มาดูเทคนิคการสมัครโครงการต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนให้ปัง พร้อมเทคนิคการสัมภาษณ์

สวัสดีค่ะเนื่องจากช่วงนี้ได้มีโอกาสสมัคร,สัมภาษณ์โครงการต่างๆมากมายจนประสบความสำเร็จแทบทุกโครงการไม่ว่าจะเป็น

1 Asia Pacific Region Internet Governance Forum. อันนี้ติดสำรองและเขามาเรียกเป็นตัวจริงทีหลัง


2 EXP Program #1 จัดโดย : Sharing Citizen x Growth Cafe & Co.เป็นหนึ่งใน40คนจาก300กว่าคนที่ได้รับคัดเลือก


3 The XIXth World youth and Students Festival ณ ณ เมืองโซชิ สหพันธรัฐรัสเซียโครงการเยาวชนโลกที่รัสเซีย เป็น1ใน28คนจากผู้สมัครทั่วประเทศ
4 JENESYS 2017 หัวข้อ Composite 1st (Cuture) Japan ASEAN Student Councilอันนี้ผ่านรอบessayแต่ไม่ได้ไปสัมภาษณ์เพราะติดงาน

เรียกได้ว่าแต่ละโครงการรับน้อยถึงน้อยมากคัดแต่หัวกะทิจริงๆ ไม่ก็เป็นโครงการ
ระดับประเทศไปเป็นตัวแทนประเทศไทยในเวทีโลก(โครงการลำดับที่3–4โดยกรมกิจการเด็กและเยาชน)

Process…
แต่ละโครงการนั้นมีขั้นตอนการสมัครต่างกันตัวอย่างที่1–2นั้นเป็นโครงการที่ต้องกรอกGoogle form เพื่อเป็นการpre-screen ในขั้นแรกก่อน แหม ก็ในยุคของDigital eraอะเนอะ การใช้ITนั้นเข้ามามีบทบาทสุดๆแถมยังสะดวกสะบายกว่าการเก็บpaperเป็นหลายเท่า

มาว่ากันต่อในGoogle formที่เรากรอกนั้นก็คงคุ้นหูคุ้นตากันดีในเรื่องของข้อมูลส่วนตัว ช่องทางการติดต่อ คำถามคำตอบวัดทัศนะคติ เป็นต้น

Tips for online application
1 ตอบไม่ยาวไม่สั้นไปกระชับได้ใจความ
อย่าลืมว่าการเขียนเยอะเกินไปคนอ่านก็คงไม่อยากจะอ่านเท่าไหร่เพราะเขายังมีเอกสารของผู้สมัครคนอื่นๆ อีกหลายร้อยคนรออยู่ อีกทั้งการเขียนมากจนเกินไปอาจจะทำให้เราเขียนออกทะเลไปเลยก็ได้

2 ตอบให้ตรงจุด
คำถามเขาถามเราในเรื่องไหนถึงแม้เป็นเรื่องที่เราไม่มีความรู้เราก็สามารถค้นหาข้อมูลมาได้ไม่ตอบนอกเรื่องนอกคำถาม

3 ตอบด้วยความเป็นกลาง
ไม่ครวตัดสินหรือวิจารณ์รวมทั้งใส่ความคิดเห็นที่เป็นnegativeลงไปเพราะสิ่งเหล่านี้แสดงถึงทัศนคติของผู้สมัครเอง

4 ใช้ภาษาให้ถูกต้อง
หากมีเวลาตรวจทานก็อย่าลืมแวะอ่านผ่านๆอีกรอบเผื่อบางคำที่พิมพ์ผิด หรืออ่านแล้วไม่clearเรายังมีโอกาสแก้ไขก่อนจะกดsubmit

5 หาข้อมูลสักนิดก่อนคลิกหน้าต่อไป
บางงานที่เป็นงานค่อนข้างวิชาการ เราสามารถค้นหาreseachแล้วสรุปหรือนำข้อมูลบางส่วนมาตอบได้ จะยิ่งแสดงถึงศักยภาพและความน่าเชื่อถือของผู้เขียนได้ ตัวอย่างเช่น ในงานที่1ที่ได้รับคัดเลือกนั้น เราเองได้ใส่จำนวนผู้ใช้social mediaในปี2016ไปเพื่อsupportเนื้อหาที่ว่า คนไทยใช้สื่อออนไลน์เป็นอันดับต้นๆของประเทศ รับรองว่าผู้คัดเลือกต้องเห็นความแตกต่างจากผู้สมัครอื่นๆเป็นแน่

6 ขายตัวเองให้เป็น
เราเชื่อว่าคำถามส่วนมากเราสามารถจะขายตัวเองลงไปด้วยได้ ด้วยการกล่าวถึงความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ของผู้สมัคร รวมทั้งทัศนคติ แต่ต้องไม่มากจนเกินไปจนดูว่าเป็นคนโอ้อวด

ในภาคของเอกชนก็จบลงไปแล้วต่อมาเรามาดูในส่วนของภาครัฐบาลกันบ้าง
ในส่วนนี้ก็จะตรงกับโครงการที่3–4ที่เราได้รับคัดเลือกมา

ส่วนมากจะเป็นการเขียนเรียงความ essay การตอบคำถาม ก่อนจะนำไปสู่การสัมภาษณ์การเขียนนั้นยังคงต้องใช้หลักการเดียวกันแต่หากเป็นการเขียนessayการแสดงความคิดเห็นนั้นเมื่อร่างเสร็จแล้วให้ลองอ่านแล้วตอบตัวเองดังนี้นะคะ

1 ตอบตรงประเด็นไหม
2 ความยาวพอดีไหม
3 คำเชื่อมที่ใช้ทำให้เนื้อหาอ่านแล้วไหลรื่นไหม
4 ใช้ภาษาได้ถูกต้องไหม

ตัวอย่างโครงการที่ไปญี่ปุ่นนั้นเราได้คำถามประมาณว่า
คุณคิดว่าเยาวชนอาเซียนกับญี่ปุ่นสามารถทำอะไรเพื่อให้เกิดความสันติ สงบสุขและ….. จะใช้วิธีการใด(แหะๆ จำคำถามไม่ค่อยได้และมาเป็นภาษาอังกฤษ)

วิธีที่เราตอบคือ
ย่อหน้า1 กล่าวถึงปัญหาโลกในปัจจุบัน
ย่อหน้า2 กล่าวถึงความสามารถของเยาวชนอาเซียน และจุดเด่นของญี่ปุ่น
ในที่นี่ยกเรื่องเทคโนโลยีไป
ย่อหน้า3 แล้วจะนำจุดเด่นของทั้งสองมารวมกันยังไง
ย่อหน้าที่4 วิธีการแก้ปัญหา อันนี้กล่าวไปประมาณว่าเราสามารถนำความรู้และศักยภาพของเยาวชนอาเซียนมาผนวกกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ญี่ปุ่นมีโดยการส่งต่อ
การรณรงค์การใช้สื่อ Social mediaต่างๆเพื่อทำให้ผู้คนเกินความตระหนักพร้อมทั้ง
เรายังสามารถสร้างMobile Applicationที่จะส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่นั้นมีภูมิคุ้มกันที่ดีจากการสร้างจิตสำนึกแต่ถึงอย่างไรก็ตามจะต้องทำทั้งในรูปแบบoffline และonline
ย่อหน้าที่5 สรุปและบอกถึงผลดีที่จะตามมาอาจจะกำหนดช่วงเวลาที่คาดการณ์ถึงความสำเร็จไปด้วยก็ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่