สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระบารมีมากเนื่องจากสำเร็จราชการสำคัญจำนวนมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้ว่าราชการเป็นสิทธิขาดในกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจ และทรงได้ว่าความฎีกา เมื่อเจ้านายชั้นผู้ใหญ่คือกรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ ๒ กับเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีสิ้นพระชนม์แล้ว รัชกาลที่ ๓ จึงกลายเป็นเจ้านายที่มีพระบารมีมากที่สุดในสมัยนั้น (จริงๆ มีคำกล่าวด้วยว่าแม้แต่ตอนที่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรียังทรงมีพระชนม์อยู่ก็สู้พระบารมีรัชกาลที่ ๓ ไม่ได้)
นอกจากนี้ยังทรงมีฐานสนับสนุนจำนวนมาก ทั้งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นพระโอรสของรัชกาลที่ ๑ อย่างกรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ (ได้เป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๓) กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ กรมหมื่นรักษรณเรศร์ และมีขุนนางชั้นผู้ใหญ่อย่างเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)
ส่วนรัชกาลที่ ๔ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏทรงมีพระเจ้าน้าคือเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีกับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์เป็นผู้สนับสนุนหลัก
ซึ่งในช่วงผลัดแผ่นดินก็มีหลักฐานที่บ่งชี้ไปในแนวทางที่ว่าทรงพระประสงค์ในราชสมบัติอยู่ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะขุนนางสนับสนุนแต่ประการเดียว
ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ได้ทรงกล่าวเล่าเหตุการณ์ที่ต่างไปจากพงศาวดารที่ระบุว่าบรรดาเสนาบดีและเชื้อพระวงศ์พร้อมใจกันอัญเชิญกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ แต่เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ที่ทรงแสดงออกก่อนให้เห็นชัดเจนว่ามีพระราชประสงค์สืบราชสมบัติ
"สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกมาจากห้องที่สวรรคต เสด็จขึ้นพระที่นั่งอมรินทร์ฯ ซึ่งเต็มไปด้วยเจ้านายและข้าราชการ ก็ไม่ได้ทรงทำอะไร นอกจากเสด็จขึ้นบนพระแท่นที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อนเคยประทับ เมื่อเสด็จขึ้นแล้ว ก็ทรงหยิบพระแสงอาญาสิทธิ์วางบนพระเพลาเท่านั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านทรงรับราชสมบัติต่อไป พวกเจ้านายและข้าราชการ ก็พร้อมกันถวายบังคมทั้งหมด เป็นอันรับรอง"
ในพระนิพนธ์อีกชิ้นหนึ่งคือ "สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น" ทรงขยายความว่า
"เนื่องสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงมีพระชันษาแก่กว่าเจ้าฟ้ามงกุฎฯ พระอนุชาถึง ๑๗ ปี และได้ทรงว่าราชการแทนพระองค์สมเด็จพระราชบิดามาแล้วหลายคราว ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีผู้นับถือเลื่อมใส ทั้งพวกเจ้านายและขุนนางตาม Crawford เล่าไว้ ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นชั้นพระเจ้าอาว์ที่มีพระนามปรากฏเด่นต่อมาก็คือ กรมหมื่นศักดิพลเสพฯ และกรมหมื่นรักษ์รณเรศ ที่ได้ทรงทำคำมั่นสัญญาไว้ว่าจะถวายราชสมบัติกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทั้งฝ่ายขุนนางผู้ใหญ่มีสมเด็จเจ้าพระยา ๒ องค์พี่น้องก็เห็นสมควร ฉะนั้นในวันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต จึงตกลงเชิญเสด็จกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ซึ่งเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระที่นั่งพร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ในเวลาทรงพระประชวรหนักเป็นราชประเพณีอยู่แล้ว ให้เสด็จออกให้เจ้านายและข้าราชการอื่นๆ เฝ้าบนพระแท่นที่ประทับและถวายให้ทรงถือพระแสงอาญาสิทธิ์ไว้บนพระเพลาเป็นการแสดงให้คนทั้งหลายที่เฝ้านั้นเข้าใจว่าได้ทรงรับราชสมบัติแล้ว ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็เหมาะเวลาพระชันษาครบที่จะทรงอุปสมบท และได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว เมื่อก่อนสมเด็จพระราชบิดาสวรรคตเพียง ๗ วัน สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดให้ไปทูลถามว่าจะต้องพระราชประสงค์ราชสมบัติหรือไม่ และได้ทรงกราบทูลตอบไปว่า ไม่ต้องพระประสงค์ จะขอทรงผนวชเล่าเรียนต่อไป เหตุที่จริงมีอยู่เท่านี้"
ส่วนในหนังสือ "ความทรงจำ" พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงอธิบายในทำนองว่าที่ประชุมขุนนางมีการให้มาหยั่งเสี่ยงเจ้าฟ้ามงกุฎดูก่อนว่าประสงค์จะได้ราชสมบัติหรือไม่
“ที่ประชุมเห็นว่า ควรถวายราชสมบัติแก่กรมหมื่นเจษฎาบดินทรบ้านเมืองจึงจะเรียบร้อยเป็นปกติ จึงอาศัยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ให้ไปทูลถามว่าจะทรงปรารถนาราชสมบัติหรือทรงผนวชต่อไป ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบกิตติศัพท์อยู่แล้ว ว่าคิดกันจะถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่าถ้าพระองค์ปรารถนาราชสมบัติในเวลานั้น พระราชวงศ์คงแตกสามัคคีกัน อาจจะเลยเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง ตรัสปรึกษาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ซึ่งเป็นพระเจ้าน้าองค์น้อย ทูลแนะนำว่าควรคิดเอาราชสมบัติตามที่มีสิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย ไปทูลปรึกษากรมหมื่นนุชิตชิโนรส พระปิตุลาซึ่งทรงผนวชอยู่ กับทั้งกรมหมื่นเดชอดิศร พระเชษฐาซึ่งทรงนับถือมาก ทั้งสองพระองค์ ตรัสว่าไม่ใช่เวลาควรจะปรารถนา อย่าหวงราชสมบัติดีกว่า เพราะฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฟังคำถาม จึงตรัสตอบว่ามีพระราชประสงค์จะทรงผนวชอยู่ต่อไป ก็เป็นอันสิ้นความลำบากในการที่จะถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”
นอกจากเรื่องปัจจัยเรื่องความเหมาะสม ยังมีหลักฐานบ่งบอกไปอีกทางหนึ่งที่เจ้าฟ้ามงกุฎเองทรงโดน ‘ข่มขู่’ ซึ่งไม่ค่อยมีผู้กล่าวถึง
'ลิลิตมหามกุฎราชคุณานุสรณ์' พระนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระเจ้าลูกยาเธอของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเอง ระบุนิพนธ์เหตุการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ไว้ว่า
เขาเชิญไปวัดพระแก้ว.........มรกฎ อกอา
พัก ณ พระอุโบสถ...............ก่อนเฝ้า
หับทวารส่งทหารปด...........เป็นรัก ขานา
ฉุกละหุกกลับรุกเร้า.............รอบรั้งขังคุม พระเอย
กุมไว้ในโบสถ์สิ้น................สับดวาร พ่ออา
ไร้มิตรศิษย์บริพาร...............พี่น้อง
คึกคักแต่พนักงาน...............สนมนิเวสะรักษ์ฤา
คอยพิทักษ์หรือคอยจ้อง.......จับมล้างพรางไฉน ฯ
แปลความได้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งเป็น 'ตัวเต็ง' ที่จะได้ราชสมบัติทรงถูกคุมอยู่ในวัดพระแก้วถึง ๗ วัน โดยทรงถูกเฝ้าดูอย่างเข้มงวดเพียงพระองค์เดียว และทรงถูกจับตาอยู่ตลอดเวลา โดยโกหกว่าเป็นการอารักขา และมีการใช้กำลัง "ฉุกละหุกกลับรุกเร้า รอบรั้งขังคุม"
