อ้างอิงจากกระทู้
https://ppantip.com/topic/36829012 นี้
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเราใช้หุ่นยนต์ในการผลิตอาหารกันมานานหลายปีแล้ว จนทำให้เป็นเรื่องปกติที่คนในประเทศเหล่านั้น ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นของแปลกใหม่ หรือน่ากลัว แต่ในขณะที่ประเทศไทยกลับเกิดความกลัวว่า หุ่นยนต์ หรือเทคโนโลยีจะมาแทนที่แรงงานคน แต่ทำไมเราไม่คิดในอีกมุมที่ว่า เทคโนโลยีต่างๆ นั้น
ถูกสร้างมาเพื่อทุ่นแรงมนุษย์ ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนแรงงานมนุษย์
เหมือนที่บริษัทซีพีในประเทศจีน ได้รับการยอมรับจากคนจีนในเรื่องของความสะอาด มีคุณภาพ และความปลอดภัยในอาหารจากการผลิตของเครื่องจักรที่ทันสมัย สามารถผลิตออกมาให้รองรับกับจำนวนประชากรคนจีน ที่ถือว่ามีมากเป็นอันดับ 1 ในโลกได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ (อ้างอิงจาก
http://data.stats.gov.cn/)
•
การหุงข้าว โดยเครื่องจักรอัตโนมัติ ที่เป็นระบบปิด โดยมีแรงงานคนคอยควบคุมอยู่ที่แผงคอนโทรลในห้องควบคุมภายนอก
หรือ
•
การผลิตเกี้ยว ที่ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการห่อแป้งเกี้ยวให้มีจีบสวยงาม เหมือนกันทุกชิ้น
การผลิตในระบบปิด สามารถช่วยลดการปนเปื้อนของอาหาร และจะช่วยทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจของคนลงได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจของผู้บริโภคในเรื่องของมาตราฐานความปลอดภัยในอาหาร
แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตอาหารในระบบอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ยังจะต้องคำนึงถึงรสชาติของอาหาร และปริมาณในทุกกล่องเป็นหลักสำคัญด้วยว่า จะต้องมีรสชาติเหมือนกัน ไม่ผิดเพี้ยนไปจากกล่องอื่น และปริมาณของทุกกล่องจะต้องมีปริมาณใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมากเกินไป
หลายครั้งที่เราเคยเดินเข้าไปสั่งอาหารจากร้านอาหารสักร้านหนึ่ง เรามักจะประสบปัญหาที่เหมือนกันในเรื่องของอาหารแต่ละจานว่า
รสชาติของอาหารไม่มีความแน่นอน แถม
ปริมาณในแต่ละจานก็แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้น หุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติ จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตได้แบบตรงประเด็นที่สุดในเรื่องนี้
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ ประเทศไทยเรา ควรจะต้องนำหุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติเหล่านี้เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของคนไทยให้เข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างแท้จริงซะที
ความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารของไทย อยู่กันตรงไหนแล้ว ???
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเราใช้หุ่นยนต์ในการผลิตอาหารกันมานานหลายปีแล้ว จนทำให้เป็นเรื่องปกติที่คนในประเทศเหล่านั้น ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นของแปลกใหม่ หรือน่ากลัว แต่ในขณะที่ประเทศไทยกลับเกิดความกลัวว่า หุ่นยนต์ หรือเทคโนโลยีจะมาแทนที่แรงงานคน แต่ทำไมเราไม่คิดในอีกมุมที่ว่า เทคโนโลยีต่างๆ นั้น ถูกสร้างมาเพื่อทุ่นแรงมนุษย์ ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนแรงงานมนุษย์
เหมือนที่บริษัทซีพีในประเทศจีน ได้รับการยอมรับจากคนจีนในเรื่องของความสะอาด มีคุณภาพ และความปลอดภัยในอาหารจากการผลิตของเครื่องจักรที่ทันสมัย สามารถผลิตออกมาให้รองรับกับจำนวนประชากรคนจีน ที่ถือว่ามีมากเป็นอันดับ 1 ในโลกได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ (อ้างอิงจาก http://data.stats.gov.cn/)
• การหุงข้าว โดยเครื่องจักรอัตโนมัติ ที่เป็นระบบปิด โดยมีแรงงานคนคอยควบคุมอยู่ที่แผงคอนโทรลในห้องควบคุมภายนอก
หรือ
• การผลิตเกี้ยว ที่ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการห่อแป้งเกี้ยวให้มีจีบสวยงาม เหมือนกันทุกชิ้น
การผลิตในระบบปิด สามารถช่วยลดการปนเปื้อนของอาหาร และจะช่วยทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจของคนลงได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจของผู้บริโภคในเรื่องของมาตราฐานความปลอดภัยในอาหาร
แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตอาหารในระบบอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ยังจะต้องคำนึงถึงรสชาติของอาหาร และปริมาณในทุกกล่องเป็นหลักสำคัญด้วยว่า จะต้องมีรสชาติเหมือนกัน ไม่ผิดเพี้ยนไปจากกล่องอื่น และปริมาณของทุกกล่องจะต้องมีปริมาณใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมากเกินไป
หลายครั้งที่เราเคยเดินเข้าไปสั่งอาหารจากร้านอาหารสักร้านหนึ่ง เรามักจะประสบปัญหาที่เหมือนกันในเรื่องของอาหารแต่ละจานว่า รสชาติของอาหารไม่มีความแน่นอน แถมปริมาณในแต่ละจานก็แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้น หุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติ จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตได้แบบตรงประเด็นที่สุดในเรื่องนี้
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ ประเทศไทยเรา ควรจะต้องนำหุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติเหล่านี้เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของคนไทยให้เข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างแท้จริงซะที