คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเราถึงไม่เคยเห็นฉลามขาวในตู้ปลาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสักที่ ไม่ว่าจะเป็นในเมืองไทยหรือในต่างประเทศที่ไหนๆ บนโลกก็ตาม ถึงแม้เราจะเห็นฉลามวาฬ ซึ่งเป็นฉลามที่ใหญ่ที่สุดในพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ทั้งในจอร์เจียและในโอซาก้า แต่ไม่มีใครเคยเห็นฉลามขาวแน่นอน
ย้อนกลับไปในทศวรรษที่ 70-90 ได้มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหลายแห่ง พยายามนำฉลามขาวมาใส่ในตู้หลายต่อหลายครั้ง แน่นอนว่ามันสามารถเรียกคนดูได้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่สุดท้ายก็จบลงด้วยการตายของฉลามขาว ที่อาศัยอยู่ในระบบปิดได้เพียงไม่กี่วัน โดยสถิติสูงสุดของการอยู่ในตู้ของฉลามขาวนานที่สุด ณ ตอนนั้นคือ 16 วันเท่านั้น และในปี 1984 ทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Steinhart ได้ระบุว่า ฉลามขาวทั้งหมดที่ถูกจับมาอยู่ในตู้จะค่อยๆ ตายอย่างช้าๆ
จนกระทั่งในปี 2004 ทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Monterey Bay ในรัฐแคลิฟอร์เนีย พยายามพิสูจน์ว่า พวกเขาสามารถจับฉลามขาวมาเลี้ยงไว้ในตู้ได้ และพวกเขาก็ทำได้สำเร็จจากการที่เลี้ยงมันอยู่ในตู้ได้นานถึง 6 เดือน ก่อนที่จะปล่อยมันกลับสู่ทะเลไปในที่สุด
แล้วทำไมตู้ปลาของ Monterey Bay ถึงจับฉลามขาวมาอยู่ได้ล่ะ? ต้องขออธิบายก่อนว่าตู้ปลาของที่นี่เป็นรูปทรงไข่ ที่บรรจุน้ำได้มากถึง 1 ล้านแกลลอน โดยมีความลึก 35 ฟุต ถูกออกแบบมาเพื่อปลาทูน่าและฉลามโดยเฉพาะ ซึ่งฉลามขาวที่โตเต็มที่จะมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 15 ฟุต แต่ฉลามที่ถูกจับมาเป็นลูกฉลามขาวที่มีอายุไม่ถึง 1 ปี และมีความยาวเพียง 4 ฟุต 4 นิ้วเท่านั้น ทำให้การขนส่งและดูแลเป็นไปได้ง่ายขึ้น
และหลังจากที่มีฉลามขาวเป็นดาราหน้าใหม่นั้นเอง ทางพิพิธภัณฑ์ก็มียอดผู้ชมเพิ่มขึ้นถึง 30% แต่หลังจากผ่านไปประมาณ 6 เดือนกว่าๆ ทางพิพิธภัณฑ์ก็ตัดสินใจที่จะปล่อยมันกลับลงทะเล เนื่องจากมันฆ่าฉลามตัวอื่นไปถึง 2 ตัว
ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งปี 2011 ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงลูกฉลามขาวอีก 5 ตัว บางตัวก็ติดอวนของชาวประมงขึ้นมา ส่วนบางตัวพวกเขาก็จับขึ้นมาเอง ซึ่งแต่ละตัวก็สามารถอยู่ได้นานแตกต่างกันตามภาพ
ฉลามตัวสุดท้ายของ Monterey Bay ถูกได้นานเพียง 55 วันก่อนที่จะถูกปล่อยกลับลงทะเลไป และมันก็เสียชีวิตในอีก 9 วันต่อมาโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากนั้นพวกเขาก็ไม่จับฉลามขาวมาใส่ในตู้อีกเลย
มีหลายทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์และนักชีววิทยาเชื่อว่าทำไมฉลามขาวถึงไม่สามารถเลี้ยงด้วยระบบปิดได้ ปัญหาแรกก็คือการว่ายน้ำของฉลามขาวที่เป็นเส้นตรงในระยะทางไกล และเปลี่ยนทิศทางไปทางไหนก็ได้ตามที่พวกมันต้องการ ซึ่งฉลามที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วอย่างฉลามขาว หรือฉลามมาโค และฉลามสีฟ้า จะมีปัญหาทันทีเวลาที่อยู่ในตู้ที่มีกระจก สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือพวกมันจะว่ายชนกระจกตลอดเวลา จนทำให้จมูกได้รับบาดเจ็บจนไม่มีความอยากอาหาร และส่งผลให้พวกมันก้าวร้าวมากขึ้น
นอกจากนั้นฉลามขาวที่เป็นนักล่าตามธรรมชาติมักจะปฏิเสธอาหารที่ตายแล้วที่มนุษย์ป้อนให้ อีกทั้งพวกมันยังอาจโจมตีสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวไปมาในตู้เดียวกัน ดังนั้น จึงแทบไม่มีพิพิธภัณฑ์ไหนที่กล้าลงทุนสร้างตู้ปลาที่มีความยาวเป็นกิโลให้ฉลามขาวตัวเดียวอาศัยอยู่ โดยไม่ต้องมีสัตว์น้ำอื่นๆ ไปกวนใจพวกมัน ต่างจากฉลามวาฬที่ถึงแม้ตัวจะใหญ่กว่าฉลามขาว แต่แค่มีตู้ที่ใหญ่พอก็สามารถเลี้ยงดูพวกมันได้แล้ว
นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์บางคนยังเชื่อในเรื่องของการรักษาระดับความเค็มของเกลือในน้ำที่ต้องมีสมดุลอย่างถูกต้อง ส่วนบางคนก็เชื่อในเรื่องของการตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีปัญหากับตู้กระจกที่ล้อมรอบมันอยู่ ทำให้ฉลามขาวสับสนกับสิ่งกระตุ้นใหม่ๆ รอบตัวมัน จนทำให้มันอารมณ์แปรปรวนจนไม่อยากกินอะไรแม้แต่เหยื่อเป็นๆ
ส่วนทาง Monterey Bay ถึงแม้จะเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเพียงแห่งเดียวที่จับฉลามขาวมาอยู่ในตู้ได้นานที่สุด และทำได้สำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน แต่จุดประสงค์ของพวกเขาคือการแนะนำฉลามพันธุ์นี้ให้ผู้คนได้รู้จักมันมากขึ้น ซึ่งพวกเขาต้องประสบปัญหาการดูแลที่ยากลำบาก ระบบในตู้ปลาที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับฉลามขาวโดยเฉพาะเพื่อทำให้มันมีชีวิตอยู่ได้ และนั่นทำให้ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูฉลามขาวเพียง 1 ตัว จึงเป็นมูลค่าที่สูงมากๆ
หลังจากนั้นในช่วงต้นปี 2016 ทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในโอกินาว่า ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้พยายามนำฉลามขาวขนาด 11.5 ฟุต มาใส่ในตู้บ้าง ซึ่งมันเป็นฉลามขาวโตเต็มวัยเพียงตัวเดียวที่เคยถูกเลี้ยงด้วยระบบปิด มาลองทายกันเล่นๆ ว่าพวกเขาจะเลี้ยงฉลามขาวโตเต็มวัยได้กี่วัน?
