้รายละเอียดนอกจากเจ้าตัว     อนึ่ง การ “ดิ้นรน” ไม่ได้สิ้นสุดอยู่แค่การ “ไป”   แต่ยังคงต้องดิ้นรนกับ “การอยู่(ที่นู่น)” ต่อไปอีกซึ่งเป็นเรื่องที่สาหัสสากรรไม่แพ้กัน    และท้ายที่สุดคนไทยหลายคนก็ประจักษ์กับตัวเองว่าไม่มีแผ่นดินใดจะอบอุ่นเท่าแผ่นดินแม่


รสชาตแห่งการ “คิดถึงบ้าน” ก็คือผลจากการที่ได้พลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเราชอบ  ซึ่งจัดเป็นความวิโยคที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ว่าเป็น "ทุกข์" ที่ปุถุชนพึงประสบอยู่เสมอๆ นั่นแหละครับ  ความทุกข์หรือความวิโยคที่ว่านี้มีสองชนิดคือแก้ได้กับแก้ไม่ได้  คือ:-
๑. แก้ได้โดยเดินทางกลับมาเยี่ยมแผ่นดินแม่หรือย้ายกลับภูมิลำเนา
๒. แก้ไม่ได้เพราะเงื่อนไขที่ถูกกีดกันไม่ให้กลับมามาตุภูมิของตัวเอง(ส่วนใหญ่จะเป็นเงื่อนไขทางการเมือง)


ตัวอย่างที่๑ มีให้เห็นกันดาษดื่นและทุกวันที่สนามบินสุวรรณภูมิ    
ส่วนตัวอย่างที่๒ ก็มีให้เห็นได้เป็นข้อศึกษาและเรียนรู้   ไล่มาตั้งแต่เชื้อพระวงศ์อย่างกรมหมื่นเทพพิพิธ(ราชโอรสของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)ที่ถูกเนรเทศไปปล่อยเกาะที่ศรีลังกา   หรือที่ถือเป็นคลาสสิคของตัวอย่างของการถูกกีดกันไม่ให้กลับมาตุภูมิของรัฐบุรุษอย่างนายปรีดี พนมยงค์   ที่แม้อังคารอันเป็นเถ้าถ่านหลังฌาปนกิจแล้วก็ยังถูกกีดกันไม่ให้เข้าประเทศอยู่หลายปี   หรือแม้แต่หนึ่งในนายทหารที่ถือว่าทรงไว้ซึ่งอำนาจมากที่สุดในสยามอย่างพระยาทรงสุรเดชหนึ่งในสี่ทหารเสือที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง   กลับไปต้องไปใช้เลี้ยงชีพด้วยการปะยางจักรยานที่เวียดนาม


มันเป็นเรื่องบาดหมาง/ค้างคาใจ/และอคติของคนบางคน กลุ่มคนบางกลุ่มที่มีต่อตระกูลชินวัตร   ที่สร้างความสั่นสะเทือนและร้าวฉานได้ไปประเทศ   คนที่พ่ายแพ้...ต้องกระเซอะกระเซิงหนีหลบเลียแผลใจ   หรืออาจะคิดแผนการใหม่กลับมาล้างแค้นให้สั่นสะเทือนอีกไม่รู้จบไม่รู้สิ้นแล้วกลายเป็นคนไทยห่ำหั่นคนไทยด้วยกันเอง    เหมือนการพยายามดิ้นรนกลับมาอยุธยาของกรมหมื่นเทพพิพิธที่มาตั้งตนเป็นใหญ่ในภาคอีสานคือ “ชุมนุมเจ้าพิมาย” หนึ่งในชุมนุมทั้งห้าที่พระเจ้าตากต้องปราบ


สมัยเรียนชั้นประถม   ผมเคยมีเรื่องประทับในหนังสือตำราเรียนอยู่เรื่องหนึ่ง   คือนิทานชาดกเรื่อง “ฑีฆาวุธกุมาร”   อ่านแล้วทึ่ง  อ่านแล้วเลือดเย็นลงเลย    เรื่องมีคร่าวๆ ว่า.... พ่อของฑีฆาวุธกุมารถูกเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งฆ่า   ฑีฆาวุธซึ่งตอนนั้นเป็นเด็กอยู่เกิดแค้นฝังหุ่น    ยังไงๆ ก็ต้องหาทางฆ่าล้างแค้นให้ได้    เขาพยายามทุกวิธีทางจนได้เป็นผู้ติดตามคนที่ฆ่าพ่อของเขาอย่างใกล้ชิด   และเมื่อสบโอกาสศรัตรูที่ฆ่าพ่อเขาไว้ใจและพล่อยหลับบนตักของเขา   นั่นเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่รอคอยมาเป็นสิบๆ ปี   แต่สุดท้ายเขาก็ฉุกคิดได้ว่า  “เวรย่อมระงับ  ด้วยการไม่จองเวร”  นิทานชาดกเรื่องนี้คือที่มาที่ไปของสุภาษิตที่ว่าเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร       ผมคิดว่าท่านผู้นำหรือคนไทยควรหันมาศึกษานิทานชาดกบ้างก็ดีนะครับ    ดูแต่หนังจีนกำลังภายในประเภท “สิบปีแก้แค้นก็ยังไม่สาย” นี่    บ้านเมืองป่นปี้ไม่มีชิ้นดีอย่างที่เห็น    เขียนเรื่องต่างประเทศอยู่ดีๆ มาลงที่หนังจีนเฉยเลย.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า    ไว้วันหลังจะมาเล่าการดิ้นรนในต่างประเทศเป็นอย่างไรให้อ่านนะครับ



