สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกคน
กลับมาพบกันอีกครั้งในรอบแปดเดือนใน Eurovision Asia Magazine (หรือชื่อเดิม Asiavision Magazine ซึ่งจะมาบอกอีกทีว่าทำไมต้องเปลี่ยนชื่อ) กระทู้รายงานเรื่องราวการจัดการแข่งขันประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งชาติเอเชีย-แปซิฟิก ค่ะ กับดิฉัน Miss Horksri เจ้าของเดียวกับกระทู้ Eurovision Magazine ที่รายงานเรื่องราวเกี่ยวกับยูโรวิชั่นค่ะ
หลังจากที่หายไปนานเดินครึ่งปีที่แทบไม่มีข่าวคราวอะไรเลยเกี่ยวกับความคืบหน้าการประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งชาติเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งนี้ดิฉันกลับมาเพื่อจะมารายงานความคืบหน้าและเป็นข่าวดีซะด้วย เพราะหลังจากที่เรารอคอยมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้วทันทีที่มีข่าวว่าจะมีการทำรายการประกวดเพลงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคโดยได้รูปแบบจากยูโรวิชั่น (การประกวดเพลงในยุโรปที่มีชื่อเสียงระดับโลก) นะคะ ในที่สุด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมาเขาได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะมีการประกวดเพลงในภูมิภาคของเราอย่างแน่นอนแล้วล่ะค่ะ ซึ่งได้ปล่อยคลิปตัวอย่างเรียกน้ำย่อยแล้ว...
แต่กว่าเราจะได้เห็นการประกวดนี้ต้องรอถึงปีหน้านะคะ จากเดิมจะเป็นปีนี้ เพราะมีปัญหาเรื่องความพร้อม ซึ่งเรามองว่าน่าจะจัดหลังยูโรวิชั่นของยุโรปที่จะจัดในเดือนพฤษภาคมเพื่อที่จะใช้ช่วงเวลานั้นโปรโมตยูโรวิชั่นเอเชียในยูโรวิชั่นน่ะค่ะ
ส่วนประเทศที่จะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพครั้งแรกตอนนี้ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการแล้วนะคะ แต่ตอนนี้มีสามประเทศที่ขอเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ได้แก่
-
ออสเตรเลีย ในฐานะประเทศที่นำเข้ารายการนี้มาสู่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยช่องเอสบีเอส (ช่องสาธารณะของบ้านเขา) และบลิงก์ทีวี (บริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ที่ซื้อลิขสิทธิ์จากอีบียู (สหภาพการกระจายเสียงแพร่ภาพแห่งยุโรป) ที่เป็นผู้จัดการแข่งขันยูโรวิชั่นที่จัดมากว่า 60 ปีแล้ว ออสเตรเลียก็หมายมั่นว่าจะจัดในประเทศของตน ซึ่งเราอาจจะเห็นไปจัดที่ซิดนีย์โอเปร่าเฮ้าท์ส์ก็เป็นไปได้
-
สิงคโปร์ ศูนย์กลางที่ตั้งบริษัทและหน่วยงานเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งเอ็มทีวีเอเชีย และจัดงานเอ็มทีวีเอเชียอะวอร์ดในสมัยก่อน และจัดงานเอเชียนเทเลวิชั่นอะวอร์ดซึ่งจัดทุกปี ก็หมายมั่นเช่นกันว่าจะมาจัดที่บ้านเขาให้ได้เช่นกัน
- และ
ฮ่องกง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางที่ตั้งบริษัทและหน่วยงานเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนในภูมิภาคเอเชียเหมือนสิงคโปร์ แต่ฮ่องกงมีดีกรีศูนย์กลางตลาดเพลงแมนดารินและคานโตป๊อปที่ยิ่งใหญ่ ก็ขอเสนอตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพเช่นกัน
