ที่จริงเรื่องการขอทุนเรียนต่อจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนี้เป็นเรื่องที่ผมอยากจะเขียนมานานแล้ว เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญแต่ว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ในประเทศไทยยังค่อนข้างจะจำกัด แล้วพอดีได้เห็นกระทู้คำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ในห้องไกลบ้านพอดี ก็เลยจะขอเขียนถึงซักหน่อย เนื้อหาเกือบทั้งหมดในกระทู้นี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง ถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องๆท่านไหนมีประสบการณ์ที่แตกต่างออกไปก็แชร์ไว้ได้เลยนะครับ
เกริ่นนำ
คนไทยจำนวนมาก (และอาจจะเป็นส่วนใหญ่) ยังเชื่อว่าผู้สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อไปเรียนต่อต่างประเทศนั้นคือรัฐบาลและองค์กรใหญ่ๆ (เช่นทุนก.พ. ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ฯลฯ) ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาเนื่องจากเราได้ยินข่าวเกี่ยวกับทุนลักษณะนี้อยู่เป็นระยะจากทางสื่อหลัก ในขณะเดียวกัน ทุนการศึกษาซึ่งมีจำนวนมากกว่าและการแข่งขันต่ำกว่าอย่างทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศนั้นกลับไม่เป็นที่พูดถึงมากนัก (ที่น่าสนใจคือแม้แต่คนรอบๆตัวของผมยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับทุนลักษณะนี้น้อยมาก)
ก่อนจะอ่านต่อ ต้องขอเรียนก่อนว่าเนื้อหาในกระทู้นี้จะใช้กับการสมัครเรียนต่อระดับปริญญาเอกเป็นหลัก ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยนั้นไม่ถึงกับไม่มีซะทีเดียว แต่ก็หายากกว่ามากๆครับ
ชนิดของทุน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคำว่า "ทุนการศึกษา" ในภาษาไทยนั้นครอบคลุม "ทุน" สองแบบซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
1) Scholarship/fellowship ทุนการศึกษาในลักษณะนี้คือทุนให้เปล่าแบบไม่มีเงื่อนไข (ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากใน U.S. เพราะวิธีรายงานรายได้ต่อสรรพากรและการซื้อประกันสุขภาพนั้นจะแตกต่างออกไปจากทุนในลักษณะที่สอง) ทุนแบบนี้มีจำนวนน้อยมาก ได้ยากมาก และมีเงื่อนไขค่อนข้างเยอะ ตัวผมเองเคยได้ทุนลักษณะนี้แค่ 1 ปี (ปีสุดท้ายของการเรียนปริญญาเอก) แต่ก็เคยเห็นคนที่ได้ทุนในลักษณะนี้ตลอดระยะเวลาการศึกษาปริญญาเอกอยู่บ้าง ส่วนตัวจะขอข้ามรายละเอียดเกี่ยวกับทุนแบบนี้ไปเพราะว่าตัวผมเองไม่มีประสบการณ์ตรงในการขอทุนแบบนี้ตั้งแต่แรกครับ
2) Assistantship ทุนการศึกษาในลักษณะนี้คือทุนที่ให้เพื่อแลกกับ "แรงงาน" ของนักศึกษา (ดังนั้นรายได้จะถือว่าเป็นการจ้างงาน ไม่ใช่ทุนการศึกษา) ทุนแบบนี้มีปริมาณมากกว่าทุนแบบแรก และมีโอกาสได้มากกว่าแบบแรกมาก อย่างไรก็ดี ทุนลักษณะนี้มักไม่ถูกประชาสัมพันธ์มากนัก ดังนั้นจุดที่สำคัญที่สุดก็คือผู้ที่สนใจทุนลักษณะนี้จะต้องค้นหาด้วยตัวเองครับ
การขอทุนแบบ Assistantship
ทุน Assistantship ส่วนใหญ่นั้นจะเปิดรับนักศึกษาในเทอม Fall เท่านั้น ดังนั้น deadline ของการสมัครจะเป็นช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - มกราคมของปีถัดไป (ผมเคยแชร์ประสบการณ์ในการขอทุนแบบนี้ไว้เมื่อตอนที่ผมสมัครเรียนที่กระทู้:
