จากการได้ดูเกือบตลอดทั้งเกม
ประการแรก
ยังหาบทสรุปปรัชญาอันเป็นแนวทางในการทำทีมไม่ได้ อันจะเป็นฐานให้พัฒนาเยาวชนตามแนวทางปรัชญานั้นอย่างต่อเนื่อง จริงๆคือแนวทางการเล่น อย่างเช่นบราซิล อิตาลี เยอรมัน ฮอลแลนด์ อังกฤษ อาเจนตินา ฝรั่งเศส ก็ล้วนมีแนวทางพัฒนารูปแบบการเล่นเฉพาะ และผู้เล่นหรือโค้ชก็เข้าใจปรัชญา รูปแบบนั้นเป็นอย่างดี หรือเช่นตระกร้อ ไทยก็มีปรัชญาของลูกฟาด แต่มาเลเซียมีซันแบก ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะ ก็ล้วนประสบความสำเร็จได้
จริงๆการเล่นฟุตบอลหรือเล่นกีฬาอะไรก็ตาม มันใช้ปรัชญาใดเป็นแนวทางก็ได้ ก็ล้วนประสบความสำเร็จได้ทั้งนั้น เพียงแต่ผู้เล่นต้องเข้าใจในปรัชญานั้น และมีศักยภาพในการตอบรับ/ตอบสนองปรัชญานั้นเป็นอย่างดี ในกรณีปรัชญาของอิตาลีหรือตีหัวเข้าบ้าน คาเตนัชโช่ เน้นรับที่พร้อมจะสวนกลับแบบเด็ดขาด หากสมัยใดพวกเขามีผู้เล่นที่พร้อมจะตอบสนองปรัชญานั้น ก็สามารถเป็นแชมป์โลกได้ หรือเข้ารอบลึกๆได้ ซึ่งปรัชญานี้ต้องมีแนวรับที่ดี ผู้รักษาประตูที่แข็งแกร่งดังบุปฟ่อน คันนา เนสต้า มิลดินี่ มีแบคกึ่งปีกที่เปิดบอลแม่นอย่างซามบรอตต้า มีปีกที่พลิ้วหน่อยอย่างคาโมนาเรซี่ มีกองกลาง/เพลเมกเกอร์ที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง และวางบอลแม่นดังตอดติ เดลปิเอโร ปิโล่ มีตัวตัดเกมที่หนักหน่วงอย่าง กัตตูโซ มีกองหน้าที่คม มีความเร็ว เข้าฮอตดี เก็บบอลได้ เป็นสไตเกอร์อย่างคริสเตียน โบ้โบ้ ฟิลิปโป้ อินซากี/พี่กุ้ง ผู้เล่นที่มีคุณสมบัติอย่างนี้จะเหมาะกับปรัชญาตีหัวเข้าบ้าน แต่หากเมื่อใดที่โค้ชเลือกผู้เล่นไม่ใช่ลักษณะอย่างนี้ หรือไม่มีผู้เล่นที่มีลักษณะเข้ากับปรัชญา สูตรหรือแทคติกนี้ก็ไม่ได้ผลหรือลดประสิทธิภาพ อย่างเช่นหากเรวัชใช้แทคติกตีหัวเข้าบ้าน แต่ไปเลือกเอาธีรศิล แดงดา เป็นกองหน้าเป้า มันไม่เหมาะสมกับแทคติกนี้ ทำให้ธีรศิลป์หายไปจากเกมอย่างสนิท แม้วูบวาบบางจังหวะ ส่วนธนาธิปก็สนิทแต่วาบวูบช่วงแรกๆเท่านั้น สำหรับแทคติกนี้ ธีรศิลควรจะเป็นหน้าต่ำมากกว่าศูนย์หน้าตัวเป้า และควรใช้ปีกที่มีความเร็วสูง เปิดบอลแม่น
ผู้เล่นในชุดที่ไทยมีอยู่หรือผู้เล่นชุดนี้หากมาครบ มันเหมาะกับแทตติกซิโก้ หรือการต่อบอลแบบสเปนมากกว่า คุณจะสังเกตเห็นว่าไทยเน้นรับแต่ไม่ใช่รับแบบพร้อมรอสวนอย่างอิตาลี เพราะไม่มีผู้เล่นอย่างตอดติ เดลปิเอโร ปิโล่ ในทีม มีปีกที่เร็วคล่องอย่างคาโมนาเรซี่ ทำให้รับแบบสนิท อีกอย่าง การใช้แทคติกแบบอิตาลีต้องมีผู้เล่นวางบอลแม่นๆอย่างน้อยสองคนในกองกลาง แต่แทคติกไทยไม่มี จึงรับสนิท
