“ไพฑูรย์” โดนอีก แห่ลงชื่อเพิ่มรวม 100 กวี-นักวิชาการ จวกปมเหยียดเพศ เจ้าตัวยังเงียบ ..../sao..เหลือ..noi


เมื่อ วันที่ 27 สืงหาคม สืบเนื่องกรณีกลุ่มกวี นักเขียน และนักวิชาการ รวม 75 ราย มีการแสดงท่าทีต่อกรณี “ไพฑูรย์ ธัญญา”
หรือนายธัญญา สังขพันธานนท์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2559 และกวีซีไรต์ ซึ่งแต่งกลอนมีคำผวนเกี่ยวกับ
อวัยวะเพศหญิง ถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยล่าสุด มีการออกแถลงการณ์คัดค้านการส่งนักเขียนรายดังกล่าวเป็นตัวแทน
กวีไทยใน เทศกาลศิลปะนานาชาติที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากการแต่งบทกลอนที่ส่อถึงการดูถูกสตรีเพศ
โดยใช้ “หู” เป็นอุปลักษณ์ในการสื่อถึงอวัยวะเพศของผู้หญิงในลักษณะที่ขบขัน พร้อมทั้งโพสต์ลงในสื่อสังคมออนไลน์โดย
ตั้งค่าเข้าถึงเป็น “สาธารณะ” ถือเป็นการละเมิดหลักการสากล คือ “อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ”
(CEDAW) ซึ่งประเทศไทยร่วมเป็นภาคี ตั้งแต่ ค.ศ.1985

รายชื่อผู้ลงนามแนบท้ายแถลงการณ์ ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงในแวดวงหนังสือรวมถึงอาจารย์ระดับอุดมศึกษา เป็นจำนวนมาก
อาทิ คาล รีอัล , ชัยวัฒน์ มีสัณฐาน, ธีร์ อันมัย, ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ทินกร หุตางกูร, พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ, มณฑกานติ
รังสิพราหมณกุล, เพียงคำ ประดับความ, ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ , ภัควดี วีระภาสพงศ์ เป็นต้น

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ร่วมลงชื่อเพิ่มอีก 25 ราย รวมเป็น 100 ราย ดังนี้

76.กรรณิกา เพชรแก้ว / Kannikar Petchkaew
77.กำพล จำปาพันธ์ / Kampol Champapan
78.จณิต เฟื่องฟู / Janit Feangfu
79.จักรพงษ์ เอี่ยมสอาด / Jukapong eimsaard
80.ฐิตินบ โกมลนิมิ / Thitinob Komalnimi
81.ทองธัช เทพารักษ์ / Thongtouch Theparak
82.ธนศักดิ์ สายจำปา / Thanasak Saijampa
83.ธาดา เฮงทรัพย์กูล / Tada Hengsapkul
84.ธีรมล บัวงาม / Teeramon Buangam
85.ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล / Panithita Kiatsupimon
86.ปริยา รัตนโยธา Pariya Ratanayotha
87.พจน์ พันธา / Phot Phantha
88.พศุตม์ ลาศุกขะ / Pasut Lasuka
89.เพ็ญสุภา สุขคตะ / Pensupa Sukkata
90.แพรจารุ / Praecharu
91.ภัทรภร ภู่ทอง / Patporn Phoothong
92.ภาณุ ตรัยเวช / Panu Trivej
93.มหรรณพ โฉมเฉลา / Mahannop Chomchalao
94.ระริน มุข / Rarin Muk
95.วัชรัสม์ / Watcharat
96.ศุภโมกข์ ศิลารักษ์ / Supamok Silarak
97.สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย / sinsawat yodbangtoey
98.สุลักษณ์ หลำอุบล / Suluck Lamubol
99.แสงดาว ศรัทธามั่น / Sangdao Sattaman
100. อรุณรุ่ง สัตย์สวี / Aroonrung Satsawe

สำหรับเนื้อหาในแถลงการณ์มีดังนี้

แถลงการณ์จาก กวี นักเขียน นักวิชาการ คัดค้านการเชิญ รศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์
ศิลปินแห่งชาติ / นักเขียนรางวัลซีไรต์ เป็นตัวแทนกวีไทย ในงาน
ASEAN Poets Forum@Diversity 2017 KL International Arts Festival ครั้งที่ 3
ในงาน the Literature genre in DiverseCity 2017 ของสถาบันเดวัน บาฮาซา แดนปุสกาตา
ในธีม ‘Struggle of Nation’ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

​ตามที่เป็นข่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2017 ที่ผ่านมา กรณีที่รัฐบาลทหารไทยได้ดำเนินคดีต่อ
อดีตนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งที่เป็นที่รู้กันทั่วไปในชื่อคดีว่า “คดีจำนำข้าว” ถึงกำหนดที่ศาลนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา

เหตุการณ์ปรากฎว่านางสาวยิ่งลักษณ์มิได้ปรากฎตัวต่อศาล โดยส่งทนายมาแจ้งว่ามีอาการป่วยเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันทำให้มีอาการปวด
ศีรษะ จึงไม่สามารถมาศาลได้ และศาลได้ออกหมายจับ หลังจากนั้น มีกระแสข่าวว่าอาจจะมีการลี้ภัยไปนอกประเทศจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์
กว้าง ขวางในสื่อสังคมออนไลน์นั้น

รศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ (นามปากกา “ไพฑูรย์ ธัญญา”) ซึ่งมีชื่อเป็นตัวแทนจากประเทศไทยร่วมงาน ASEAN Poets
Forum @ Diversity 2017 KL International Arts Festival ครั้งที่ 3 จากการคัดเลือกของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ได้แต่งกวีบทหนึ่งถึงอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงในลักษณะที่เหยียดหยามและส่อถึง การดูถูกสตรีเพศโดยใช้ “หู” เป็นอุปลักษณ์
ในการสื่อถึงอวัยวะเพศของผู้หญิงในลักษณะที่ขบขัน พร้อมทั้งโพสต์ลงในสื่อสังคมออนไลน์โดยตั้งค่าเข้าถึงเป็น “สาธารณะ”

เสรีภาพในการแสดงออกนั้น จะต้องไม่ละเมิดทางเชื้อชาติ เพศ สีผิว ในฐานะที่ไทยเป็นรัฐภาคีของ “อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ” (CEDAW) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 หนึ่งในเนื้อหาของอนุสัญญานี้ได้ระบุว่ารัฐภาคีนั้นต้องคุ้มครองผู้หญิงจาก ความรุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
ร่างกาย เพศ อารมณ์ สติปัญญา โดยระบุว่ารัฐภาคีจะต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงปรับปรุงแบบแผนความ ประพฤติทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างบุรุษและสตรี “โดยมุ่งที่จะให้ได้ขจัดความเดียดฉันท์และวิธีปฏิบัติอัน
เป็นประเพณีอื่นๆ ทั้งปวง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความคิดเกี่ยวกับความต่ำต้อยหรือความสูงส่งของอีกเพศ หนึ่ง หรือที่อยู่บนพื้นฐานของบทบาทแบบเก่าสำหรับบุรุษและสตรี” (อนุสัญญาฯ ข้อ 5)ทว่า รศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์
กลับมิได้คำนึงถึงหลักการดังกล่าว และแม้จะเป็นบุคคลที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรมมากมาย รวมถึงการถูกยกย่อง
ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ และได้รับเลือกจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ให้เป็นตัวแทนไปนำเสนอผลงานในเวที
ASEAN Poets Forum ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในปลายเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ แต่รศ.ดร.ธัญญา
สังขพันธานนท์ กลับแต่งบทกลอนที่มีลักษณะเหยียดเพศดังกล่าว กลุ่มกวี นักเขียน และนักวิชาการ จึงขอประณาม
รศ.ดร. ธัญญา สังขพันธานนท์ และขอไม่ยอมรับการเป็นตัวแทนของวงการกวีไทยไปร่วมงานดังกล่าว และเห็นว่าหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพิกเฉยก็เท่ากับเป็นการสร้างมาตรฐานที่ ผิดให้วงการนักเขียนในระดับภูมิภาค
และระดับนานาชาติ

ผู้มีรายนามต่อท้ายแถลงการณ์ข้างล่างนี้ จึงขอเรียกร้องให้สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยและ The Malaysian Institute of
Translation & Books (ITBM) ผู้จัดงานดังกล่าว ถอนชื่อและยุติการเชิญ รศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ในฐานะตัวแทน
ประเทศไทยเข้าร่วมงาน ด้วยเขาได้ละเมิดหลักการสากลอย่างชัดแจ้งและยังมิได้มีการแสดงการรับรู้ถึง การกระทำที่ผิดพลาด
ของตนมาจนปัจจุบัน

สาวแว่น
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เป็นศิลปิน- แห่งชาติ ทำพลาดผิด
เผยถึงจิต ที่ต่ำทราม หมดความสวย
เสื่อมทั้งเกียรติ และศักดิ์ศรี ที่(เคย)ถูกอวย
พาให้หน่วย- งาน(ที่)แต่งตั้ง แทบพังภินท์

ขอเรียกร้อง ให้หน่วยงาน (ที่)หาญแต่งตั้ง
โปรดหยุดยั้ง ตำแหน่ง(ของเขา)ไว้ ให้สุดสิ้น
ริบคืนไป อย่าให้คน ได้ยลยิน
เป็นศิลปินฯ ทำอดสู ไม่คู่ควร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่