หากเนื้อหานี้เป็นจริงก็บ่งชี้ว่าการสืบราชสมบัติในครั้งนั้นคงไม่ได้เป็นไปอย่างเรียบร้อยราบรื่นอย่างที่กล่าวกันโดยทั่วไป แต่มีการคุมเจ้าฟ้ามงกุฎไว้ระยะหนึ่งเพื่ออาจเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายพระนั่งเกล้าฯ สามารถคุมสถานการณ์ได้แล้วก็คงจะทรงปล่อยออกมา
หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งคือบันทึกความทรงจำของพระยากสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ซึ่งบันทึกบอกเล่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ พระเชษฐาของรัชกาลที่ ๔ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ช่วงผลัดแผ่นดินเวลานั้น (เวลานั้นยังทรงเป็นเพียง พระองค์เจ้าโต) ระบุว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นตอนที่อัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎไปเฝ้าพระบรมศพ ซึ่งเข้าใจว่าเกิดภายหลังจากที่ทรงถูกกักพระองค์อยู่ในวัดพระแก้ว
“พระนั่งเกล้าฯ เสด็จเข้าไปให้ท่าน [กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ] เชิญพระแสงดาบตามเสด็จเข้าไปพร้อมกับวังหน้ากรมศักดิ์ ๑ กรมหลวงเทพ ๑ หม่อมไกรสร ๑ กรมขุนสุรินทรรักษ์ ๑ กรมพระพิพิธ ๑ กรมขุนราม ๑ แล้วจึงเชิญกรมขุนอิศรานุรักษ์กับพระจอมเกล้าฯ เข้าไป พระจอมเกล้าฯเสด็จเข้าไป พอเห็นสวรรคตแล้วก็ทรงพระกรรแสงโฮขึ้น หม่อมไกรสรก็เข้าไปกอดไว้แล้วคลำดู ดูที่จีวรกลัวจะซ่อนพระแสงเข้าไป พระจอมเกล้าฯ ก็ตกพระทัย รับสั่งว่าขอชีวิตไว้อย่าฆ่าเสียเลย พระนั่งเกล้าฯ รับสั่งว่าท่านอย่ากลัว ไม่มีใครทำอะไรหรอก อย่าตกพระทัย พี่น้องกันทั้งนั้น ทำอย่างไรได้ เวลานั้นท่านตกพระทัย พระบังคนไหลออกมาเปียกสบงครึ่งผืน”
หม่อมไกรสรคือกรมหมื่นรักษ์รณเรศที่ปรากฏว่าทรงราวีพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎมาตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓ ก่อนจะถูกสำเร็จโทษใน พ.ศ.๒๓๙๑ ในข้อหามักใหญ่ใฝ่สูง ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นที่ตามเสด็จกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์นั้น ส่วนใหญ่เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ ๑ บางพระองค์ปรากฏหลักฐานว่าเป็นเจ้านายที่ใกล้ชิดและสนับสนุนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์อย่างกรมหมื่นศักดิพลเสพย์ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ จนถึงรัชกาลที่ ๓ ก็ต่างได้ทรงดำรงตำแหน่งราชการสำคัญ จะมีก็แต่กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศที่ปรากฏหลักฐานว่าทรงสนับสนุนเจ้าฟ้ามงกุฎอยู่
กระทั่งในพระราชนิพนธ์ภาษาบาลี ว่าด้วยพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ก็ทรงกล่าวอย่างชัดเจนว่า พระองค์ทรงถูกฝ่ายของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์คุกคามมาจนต้องเสด็จออกผนวชตั้งแต่ก่อนพระราชบิดาสวรรคต และกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็มีพระทัยปรารถนาราชสมบัติอยู่เช่นกัน
“ในกาลก่อนแต่นี้ พระราชโอรสผู้ประเสริฐพระองค์ใหญ่ของพระราชเทวี เมื่อทรงพิจารณาถึงกาลอันหนึ่งเทียว ทรงเห็นซึ่งพระราชบุตรผู้พี่ชายพระองค์ใหญ่กว่าพระราชบุตรทั้งปวง อันชนหมู่ใหญ่นับถือ แล้วปรารถนาอยู่แม้ซึ่งราชสมบัติของพระราชบิดา ครอบงำเสียซึ่งพระราชบุตรต่างพระมารดากัน กระทำอยู่แม้โดยพระกำลัง
