สำหรับอาคารที่สูงเกิน 23 เมตรขึ้นไป หรือ มากกว่า 8 ชั้น กฎหมายให้กำหนดว่าต้องมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และ ระบบแจ้งสัญญานเตือนภัยอัตโนมัติ
#รู้หรือไม่ว่ามันทำงานได้จริงๆหรือเปล่า "หลายอาคารที่พบเห็น OFF Bell กันทั้งนั้น" เพราะอะไร
#Fire Pump ก็ไม่ค่อยได้ทำการ Run Test ทุก 30 ช.ม. ต่อสัปดาห์ น้ำในท่อดับเพลิงก็ไม่เคยเดรนทิ้ง เพื่อล้างสนิม เพราะอะไร
ต่อให้คอนโดระดับ 5 ดาว หรือ ที่มีนิติบุคคล บริหารงานอย่างมืออาชีพ แล้วก็ตาม เป็นเหมือนกันหมด ถึงแม้จะมี PM รายปี ของบริษัทผู้รับเหมาเข้ามาทำการตรวจเช็ค ก็ไม่มีปัญหาอะไร เลยมั่นใจว่าระบบทุกอย่างปลอดภัย ดีเยี่ยมแล้ว
เปิดโปรงความลับจากเบื้องหลังทั้งหมด
**สำหรับผู้อาศัย หรือ กรรมการนิติบุคคล และ เจ้าของร่วม พวกคุณจะไม่มีวันรู้ความจริงถ้าไม่ได้อ่านตรงนี้ครับ**
-สำหรับคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ หลายห้องชุด และ มีหลายชั้น ทุกอาคารจะมีห้องควบคุมที่ชื่อว่า Control Room ซึ่งภายในห้องนี้จะมี Computer ควบคุมระบบอัตโนมัติส่วนกลางอยู่หลายระบบ (แล้วแต่ฟั่งชั่นของอาคาร) ยกตัวอย่างเช่น
1.ระบบควบคุม Key Card Door Log
2.ระบบควบคุม Lighting All Building
3.CCTV Monitor
4.Graphic Annunciator (ตู้แจ้งเตือนสถาณะของการแจ้งเหตุในจุดนั้นๆ) ตัวอย่าง แบ่งออกเป็น Zone แจ้งเตือนดังนี้
zone1 แจ้งเตือนเมื่อตรวจจับควันไฟ หรือ ความร้อน
zone2 แจ้งเตือนเมื่อมีการกดอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
zone3 แจ้งเตือนเมื่อมีผู้ต้องการขอรับความช่วยเหลือจาก Phone Jack
zone4 แจ้งเตือนตามจุดเมื่อมีการไหลของน้ำในท่อดับเพลิง
zone5 แจ้งเตือนเตามจุดมื่อมีการปิดวาวล์น้ำดับเพลิง
5.ตู้ควบคุมระบบ Fire Alarm
6.แผงผังแสดงตำแหน่งของลิฟท์ทั้งหมดในอาคาร ว่าอยู่ชั้นไหน และ แสดงสถานะปัจจุบัน
จะมีประมาณนี้ และ จะไล่ให้ดูนะครับ
ด้านที่จะไม่ค่อยมีปัญหาเลยคือ ข้อที่ 1 เพราะถ้ามีปัญหาจะรู้ได้ทันทีในเรื่องของการ เข้า-ออก อาคาร ต่อมานั้น ถ้าวันไหนพบว่า เวลากลางวัน หรือ สถานที่ที่มีแสงสว่างแล้ว ที่ไม่ใช่ในเวลากลางคืน มีไฟติดในจุดนั้นจุดนี้ คือ ข้อที่ 2 มีปัญหา ส่วน CCTV ดูได้ครบทุกช่องรึเปล่าไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าบันทึกข้อมูลอยู่รึเปล่า
ด้านที่มีปัญหาตัวแม่เลย คือ ข้อที่ 4,5 เพราะอะไร เพราะว่าการละเลยของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลในจุดนั้น อาจมีทั้ง จำนวนคนในการบริหารงาน หรือ ความรู้ในการใช้งานของเจ้าหน้าที่ และ การหมั่นตรวจเช็คของระบบ กรณีนี้จะยกตัวอย่างให้คิดตาม