http://topicstock.ppantip.com/klaibann/topicstock/2012/03/H11834191/H11834191.html)
ผู้สมัครจะต้องมีผลสอบ TOEFL/IELTS, GMAT(สำหรับสายบริหารและเศรษฐศาสตร์)/GRE(สำหรับสายวิศวะและวิทยาศาสตร์), statement of purpose, letter of recommendation ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมตัวพอสมควรนะครับ ดังนั้นถ้าสนใจจะสมัครเรียนก็ควรจะเผื่อเวลาไว้ให้ดีด้วยครับ
สิ่งที่สำคัญในการขอทุนแบบนี้คือต้องแสดงให้ผู้อ่านใบสมัครเห็นศักยภาพในตัวเราว่าเราจะสามารถทำวิจัยระดับสูงได้ครับ แน่นอนว่าพูดแบบนี้อาจจะฟังดูง่ายแต่ว่าในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อน และต่างกรรมต่างวาระมากครับ Professor แต่ละคนก็มีวิธีให้คะแนนใบสมัครที่แตกต่างกันออกไป บางมหาวิทยาลัยให้คณะกรรมการกลางเป็นผู้คัดใบสมัคร ในขณะที่บางมหาวิทยาลัยจะให้ Professor เป็นผู้เลือกเองครับ
FAQs
1) ทุนแบบนี้ต้องมี connection (เช่นจากอาจารย์ที่ปรึกษาในไทย)
จริงอยู่ที่การมี connection ก็อาจจะช่วยให้มีโอกาสได้ทุนลักษณะนี้ง่ายขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วโอกาสที่ผู้สมัครจะได้รับการคัดเลือกผ่านทาง connection นั้นมีไม่ได้เยอะมากครับ (หรือก็คือหากคุณไม่มี connection คุณก็ยังมีโอกาสที่จะได้ทุนแบบนี้นั่นเองครับ)
2) ผู้สมัครต้องโดดเด่นมาก ต้องจบจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ เกรดเฉลี่ยสูง สอบ GMAT/TOEFL ได้คะแนนสูง ฯลฯ
จริงครึ่งไม่จริงครึ่งครับ ส่วนตัวผมเชื่อว่า (จากประสบการณ์ส่วนตัวทั้งในฐานะผู้สมัครและผู้คัดเลือก) คุณสมบัติเหล่านี้เป็น "ขั้นต่ำ" มากกว่า หรือก็คือหากคุณมีเกรดเฉลี่ยสูงในระดับหนึ่ง คะแนน GMAT/TOELF ไม่น่าเกลียดมาก ใบสมัครของคุณจะ "ผ่าน" เข้าไปสู่ขั้นถัดไปครับ
3) letter of recommendation เป็นเรื่องสำคัญ
จริงครับ อย่างไรก็ดี letter of recommendation ที่ดีนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมาจากคนเด่นคนดัง แต่ควรมาจากคนที่พร้อมจะเสียสละเวลาเพื่อจะเขียนจดหมายที่ดีให้กับผู้สมัคร รู้จักผู้สมัครดีเพียงพอที่จะเขียนถึงข้อดีของผู้สมัครได้ยากชัดเจน และพร้อมที่จะ "สรรเสริญ" ผู้สมัครได้เต็มปากครับ (หรือก็คือไม่ควรจะไปขอให้อาจารย์ที่เคยให้เกรด B หรือต่ำกว่ามาเขียนจดหมายแนะนำให้นั่นเองครับ)
4) statement of purpose เป็นเรื่องสำคัญ
จริงครับ ควรจะใช้เวลากับมันให้มากๆ และ proofread ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ จดหมายนี้ไม่ควรมี Grammatical error แม้แต่จุดเดียวครับ
5) ควรติดต่อ Professor ก่อนที่จะยื่นใบสมัคร
ไม่จริงเสมอไปครับ แต่ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าการติดต่อ Professor ก่อนจะยื่นใบสมัครนั้นไม่มีข้อเสีย (อย่างแย่ก็คืออาจารย์ท่านไม่ตอบ ซึ่งก็ไม่ได้เสียหายอะไรกับเรา) จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมเชื่อว่าการติดต่อ Professor ก่อนยื่นใบสมัครนั้นมีผลกับใบสมัครมากทีเดียวครับ
6) ทุนแบบนี้จะให้คน US เป็นหลัก