แล้วทรงกำหนดซึ่งกาลใช่โอกาสของพระองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่เทียว พระองค์มีพระชนม์พรรษาได้ยี่สิบปี แต่พระชาติทรงเห็นช่องทางซึ่งบรรพชาเป็นที่พ้นไปได้ จึงกราบทูลลาพระราชบิดา เข้าไปถึงแล้วซึ่งบรรพชา มีพระนามปรากฏโดยพระนามของพระภิกษุว่าพระผู้เป็นเจ้า วชิรญาณ ดังนี้”
เจ้าฟ้ามงกุฎคงจะทรงพิจารณาเห็นชัดแล้วว่า พระราชอำนาจของพระองค์ไม่สามารถทัดเทียมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และในเวลานั้นนอกจากกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็ไม่มีผู้ใดเหมาะสมเท่าจึงต้องยอมทรงหลีกทาง แล้วผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ตลอดรัชกาลที่ ๓
อีกตอนหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชนิพนธ์ไว้ว่าเนื่องจากคนส่วนใหญ่เห็นว่ากรมหมื่นเจษฎาบดินทร์มีความเหมาะสมกว่า ทำให้พระองค์ซึ่งมีพระชาติกำเนิดสูงส่งทั้งจากพระราชบิดาและพระราชบิดาซึ่งสมควรเป็นรัชทายาทมากที่สุดทรงถูก "ก้าวล่วง" สิทธิอันชอบธรรมของพระองค์
"ก็ในเวลานั้น แม้หมู่อำมาตย์ราชบริษัทและชาวพระนครชาวนิคมทั้งหลายเป็นอันมาก ที่ตั้งอยู่ในอำนาจแห่งอานุภาพของพระราชบุตรพระองค์ใหญ่ เมื่อพิจารณาดูซึ่งการรักษาพระราชอาณาเขตโดยความสุข ปราศจากข้าศึกมีพม่าเป็นต้น ก็พร้อมกันเห็นซึ่งพระราชบุตรพระองค์ใหญ่กว่าพระราชบุตรทั้งปวง ถึงพร้อมแล้วด้วยพระคุณทั้งหลายและมีพระปัญญาแลความรู้เป็นต้นหาผู้เสมอมิได้ แลมีพระกำลังใหญ่ด้วยดี สามารถเพื่อจะห้ามเสียซึ่งปฏิปักษ์ทั้งหลายในเวลานั้น ก็ก้าวล่วงเสียซึ่งพระราชบุตรผู้ประเสริฐหมดจด แม้เกิดดีแล้วแต่พระราชบิดาและพระราชมารดาทั้งสองฝ่าย ซึ่งตั้งอยู่แล้วในที่ควรแก่รัชทายาท มิได้ถือเอาแล้วแม้ทั้งสองพระองค์ จึงอภิเษกซึ่งพระราชบุตรพระองค์ใหญ่ ทรงพระนามเจษฎาธิบดินทร์ แม้เกิดดีแล้วแต่พระราชบิดาฝ่ายเดียว พระองค์นั้นในราชสมบัติเทียว"
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1055017517895051:0
นอกจากนี้ยังทรงมีฐานสนับสนุนจำนวนมาก ทั้งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นพระโอรสของรัชกาลที่ ๑ อย่างกรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ (ได้เป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๓) กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ กรมหมื่นรักษรณเรศร์ และมีขุนนางชั้นผู้ใหญ่อย่างเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)
ส่วนรัชกาลที่ ๔ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏทรงมีพระเจ้าน้าคือเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีกับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์เป็นผู้สนับสนุนหลัก
ซึ่งในช่วงผลัดแผ่นดินก็มีหลักฐานที่บ่งชี้ไปในแนวทางที่ว่าทรงพระประสงค์ในราชสมบัติอยู่ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะขุนนางสนับสนุนแต่ประการเดียว
ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ได้ทรงกล่าวเล่าเหตุการณ์ที่ต่างไปจากพงศาวดารที่ระบุว่าบรรดาเสนาบดีและเชื้อพระวงศ์พร้อมใจกันอัญเชิญกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ แต่เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ที่ทรงแสดงออกก่อนให้เห็นชัดเจนว่ามีพระราชประสงค์สืบราชสมบัติ
"สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกมาจากห้องที่สวรรคต เสด็จขึ้นพระที่นั่งอมรินทร์ฯ ซึ่งเต็มไปด้วยเจ้านายและข้าราชการ ก็ไม่ได้ทรงทำอะไร นอกจากเสด็จขึ้นบนพระแท่นที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อนเคยประทับ เมื่อเสด็จขึ้นแล้ว ก็ทรงหยิบพระแสงอาญาสิทธิ์วางบนพระเพลาเท่านั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านทรงรับราชสมบัติต่อไป พวกเจ้านายและข้าราชการ ก็พร้อมกันถวายบังคมทั้งหมด เป็นอันรับรอง"
ในพระนิพนธ์อีกชิ้นหนึ่งคือ "สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น" ทรงขยายความว่า
"เนื่องสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงมีพระชันษาแก่กว่าเจ้าฟ้ามงกุฎฯ พระอนุชาถึง ๑๗ ปี และได้ทรงว่าราชการแทนพระองค์สมเด็จพระราชบิดามาแล้วหลายคราว ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีผู้นับถือเลื่อมใส ทั้งพวกเจ้านายและขุนนางตาม Crawford เล่าไว้ ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นชั้นพระเจ้าอาว์ที่มีพระนามปรากฏเด่นต่อมาก็คือ กรมหมื่นศักดิพลเสพฯ และกรมหมื่นรักษ์รณเรศ ที่ได้ทรงทำคำมั่นสัญญาไว้ว่าจะถวายราชสมบัติกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทั้งฝ่ายขุนนางผู้ใหญ่มีสมเด็จเจ้าพระยา ๒ องค์พี่น้องก็เห็นสมควร ฉะนั้นในวันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต จึงตกลงเชิญเสด็จกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ซึ่งเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระที่นั่งพร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ในเวลาทรงพระประชวรหนักเป็นราชประเพณีอยู่แล้ว ให้เสด็จออกให้เจ้านายและข้าราชการอื่นๆ เฝ้าบนพระแท่นที่ประทับและถวายให้ทรงถือพระแสงอาญาสิทธิ์ไว้บนพระเพลาเป็นการแสดงให้คนทั้งหลายที่เฝ้านั้นเข้าใจว่าได้ทรงรับราชสมบัติแล้ว ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็เหมาะเวลาพระชันษาครบที่จะทรงอุปสมบท และได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว เมื่อก่อนสมเด็จพระราชบิดาสวรรคตเพียง ๗ วัน สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดให้ไปทูลถามว่าจะต้องพระราชประสงค์ราชสมบัติหรือไม่ และได้ทรงกราบทูลตอบไปว่า ไม่ต้องพระประสงค์ จะขอทรงผนวชเล่าเรียนต่อไป เหตุที่จริงมีอยู่เท่านี้"
ส่วนในหนังสือ "ความทรงจำ" พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงอธิบายในทำนองว่าที่ประชุมขุนนางมีการให้มาหยั่งเสี่ยงเจ้าฟ้ามงกุฎดูก่อนว่าประสงค์จะได้ราชสมบัติหรือไม่
“ที่ประชุมเห็นว่า ควรถวายราชสมบัติแก่กรมหมื่นเจษฎาบดินทรบ้านเมืองจึงจะเรียบร้อยเป็นปกติ จึงอาศัยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ให้ไปทูลถามว่าจะทรงปรารถนาราชสมบัติหรือทรงผนวชต่อไป ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบกิตติศัพท์อยู่แล้ว ว่าคิดกันจะถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่าถ้าพระองค์ปรารถนาราชสมบัติในเวลานั้น พระราชวงศ์คงแตกสามัคคีกัน อาจจะเลยเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง ตรัสปรึกษาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ซึ่งเป็นพระเจ้าน้าองค์น้อย ทูลแนะนำว่าควรคิดเอาราชสมบัติตามที่มีสิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย ไปทูลปรึกษากรมหมื่นนุชิตชิโนรส พระปิตุลาซึ่งทรงผนวชอยู่ กับทั้งกรมหมื่นเดชอดิศร พระเชษฐาซึ่งทรงนับถือมาก ทั้งสองพระองค์ ตรัสว่าไม่ใช่เวลาควรจะปรารถนา อย่าหวงราชสมบัติดีกว่า เพราะฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฟังคำถาม จึงตรัสตอบว่ามีพระราชประสงค์จะทรงผนวชอยู่ต่อไป ก็เป็นอันสิ้นความลำบากในการที่จะถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”
