เมื่อวันที่ 25-26 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม ‘2 คืน 3 วัน สีสันตะวันออก’ ที่ทาง Pantip ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดขึ้น โดยได้ไปไหว้พระวัดหนองบอน และเยี่ยมชม
นิเวศพิพิธภัณฑ์ ของชาวชอง ที่ "บ้านช้างทูน" อ.บ่อไร่ จ.ตราด ทำให้ได้รู้ว่า จ.ตราด ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่น และกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
วัดหนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด บริเวณโดยรอบร่มรื่น เงียบ สงบ มีพระอุโบสถที่งดงาม เหมาะแก่การมาทำบุญ
ด้านหลังพระอุโบสถ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พลอย มีวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับแร่รัตนชาติต่างๆ
หลังจากที่ได้ไหว้พระ และชมพิพิธภัณฑ์พลอย ที่วัดหนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด แล้ว เราก็ไปต่อกันที่...
“ชุมชนบ้านช้างทูน” หรือ “นิเวศพิพิธภัณฑ์ ชอง บ้านช้างทูน” อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดตราด ประมาณ 50 กิโลเมตร มีชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ คือ“กลุ่มชาติพันธุ์ชองเผ่าซัมเร”หรือ“ชาวชอง” เดิมชาวชองมีภาษาพูด และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ปัจจุบันสูญหายไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากลูกหลานชาวชองได้รับการศึกษา และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ห่างไกลจากการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ
ที่บ้านช้างทูนแห่งนี้ มีกิจกรรมมากมาย ได้แก่ การทำยาดมจากสมุนไพรท้องถิ่น, หัตถกรรมจักสาน, การอบสมุนไพร "สปาสุ่มไก่", นั่งพาหนะท้องถิ่น "ซาเล้งเจอร์" ไปร่อนพลอยแดง และทำกิจกรรมสปาโคลนขาว รวมถึงการรับประทานอาหาร “ชองซัมเร” เมนูท้องถิ่น อย่าง แกงกล้วยพระ (หรือแกงกล้วยป่า) รับประทานกับข้าวเหนียวมูล อีกด้วย
ก่อนจะไปทำกิจกรรม เราต้องเติมพลังกันก่อน และเมนูห้ามพลาด คือ แกงกล้วยพระ กับข้าวเหนียวมูล
แกงกล้วยพระ หรือแกงกล้วยป่า ทำจากหยวกกล้วยป่า เข้ากันกับน้ำแกง กินกับข้าวเหนียวมูลนุ่มๆ มันๆ อร่อยสุดๆ (ข้าวเหนียวมูลที่นี่ นุ่มกินเพลินมาก มีรสชาติความมันของกะทิ แต่ไม่มีรสหวาน)
อู๊ยยยย... เกือบลืม Welcome Drink ของที่นี่
"น้ำอัญชัญมะปรี๊ดดดดด" มาเหนื่อยๆ ได้น้ำอัญชัญมะปรี๊ด หายเหนื่อยเลย
เปรี้ยวๆ หวานๆ รสชาติคล้ายๆ ชามะนาวแต่อร่อยกว่า
ได้ยินครั้งแรกก็งงว่ามะปรี๊ดคืออะไร ไปถามมาให้แล้วจ้า มะปรี๊ด ก็คือผลส้มจี๊ด ที่เรารู้จักกันนั่นแหล่ะ
หลังจากอิ่มหนำสำราญกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็...