เกือบจะไม่จริงครับ ส่วนหนึ่งเพราะว่าคน US สมัครเรียนปริญญาเอกค่อนข้างน้อย ในบาง field นั้นแทบจะไม่มีคน US ที่ได้ทุนลักษณะนี้เลยครับ
ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็ถามไว้หรือหลังไมค์มาได้นะครับ จะพยายามแวะมาตอบเป็นระยะๆครับ
การขอทุนเรียนต่อจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
เกริ่นนำ
คนไทยจำนวนมาก (และอาจจะเป็นส่วนใหญ่) ยังเชื่อว่าผู้สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อไปเรียนต่อต่างประเทศนั้นคือรัฐบาลและองค์กรใหญ่ๆ (เช่นทุนก.พ. ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ฯลฯ) ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาเนื่องจากเราได้ยินข่าวเกี่ยวกับทุนลักษณะนี้อยู่เป็นระยะจากทางสื่อหลัก ในขณะเดียวกัน ทุนการศึกษาซึ่งมีจำนวนมากกว่าและการแข่งขันต่ำกว่าอย่างทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศนั้นกลับไม่เป็นที่พูดถึงมากนัก (ที่น่าสนใจคือแม้แต่คนรอบๆตัวของผมยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับทุนลักษณะนี้น้อยมาก)
ก่อนจะอ่านต่อ ต้องขอเรียนก่อนว่าเนื้อหาในกระทู้นี้จะใช้กับการสมัครเรียนต่อระดับปริญญาเอกเป็นหลัก ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยนั้นไม่ถึงกับไม่มีซะทีเดียว แต่ก็หายากกว่ามากๆครับ
ชนิดของทุน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคำว่า "ทุนการศึกษา" ในภาษาไทยนั้นครอบคลุม "ทุน" สองแบบซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
1) Scholarship/fellowship ทุนการศึกษาในลักษณะนี้คือทุนให้เปล่าแบบไม่มีเงื่อนไข (ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากใน U.S. เพราะวิธีรายงานรายได้ต่อสรรพากรและการซื้อประกันสุขภาพนั้นจะแตกต่างออกไปจากทุนในลักษณะที่สอง) ทุนแบบนี้มีจำนวนน้อยมาก ได้ยากมาก และมีเงื่อนไขค่อนข้างเยอะ ตัวผมเองเคยได้ทุนลักษณะนี้แค่ 1 ปี (ปีสุดท้ายของการเรียนปริญญาเอก) แต่ก็เคยเห็นคนที่ได้ทุนในลักษณะนี้ตลอดระยะเวลาการศึกษาปริญญาเอกอยู่บ้าง ส่วนตัวจะขอข้ามรายละเอียดเกี่ยวกับทุนแบบนี้ไปเพราะว่าตัวผมเองไม่มีประสบการณ์ตรงในการขอทุนแบบนี้ตั้งแต่แรกครับ
2) Assistantship ทุนการศึกษาในลักษณะนี้คือทุนที่ให้เพื่อแลกกับ "แรงงาน" ของนักศึกษา (ดังนั้นรายได้จะถือว่าเป็นการจ้างงาน ไม่ใช่ทุนการศึกษา) ทุนแบบนี้มีปริมาณมากกว่าทุนแบบแรก และมีโอกาสได้มากกว่าแบบแรกมาก อย่างไรก็ดี ทุนลักษณะนี้มักไม่ถูกประชาสัมพันธ์มากนัก ดังนั้นจุดที่สำคัญที่สุดก็คือผู้ที่สนใจทุนลักษณะนี้จะต้องค้นหาด้วยตัวเองครับ
การขอทุนแบบ Assistantship
ทุน Assistantship ส่วนใหญ่นั้นจะเปิดรับนักศึกษาในเทอม Fall เท่านั้น ดังนั้น deadline ของการสมัครจะเป็นช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - มกราคมของปีถัดไป (ผมเคยแชร์ประสบการณ์ในการขอทุนแบบนี้ไว้เมื่อตอนที่ผมสมัครเรียนที่กระทู้: http://topicstock.ppantip.com/klaibann/topicstock/2012/03/H11834191/H11834191.html)
