ประเพณีการรดน้ำศพนั้นเป็นเรื่องเก่าแก่ มีมาแต่โบราณแต่จะโบราณขนาดไหนยังสาวไปไม่ถึง ลงเป็นเรื่องโบราณแล้วเป็นอันว่าต้องมีอะไรๆ แฝงอยู่เสมอ จึงควรจะได้ศึกษาเพื่อทราบความมุ่งหมายกันไว้บ้างก็ดีเหมือนกัน เผื่อจะได้นำไปใช้เมื่อมีความจำเป็นและทำได้อย่างถูกต้องดี
การรดน้ำศพ มีจุดหมาย
โดยตรง คือเพื่อขอขมาลาโทษต่อผู้ตาย หรือไปอโหสิกรรมให้แก่กัน อย่ามีเวรมีกรรม หรือจองเวรจองกรรมกันต่อไปอีก ขอให้สิ้นสุดกันแค่นี้ แต่ถ้าผู้ตายมีอาวุโสน้อยกว่า ไม่นิยมรดน้ำศพเพื่อขอขมาแต่ไปในงานเพื่อให้เกียรติและไว้อาลัยแก่ผู้ตาย
ส่วนจุดมุ่งหมาย
โดยอ้อมก็เพื่อเป็นคติสอนใจคนเป็นนั่นเอง
ขอขมาและสอนใจอย่างไร
ความจริงของเดิมแท้ๆ คงไม่มีการรดน้ำศพเป็นพิธีการอย่างเดี๋ยวนี้ คงมีอาบน้ำศพกันเท่านั้นพอ แม้บัดนี้ตามชนบทก็มีแค่อาบน้ำศพกันโดยอาบเป็นพิธีการทีเดียว เรียกลูกๆ หลานๆ ญาติพี่น้องมาอาบน้ำกันเป็นการใหญ่ ไม่มีการรดน้ำศพอย่างที่ทำกันในบัดนี้ แต่เฉพาะในที่ที่เจริญแล้วเช่นในเมือง นิยมมีการอาบน้ำศพด้วย รดน้ำศพด้วย การอาบน้ำศพเป็นเรื่องภายในครอบครัวและญาติสนิททำกันก่อน เมื่ออาบน้ำศพแล้วก็แต่งตัวศพเสียใหม่ ผัดหน้าทาขมิ้นอย่างดีทีเดียว แล้วนำศพนั้นออกมาให้แขกเหรื่อรดน้ำศพภายหลัง
วิธีรดน้ำศพนั้นเท่าที่ทราบ ถ้าเป็นศพคฤหัสถ์ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่าตัว หากศพวางไว้กับพื้นผู้รดน้ำก็นั่งคุกเข่า หากศพวางไว้บนเตียงก็ยืนน้อมไหว้ศพก่อนพร้อมกับนึกในใจว่า
“กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มโนกัมมัง อโหสิกัมมัง โหตุ”
(ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่านทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
เมื่อยกมือไหว้ขอขมาศพแล้วก็รับภาชนะน้ำสำหรับรด ประคองเทน้ำด้วยมือทั้งสองรดลงบนฝ่ามือขวาของศพ พร้อมนำในใจว่า
“อิทัง มะตะกะสะรีรัง อาสิญจิโตทะกัง วิยะ อะโหสิกัมมัง”
(ร่างกายที่ตายแล้วนี้ย่อมเป็นอโหสิกรรม ไม่มีโทษ เหมือนน้ำที่รดแล้ว)
จะว่าเป็นภาษาบาลีหรือเฉพาะภาษาไทยอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างเป็นอันใช้ได้ทั้งนั้น
เมื่อรดเสร็จแล้วน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับนึกอธิษฐานในใจว่า
“ขอจงไปสู่สุคติๆ เถิด”
นี่เป็นระเบียบปฏิบัติเวลารดน้ำศพคฤหัสถ์ ถ้าเป็นศพพระสงฆ์ให้เปลี่ยนจากน้อมไหว้มาเป็นกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ส่วนการนึกในใจคงใช้เช่นเดียวกัน
การรดน้ำศพนี้มีข้อคิดเป็นคติสอนใจอยู่ ๒ ประการ คือ
ประการแรก เวลาเขาวางศพให้รดน้ำนิยมให้ศพนอนเหยียดยาว จัดมือขวาให้วางหงายเหยียดออกคอยรับการรดน้ำ เหมือนจะให้ศพประกาศความหมายออกมาว่า