แต่ถึงอย่างไรนั้น เราต้องมาดูกันต่อไปนะคะว่าประเทศไหนจะโชคดีทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพยูโรวิชั่นเอเชียเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่ายังไม่มีการประกาศวันตัดสินเมืองเจ้าภาพก็ตาม
หลายคนคงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมถึงใช้ชื่อว่ายูโรวิชั่นเอเชียแทนที่จะเป็นเอเชียวิชั่น เพราะว่าเอเชียวิชั่นมีคนเอาไปใช้แล้วค่ะ โดยเอบียู (สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งเอเชีย-แปซิฟิก) ใช้ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข่าวสารของประเทศที่เป็นสมาชิกเอบียูซึ่งรวมทั้งไทยด้วย และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงได้เปลี่ยนชื่อกระทู้ของเราไปด้วย
ในตอนนี้นะคะ (ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม) มี 8 ประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมการแข่งขันแล้ว คือ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะโซโลมอน เท่ากับว่าตอนนี้จะเหลือ 12 ประเทศตามโควต้าปีนี้ เพราะเนื่องจากเป็นการแข่งเป็นปีแรก เลยทดลองแข่ง 20 ประเทศก่อน ซึ่งจะไม่มีระบบแข่งรอบรองก่อนเหมือนยูโรวิชั่น ซึ่งจะจัดรอบชิงชนะเลิศเลย ซึ่งเรารอว่าเมื่อไหร่ไทยจะตอบรับเข้าร่วมแข่งนะคะ
ถ้ายูโรวิชั่นเอเชียใช้รูปแบบเดียวกันจากยุโรป นั่นก็หมายความว่า...
- เพลงที่จะส่งประกวดจะต้องเปิดตัวหลังวันที่ 30 กันยายน และในช่วงนี้มีข่าวการตอบรับเข้าร่วมแข่งขันจากประเทศต่างๆ
- ยูโรวิชั่นของยุโรปมีข้อจำกัดว่าเพลงจะต้องยาวไม่เกินสามนาที (เพราะเพื่อไม่ให้กินเวลาการแข่งขันนานไป) และจำนวนศิลปินและนักแสดงบนเวทีรวมกันต้องไม่เกิน 6 คน (เพราะสมัยก่อนมีข้อจำกัดขนาดเวทีที่ไม่ใหญ่โต แม้ว่าในปัจจุบันเวทีใหญ่ขึ้น แต่ก็ยังไม่แก้กฏนี้) ก็อาจจะลำบากหน่อย เพราะต้องทำเพลงไม่เกินสามนาที และวงไหนที่มีสมาชิกเกิน 6 คนก็อดแข่ง อย่าง GOT 7, AKB48, BTS, EXO บลาๆ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีการแก้กฏไหม
- ระบบการโหวต มีทั้งการโหวตจากกรรมการและทางบ้านของแต่ละประเทศ และไม่สามารถโหวตให้ประเทศตัวเองเป็นอันขาด
- ประเทศไหนที่ได้แชมป์จะได้เป็นเจ้าภาพครั้งต่อไป ซึ่งเป็นมีผลต่อการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเหมือนจัดแข่งกีฬา
- ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการดำเนินการแข่งขัน ซึ่งอาจจะมีภาษาใดซักภาษาหนึ่งในเอเชียเป็นภาษารองในการดำเนินการแข่งขัน เหมือนที่ยูโรวิชั่นจะมีทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และถ้าใช้รูปแบบการทลายกำแพงภาษาในการส่งเพลงเข้าประกวดเหมือนยูโรวิชั่น ก็อาจจะมีเพลงภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาถิ่นก็ได้
สิ่งที่น่าจับตามองอย่างคร่าวๆกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยูโรวิชั่นเอเชีย