ผู้สมัครจะต้องมีผลสอบ TOEFL/IELTS, GMAT(สำหรับสายบริหารและเศรษฐศาสตร์)/GRE(สำหรับสายวิศวะและวิทยาศาสตร์), statement of purpose, letter of recommendation ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมตัวพอสมควรนะครับ ดังนั้นถ้าสนใจจะสมัครเรียนก็ควรจะเผื่อเวลาไว้ให้ดีด้วยครับ
สิ่งที่สำคัญในการขอทุนแบบนี้คือต้องแสดงให้ผู้อ่านใบสมัครเห็นศักยภาพในตัวเราว่าเราจะสามารถทำวิจัยระดับสูงได้ครับ แน่นอนว่าพูดแบบนี้อาจจะฟังดูง่ายแต่ว่าในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อน และต่างกรรมต่างวาระมากครับ Professor แต่ละคนก็มีวิธีให้คะแนนใบสมัครที่แตกต่างกันออกไป บางมหาวิทยาลัยให้คณะกรรมการกลางเป็นผู้คัดใบสมัคร ในขณะที่บางมหาวิทยาลัยจะให้ Professor เป็นผู้เลือกเองครับ
FAQs
1) ทุนแบบนี้ต้องมี connection (เช่นจากอาจารย์ที่ปรึกษาในไทย)
จริงอยู่ที่การมี connection ก็อาจจะช่วยให้มีโอกาสได้ทุนลักษณะนี้ง่ายขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วโอกาสที่ผู้สมัครจะได้รับการคัดเลือกผ่านทาง connection นั้นมีไม่ได้เยอะมากครับ (หรือก็คือหากคุณไม่มี connection คุณก็ยังมีโอกาสที่จะได้ทุนแบบนี้นั่นเองครับ)
2) ผู้สมัครต้องโดดเด่นมาก ต้องจบจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ เกรดเฉลี่ยสูง สอบ GMAT/TOEFL ได้คะแนนสูง ฯลฯ
จริงครึ่งไม่จริงครึ่งครับ ส่วนตัวผมเชื่อว่า (จากประสบการณ์ส่วนตัวทั้งในฐานะผู้สมัครและผู้คัดเลือก) คุณสมบัติเหล่านี้เป็น "ขั้นต่ำ" มากกว่า หรือก็คือหากคุณมีเกรดเฉลี่ยสูงในระดับหนึ่ง คะแนน GMAT/TOELF ไม่น่าเกลียดมาก ใบสมัครของคุณจะ "ผ่าน" เข้าไปสู่ขั้นถัดไปครับ
3) letter of recommendation เป็นเรื่องสำคัญ
จริงครับ อย่างไรก็ดี letter of recommendation ที่ดีนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมาจากคนเด่นคนดัง แต่ควรมาจากคนที่พร้อมจะเสียสละเวลาเพื่อจะเขียนจดหมายที่ดีให้กับผู้สมัคร รู้จักผู้สมัครดีเพียงพอที่จะเขียนถึงข้อดีของผู้สมัครได้ยากชัดเจน และพร้อมที่จะ "สรรเสริญ" ผู้สมัครได้เต็มปากครับ (หรือก็คือไม่ควรจะไปขอให้อาจารย์ที่เคยให้เกรด B หรือต่ำกว่ามาเขียนจดหมายแนะนำให้นั่นเองครับ)
4) statement of purpose เป็นเรื่องสำคัญ
จริงครับ ควรจะใช้เวลากับมันให้มากๆ และ proofread ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ จดหมายนี้ไม่ควรมี Grammatical error แม้แต่จุดเดียวครับ
5) ควรติดต่อ Professor ก่อนที่จะยื่นใบสมัคร
ไม่จริงเสมอไปครับ แต่ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าการติดต่อ Professor ก่อนจะยื่นใบสมัครนั้นไม่มีข้อเสีย (อย่างแย่ก็คืออาจารย์ท่านไม่ตอบ ซึ่งก็ไม่ได้เสียหายอะไรกับเรา) จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมเชื่อว่าการติดต่อ Professor ก่อนยื่นใบสมัครนั้นมีผลกับใบสมัครมากทีเดียวครับ
6) ทุนแบบนี้จะให้คน US เป็นหลัก
เกือบจะไม่จริงครับ ส่วนหนึ่งเพราะว่าคน US สมัครเรียนปริญญาเอกค่อนข้างน้อย ในบาง field นั้นแทบจะไม่มีคน US ที่ได้ทุนลักษณะนี้เลยครับ
ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็ถามไว้หรือหลังไมค์มาได้นะครับ จะพยายามแวะมาตอบเป็นระยะๆครับ