ทฤษฎีทางการเมืองสมัยกลาง แบ่งสังคมตามการถือครองที่ดิน ออกเป็นสาม กลุ่ม ประกอบด้วย
ชนชั้นสูง
สามัญชน และ
เคลอ-จี
เคลอจี ไม่เหมือนชนชั้นอื่น ไม่สืบทอดชนชั้นทางมรดก แต่เข้าสู่ชนชั้นโดยสัมมาอาชีพ, ไม่ว่าจะจากการเลือกเองหรือถูกบังคับสังคมถือว่า เคลอ-จีส่วนใหญ่ มาจากชนชั้นสูง,โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในระดับบนของผู้บริหารศาสนจักร
อาชีพในศาสนจักร เป็นหนทางไปสู่ความเป็นชนชั้นสูงในจำนวนไม่กี่ทาง ที่เปิดให้คนระดับล่างของสังคม. เช่นเดียวกับชนชั้นสูง สถาบันนักบวช เป็นประชากรที่มีจำนวนน้อยมาก อาจประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น.
ยุคกลาง จะแบ่งเคลอจี ออกเป็นสองประเภท ได้แก่ พระที่สังกัดสังฆมณฑล (secular clerics) และพระที่สังกัดคณะสงฆ์ (regular clerics)
พระที่สังกัดสังฆมลฑล(secular clergy) รับใช้สาธารณะชนส่วนใหญ่โดยตรง (ในภาษาลาตินเรียกว่า seculum แปลว่าโลกชั่วคราว)พระที่สังกัดสังฆมณฑลส่วนใหญ่ เป็นพระในเขตศาสนา(parish priest) เป็นผู้ที่กระทำพิธีการทางศาสนาที่โบสถ์ท้องถิ่น (local church) ให้ผู้ที่อาศัยในพื้นที่, ในบางกรณี จะมีพระระดับล่างลงไป คอยช่วยเหลือ พระในเขตศาสนา( parish priest)จะอยู่ภายใต้การปกครองดูแล ที่มีการสืบทอดอำนาจ การบริหาร (hierarchy) ครอบคลุมไปทั่วยุโรป
บิชอบ บริหารดูแลเขตสังฆมณทล (diocese) ที่ประกอบด้วยโบสถ์ในเขตศาสนาจำนวนนับร้อยแห่ง คนที่คอยช่วยเหลืองานในหน้าที่ของบิชอป คือพนักงานระดับล่างของโบสถ์ (substantial staff)
ให้สังเกตว่า มีพระอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า แคนนอน(canons) จะปฏิบัติพิธีการทางศาสนาโบสถ์ใหญ่(cathedral) หรือ episcopal church และมีหน้าที่ในการบริหารเขตสังฆมณทล. ที่ทำหน้าที่ดูแลบริหารเหนือบาทหลวงอีกที เป็น archbishops (อัครบิดร/หัวหน้าบาทหลวง) ที่อำนาจหน้าที่อาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนของเขตสังฆมณทล มีสันตปาปา(pope) เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ทั้งอัครบิดรและสันตะปาปา มีจนท.บริหารของตนเอง ที่มาจากพระด้วยเช่นกัน
พระที่สังกัดคณะสงฆ์ (regular clergy)โดยปกติเป็นเพียงพระธรรมดา มาแสวงหาความสมบูรณ์ฝ่ายวิญญาณโดยสละโลกฆราวาส และดำเนินชีวิตในสังคม ตามที่กำหนดในธรรมวินัยที่รวบรวมและจัดระเบียบไว้ (ภาษาลาตินเรียกว่า regula,rule). ในเวลานั้น, มีพระอื่นมาเป็นพระที่สังกัดคณะสงฆ์ โดยรับเอาแบบการดำเนินชีวิตชุมชน ขณะเดียวกันยังเกี่ยวข้องกับโลกของฆราวาส
พระที่เรียกว่า cannons ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโบสถ์ใหญ่(cathedral) จัดอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้ เป็นผลให้มีการก่อตั้งสำนัก cannons (house of canons)สังกัดคณะสงฆ์. Cannons ที่สังกัดคณะสงฆ์ (regular canons) ยึดถือตามวินัยของวัดและการจัดการที่เข้มแข็ง ขณะเดียวกันยังอนุญาตให้มีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก การผสมผสานกันนั้นทำให้พระที่เรียกว่า cannons เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งกับสังคมโบสถ์และสังคมฆราวาส.