นั่ง "ซาเล้งเจอร์" ไปร่อนพลอย กับไปทำกิจกรรม "สปาโคลนขาว"
เรานั่งซาเล้งเจอร์จากศูนย์การเรียนรู้ฯ ไปที่คลองแอ่ง ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาทีก็ถึงจุดที่เราจะไปร่อนพลอย กับทำสปาโคลนขาว แล้วค่ะ
วันที่ไปน้ำค่อนข้างแรง แต่ลุงที่จะสาธิตการร่อนพลอยให้เราดู บอกว่าไม่เป็นปัญหา ว่าแล้วลุงแกก็นำบุ้งกี๋ลงไปตักเศษหิน เศษทรายในน้ำ แล้วนำขึ้นมาบริเวณริมน้ำ จากนั้นก็แบ่งเศษหินเศษทรายบางส่วนเทใส่ในกระด้ง แล้วทำการร่อนบนผิวน้ำ เอาโคลนออก แล้วค่อยๆ ใช้มือเกลี่ยหาพลอย ซึ่งพลอยที่เราร่อนหา จะเป็นพลอยแดง หรือทับทิม (เทคนิคการสังเกตุ คือ สังเกตุวัตถุที่มีแสงวิบวับ ถ้าเป็นพลอยแดงจะมีแสงเด่นสะท้อนตา) หากโชคดีอาจจะได้พลอยเม็ดใหญ่ติดมือกลับบ้านไปด้วยก็ได้ (ของเรามีโชคน้อย ได้มาแต่เศษพลอยเล็กๆ แต่ก็เก็บไว้เป็นที่ระลึก)
ระหว่างร่อนหาพลอย เรายังได้ทำกิจกรรมสปาโคลนขาวอีกด้วย พอกทั้งแขน, ขา, หน้า, คอ จัดไปให้หมด โคลนที่นำมาพอกมาจากการนำโคลนจากแม่น้ำของหมู่บ้านที่มีแร่พลอยผสมอยู่ มาผสมกับผงขมิ้น, ผงไพร และมะขามเปียกเล็กน้อย จากนั้นก็นำมาพอกตามใบหน้า, แขน, ขา ทิ้งไว้ 10-15 นาที
พอโคลนแห้งดี ก็ล้างให้สะอาด พี่ที่เค้าทำสปาให้เค้าบอกว่าจะทำให้ผิวพรรณผ่องใส มีน้ำมีนวล ดูเปล่งปลั่งมีสุขภาพดี
หลังจากได้เศษพลอยติดไม้ติดมือมาเป็นของที่ระลึก และล้างเนื้อล้างตัวเรียบร้อยแล้ว ก็นั่ง "ซาเล้งเจอร์" กลับมาที่ ศูนย์การเรียนรู้ฯ เพื่อมาเรียนรู้วิธีการทำ
"ยาดมสมุนไพรบุฟเฟ่ต์"
วิธีทำก็ง่ายมากๆ แค่นำผ้ากรอง (สำเร็จรูป) มาบิดเป็นกรวย จากนั้นก็ใส่สมุนไพรลงไป ชอบกลิ่นไหนมากก็ใส่อันนั้นไปเยอะหน่อย ไม่มีสูตรตายตัว ได้ยาดมแบบถูกใจคนดม โดยสมุนไพรที่นำมาทำยาดมก็มี ดอกจัน, กระวาน, กานพลู, พริกไทย, ดีปลี, หัวบัว หลังจากใส่สมุนไพรไปแล้วก็ม้วนผ้าห่อไว้ เอาใส่ลงในขวดแก้ว เติมน้ำยาดมที่ผสมไว้แล้ว (น้ำยาดม ทำจากพิมเสน,เมนทอล,การบูร) ใส่ลงไปในขวด 1 ช้อน (ใส่เยอะกว่านี้จะล้นขวด 1 ช้อนกำลังดี)
ปิดฝา แค่นี้ก็ได้ยาดมไว้ใช้แล้ว อายุการใช้งาน (ถ้าไม่หาย) กลิ่นจะอยู่ได้เป็นปี พี่ที่สาธิตการทำยาดม เค้าบอกว่ายิ่งนาน จะยิ่งหอม
นอกจากนี้ยังมีการสาธิต
"หัตถกรรมจักสาน" วันที่เราไป คุณยายบอกว่าวันนี้จะสอนทำของเล่นสมัยก่อน สอนพับนก, ตั๊กแตน
และสัตว์อื่นๆ อีกหลายตัว แต่เราไม่ประสบความสำเร็จซักตัว งานฝีมือไม่เหมาะกับผู้หญิงอย่างเรา
หลังจากทำกิจกรรมกันมามากมาย เราก็มาผ่อนคลายด้วยกิจกรรมสุดท้าย คือ