ผลที่ตามมาคือฉลามขาวตัวนี้เสียชีวิตภายใน 3 วันเท่านั้น และเรื่องราวทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงไม่เคยเห็นฉลามขาวในตู้ปลาตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เลย ส่วนตัวผมเองเป็นคนที่ชอบไปพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมากๆ ก็สงสัยในข้อนี้เหมือนกัน และตอนที่มีโอกาสได้ไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในโอซาก้าที่ญี่ปุ่น ก็มีโอกาสได้เห็นแค่เพียงฉลามวาฬเท่านั้น แต่ก็หวังไว้สักวันจะมีโอกาสเดินทางนั่งเรือไปอยู่ในกรงหย่อนลงไปในน้ำ เพื่อชมฉลามขาวตัวเป็นๆ แบบใกล้ชิดสักครั้งในชีวิต แค่คิดก็เสียวไข่สั่นแล้ว
ที่มา : Vox | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
มาดูเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่เคยเห็นฉลามขาว ในตู้ปลาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบนโลกนี้
ย้อนกลับไปในทศวรรษที่ 70-90 ได้มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหลายแห่ง พยายามนำฉลามขาวมาใส่ในตู้หลายต่อหลายครั้ง แน่นอนว่ามันสามารถเรียกคนดูได้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่สุดท้ายก็จบลงด้วยการตายของฉลามขาว ที่อาศัยอยู่ในระบบปิดได้เพียงไม่กี่วัน โดยสถิติสูงสุดของการอยู่ในตู้ของฉลามขาวนานที่สุด ณ ตอนนั้นคือ 16 วันเท่านั้น และในปี 1984 ทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Steinhart ได้ระบุว่า ฉลามขาวทั้งหมดที่ถูกจับมาอยู่ในตู้จะค่อยๆ ตายอย่างช้าๆ
จนกระทั่งในปี 2004 ทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Monterey Bay ในรัฐแคลิฟอร์เนีย พยายามพิสูจน์ว่า พวกเขาสามารถจับฉลามขาวมาเลี้ยงไว้ในตู้ได้ และพวกเขาก็ทำได้สำเร็จจากการที่เลี้ยงมันอยู่ในตู้ได้นานถึง 6 เดือน ก่อนที่จะปล่อยมันกลับสู่ทะเลไปในที่สุด
แล้วทำไมตู้ปลาของ Monterey Bay ถึงจับฉลามขาวมาอยู่ได้ล่ะ? ต้องขออธิบายก่อนว่าตู้ปลาของที่นี่เป็นรูปทรงไข่ ที่บรรจุน้ำได้มากถึง 1 ล้านแกลลอน โดยมีความลึก 35 ฟุต ถูกออกแบบมาเพื่อปลาทูน่าและฉลามโดยเฉพาะ ซึ่งฉลามขาวที่โตเต็มที่จะมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 15 ฟุต แต่ฉลามที่ถูกจับมาเป็นลูกฉลามขาวที่มีอายุไม่ถึง 1 ปี และมีความยาวเพียง 4 ฟุต 4 นิ้วเท่านั้น ทำให้การขนส่งและดูแลเป็นไปได้ง่ายขึ้น
และหลังจากที่มีฉลามขาวเป็นดาราหน้าใหม่นั้นเอง ทางพิพิธภัณฑ์ก็มียอดผู้ชมเพิ่มขึ้นถึง 30% แต่หลังจากผ่านไปประมาณ 6 เดือนกว่าๆ ทางพิพิธภัณฑ์ก็ตัดสินใจที่จะปล่อยมันกลับลงทะเล เนื่องจากมันฆ่าฉลามตัวอื่นไปถึง 2 ตัว
ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งปี 2011 ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงลูกฉลามขาวอีก 5 ตัว บางตัวก็ติดอวนของชาวประมงขึ้นมา ส่วนบางตัวพวกเขาก็จับขึ้นมาเอง ซึ่งแต่ละตัวก็สามารถอยู่ได้นานแตกต่างกันตามภาพ
ฉลามตัวสุดท้ายของ Monterey Bay ถูกได้นานเพียง 55 วันก่อนที่จะถูกปล่อยกลับลงทะเลไป และมันก็เสียชีวิตในอีก 9 วันต่อมาโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากนั้นพวกเขาก็ไม่จับฉลามขาวมาใส่ในตู้อีกเลย
มีหลายทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์และนักชีววิทยาเชื่อว่าทำไมฉลามขาวถึงไม่สามารถเลี้ยงด้วยระบบปิดได้ ปัญหาแรกก็คือการว่ายน้ำของฉลามขาวที่เป็นเส้นตรงในระยะทางไกล และเปลี่ยนทิศทางไปทางไหนก็ได้ตามที่พวกมันต้องการ ซึ่งฉลามที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วอย่างฉลามขาว หรือฉลามมาโค และฉลามสีฟ้า จะมีปัญหาทันทีเวลาที่อยู่ในตู้ที่มีกระจก สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือพวกมันจะว่ายชนกระจกตลอดเวลา จนทำให้จมูกได้รับบาดเจ็บจนไม่มีความอยากอาหาร และส่งผลให้พวกมันก้าวร้าวมากขึ้น
นอกจากนั้นฉลามขาวที่เป็นนักล่าตามธรรมชาติมักจะปฏิเสธอาหารที่ตายแล้วที่มนุษย์ป้อนให้ อีกทั้งพวกมันยังอาจโจมตีสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวไปมาในตู้เดียวกัน ดังนั้น จึงแทบไม่มีพิพิธภัณฑ์ไหนที่กล้าลงทุนสร้างตู้ปลาที่มีความยาวเป็นกิโลให้ฉลามขาวตัวเดียวอาศัยอยู่ โดยไม่ต้องมีสัตว์น้ำอื่นๆ ไปกวนใจพวกมัน ต่างจากฉลามวาฬที่ถึงแม้ตัวจะใหญ่กว่าฉลามขาว แต่แค่มีตู้ที่ใหญ่พอก็สามารถเลี้ยงดูพวกมันได้แล้ว
นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์บางคนยังเชื่อในเรื่องของการรักษาระดับความเค็มของเกลือในน้ำที่ต้องมีสมดุลอย่างถูกต้อง ส่วนบางคนก็เชื่อในเรื่องของการตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีปัญหากับตู้กระจกที่ล้อมรอบมันอยู่ ทำให้ฉลามขาวสับสนกับสิ่งกระตุ้นใหม่ๆ รอบตัวมัน จนทำให้มันอารมณ์แปรปรวนจนไม่อยากกินอะไรแม้แต่เหยื่อเป็นๆ
ส่วนทาง Monterey Bay ถึงแม้จะเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเพียงแห่งเดียวที่จับฉลามขาวมาอยู่ในตู้ได้นานที่สุด และทำได้สำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน แต่จุดประสงค์ของพวกเขาคือการแนะนำฉลามพันธุ์นี้ให้ผู้คนได้รู้จักมันมากขึ้น ซึ่งพวกเขาต้องประสบปัญหาการดูแลที่ยากลำบาก ระบบในตู้ปลาที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับฉลามขาวโดยเฉพาะเพื่อทำให้มันมีชีวิตอยู่ได้ และนั่นทำให้ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูฉลามขาวเพียง 1 ตัว จึงเป็นมูลค่าที่สูงมากๆ
หลังจากนั้นในช่วงต้นปี 2016 ทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในโอกินาว่า ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้พยายามนำฉลามขาวขนาด 11.5 ฟุต มาใส่ในตู้บ้าง ซึ่งมันเป็นฉลามขาวโตเต็มวัยเพียงตัวเดียวที่เคยถูกเลี้ยงด้วยระบบปิด มาลองทายกันเล่นๆ ว่าพวกเขาจะเลี้ยงฉลามขาวโตเต็มวัยได้กี่วัน?
ผลที่ตามมาคือฉลามขาวตัวนี้เสียชีวิตภายใน 3 วันเท่านั้น และเรื่องราวทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงไม่เคยเห็นฉลามขาวในตู้ปลาตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เลย ส่วนตัวผมเองเป็นคนที่ชอบไปพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมากๆ ก็สงสัยในข้อนี้เหมือนกัน และตอนที่มีโอกาสได้ไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในโอซาก้าที่ญี่ปุ่น ก็มีโอกาสได้เห็นแค่เพียงฉลามวาฬเท่านั้น แต่ก็หวังไว้สักวันจะมีโอกาสเดินทางนั่งเรือไปอยู่ในกรงหย่อนลงไปในน้ำ เพื่อชมฉลามขาวตัวเป็นๆ แบบใกล้ชิดสักครั้งในชีวิต แค่คิดก็เสียวไข่สั่นแล้ว
ที่มา : Vox | เรียบเรียงโดย เพชรมายา