-"ทำไมถึงต้อง OFF Bell ทั้งๆที่ระบบใช้ได้ตามปกติ" ขั้นตอนของการทำงานในระบบ Fire Alarm เป็นอย่างนี้ครับ เมื่อ Smoke detector ในห้องของคุณตรวจจับควันไฟได้ มันจะส่งสัญญานมาให้ที่ตู้ Graphic Annunciator แล้วตู้ควบคุม Fire Alarm จะเริ่มทำงาน ส่งเสียงร้องมาที่หน้าตัวตู้ก่อน และ ภายใน 1-5 นาที ถ้ายังไม่มีเจ้าหน้าที่กดปุ่มรับทราบยืนยันจากที่หน้าตู้ ระบบจะสั่งให้ Bell ดังในชั้นที่เกิดเหตุ และ ชั้น บน-ล่าง ของชั้นที่เกิดเหตุ และเมื่อ Bell ดังแล้วยังไม่มีเจ้าหน้าที่กดปุ่มรับทราบยืนยันจากที่หน้าตู้อีก ระบบจะสั่ง General Alarm ซึ่ง Bell จะดังทั้งอาคาร ลิฟท์จะใช้งานไม่ได้ และ จะลงไปจอดที่ชั้นล่าง และ ระบบจะสั่งให้พัดลมอัดอากาศบันไดหนีไฟ หรือ โถงลิฟท์ Fire Man ทำงาน ประตูอัตโนมัติจะปลดล็อคตัวเองทั้งระบบ บางที่ที่วางระบบดีๆ จะสั่งตัดไฟฟ้าหลักอาคาร และ Run Generator **"
ซึ่งฟังดูแล้วมันวุ่นวายมากเลยใช่ไหมครับ"** และ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าไม่ใช่ความจริง ไม่ใช่ไฟไหม้ขึ้นจริง จะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนครับ นิติบุคคลโดนด่าเละแน่ๆ ต่อให้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร เพราะถือว่าคุณมาบริหารคอนโดมิเนียมของเขา แล้วทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น
ที่สำคัญไอ้เจ้าตัว Smoke detector มันอาจจะบ้าๆบอๆ ตรวจจับฝุ่นได้ หรือ ควันบุหรี่ปกติได้ มันก็สามารถส่งสัญญานได้ทั้งนั้น เพราะปัญหาประมาณนี้แหละครับ เลยต้องมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูแลในห้อง Control Room ตลอด 24 ช.ม. แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ทางฝ่ายบริหารนิติบุคคล หรือ คณะกรรมการได้มีการจัดจ้างพนักงานทำงานในหน้าที่ดังกล่าวแค่ วันละ 3-4 คน ซึ่งถ้าแบ่งตามกะแล้วจะประมาณนี้
06.00-15.00 มีเจ้าหน้าที่ดูแล 2 คน
14.00-23.00 มีเจ้าหน้าที่ดูแล 1 คน
22.00-07.00 มีเจ้าหน้าที่ดูแล 1 คน
และพบว่าวันนึงไม่ได้จ้างพนักงานมานั่งเฝ้าระบบเตือนภัยเป็นหลัก จะจ้างในรูปแบบของตำแหน่ง ช่างซ่อมบำรุงประจำอาคาร ซึ่งก็จะมีงานมากมายก่ายกองให้ทำไปซักทุกอย่าง แล้วการทำงานหลักๆ จะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง หรือ ห้องเจ้าของร่วม ซึ่งก็จะทำให้ไม่มีคนเฝ้าดูแลในห้อง Control Room นันจึงเป็นสาเหตุแรกเริ่มของการที่จะทำไม่ให้เกิดปัญหาตามมาที่วุ่นวาย เช่น การ OFF Bell นั่นเอง
และยังมีสิ่งที่คุณยังไม่รู้ที่สำคัญอีกหลายอย่าง
ขออนุญาติมาต่อใหม่ในช่วงเช้านะครับ
อยากรู้เรื่องระบบงาน อาคารคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน อาคารโรงแรม สามารถสอบถามได้ครับ พร้อมวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