...สายัณห์ย่ำ   ค่ำคล้อย   คอยจันทร์เจ้า
รอแสงดาว   พราวพร่างฟ้า  คราคืนเหงา
คนไกลบ้าน   นกไกลรัง   หวังเดือนดาว
ช่วยส่งข่าว   ข้ามขอบฟ้า    มาเมืองไทย

เหมันต์เยือน   เดือนหนาวย่าง   น้ำค้างเย็น
หนาวลมเหน็บ  เจ็บผิว   พริ้วหวั่นไหว
หนาวฤดู  พอสู้ทน   ระคนไป
หากหนาวใจ   เพราะไกลบ้าน   สุดทานทน

หนาวและเหงา  คละเคล้า  รุมเร้าจิต
ญาติสนิท   มิตรเคยใกล้  อยู่ไกลโพ้น
ฝากดาวเดือน  เอื้อนคำอ้อน  ถึงทุกคน
ทั้งกมล  ยังคิดถึง   ตรึงตราใจ

จากไปไกล  ใช่ว่า   ไม่อาวรณ์
แต่จำจร   เหมือนใช้กรรม   เคยทำไว้
นกพลัดรัง   คนพลัดถิ่น   หากินไกล
ชีพไม่วาย    จะว่ายฟ้า    มาเยี่ยมเยือนฯ ...
      ------------------------
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 34
ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก
กระทู้นี้ถูกลบโดยระบบอัตโนมัติทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาบรรยากาศการสนทนา ของเพื่อนสมาชิกโดยรวมค่ะ

ความคิดเห็นนี้ได้ถูก ppantip.com ลบออกไปจากระบบแล้ว หากเนื้อหาที่ถูกลบยังคงถูกนำไปแสดงใน application หรือเว็บไซต์ใดๆ
ทาง ppantip.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆด้วย การดำเนินการทางกฎหมายกรุณาติดต่อผู้พัฒนา application หรือเว็บไซต์นั้นๆโดยตรงค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 26
คหสต

ก็แค่พยายามใช้คำว่า ดิ้นรน เพื่อทำให้ใครบางคนไม่ผิด ที่ใช้คำนี้ต่อผู้หญิงคนนึง ที่ไม่ได้ทำอะไรให้ชีวิตเขา

ถึงนางจะเป็นสลิ่ม แต่นางไม่เคยปิดคูหาเลือกตั้ง
ไม่เคยเข้าร่วมชุมนุมปิดพื้นที่ใดๆในประเทศไทย
แต่ก็ยังมีผู้ชายทุเรศๆ 2-3 คน พยายามโจมตีนาง ด้วยคำว่าดิ้นรน
และมีพวก *เอคโค่* พยายามทำให้คำว่า ดิ้นรนนั้น ถูกต้องที่ถูกผรุสวาทออกมา

ช่างน่าขำ ที่หลายคน พยายามทำตัวเป็นผู้ทรง คุณวุฒิ วัยวุฒิ หรือวุฒิภาวะสูง

ทั้งๆที่ น่าจะใช้คำว่า "พยายาม" ก็พอ

ทำไม ต้องดิ้นรน?
ทำไมต้องบอกว่า ทุกคนที่ไปอยู่ต่างประเทศต้องดิ้นรน?

คนไปสบายๆ ไม่ต้องดิ้นรน ไม่มีเหรอ?

คำว่าดิ้นรน ณ ตอนนี้ ต้องใช้กับพวกที่คิดว่าอยู่ในหม้อต้มกบมากกว่า
ควรจะ ดิ้นรน ทำมาหากินอย่างแข็งขัน เพื่อไม่ให้เกิดความยากลำบากต่อครอบครัวตนเอง
ไม่ใช่นอนรอน้ำเดือดในหม้อต้ม


ขออภัย อ่านไม่จบ อาจจะนอกเรื่องไปบ้าง
แต่รู้สึกสังเวชใจ จนทนไม่ไหว ต้องฝากอะไรไว้ ณ จุดนี้

แต่โดยส่วนตัว ไม่เคยต้องดิ้นรนไปอยู่ต่างประเทศ
แม้จะเคยไปเป็นปีๆ แต่ก็มีคนจัดการให้เสร็จสรรพ แค่นั่งๆนอนๆ ลากกระเป๋าไปเจอตามจุดนัดพบ เพราะถูก*เรียนเชิญ* ให้ไปร่วมงาน

ที่เคยต้องดิ้นรน ก็คือการประคับประคองชีวิตการทำงานกับครอบครัว และชีวิตส่วนตัว ให้อยู่ในฐานะที่ทุกคนพึงพอใจโดยเฉพาะ พ่อ แม่ และตัวเอง

การดิ้นรนที่ว่านี้ ต้องใช้สมอง เพื่อตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิต มากกว่ากระเศือกกระสนด้วยความยากลำบากที่ว่า

และไม่ได้ดิ้นรนตลอดเวลา หากคุณเลือกทางที่สมควรแล้ว
บางอย่าง บางคนก็พึงพอใจที่จะทำ และทำทุกวัน ทำตลอดเวลา
แม้คนอื่นอาจจะมองว่า ใช้ความพยายามมากเกินไป
แต่สำหรับเจ้าตัว ไม่เคยคิดว่าต้องดิ้นรนอะไรเลย

ฝากไว้ด้วยถ้าจะใช้คำว่า *ดิ้นรน* อย่างพร่ำเพรื่อ
ก็อย่าเหมารวม เอาตนเองเป็นบรรทัดฐาน

แต่ถ้าจะหมายถึงแค่แม้วกับปู ก็ตามสบาย เห็นด้วยทุกประการ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  การเมือง
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่