"สปาสุ่มไก่" หรือ "สปา เดอ ชอง" ตำรับแพทย์แผนชองโบราณ
ลักษณะการอบสปาสุ่มไก่ คือ เราจะนั่งในสุ่มไก่ ด้านบนมีรูตรงกลางให้สอดหัวออกมา (ด้านในสุ่มไก่จะบุผ้ากันน้ำโดยรอบ) ที่มีหม้อต้มสมุนไพรนานาชนิด สมุนไพรที่ใช้เป็นสมุนไพรไทย และไม้หอมนานาชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ มะขาม ขมิ้น ไม้เทพธาโร เกลือ น้ำมันกฤษณา
ใช้เวลาอบตัวในสุ่มไก่ประมาณ 10 – 15 นาที จะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี รักษาอาการหลังคลอดได้อีกด้วย พออบเสร็จจะรู้สึกเบา สบายตัว
ถ้าใครจะอบสมุนไพร ที่นี่เค้ามีผ้าถุงแบบใส่ยางยืดแล้วให้เปลี่ยน มีผ้าเช็ดตัว และห้องน้ำให้บริการด้วยค่ะ
ก่อนกลับ เราอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านที่นี่ไปเป็นของฝากด้วย มีแชมพูสมุนไพรเถาขี้แรด ที่เค้าบอกว่าเป็นแชมพูที่ชะลอการเกิดผมหงอก และบรรเทาอาการผมร่วง นอกจากนี้ยังมีผงโคลนขาวพอกผิว (คือพอกที่นั่นยังไม่สะใจ หอบเอามาพอกที่บ้านด้วย)
บอกลาชุมชนบ้านช้างทูน ไปเพียงเท่านี้
สำหรับท่านใดที่สนใจอยากไปทำกิจกรรมสนุกๆ แบบนี้ ที่ชุมชนบ้านช้างทูน จ.ตราด สามารถติดต่อได้ที่ 092-254-9395
หรือติดต่อผ่านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด โทร. 039-597259-6
ชาวบ้านที่นั่นบอกเราว่ามีบริการโฮมสเตย์ สำหรับผู้ที่ต้องการพักค้างคืนด้วยนะคะ
[SR] ชวนเที่ยววิถีไทยฯ อ.บ่อไร่ จ.ตราด ( ไหว้พระวัดหนองบอน แวะ "นิเวศพิพิธภัณฑ์ ชอง บ้านช้างทูน" )
เมื่อวันที่ 25-26 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม ‘2 คืน 3 วัน สีสันตะวันออก’ ที่ทาง Pantip ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดขึ้น โดยได้ไปไหว้พระวัดหนองบอน และเยี่ยมชม นิเวศพิพิธภัณฑ์ ของชาวชอง ที่ "บ้านช้างทูน" อ.บ่อไร่ จ.ตราด ทำให้ได้รู้ว่า จ.ตราด ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่น และกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
วัดหนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด บริเวณโดยรอบร่มรื่น เงียบ สงบ มีพระอุโบสถที่งดงาม เหมาะแก่การมาทำบุญ
ด้านหลังพระอุโบสถ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พลอย มีวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับแร่รัตนชาติต่างๆ
หลังจากที่ได้ไหว้พระ และชมพิพิธภัณฑ์พลอย ที่วัดหนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด แล้ว เราก็ไปต่อกันที่...