- ดราม่าในภูมิภาคเอเชียจะร้อนแรงกว่ายุโรปก็อาจจะเป็นไปได้ อย่างเช่น ปากีสถาน-อินเดีย, จีน-ใต้หวัน, จีน-เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน, เกาหลี-ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ (ถ้าเกาหลีเหนือมาแข่งนะ) เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการเผชิญหน้ากันอาจจะคล้ายๆเคสในยูโรวิชั่นอย่างกรณี รัสเซีย-ยูเครน เป็นต้น
- การฮั้วโหวตอาจจะเหมือนยูโรวิชั่นก็เป็นไปได้ ถ้าประเทศไหนมีความสัมพันธ์แบบพิเศษๆ ตอนนี้ที่นึกในหัว มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และอินโดนีเซียจะช่วยๆโหวตให้กันเพราะวัฒนธรรมทางภาษาใกล้ๆเคียงกัน หรืออาจจะมีเคสหนึ่งถ้ามีคนพลัดถิ่นอาศัยประเทศอื่นๆมากมายด็อาจจะเห็นเคสคนฟิลิปปินส์ที่อาศัยในต่างประเทศกระหน่ำโหวตให้ประเทศตัวเองอะไรประมาณนี้เแหล่ะ
-ยูโรวิชั่นเป็นงานรวมตัวของ LGBT ย่อมๆ เพราะรายการนี้มีฐานผู้ชมกลุ่มนี้เยอะมาก ซึ่งในเอเชียการยอมรับในเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ยากมากในหลายประเทศ ซึ่งอาจจะมีปัญหากับพวกเขาก็ได้ ถ้าประเทศที่แอนตี้เรื่องนี้อย่างมากได้เป็นเจ้าภาพในปีนั้น
-สงครามระหว่างเจป๊อปกับเคป๊อปก็จะมาประชันกันในยูโรวิชั่นเอเชียแน่นอนว่าใครจะเป็นเบอร์หนึ่งของเอเชีย ในขณะเดียวกันก็อาจจะแจ้งเกิดประเทศซักประเทศหนึ่งจนกลายมีอำนาจด้านเพลงในภูมิภาคก็เป็นไปได้ เหมือนที่สวีเดนสามารถเป็นมหาอำนาจด้านเพลงในยุโรปสู้กับสหราชอาณาจักรอย่างสบายๆจากการประสบความสำเร็จในยูโรวิชั่น
ขอปิดเบรกในหัวกระทู้นี้ก่อน เพราะมันจะเกินโควต้าหมื่นคำนะคะ ซึ่งเราจะพูดถึงทำไมไทยต้องเข้าร่วมแข่งยูโรวิชั่นเอเชียค่ะ
[Eurovision Asia Magazine] สิ้นสุดการรอคอย การประกวดเพลงระดับโลกมาถึงเอเชียแล้ว/ ทำไมไทยต้องเข้าร่วมแข่งยูโรวิชั่นเอเชีย
สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกคน
กลับมาพบกันอีกครั้งในรอบแปดเดือนใน Eurovision Asia Magazine (หรือชื่อเดิม Asiavision Magazine ซึ่งจะมาบอกอีกทีว่าทำไมต้องเปลี่ยนชื่อ) กระทู้รายงานเรื่องราวการจัดการแข่งขันประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งชาติเอเชีย-แปซิฟิก ค่ะ กับดิฉัน Miss Horksri เจ้าของเดียวกับกระทู้ Eurovision Magazine ที่รายงานเรื่องราวเกี่ยวกับยูโรวิชั่นค่ะ
หลังจากที่หายไปนานเดินครึ่งปีที่แทบไม่มีข่าวคราวอะไรเลยเกี่ยวกับความคืบหน้าการประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งชาติเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งนี้ดิฉันกลับมาเพื่อจะมารายงานความคืบหน้าและเป็นข่าวดีซะด้วย เพราะหลังจากที่เรารอคอยมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้วทันทีที่มีข่าวว่าจะมีการทำรายการประกวดเพลงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคโดยได้รูปแบบจากยูโรวิชั่น (การประกวดเพลงในยุโรปที่มีชื่อเสียงระดับโลก) นะคะ ในที่สุด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมาเขาได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะมีการประกวดเพลงในภูมิภาคของเราอย่างแน่นอนแล้วล่ะค่ะ ซึ่งได้ปล่อยคลิปตัวอย่างเรียกน้ำย่อยแล้ว...