ในช่วงยุคกลางตอนปลาย มีระเบียบพระสังกัดคณะสงฆ์ใหม่(new regular orders) ที่เรียกว่า mendicants หรือ friars (เป็นนักบวชคริสต์บางนิกายที่เลี้ยงชีพโดยการรับทานจากผู้อื่น ห้ามมีทรัพย์สิน) อาศัยอยู่ในชุมชนภายใต้กฎระเบียบ(ของพระ) พระที่สังกัดคณะสงฆ์ เหมือนพระที่สังกัดสังฆมลฑล ตรงที่ ผู้ภายใต้การดูแลของสันตะปาปา
โบสถ์ใช้อำนาจมีอิทธิพลเทียบได้กับการใช้อำนาจของชนชั้นสูง ความสำคัญที่คนกลุ่มเล็กๆมีอยู่ บอกถึงสถานะของศาสนาในสังคมยุคกลาง ไม่มีความแตกต่างระหว่างศาสนาจักรและรัฐ หรือระหว่างศาสนาจักรและชุมชน ศาสนาจักรในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสังคมเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาจักร
ลักษณะของสังคมยุคกลางนี้ มีที่มาจากโลกก่อนยุคกลาง จักรวรรดิ์โรมันต้องการให้ประชาชนในรัฐ จงรักภักดีต่อศาสนาของรัฐรวมทั้งพระท้องถิ่นด้วย ศาสนาและความเชื่อของพวกบาบาเรียน มีความผูกพันใกล้ชิดกับความเป็นไปของชนเผ่า คริสต์ศาสนาเกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณส่วนบุคคลแตกต่างจากศาสนานอกรีตแบบเก่าของยุโรป แต่คริสต์ศาสนากลายเป็นศาสนาอย่างเป็นทางการของยุโรป และมีบทบาททางสังคมไปในทันที เมื่อพวกบาบาเรียนเข้ามารับคริสต์ศาสนา
สังคมยุคกลาง(ต่อ)-ศาสนาจักร
ทฤษฎีทางการเมืองสมัยกลาง แบ่งสังคมตามการถือครองที่ดิน ออกเป็นสาม กลุ่ม ประกอบด้วย
ชนชั้นสูง
สามัญชน และ
เคลอ-จี
เคลอจี ไม่เหมือนชนชั้นอื่น ไม่สืบทอดชนชั้นทางมรดก แต่เข้าสู่ชนชั้นโดยสัมมาอาชีพ, ไม่ว่าจะจากการเลือกเองหรือถูกบังคับสังคมถือว่า เคลอ-จีส่วนใหญ่ มาจากชนชั้นสูง,โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในระดับบนของผู้บริหารศาสนจักร
อาชีพในศาสนจักร เป็นหนทางไปสู่ความเป็นชนชั้นสูงในจำนวนไม่กี่ทาง ที่เปิดให้คนระดับล่างของสังคม. เช่นเดียวกับชนชั้นสูง สถาบันนักบวช เป็นประชากรที่มีจำนวนน้อยมาก อาจประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น.