คุณรู้หรือไม่ว่า คอนโดมิเนียมแนวสูง ทั้งหลายแห่งนั้น หรือ ที่คุณพักอาศัยอยู่ ระบบป้องกันภัย ระบบเตือนภัย ยังทำงานอยู่ไหม
#รู้หรือไม่ว่ามันทำงานได้จริงๆหรือเปล่า "หลายอาคารที่พบเห็น OFF Bell กันทั้งนั้น" เพราะอะไร
#Fire Pump ก็ไม่ค่อยได้ทำการ Run Test ทุก 30 ช.ม. ต่อสัปดาห์ น้ำในท่อดับเพลิงก็ไม่เคยเดรนทิ้ง เพื่อล้างสนิม เพราะอะไร
ต่อให้คอนโดระดับ 5 ดาว หรือ ที่มีนิติบุคคล บริหารงานอย่างมืออาชีพ แล้วก็ตาม เป็นเหมือนกันหมด ถึงแม้จะมี PM รายปี ของบริษัทผู้รับเหมาเข้ามาทำการตรวจเช็ค ก็ไม่มีปัญหาอะไร เลยมั่นใจว่าระบบทุกอย่างปลอดภัย ดีเยี่ยมแล้ว
เปิดโปรงความลับจากเบื้องหลังทั้งหมด
**สำหรับผู้อาศัย หรือ กรรมการนิติบุคคล และ เจ้าของร่วม พวกคุณจะไม่มีวันรู้ความจริงถ้าไม่ได้อ่านตรงนี้ครับ**
-สำหรับคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ หลายห้องชุด และ มีหลายชั้น ทุกอาคารจะมีห้องควบคุมที่ชื่อว่า Control Room ซึ่งภายในห้องนี้จะมี Computer ควบคุมระบบอัตโนมัติส่วนกลางอยู่หลายระบบ (แล้วแต่ฟั่งชั่นของอาคาร) ยกตัวอย่างเช่น
1.ระบบควบคุม Key Card Door Log
2.ระบบควบคุม Lighting All Building
3.CCTV Monitor
4.Graphic Annunciator (ตู้แจ้งเตือนสถาณะของการแจ้งเหตุในจุดนั้นๆ) ตัวอย่าง แบ่งออกเป็น Zone แจ้งเตือนดังนี้
zone1 แจ้งเตือนเมื่อตรวจจับควันไฟ หรือ ความร้อน
zone2 แจ้งเตือนเมื่อมีการกดอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
zone3 แจ้งเตือนเมื่อมีผู้ต้องการขอรับความช่วยเหลือจาก Phone Jack
zone4 แจ้งเตือนตามจุดเมื่อมีการไหลของน้ำในท่อดับเพลิง
zone5 แจ้งเตือนเตามจุดมื่อมีการปิดวาวล์น้ำดับเพลิง
5.ตู้ควบคุมระบบ Fire Alarm
6.แผงผังแสดงตำแหน่งของลิฟท์ทั้งหมดในอาคาร ว่าอยู่ชั้นไหน และ แสดงสถานะปัจจุบัน
จะมีประมาณนี้ และ จะไล่ให้ดูนะครับ
ด้านที่จะไม่ค่อยมีปัญหาเลยคือ ข้อที่ 1 เพราะถ้ามีปัญหาจะรู้ได้ทันทีในเรื่องของการ เข้า-ออก อาคาร ต่อมานั้น ถ้าวันไหนพบว่า เวลากลางวัน หรือ สถานที่ที่มีแสงสว่างแล้ว ที่ไม่ใช่ในเวลากลางคืน มีไฟติดในจุดนั้นจุดนี้ คือ ข้อที่ 2 มีปัญหา ส่วน CCTV ดูได้ครบทุกช่องรึเปล่าไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าบันทึกข้อมูลอยู่รึเปล่า
ด้านที่มีปัญหาตัวแม่เลย คือ ข้อที่ 4,5 เพราะอะไร เพราะว่าการละเลยของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลในจุดนั้น อาจมีทั้ง จำนวนคนในการบริหารงาน หรือ ความรู้ในการใช้งานของเจ้าหน้าที่ และ การหมั่นตรวจเช็คของระบบ กรณีนี้จะยกตัวอย่างให้คิดตาม