“ชุมชนบ้านช้างทูน” หรือ “นิเวศพิพิธภัณฑ์ ชอง บ้านช้างทูน” อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดตราด ประมาณ 50 กิโลเมตร มีชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ คือ“กลุ่มชาติพันธุ์ชองเผ่าซัมเร”หรือ“ชาวชอง” เดิมชาวชองมีภาษาพูด และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ปัจจุบันสูญหายไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากลูกหลานชาวชองได้รับการศึกษา และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ห่างไกลจากการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ
ที่บ้านช้างทูนแห่งนี้ มีกิจกรรมมากมาย ได้แก่ การทำยาดมจากสมุนไพรท้องถิ่น, หัตถกรรมจักสาน, การอบสมุนไพร "สปาสุ่มไก่", นั่งพาหนะท้องถิ่น "ซาเล้งเจอร์" ไปร่อนพลอยแดง และทำกิจกรรมสปาโคลนขาว รวมถึงการรับประทานอาหาร “ชองซัมเร” เมนูท้องถิ่น อย่าง แกงกล้วยพระ (หรือแกงกล้วยป่า) รับประทานกับข้าวเหนียวมูล อีกด้วย
ก่อนจะไปทำกิจกรรม เราต้องเติมพลังกันก่อน และเมนูห้ามพลาด คือ แกงกล้วยพระ กับข้าวเหนียวมูล
แกงกล้วยพระ หรือแกงกล้วยป่า ทำจากหยวกกล้วยป่า เข้ากันกับน้ำแกง กินกับข้าวเหนียวมูลนุ่มๆ มันๆ อร่อยสุดๆ (ข้าวเหนียวมูลที่นี่ นุ่มกินเพลินมาก มีรสชาติความมันของกะทิ แต่ไม่มีรสหวาน)
อู๊ยยยย... เกือบลืม Welcome Drink ของที่นี่ "น้ำอัญชัญมะปรี๊ดดดดด" มาเหนื่อยๆ ได้น้ำอัญชัญมะปรี๊ด หายเหนื่อยเลย
เปรี้ยวๆ หวานๆ รสชาติคล้ายๆ ชามะนาวแต่อร่อยกว่า
ได้ยินครั้งแรกก็งงว่ามะปรี๊ดคืออะไร ไปถามมาให้แล้วจ้า มะปรี๊ด ก็คือผลส้มจี๊ด ที่เรารู้จักกันนั่นแหล่ะ
หลังจากอิ่มหนำสำราญกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็... นั่ง "ซาเล้งเจอร์" ไปร่อนพลอย กับไปทำกิจกรรม "สปาโคลนขาว"
เรานั่งซาเล้งเจอร์จากศูนย์การเรียนรู้ฯ ไปที่คลองแอ่ง ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาทีก็ถึงจุดที่เราจะไปร่อนพลอย กับทำสปาโคลนขาว แล้วค่ะ
วันที่ไปน้ำค่อนข้างแรง แต่ลุงที่จะสาธิตการร่อนพลอยให้เราดู บอกว่าไม่เป็นปัญหา ว่าแล้วลุงแกก็นำบุ้งกี๋ลงไปตักเศษหิน เศษทรายในน้ำ แล้วนำขึ้นมาบริเวณริมน้ำ จากนั้นก็แบ่งเศษหินเศษทรายบางส่วนเทใส่ในกระด้ง แล้วทำการร่อนบนผิวน้ำ เอาโคลนออก แล้วค่อยๆ ใช้มือเกลี่ยหาพลอย ซึ่งพลอยที่เราร่อนหา จะเป็นพลอยแดง หรือทับทิม (เทคนิคการสังเกตุ คือ สังเกตุวัตถุที่มีแสงวิบวับ ถ้าเป็นพลอยแดงจะมีแสงเด่นสะท้อนตา) หากโชคดีอาจจะได้พลอยเม็ดใหญ่ติดมือกลับบ้านไปด้วยก็ได้ (ของเรามีโชคน้อย ได้มาแต่เศษพลอยเล็กๆ แต่ก็เก็บไว้เป็นที่ระลึก)
ระหว่างร่อนหาพลอย เรายังได้ทำกิจกรรมสปาโคลนขาวอีกด้วย พอกทั้งแขน, ขา, หน้า, คอ จัดไปให้หมด โคลนที่นำมาพอกมาจากการนำโคลนจากแม่น้ำของหมู่บ้านที่มีแร่พลอยผสมอยู่ มาผสมกับผงขมิ้น, ผงไพร และมะขามเปียกเล็กน้อย จากนั้นก็นำมาพอกตามใบหน้า, แขน, ขา ทิ้งไว้ 10-15 นาที