“นี่แน่ะท่านทั้งหลาย ดูมือฉันซิ ฉันไปมือเปล่านะ ฉันไม่ได้นำเอาอะไรในโลกนี้ไปเลยแม้แต่น้อยหนึ่ง แม้ท่านก็จักเป็นเช่นฉันเหมือนกัน” พูดกันให้ชัดก็คือเพื่อให้เราเกิดสติเกิดจิตสำนึกว่าแม้ผู้ตายจะร่ำรวยสักปานไหน มีทรัพย์สมบัติมีบริวารมากสักเพียงใด ตายแล้วก็นำอะไรไปไม่ได้เลยสักอย่าง ทำนองว่า “เขามามือเปล่าก็ไปมือเปล่าเหมือนเขา” นั่นเอง จะมามัวโลภโมห์โทสันกันไปถึงไหน ทำสิ่งที่จะติดตามตนไปได้มิดีกว่าหรือ จะได้ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์
ประการที่สอง เป็นการเตือนสติว่า อยู่เป็นมนุษย์อย่าได้มีเวรมีภัยอย่าได้เบียดเบียนกันและกันเลย มีข้อบาดหมางอะไรก็ควรอโหสิกรรมกันให้อภัยกันเสีย ตายไปแล้วร่างกายจะได้อโหสิกรรมหมดมลทิน ไม่นำเวรนำภัยไปด้วยเหมือนน้ำที่รดศพฉะนั้น คืออย่างไร
ธรรมดาน้ำเป็นสิ่งที่ไม่ถือโทษโกรธใครเป็น ใครจะทิ้งของเน่าของเหม็นลงไปในน้ำหรือใครจะนำน้ำไปราดไปรดอาบล้างของเหม็นเน่าของหอมหรือของสูงต่ำอย่างไร
น้ำนั้นก็ไม่ยินดียินร้าย วางเฉยเสมอ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อใครทั้งนั้น พร้อมทั้งไม่เลือกที่รักผลักที่ชังด้วย วางตัวสม่ำเสมอทุกเวลา มีความยุติธรรมตลอดกาล มนุษย์เราจึงน่าจะทำตัวให้เหมือนกับน้ำที่รดศพกันบ้างโลกคงสงบกว่านี้
เมื่อก่อนที่ญาติผู้ใหญ่เราเสีย เราก็เห็นผู้ใหญ่รดน้ำศพ เราก็แค่ทำตามๆเขา
ไม่เคยจะอยากรู้หรือถามอะไร ว่าที่ทำกันมามีจุดประสงค์อะไร
จนได้มาทราบความหมายและวิธีปฏิบัติก็ตอนนี้แหละคะ
ขอบคุณข้อมูล
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒,จากวารสารมงคลสาร:สิงหาคม,๒๕๑๙).พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๖๗-๗๐
- ภาพ
https://goo.gl/pQF94f,https://goo.gl/aup3wg
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่า แบกหาม รดน้ำศพมีความมุ่งหมายและเป็นคติสอนใจอย่างไร?
การรดน้ำศพ มีจุดหมายโดยตรง คือเพื่อขอขมาลาโทษต่อผู้ตาย หรือไปอโหสิกรรมให้แก่กัน อย่ามีเวรมีกรรม หรือจองเวรจองกรรมกันต่อไปอีก ขอให้สิ้นสุดกันแค่นี้ แต่ถ้าผู้ตายมีอาวุโสน้อยกว่า ไม่นิยมรดน้ำศพเพื่อขอขมาแต่ไปในงานเพื่อให้เกียรติและไว้อาลัยแก่ผู้ตาย
ส่วนจุดมุ่งหมายโดยอ้อมก็เพื่อเป็นคติสอนใจคนเป็นนั่นเอง
ขอขมาและสอนใจอย่างไร
ความจริงของเดิมแท้ๆ คงไม่มีการรดน้ำศพเป็นพิธีการอย่างเดี๋ยวนี้ คงมีอาบน้ำศพกันเท่านั้นพอ แม้บัดนี้ตามชนบทก็มีแค่อาบน้ำศพกันโดยอาบเป็นพิธีการทีเดียว เรียกลูกๆ หลานๆ ญาติพี่น้องมาอาบน้ำกันเป็นการใหญ่ ไม่มีการรดน้ำศพอย่างที่ทำกันในบัดนี้ แต่เฉพาะในที่ที่เจริญแล้วเช่นในเมือง นิยมมีการอาบน้ำศพด้วย รดน้ำศพด้วย การอาบน้ำศพเป็นเรื่องภายในครอบครัวและญาติสนิททำกันก่อน เมื่ออาบน้ำศพแล้วก็แต่งตัวศพเสียใหม่ ผัดหน้าทาขมิ้นอย่างดีทีเดียว แล้วนำศพนั้นออกมาให้แขกเหรื่อรดน้ำศพภายหลัง
วิธีรดน้ำศพนั้นเท่าที่ทราบ ถ้าเป็นศพคฤหัสถ์ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่าตัว หากศพวางไว้กับพื้นผู้รดน้ำก็นั่งคุกเข่า หากศพวางไว้บนเตียงก็ยืนน้อมไหว้ศพก่อนพร้อมกับนึกในใจว่า
“กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มโนกัมมัง อโหสิกัมมัง โหตุ”
(ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่านทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
เมื่อยกมือไหว้ขอขมาศพแล้วก็รับภาชนะน้ำสำหรับรด ประคองเทน้ำด้วยมือทั้งสองรดลงบนฝ่ามือขวาของศพ พร้อมนำในใจว่า
“อิทัง มะตะกะสะรีรัง อาสิญจิโตทะกัง วิยะ อะโหสิกัมมัง”
(ร่างกายที่ตายแล้วนี้ย่อมเป็นอโหสิกรรม ไม่มีโทษ เหมือนน้ำที่รดแล้ว)
จะว่าเป็นภาษาบาลีหรือเฉพาะภาษาไทยอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างเป็นอันใช้ได้ทั้งนั้น
เมื่อรดเสร็จแล้วน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับนึกอธิษฐานในใจว่า
“ขอจงไปสู่สุคติๆ เถิด”
นี่เป็นระเบียบปฏิบัติเวลารดน้ำศพคฤหัสถ์ ถ้าเป็นศพพระสงฆ์ให้เปลี่ยนจากน้อมไหว้มาเป็นกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ส่วนการนึกในใจคงใช้เช่นเดียวกัน
การรดน้ำศพนี้มีข้อคิดเป็นคติสอนใจอยู่ ๒ ประการ คือ
ประการแรก เวลาเขาวางศพให้รดน้ำนิยมให้ศพนอนเหยียดยาว จัดมือขวาให้วางหงายเหยียดออกคอยรับการรดน้ำ เหมือนจะให้ศพประกาศความหมายออกมาว่า “นี่แน่ะท่านทั้งหลาย ดูมือฉันซิ ฉันไปมือเปล่านะ ฉันไม่ได้นำเอาอะไรในโลกนี้ไปเลยแม้แต่น้อยหนึ่ง แม้ท่านก็จักเป็นเช่นฉันเหมือนกัน” พูดกันให้ชัดก็คือเพื่อให้เราเกิดสติเกิดจิตสำนึกว่าแม้ผู้ตายจะร่ำรวยสักปานไหน มีทรัพย์สมบัติมีบริวารมากสักเพียงใด ตายแล้วก็นำอะไรไปไม่ได้เลยสักอย่าง ทำนองว่า “เขามามือเปล่าก็ไปมือเปล่าเหมือนเขา” นั่นเอง จะมามัวโลภโมห์โทสันกันไปถึงไหน ทำสิ่งที่จะติดตามตนไปได้มิดีกว่าหรือ จะได้ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์
ประการที่สอง เป็นการเตือนสติว่า อยู่เป็นมนุษย์อย่าได้มีเวรมีภัยอย่าได้เบียดเบียนกันและกันเลย มีข้อบาดหมางอะไรก็ควรอโหสิกรรมกันให้อภัยกันเสีย ตายไปแล้วร่างกายจะได้อโหสิกรรมหมดมลทิน ไม่นำเวรนำภัยไปด้วยเหมือนน้ำที่รดศพฉะนั้น คืออย่างไร
ธรรมดาน้ำเป็นสิ่งที่ไม่ถือโทษโกรธใครเป็น ใครจะทิ้งของเน่าของเหม็นลงไปในน้ำหรือใครจะนำน้ำไปราดไปรดอาบล้างของเหม็นเน่าของหอมหรือของสูงต่ำอย่างไร น้ำนั้นก็ไม่ยินดียินร้าย วางเฉยเสมอ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อใครทั้งนั้น พร้อมทั้งไม่เลือกที่รักผลักที่ชังด้วย วางตัวสม่ำเสมอทุกเวลา มีความยุติธรรมตลอดกาล มนุษย์เราจึงน่าจะทำตัวให้เหมือนกับน้ำที่รดศพกันบ้างโลกคงสงบกว่านี้
ไม่เคยจะอยากรู้หรือถามอะไร ว่าที่ทำกันมามีจุดประสงค์อะไร
จนได้มาทราบความหมายและวิธีปฏิบัติก็ตอนนี้แหละคะ
ขอบคุณข้อมูล
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒,จากวารสารมงคลสาร:สิงหาคม,๒๕๑๙).พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๖๗-๗๐
- ภาพ https://goo.gl/pQF94f,https://goo.gl/aup3wg