นอกจากเรื่องปัจจัยเรื่องความเหมาะสม ยังมีหลักฐานบ่งบอกไปอีกทางหนึ่งที่เจ้าฟ้ามงกุฎเองทรงโดน ‘ข่มขู่’ ซึ่งไม่ค่อยมีผู้กล่าวถึง
'ลิลิตมหามกุฎราชคุณานุสรณ์' พระนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระเจ้าลูกยาเธอของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเอง ระบุนิพนธ์เหตุการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ไว้ว่า
เขาเชิญไปวัดพระแก้ว.........มรกฎ อกอา
พัก ณ พระอุโบสถ...............ก่อนเฝ้า
หับทวารส่งทหารปด...........เป็นรัก ขานา
ฉุกละหุกกลับรุกเร้า.............รอบรั้งขังคุม พระเอย
กุมไว้ในโบสถ์สิ้น................สับดวาร พ่ออา
ไร้มิตรศิษย์บริพาร...............พี่น้อง
คึกคักแต่พนักงาน...............สนมนิเวสะรักษ์ฤา
คอยพิทักษ์หรือคอยจ้อง.......จับมล้างพรางไฉน ฯ
แปลความได้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งเป็น 'ตัวเต็ง' ที่จะได้ราชสมบัติทรงถูกคุมอยู่ในวัดพระแก้วถึง ๗ วัน โดยทรงถูกเฝ้าดูอย่างเข้มงวดเพียงพระองค์เดียว และทรงถูกจับตาอยู่ตลอดเวลา โดยโกหกว่าเป็นการอารักขา และมีการใช้กำลัง "ฉุกละหุกกลับรุกเร้า รอบรั้งขังคุม"
หากเนื้อหานี้เป็นจริงก็บ่งชี้ว่าการสืบราชสมบัติในครั้งนั้นคงไม่ได้เป็นไปอย่างเรียบร้อยราบรื่นอย่างที่กล่าวกันโดยทั่วไป แต่มีการคุมเจ้าฟ้ามงกุฎไว้ระยะหนึ่งเพื่ออาจเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายพระนั่งเกล้าฯ สามารถคุมสถานการณ์ได้แล้วก็คงจะทรงปล่อยออกมา
หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งคือบันทึกความทรงจำของพระยากสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ซึ่งบันทึกบอกเล่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ พระเชษฐาของรัชกาลที่ ๔ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ช่วงผลัดแผ่นดินเวลานั้น (เวลานั้นยังทรงเป็นเพียง พระองค์เจ้าโต) ระบุว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นตอนที่อัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎไปเฝ้าพระบรมศพ ซึ่งเข้าใจว่าเกิดภายหลังจากที่ทรงถูกกักพระองค์อยู่ในวัดพระแก้ว
“พระนั่งเกล้าฯ เสด็จเข้าไปให้ท่าน [กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ] เชิญพระแสงดาบตามเสด็จเข้าไปพร้อมกับวังหน้ากรมศักดิ์ ๑ กรมหลวงเทพ ๑ หม่อมไกรสร ๑ กรมขุนสุรินทรรักษ์ ๑ กรมพระพิพิธ ๑ กรมขุนราม ๑ แล้วจึงเชิญกรมขุนอิศรานุรักษ์กับพระจอมเกล้าฯ เข้าไป พระจอมเกล้าฯเสด็จเข้าไป พอเห็นสวรรคตแล้วก็ทรงพระกรรแสงโฮขึ้น หม่อมไกรสรก็เข้าไปกอดไว้แล้วคลำดู ดูที่จีวรกลัวจะซ่อนพระแสงเข้าไป พระจอมเกล้าฯ ก็ตกพระทัย รับสั่งว่าขอชีวิตไว้อย่าฆ่าเสียเลย พระนั่งเกล้าฯ รับสั่งว่าท่านอย่ากลัว ไม่มีใครทำอะไรหรอก อย่าตกพระทัย พี่น้องกันทั้งนั้น ทำอย่างไรได้ เวลานั้นท่านตกพระทัย พระบังคนไหลออกมาเปียกสบงครึ่งผืน”