พอโคลนแห้งดี ก็ล้างให้สะอาด พี่ที่เค้าทำสปาให้เค้าบอกว่าจะทำให้ผิวพรรณผ่องใส มีน้ำมีนวล ดูเปล่งปลั่งมีสุขภาพดี
หลังจากได้เศษพลอยติดไม้ติดมือมาเป็นของที่ระลึก และล้างเนื้อล้างตัวเรียบร้อยแล้ว ก็นั่ง "ซาเล้งเจอร์" กลับมาที่ ศูนย์การเรียนรู้ฯ เพื่อมาเรียนรู้วิธีการทำ "ยาดมสมุนไพรบุฟเฟ่ต์"
วิธีทำก็ง่ายมากๆ แค่นำผ้ากรอง (สำเร็จรูป) มาบิดเป็นกรวย จากนั้นก็ใส่สมุนไพรลงไป ชอบกลิ่นไหนมากก็ใส่อันนั้นไปเยอะหน่อย ไม่มีสูตรตายตัว ได้ยาดมแบบถูกใจคนดม โดยสมุนไพรที่นำมาทำยาดมก็มี ดอกจัน, กระวาน, กานพลู, พริกไทย, ดีปลี, หัวบัว หลังจากใส่สมุนไพรไปแล้วก็ม้วนผ้าห่อไว้ เอาใส่ลงในขวดแก้ว เติมน้ำยาดมที่ผสมไว้แล้ว (น้ำยาดม ทำจากพิมเสน,เมนทอล,การบูร) ใส่ลงไปในขวด 1 ช้อน (ใส่เยอะกว่านี้จะล้นขวด 1 ช้อนกำลังดี)
ปิดฝา แค่นี้ก็ได้ยาดมไว้ใช้แล้ว อายุการใช้งาน (ถ้าไม่หาย) กลิ่นจะอยู่ได้เป็นปี พี่ที่สาธิตการทำยาดม เค้าบอกว่ายิ่งนาน จะยิ่งหอม
นอกจากนี้ยังมีการสาธิต "หัตถกรรมจักสาน" วันที่เราไป คุณยายบอกว่าวันนี้จะสอนทำของเล่นสมัยก่อน สอนพับนก, ตั๊กแตน
และสัตว์อื่นๆ อีกหลายตัว แต่เราไม่ประสบความสำเร็จซักตัว งานฝีมือไม่เหมาะกับผู้หญิงอย่างเรา
หลังจากทำกิจกรรมกันมามากมาย เราก็มาผ่อนคลายด้วยกิจกรรมสุดท้าย คือ "สปาสุ่มไก่" หรือ "สปา เดอ ชอง" ตำรับแพทย์แผนชองโบราณ
ลักษณะการอบสปาสุ่มไก่ คือ เราจะนั่งในสุ่มไก่ ด้านบนมีรูตรงกลางให้สอดหัวออกมา (ด้านในสุ่มไก่จะบุผ้ากันน้ำโดยรอบ) ที่มีหม้อต้มสมุนไพรนานาชนิด สมุนไพรที่ใช้เป็นสมุนไพรไทย และไม้หอมนานาชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ มะขาม ขมิ้น ไม้เทพธาโร เกลือ น้ำมันกฤษณา
ใช้เวลาอบตัวในสุ่มไก่ประมาณ 10 – 15 นาที จะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี รักษาอาการหลังคลอดได้อีกด้วย พออบเสร็จจะรู้สึกเบา สบายตัว
ถ้าใครจะอบสมุนไพร ที่นี่เค้ามีผ้าถุงแบบใส่ยางยืดแล้วให้เปลี่ยน มีผ้าเช็ดตัว และห้องน้ำให้บริการด้วยค่ะ
ก่อนกลับ เราอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านที่นี่ไปเป็นของฝากด้วย มีแชมพูสมุนไพรเถาขี้แรด ที่เค้าบอกว่าเป็นแชมพูที่ชะลอการเกิดผมหงอก และบรรเทาอาการผมร่วง นอกจากนี้ยังมีผงโคลนขาวพอกผิว (คือพอกที่นั่นยังไม่สะใจ หอบเอามาพอกที่บ้านด้วย)
บอกลาชุมชนบ้านช้างทูน ไปเพียงเท่านี้
สำหรับท่านใดที่สนใจอยากไปทำกิจกรรมสนุกๆ แบบนี้ ที่ชุมชนบ้านช้างทูน จ.ตราด สามารถติดต่อได้ที่ 092-254-9395
หรือติดต่อผ่านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด โทร. 039-597259-6
ชาวบ้านที่นั่นบอกเราว่ามีบริการโฮมสเตย์ สำหรับผู้ที่ต้องการพักค้างคืนด้วยนะคะ