แต่กว่าเราจะได้เห็นการประกวดนี้ต้องรอถึงปีหน้านะคะ จากเดิมจะเป็นปีนี้ เพราะมีปัญหาเรื่องความพร้อม ซึ่งเรามองว่าน่าจะจัดหลังยูโรวิชั่นของยุโรปที่จะจัดในเดือนพฤษภาคมเพื่อที่จะใช้ช่วงเวลานั้นโปรโมตยูโรวิชั่นเอเชียในยูโรวิชั่นน่ะค่ะ
ส่วนประเทศที่จะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพครั้งแรกตอนนี้ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการแล้วนะคะ แต่ตอนนี้มีสามประเทศที่ขอเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ได้แก่
- ออสเตรเลีย ในฐานะประเทศที่นำเข้ารายการนี้มาสู่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยช่องเอสบีเอส (ช่องสาธารณะของบ้านเขา) และบลิงก์ทีวี (บริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ที่ซื้อลิขสิทธิ์จากอีบียู (สหภาพการกระจายเสียงแพร่ภาพแห่งยุโรป) ที่เป็นผู้จัดการแข่งขันยูโรวิชั่นที่จัดมากว่า 60 ปีแล้ว ออสเตรเลียก็หมายมั่นว่าจะจัดในประเทศของตน ซึ่งเราอาจจะเห็นไปจัดที่ซิดนีย์โอเปร่าเฮ้าท์ส์ก็เป็นไปได้
- สิงคโปร์ ศูนย์กลางที่ตั้งบริษัทและหน่วยงานเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งเอ็มทีวีเอเชีย และจัดงานเอ็มทีวีเอเชียอะวอร์ดในสมัยก่อน และจัดงานเอเชียนเทเลวิชั่นอะวอร์ดซึ่งจัดทุกปี ก็หมายมั่นเช่นกันว่าจะมาจัดที่บ้านเขาให้ได้เช่นกัน
- และฮ่องกง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางที่ตั้งบริษัทและหน่วยงานเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนในภูมิภาคเอเชียเหมือนสิงคโปร์ แต่ฮ่องกงมีดีกรีศูนย์กลางตลาดเพลงแมนดารินและคานโตป๊อปที่ยิ่งใหญ่ ก็ขอเสนอตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพเช่นกัน
แต่ถึงอย่างไรนั้น เราต้องมาดูกันต่อไปนะคะว่าประเทศไหนจะโชคดีทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพยูโรวิชั่นเอเชียเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่ายังไม่มีการประกาศวันตัดสินเมืองเจ้าภาพก็ตาม
หลายคนคงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมถึงใช้ชื่อว่ายูโรวิชั่นเอเชียแทนที่จะเป็นเอเชียวิชั่น เพราะว่าเอเชียวิชั่นมีคนเอาไปใช้แล้วค่ะ โดยเอบียู (สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งเอเชีย-แปซิฟิก) ใช้ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข่าวสารของประเทศที่เป็นสมาชิกเอบียูซึ่งรวมทั้งไทยด้วย และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงได้เปลี่ยนชื่อกระทู้ของเราไปด้วย
ในตอนนี้นะคะ (ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม) มี 8 ประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมการแข่งขันแล้ว คือ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะโซโลมอน เท่ากับว่าตอนนี้จะเหลือ 12 ประเทศตามโควต้าปีนี้ เพราะเนื่องจากเป็นการแข่งเป็นปีแรก เลยทดลองแข่ง 20 ประเทศก่อน ซึ่งจะไม่มีระบบแข่งรอบรองก่อนเหมือนยูโรวิชั่น ซึ่งจะจัดรอบชิงชนะเลิศเลย ซึ่งเรารอว่าเมื่อไหร่ไทยจะตอบรับเข้าร่วมแข่งนะคะ
ถ้ายูโรวิชั่นเอเชียใช้รูปแบบเดียวกันจากยุโรป นั่นก็หมายความว่า...
- เพลงที่จะส่งประกวดจะต้องเปิดตัวหลังวันที่ 30 กันยายน และในช่วงนี้มีข่าวการตอบรับเข้าร่วมแข่งขันจากประเทศต่างๆ
- ยูโรวิชั่นของยุโรปมีข้อจำกัดว่าเพลงจะต้องยาวไม่เกินสามนาที (เพราะเพื่อไม่ให้กินเวลาการแข่งขันนานไป) และจำนวนศิลปินและนักแสดงบนเวทีรวมกันต้องไม่เกิน 6 คน (เพราะสมัยก่อนมีข้อจำกัดขนาดเวทีที่ไม่ใหญ่โต แม้ว่าในปัจจุบันเวทีใหญ่ขึ้น แต่ก็ยังไม่แก้กฏนี้) ก็อาจจะลำบากหน่อย เพราะต้องทำเพลงไม่เกินสามนาที และวงไหนที่มีสมาชิกเกิน 6 คนก็อดแข่ง อย่าง GOT 7, AKB48, BTS, EXO บลาๆ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีการแก้กฏไหม
- ระบบการโหวต มีทั้งการโหวตจากกรรมการและทางบ้านของแต่ละประเทศ และไม่สามารถโหวตให้ประเทศตัวเองเป็นอันขาด
- ประเทศไหนที่ได้แชมป์จะได้เป็นเจ้าภาพครั้งต่อไป ซึ่งเป็นมีผลต่อการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเหมือนจัดแข่งกีฬา
- ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการดำเนินการแข่งขัน ซึ่งอาจจะมีภาษาใดซักภาษาหนึ่งในเอเชียเป็นภาษารองในการดำเนินการแข่งขัน เหมือนที่ยูโรวิชั่นจะมีทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และถ้าใช้รูปแบบการทลายกำแพงภาษาในการส่งเพลงเข้าประกวดเหมือนยูโรวิชั่น ก็อาจจะมีเพลงภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาถิ่นก็ได้
สิ่งที่น่าจับตามองอย่างคร่าวๆกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยูโรวิชั่นเอเชีย
- ดราม่าในภูมิภาคเอเชียจะร้อนแรงกว่ายุโรปก็อาจจะเป็นไปได้ อย่างเช่น ปากีสถาน-อินเดีย, จีน-ใต้หวัน, จีน-เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน, เกาหลี-ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ (ถ้าเกาหลีเหนือมาแข่งนะ) เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการเผชิญหน้ากันอาจจะคล้ายๆเคสในยูโรวิชั่นอย่างกรณี รัสเซีย-ยูเครน เป็นต้น
- การฮั้วโหวตอาจจะเหมือนยูโรวิชั่นก็เป็นไปได้ ถ้าประเทศไหนมีความสัมพันธ์แบบพิเศษๆ ตอนนี้ที่นึกในหัว มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และอินโดนีเซียจะช่วยๆโหวตให้กันเพราะวัฒนธรรมทางภาษาใกล้ๆเคียงกัน หรืออาจจะมีเคสหนึ่งถ้ามีคนพลัดถิ่นอาศัยประเทศอื่นๆมากมายด็อาจจะเห็นเคสคนฟิลิปปินส์ที่อาศัยในต่างประเทศกระหน่ำโหวตให้ประเทศตัวเองอะไรประมาณนี้เแหล่ะ
-ยูโรวิชั่นเป็นงานรวมตัวของ LGBT ย่อมๆ เพราะรายการนี้มีฐานผู้ชมกลุ่มนี้เยอะมาก ซึ่งในเอเชียการยอมรับในเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ยากมากในหลายประเทศ ซึ่งอาจจะมีปัญหากับพวกเขาก็ได้ ถ้าประเทศที่แอนตี้เรื่องนี้อย่างมากได้เป็นเจ้าภาพในปีนั้น
-สงครามระหว่างเจป๊อปกับเคป๊อปก็จะมาประชันกันในยูโรวิชั่นเอเชียแน่นอนว่าใครจะเป็นเบอร์หนึ่งของเอเชีย ในขณะเดียวกันก็อาจจะแจ้งเกิดประเทศซักประเทศหนึ่งจนกลายมีอำนาจด้านเพลงในภูมิภาคก็เป็นไปได้ เหมือนที่สวีเดนสามารถเป็นมหาอำนาจด้านเพลงในยุโรปสู้กับสหราชอาณาจักรอย่างสบายๆจากการประสบความสำเร็จในยูโรวิชั่น
ขอปิดเบรกในหัวกระทู้นี้ก่อน เพราะมันจะเกินโควต้าหมื่นคำนะคะ ซึ่งเราจะพูดถึงทำไมไทยต้องเข้าร่วมแข่งยูโรวิชั่นเอเชียค่ะ