หม่อมไกรสรคือกรมหมื่นรักษ์รณเรศที่ปรากฏว่าทรงราวีพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎมาตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓ ก่อนจะถูกสำเร็จโทษใน พ.ศ.๒๓๙๑ ในข้อหามักใหญ่ใฝ่สูง ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นที่ตามเสด็จกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์นั้น ส่วนใหญ่เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ ๑ บางพระองค์ปรากฏหลักฐานว่าเป็นเจ้านายที่ใกล้ชิดและสนับสนุนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์อย่างกรมหมื่นศักดิพลเสพย์ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ จนถึงรัชกาลที่ ๓ ก็ต่างได้ทรงดำรงตำแหน่งราชการสำคัญ จะมีก็แต่กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศที่ปรากฏหลักฐานว่าทรงสนับสนุนเจ้าฟ้ามงกุฎอยู่
กระทั่งในพระราชนิพนธ์ภาษาบาลี ว่าด้วยพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ก็ทรงกล่าวอย่างชัดเจนว่า พระองค์ทรงถูกฝ่ายของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์คุกคามมาจนต้องเสด็จออกผนวชตั้งแต่ก่อนพระราชบิดาสวรรคต และกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็มีพระทัยปรารถนาราชสมบัติอยู่เช่นกัน
“ในกาลก่อนแต่นี้ พระราชโอรสผู้ประเสริฐพระองค์ใหญ่ของพระราชเทวี เมื่อทรงพิจารณาถึงกาลอันหนึ่งเทียว ทรงเห็นซึ่งพระราชบุตรผู้พี่ชายพระองค์ใหญ่กว่าพระราชบุตรทั้งปวง อันชนหมู่ใหญ่นับถือ แล้วปรารถนาอยู่แม้ซึ่งราชสมบัติของพระราชบิดา ครอบงำเสียซึ่งพระราชบุตรต่างพระมารดากัน กระทำอยู่แม้โดยพระกำลัง
แล้วทรงกำหนดซึ่งกาลใช่โอกาสของพระองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่เทียว พระองค์มีพระชนม์พรรษาได้ยี่สิบปี แต่พระชาติทรงเห็นช่องทางซึ่งบรรพชาเป็นที่พ้นไปได้ จึงกราบทูลลาพระราชบิดา เข้าไปถึงแล้วซึ่งบรรพชา มีพระนามปรากฏโดยพระนามของพระภิกษุว่าพระผู้เป็นเจ้า วชิรญาณ ดังนี้”
เจ้าฟ้ามงกุฎคงจะทรงพิจารณาเห็นชัดแล้วว่า พระราชอำนาจของพระองค์ไม่สามารถทัดเทียมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และในเวลานั้นนอกจากกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็ไม่มีผู้ใดเหมาะสมเท่าจึงต้องยอมทรงหลีกทาง แล้วผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ตลอดรัชกาลที่ ๓
อีกตอนหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชนิพนธ์ไว้ว่าเนื่องจากคนส่วนใหญ่เห็นว่ากรมหมื่นเจษฎาบดินทร์มีความเหมาะสมกว่า ทำให้พระองค์ซึ่งมีพระชาติกำเนิดสูงส่งทั้งจากพระราชบิดาและพระราชบิดาซึ่งสมควรเป็นรัชทายาทมากที่สุดทรงถูก "ก้าวล่วง" สิทธิอันชอบธรรมของพระองค์
"ก็ในเวลานั้น แม้หมู่อำมาตย์ราชบริษัทและชาวพระนครชาวนิคมทั้งหลายเป็นอันมาก ที่ตั้งอยู่ในอำนาจแห่งอานุภาพของพระราชบุตรพระองค์ใหญ่ เมื่อพิจารณาดูซึ่งการรักษาพระราชอาณาเขตโดยความสุข ปราศจากข้าศึกมีพม่าเป็นต้น ก็พร้อมกันเห็นซึ่งพระราชบุตรพระองค์ใหญ่กว่าพระราชบุตรทั้งปวง ถึงพร้อมแล้วด้วยพระคุณทั้งหลายและมีพระปัญญาแลความรู้เป็นต้นหาผู้เสมอมิได้ แลมีพระกำลังใหญ่ด้วยดี สามารถเพื่อจะห้ามเสียซึ่งปฏิปักษ์ทั้งหลายในเวลานั้น ก็ก้าวล่วงเสียซึ่งพระราชบุตรผู้ประเสริฐหมดจด แม้เกิดดีแล้วแต่พระราชบิดาและพระราชมารดาทั้งสองฝ่าย ซึ่งตั้งอยู่แล้วในที่ควรแก่รัชทายาท มิได้ถือเอาแล้วแม้ทั้งสองพระองค์ จึงอภิเษกซึ่งพระราชบุตรพระองค์ใหญ่ ทรงพระนามเจษฎาธิบดินทร์ แม้เกิดดีแล้วแต่พระราชบิดาฝ่ายเดียว พระองค์นั้นในราชสมบัติเทียว"
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1055017517895051:0
แสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของ ร.3
อีกเรื่องนึงคือ ในช่วงสมัย ร.3 นั้น ร.4 มีบทบาทอะไรบ้าง ทั้งในด้านการปกครอง ด้านศาสนา และด้านต่างๆ