-"ทำไมถึงต้อง OFF Bell ทั้งๆที่ระบบใช้ได้ตามปกติ" ขั้นตอนของการทำงานในระบบ Fire Alarm เป็นอย่างนี้ครับ เมื่อ Smoke detector ในห้องของคุณตรวจจับควันไฟได้ มันจะส่งสัญญานมาให้ที่ตู้ Graphic Annunciator แล้วตู้ควบคุม Fire Alarm จะเริ่มทำงาน ส่งเสียงร้องมาที่หน้าตัวตู้ก่อน และ ภายใน 1-5 นาที ถ้ายังไม่มีเจ้าหน้าที่กดปุ่มรับทราบยืนยันจากที่หน้าตู้ ระบบจะสั่งให้ Bell ดังในชั้นที่เกิดเหตุ และ ชั้น บน-ล่าง ของชั้นที่เกิดเหตุ และเมื่อ Bell ดังแล้วยังไม่มีเจ้าหน้าที่กดปุ่มรับทราบยืนยันจากที่หน้าตู้อีก ระบบจะสั่ง General Alarm ซึ่ง Bell จะดังทั้งอาคาร ลิฟท์จะใช้งานไม่ได้ และ จะลงไปจอดที่ชั้นล่าง และ ระบบจะสั่งให้พัดลมอัดอากาศบันไดหนีไฟ หรือ โถงลิฟท์ Fire Man ทำงาน ประตูอัตโนมัติจะปลดล็อคตัวเองทั้งระบบ บางที่ที่วางระบบดีๆ จะสั่งตัดไฟฟ้าหลักอาคาร และ Run Generator **"ซึ่งฟังดูแล้วมันวุ่นวายมากเลยใช่ไหมครับ"** และ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าไม่ใช่ความจริง ไม่ใช่ไฟไหม้ขึ้นจริง จะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนครับ นิติบุคคลโดนด่าเละแน่ๆ ต่อให้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร เพราะถือว่าคุณมาบริหารคอนโดมิเนียมของเขา แล้วทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น
ที่สำคัญไอ้เจ้าตัว Smoke detector มันอาจจะบ้าๆบอๆ ตรวจจับฝุ่นได้ หรือ ควันบุหรี่ปกติได้ มันก็สามารถส่งสัญญานได้ทั้งนั้น เพราะปัญหาประมาณนี้แหละครับ เลยต้องมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูแลในห้อง Control Room ตลอด 24 ช.ม. แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ทางฝ่ายบริหารนิติบุคคล หรือ คณะกรรมการได้มีการจัดจ้างพนักงานทำงานในหน้าที่ดังกล่าวแค่ วันละ 3-4 คน ซึ่งถ้าแบ่งตามกะแล้วจะประมาณนี้
06.00-15.00 มีเจ้าหน้าที่ดูแล 2 คน
14.00-23.00 มีเจ้าหน้าที่ดูแล 1 คน
22.00-07.00 มีเจ้าหน้าที่ดูแล 1 คน
และพบว่าวันนึงไม่ได้จ้างพนักงานมานั่งเฝ้าระบบเตือนภัยเป็นหลัก จะจ้างในรูปแบบของตำแหน่ง ช่างซ่อมบำรุงประจำอาคาร ซึ่งก็จะมีงานมากมายก่ายกองให้ทำไปซักทุกอย่าง แล้วการทำงานหลักๆ จะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง หรือ ห้องเจ้าของร่วม ซึ่งก็จะทำให้ไม่มีคนเฝ้าดูแลในห้อง Control Room นันจึงเป็นสาเหตุแรกเริ่มของการที่จะทำไม่ให้เกิดปัญหาตามมาที่วุ่นวาย เช่น การ OFF Bell นั่นเอง
และยังมีสิ่งที่คุณยังไม่รู้ที่สำคัญอีกหลายอย่าง
ขออนุญาติมาต่อใหม่ในช่วงเช้านะครับ
อยากรู้เรื่องระบบงาน อาคารคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน อาคารโรงแรม สามารถสอบถามได้ครับ พร้อมวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง