กังวลกับรังสีที่เกิดจากการเอ็กซเรย์

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.60 ดิฉันพาลูกสาววัย 3 ขวบ ไปพบหมอ เนื่องจากสงสัยว่าน้องจะกลืนคลิปหนีบกระดาษลงไป คุณหมอเลยสั่งเอ็กซเรย์ฟิล์มใหญ่ (Chest include abdomen) ผลปกติ
       ต่อมาวันที่ 19 ส.ค.60 น้องเป็นหลอดลมอักเสบ มีอาการไอเยอะ คุณหมอขอเอ็กซเรย์ปอด เนื่องจากคุณหมอกลัวว่าจะเป็นปวมบวม หรือเป็นหนองในปอด ผลเอ็กซเรย์ปกติค่ะ
       ดิฉัน ค่อนข้างเป็นกังวลมากๆค่ะ ดังนี้ค่ะ
1. การเอ็กซเรย์ทั้ง 2 ครั้งของลูกในระยะเวลาห่างกันแค่ 2 เดือน ลูกจะได้รับอันตรายจากรังสีที่ใช้ในการเอ็กซเรย์มากแค่ไหนค่ะ
2.การเอ็กซเรย์ทั้ง 2 ครั้ง จะส่งผลในระดับ DNA ของลูกในอนาคตหรือไม่ค่ะ
ทุกวันนี้เวลามองหน้าลูกแอบน้ำตาตกค่ะ อย่างไรรบกวนขอคำปรึกษาด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คุณแม่ไม่ต้องวิตกกังวลมากค่ะ การตรวจ X-ray แบบธรรมดา ตามที่คุณแม่แจ้งมา เป็นการตรวจที่ได้รับรังสีน้อยมาก (จัดว่าเป็น low dose) และที่สำคัญคือคุณหมอจำเป็นต้องสั่งทำเนื่องจากไม่สามารถวินิจฉัยด้วยเครื่องมือตรวจอย่างอื่นได้ ถ้าเกิดเด็กกลืนคลิปลงไป หรือเป็นปอดบวม แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อันตรายมากกว่านี้แน่นอนค่ะ จึงเป็นการสั่งการตรวจที่เหมาะสมแล้ว
1. อันตรายจากรังสีจากการตรวจแบบธรรมดา น้อยมากค่ะ รังสีที่ได้รับเทียบเท่ากับสิ่งแวดล้อมทั่วไป คิดเอาง่ายๆคือพาลูกขึ้นเครื่องบินอาจได้รับรังสี UV หรือ gamma ray (เป็นคลื่นแม่เหล็ก ionizing radiation เหมือนกัน) มากกว่าเนื่องจากใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกค่ะ
2. ส่งผลต่อ DNA น้อยมาก เนื่องจากรังสีอยู่ในระดับต่ำมากที่สุด น้อยกว่ารังสีที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งหลายหมื่นเท่า โอกาสเกิดมะเร็งเช่น leukemia จากการ x-ray ช่องท้องและปอด ไม่กี่ครั้งนั้นเรียกว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ กลุ่มที่มีการเกิดมะเร็งหลังจากการได้รับรังสี จะเป็น high dose อย่างโดนกัมมันตภาพเช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด, ฉายแสงรักษามะเร็งในวัยเด็ก (ซึ่งแสดงว่าอย่างน้อยก็มีชีวิตยืนนานพอที่จะเกิดมะเร็งครั้งใหม่ไม่ได้ตายจากมะเร็งตั้งแต่ครั้งแรก จะเกิด 10-15 ปีให้หลัง)

สรุปคือ เราใช้รังสีเท่าที่จะเป็นเท่านั้น โดยถือว่าจะต้องได้ประโยชน์มากกว่าโทษ ไม่ใช้โดยพร่ำเพรื่อค่ะ

ยกตัวอย่างบทความจากในเวบรพ.ที่อเมริกา https://www.cincinnatichildrens.org/patients/child/encyclopedia/diagnostic/chest-x-ray
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่