ฉะนั้น ไทยควรหาบทสรุปในปรัชญา ซึ่งมีอยู่ ๒ กรณี คือ
๑. พัฒนาผู้เล่นให้เข้าถึงปรัชญา/แทคติกที่ต้องการโดยเจาะลงไปในแต่ละตำแหน่ง
๒. แสวงหาปรัชญาที่เหมาะกับนักเตะหรือสภาพนักเตะไทย
ซึ่งผมคิดว่าสมาคมก็พยายามอยู่ ในส่วนความเห็นส่วนตัว ผมมองว่าศักยภาพของนักเตะไทยตอนนี้ เหมาะสำหรับปรัชญาของอิตาลี เพราะผู้รักษาประตู กองกลังมีความพร้อม แต่แดนกลาง และแดนหน้ายังไม่มีนักเตะที่พร้อมกับปรัชญานี้ ซึ่งต้องสร้างและพัฒนาขึ้นมา
อีกประการที่ขาดไม่ได้ และมองข้ามไม่ได้ คนอิตาลีกับคนไทยมีอุปนิสัยคล้ายกัน การใช้ปรัชญานี้น่าจะเหมาะสมด้วยอุปนิสัยที่คล้ายกัน คือ รักษาสบาย ขี้เกียจ ไม่ค่อยวิ่ง รักอิสระ ไร้ระเบียบ มีความเป็นปัจเจกสูง แต่จะดีเมื่ออยู่ในกฎแห่งการแข่งขัน
ประการที่สอง
นักเตะไทยไม่เข้าใจในศาสตร์ฟุตบอล เน้นการเคลื่อนที่ การต่อบอล การรับส่ง-บอล รูปแบบการเข้าทำ การเลี้ยงบอล
การเลี้ยงบอลต้องเลี้ยงหนีคน ไม่ใช่เลี้ยงจี้ใส่คน เลี้ยงบอลหนีโดยไม่ต้องจี้ใส่คนก็ได้ นี้หลักการง่ายๆสำหรับการเลี้ยง แต่เท่าที่ผมสังเกตดูหลายครั้งและสังเกตมานาน นักเตะไทยเลี้ยงจี้ใส่คนและจะเลี้ยงหนีอย่างกระชั้นชิด ทั้งที่เวลา สถานที่นั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะเลี้ยงไปอย่างนั้น ฉะนั้น การจะเลี้ยงบอลหนีคน ไม่จำต้องหนีแบบกระชั้นชิด เลี้ยงหนีแบบอยู่ห่างๆก็ได้ หรือบางครั้งอาจเลี้ยงหาพื้นที่ว่าง เมื่ออยู่ในพื้นที่ว่าง มันก็มีโอกาสเลือกในการสร้างสรรค์เกม
นักเตะไทยไม่เข้าใจการเคลื่อนที่ตอนมีบอล ไม่มี เมื่อไม่เข้าใจในการเคลื่อนที่ทั้งมีบอล ไม่มีบอล เมื่อเจอเพรสซิ่งหนักๆดังแข่งกับเกาหลี ญี่ปุ่น ทำให้บอลไทยมักจะรวน เหตุผลหลักๆเพราะไม่เคลื่อนที่ และต่อบอล
การต่อบอลไม่จำเป็นต้องจับบอลทุกครั้งแล้วส่งไป เพราะการจับบอลอยู่กับตัวเพียง ๑ ครั้ง จะทำให้คู่แข่งมีเวลาเข้าประชิดตัว ไม่มีพื้นที่เล่นเมื่อมีการเพรสหนักๆ หากจับบอลอยู่กับตัวที่จะพ้นจากการเพรสได้ ผู้เรียนต้องมีการเคลื่อนที่หาพื้นที่ว่างที่ดี เพราะฉะนั้น ต้องมีการต่อบอลโดยไม่ต้องจับบอล เหมือนต่อกันไปมา จากเท้าสู่เท้าในจังหวะเดียว แล้วเปลี่ยนทิศทางบอลไป อย่างนี้ไม่มีในนักเตะไทย เคยเห็นในยุคซิโก้บ้าง ซึ่งผลการต่อบอลลักษณะนี้มีโอกาสที่จะเกิดพื้นที่การเล่น เกิดช่องว่าง เพรสอย่างไรก็ไม่จนอย่างบอลสเปน (แต่คู่แข่งจะเปลี่ยนแทคติกคุมพื้นที่) อีกทั้งคู่แข่งมีโอกาสสับสน ข้อนี้เพราะธรรมดาของนักบอลก็คิดว่าเมื่อส่งบอลมาก็จับบอลก่อน เมื่อคู่แข่งวิ่งเพรสเข้ามา บอลก็ไม่อยู่กับเราแล้ว ซึ่งในแมตแข่งกับอิรัก ผมไม่เห็นการต่อบอลในจังหวะเดียวของนักเตะไทย เห็นจับก่อนแล้วส่ง หรือตูมเดียว แม้มีการจับบอลแต่บอลมันอยู่นิ่ง ๆ บอลและคนไม่เคลื่อนที่ ทำให้เกมมันตัน ดูอึดอัด
ประการที่ ๓ ปัญหาของโค้ชเรวัช การวางตัวผู้รักษาประตูและกองหลังไม่มีปัญหา แต่กองกลางมีปัญหา เพราะเรวัชใช้ตัวรับที่เน้นความแข็งแกร่งอย่างเดียว แต่ขาดความคล่องตัว ไม่มีความเร็ว ทำให้ตามผู้เล่นอิรักไม่ทัน กองกลางอิรักที่มีความคล่อง เร็ว เลี้ยงบอลได้ดี ต่อบอลดี จึงทะลวง เจาะเข้าตรงลางจนพรุน ทำให้มีการดึงในเขตโทษ และเสียจุดโทษ โดนกดแทบโงหัวไม่ขึ้น เพราะแดนกลางคุมเกมไม่ได้ ซึ่งผมมองว่าเรวัชจำเป็นต้องมีตัวตัดเกมที่คล่องตัวสัก ๑ คน ที่จะมายืนคู่กัน
โดยสรุป ไทยแพ้อิรักเพราะไม่มีผู้เล่นที่ดี มีศักยภาพที่เหมาะสม สามารถตอบสนองปรัชญาแบบคาเตนัชโช่ ยกเว้นผู้รักษาประตูและกองหลังซึ่งผมมองว่ามีความพร้อม ซึ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องหาหรือพัฒนานักเตะในแดนกลางและกองหน้าที่ตอบสอนปรัชญาแบบคาเตนัชโช่
หมายเหตุ วิเคราะห์ตามความเข้าใจ ความรู้สึกของตนเองล้วนๆ
ไทยแพ้อิรักเพราะอะไร (บทวิเคราะห์) ข้ามฝากมาจากห้องศาสนา
ประการแรก
ยังหาบทสรุปปรัชญาอันเป็นแนวทางในการทำทีมไม่ได้ อันจะเป็นฐานให้พัฒนาเยาวชนตามแนวทางปรัชญานั้นอย่างต่อเนื่อง จริงๆคือแนวทางการเล่น อย่างเช่นบราซิล อิตาลี เยอรมัน ฮอลแลนด์ อังกฤษ อาเจนตินา ฝรั่งเศส ก็ล้วนมีแนวทางพัฒนารูปแบบการเล่นเฉพาะ และผู้เล่นหรือโค้ชก็เข้าใจปรัชญา รูปแบบนั้นเป็นอย่างดี หรือเช่นตระกร้อ ไทยก็มีปรัชญาของลูกฟาด แต่มาเลเซียมีซันแบก ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะ ก็ล้วนประสบความสำเร็จได้
จริงๆการเล่นฟุตบอลหรือเล่นกีฬาอะไรก็ตาม มันใช้ปรัชญาใดเป็นแนวทางก็ได้ ก็ล้วนประสบความสำเร็จได้ทั้งนั้น เพียงแต่ผู้เล่นต้องเข้าใจในปรัชญานั้น และมีศักยภาพในการตอบรับ/ตอบสนองปรัชญานั้นเป็นอย่างดี ในกรณีปรัชญาของอิตาลีหรือตีหัวเข้าบ้าน คาเตนัชโช่ เน้นรับที่พร้อมจะสวนกลับแบบเด็ดขาด หากสมัยใดพวกเขามีผู้เล่นที่พร้อมจะตอบสนองปรัชญานั้น ก็สามารถเป็นแชมป์โลกได้ หรือเข้ารอบลึกๆได้ ซึ่งปรัชญานี้ต้องมีแนวรับที่ดี ผู้รักษาประตูที่แข็งแกร่งดังบุปฟ่อน คันนา เนสต้า มิลดินี่ มีแบคกึ่งปีกที่เปิดบอลแม่นอย่างซามบรอตต้า มีปีกที่พลิ้วหน่อยอย่างคาโมนาเรซี่ มีกองกลาง/เพลเมกเกอร์ที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง และวางบอลแม่นดังตอดติ เดลปิเอโร ปิโล่ มีตัวตัดเกมที่หนักหน่วงอย่าง กัตตูโซ มีกองหน้าที่คม มีความเร็ว เข้าฮอตดี เก็บบอลได้ เป็นสไตเกอร์อย่างคริสเตียน โบ้โบ้ ฟิลิปโป้ อินซากี/พี่กุ้ง ผู้เล่นที่มีคุณสมบัติอย่างนี้จะเหมาะกับปรัชญาตีหัวเข้าบ้าน แต่หากเมื่อใดที่โค้ชเลือกผู้เล่นไม่ใช่ลักษณะอย่างนี้ หรือไม่มีผู้เล่นที่มีลักษณะเข้ากับปรัชญา สูตรหรือแทคติกนี้ก็ไม่ได้ผลหรือลดประสิทธิภาพ อย่างเช่นหากเรวัชใช้แทคติกตีหัวเข้าบ้าน แต่ไปเลือกเอาธีรศิล แดงดา เป็นกองหน้าเป้า มันไม่เหมาะสมกับแทคติกนี้ ทำให้ธีรศิลป์หายไปจากเกมอย่างสนิท แม้วูบวาบบางจังหวะ ส่วนธนาธิปก็สนิทแต่วาบวูบช่วงแรกๆเท่านั้น สำหรับแทคติกนี้ ธีรศิลควรจะเป็นหน้าต่ำมากกว่าศูนย์หน้าตัวเป้า และควรใช้ปีกที่มีความเร็วสูง เปิดบอลแม่น
ผู้เล่นในชุดที่ไทยมีอยู่หรือผู้เล่นชุดนี้หากมาครบ มันเหมาะกับแทตติกซิโก้ หรือการต่อบอลแบบสเปนมากกว่า คุณจะสังเกตเห็นว่าไทยเน้นรับแต่ไม่ใช่รับแบบพร้อมรอสวนอย่างอิตาลี เพราะไม่มีผู้เล่นอย่างตอดติ เดลปิเอโร ปิโล่ ในทีม มีปีกที่เร็วคล่องอย่างคาโมนาเรซี่ ทำให้รับแบบสนิท อีกอย่าง การใช้แทคติกแบบอิตาลีต้องมีผู้เล่นวางบอลแม่นๆอย่างน้อยสองคนในกองกลาง แต่แทคติกไทยไม่มี จึงรับสนิท
ฉะนั้น ไทยควรหาบทสรุปในปรัชญา ซึ่งมีอยู่ ๒ กรณี คือ
๑. พัฒนาผู้เล่นให้เข้าถึงปรัชญา/แทคติกที่ต้องการโดยเจาะลงไปในแต่ละตำแหน่ง
๒. แสวงหาปรัชญาที่เหมาะกับนักเตะหรือสภาพนักเตะไทย
ซึ่งผมคิดว่าสมาคมก็พยายามอยู่ ในส่วนความเห็นส่วนตัว ผมมองว่าศักยภาพของนักเตะไทยตอนนี้ เหมาะสำหรับปรัชญาของอิตาลี เพราะผู้รักษาประตู กองกลังมีความพร้อม แต่แดนกลาง และแดนหน้ายังไม่มีนักเตะที่พร้อมกับปรัชญานี้ ซึ่งต้องสร้างและพัฒนาขึ้นมา
อีกประการที่ขาดไม่ได้ และมองข้ามไม่ได้ คนอิตาลีกับคนไทยมีอุปนิสัยคล้ายกัน การใช้ปรัชญานี้น่าจะเหมาะสมด้วยอุปนิสัยที่คล้ายกัน คือ รักษาสบาย ขี้เกียจ ไม่ค่อยวิ่ง รักอิสระ ไร้ระเบียบ มีความเป็นปัจเจกสูง แต่จะดีเมื่ออยู่ในกฎแห่งการแข่งขัน
ประการที่สอง
นักเตะไทยไม่เข้าใจในศาสตร์ฟุตบอล เน้นการเคลื่อนที่ การต่อบอล การรับส่ง-บอล รูปแบบการเข้าทำ การเลี้ยงบอล
การเลี้ยงบอลต้องเลี้ยงหนีคน ไม่ใช่เลี้ยงจี้ใส่คน เลี้ยงบอลหนีโดยไม่ต้องจี้ใส่คนก็ได้ นี้หลักการง่ายๆสำหรับการเลี้ยง แต่เท่าที่ผมสังเกตดูหลายครั้งและสังเกตมานาน นักเตะไทยเลี้ยงจี้ใส่คนและจะเลี้ยงหนีอย่างกระชั้นชิด ทั้งที่เวลา สถานที่นั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะเลี้ยงไปอย่างนั้น ฉะนั้น การจะเลี้ยงบอลหนีคน ไม่จำต้องหนีแบบกระชั้นชิด เลี้ยงหนีแบบอยู่ห่างๆก็ได้ หรือบางครั้งอาจเลี้ยงหาพื้นที่ว่าง เมื่ออยู่ในพื้นที่ว่าง มันก็มีโอกาสเลือกในการสร้างสรรค์เกม
นักเตะไทยไม่เข้าใจการเคลื่อนที่ตอนมีบอล ไม่มี เมื่อไม่เข้าใจในการเคลื่อนที่ทั้งมีบอล ไม่มีบอล เมื่อเจอเพรสซิ่งหนักๆดังแข่งกับเกาหลี ญี่ปุ่น ทำให้บอลไทยมักจะรวน เหตุผลหลักๆเพราะไม่เคลื่อนที่ และต่อบอล
การต่อบอลไม่จำเป็นต้องจับบอลทุกครั้งแล้วส่งไป เพราะการจับบอลอยู่กับตัวเพียง ๑ ครั้ง จะทำให้คู่แข่งมีเวลาเข้าประชิดตัว ไม่มีพื้นที่เล่นเมื่อมีการเพรสหนักๆ หากจับบอลอยู่กับตัวที่จะพ้นจากการเพรสได้ ผู้เรียนต้องมีการเคลื่อนที่หาพื้นที่ว่างที่ดี เพราะฉะนั้น ต้องมีการต่อบอลโดยไม่ต้องจับบอล เหมือนต่อกันไปมา จากเท้าสู่เท้าในจังหวะเดียว แล้วเปลี่ยนทิศทางบอลไป อย่างนี้ไม่มีในนักเตะไทย เคยเห็นในยุคซิโก้บ้าง ซึ่งผลการต่อบอลลักษณะนี้มีโอกาสที่จะเกิดพื้นที่การเล่น เกิดช่องว่าง เพรสอย่างไรก็ไม่จนอย่างบอลสเปน (แต่คู่แข่งจะเปลี่ยนแทคติกคุมพื้นที่) อีกทั้งคู่แข่งมีโอกาสสับสน ข้อนี้เพราะธรรมดาของนักบอลก็คิดว่าเมื่อส่งบอลมาก็จับบอลก่อน เมื่อคู่แข่งวิ่งเพรสเข้ามา บอลก็ไม่อยู่กับเราแล้ว ซึ่งในแมตแข่งกับอิรัก ผมไม่เห็นการต่อบอลในจังหวะเดียวของนักเตะไทย เห็นจับก่อนแล้วส่ง หรือตูมเดียว แม้มีการจับบอลแต่บอลมันอยู่นิ่ง ๆ บอลและคนไม่เคลื่อนที่ ทำให้เกมมันตัน ดูอึดอัด
ประการที่ ๓ ปัญหาของโค้ชเรวัช การวางตัวผู้รักษาประตูและกองหลังไม่มีปัญหา แต่กองกลางมีปัญหา เพราะเรวัชใช้ตัวรับที่เน้นความแข็งแกร่งอย่างเดียว แต่ขาดความคล่องตัว ไม่มีความเร็ว ทำให้ตามผู้เล่นอิรักไม่ทัน กองกลางอิรักที่มีความคล่อง เร็ว เลี้ยงบอลได้ดี ต่อบอลดี จึงทะลวง เจาะเข้าตรงลางจนพรุน ทำให้มีการดึงในเขตโทษ และเสียจุดโทษ โดนกดแทบโงหัวไม่ขึ้น เพราะแดนกลางคุมเกมไม่ได้ ซึ่งผมมองว่าเรวัชจำเป็นต้องมีตัวตัดเกมที่คล่องตัวสัก ๑ คน ที่จะมายืนคู่กัน
โดยสรุป ไทยแพ้อิรักเพราะไม่มีผู้เล่นที่ดี มีศักยภาพที่เหมาะสม สามารถตอบสนองปรัชญาแบบคาเตนัชโช่ ยกเว้นผู้รักษาประตูและกองหลังซึ่งผมมองว่ามีความพร้อม ซึ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องหาหรือพัฒนานักเตะในแดนกลางและกองหน้าที่ตอบสอนปรัชญาแบบคาเตนัชโช่
หมายเหตุ วิเคราะห์ตามความเข้าใจ ความรู้สึกของตนเองล้วนๆ