ยุคกลาง จะแบ่งเคลอจี ออกเป็นสองประเภท ได้แก่ พระที่สังกัดสังฆมณฑล (secular clerics) และพระที่สังกัดคณะสงฆ์ (regular clerics)
พระที่สังกัดสังฆมลฑล(secular clergy) รับใช้สาธารณะชนส่วนใหญ่โดยตรง (ในภาษาลาตินเรียกว่า seculum แปลว่าโลกชั่วคราว)พระที่สังกัดสังฆมณฑลส่วนใหญ่ เป็นพระในเขตศาสนา(parish priest) เป็นผู้ที่กระทำพิธีการทางศาสนาที่โบสถ์ท้องถิ่น (local church) ให้ผู้ที่อาศัยในพื้นที่, ในบางกรณี จะมีพระระดับล่างลงไป คอยช่วยเหลือ พระในเขตศาสนา( parish priest)จะอยู่ภายใต้การปกครองดูแล ที่มีการสืบทอดอำนาจ การบริหาร (hierarchy) ครอบคลุมไปทั่วยุโรป
บิชอบ บริหารดูแลเขตสังฆมณทล (diocese) ที่ประกอบด้วยโบสถ์ในเขตศาสนาจำนวนนับร้อยแห่ง คนที่คอยช่วยเหลืองานในหน้าที่ของบิชอป คือพนักงานระดับล่างของโบสถ์ (substantial staff)
ให้สังเกตว่า มีพระอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า แคนนอน(canons) จะปฏิบัติพิธีการทางศาสนาโบสถ์ใหญ่(cathedral) หรือ episcopal church และมีหน้าที่ในการบริหารเขตสังฆมณทล. ที่ทำหน้าที่ดูแลบริหารเหนือบาทหลวงอีกที เป็น archbishops (อัครบิดร/หัวหน้าบาทหลวง) ที่อำนาจหน้าที่อาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนของเขตสังฆมณทล มีสันตปาปา(pope) เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ทั้งอัครบิดรและสันตะปาปา มีจนท.บริหารของตนเอง ที่มาจากพระด้วยเช่นกัน
พระที่สังกัดคณะสงฆ์ (regular clergy)โดยปกติเป็นเพียงพระธรรมดา มาแสวงหาความสมบูรณ์ฝ่ายวิญญาณโดยสละโลกฆราวาส และดำเนินชีวิตในสังคม ตามที่กำหนดในธรรมวินัยที่รวบรวมและจัดระเบียบไว้ (ภาษาลาตินเรียกว่า regula,rule). ในเวลานั้น, มีพระอื่นมาเป็นพระที่สังกัดคณะสงฆ์ โดยรับเอาแบบการดำเนินชีวิตชุมชน ขณะเดียวกันยังเกี่ยวข้องกับโลกของฆราวาส
พระที่เรียกว่า cannons ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโบสถ์ใหญ่(cathedral) จัดอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้ เป็นผลให้มีการก่อตั้งสำนัก cannons (house of canons)สังกัดคณะสงฆ์. Cannons ที่สังกัดคณะสงฆ์ (regular canons) ยึดถือตามวินัยของวัดและการจัดการที่เข้มแข็ง ขณะเดียวกันยังอนุญาตให้มีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก การผสมผสานกันนั้นทำให้พระที่เรียกว่า cannons เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งกับสังคมโบสถ์และสังคมฆราวาส.
ในช่วงยุคกลางตอนปลาย มีระเบียบพระสังกัดคณะสงฆ์ใหม่(new regular orders) ที่เรียกว่า mendicants หรือ friars (เป็นนักบวชคริสต์บางนิกายที่เลี้ยงชีพโดยการรับทานจากผู้อื่น ห้ามมีทรัพย์สิน) อาศัยอยู่ในชุมชนภายใต้กฎระเบียบ(ของพระ) พระที่สังกัดคณะสงฆ์ เหมือนพระที่สังกัดสังฆมลฑล ตรงที่ ผู้ภายใต้การดูแลของสันตะปาปา
โบสถ์ใช้อำนาจมีอิทธิพลเทียบได้กับการใช้อำนาจของชนชั้นสูง ความสำคัญที่คนกลุ่มเล็กๆมีอยู่ บอกถึงสถานะของศาสนาในสังคมยุคกลาง ไม่มีความแตกต่างระหว่างศาสนาจักรและรัฐ หรือระหว่างศาสนาจักรและชุมชน ศาสนาจักรในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสังคมเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาจักร
ลักษณะของสังคมยุคกลางนี้ มีที่มาจากโลกก่อนยุคกลาง จักรวรรดิ์โรมันต้องการให้ประชาชนในรัฐ จงรักภักดีต่อศาสนาของรัฐรวมทั้งพระท้องถิ่นด้วย ศาสนาและความเชื่อของพวกบาบาเรียน มีความผูกพันใกล้ชิดกับความเป็นไปของชนเผ่า คริสต์ศาสนาเกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณส่วนบุคคลแตกต่างจากศาสนานอกรีตแบบเก่าของยุโรป แต่คริสต์ศาสนากลายเป็นศาสนาอย่างเป็นทางการของยุโรป และมีบทบาททางสังคมไปในทันที เมื่อพวกบาบาเรียนเข้ามารับคริสต์ศาสนา