สอบถามเรื่องอาการเมา ไนโตรเจน หน่อยครับ ??

ผมเคยมีโอกาศไปดำ scuba diving อยู่บ้าง ประจวบกับวันก่อนดูหนังเรื่อง 47 meters down ครับ !!!!!!!! มีสปอย !!!!!!!

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

อยากถามว่าทำไมถึงมีอาการยั่งงั้นครับ เพราะที่ผมเคยเห็นถังที่ใช้ดำน้ำ ก็คือใช้ คอมเพรสเซอร์ อัดอากาศธรรมดาเข้าไป (ไนโตรเจน 78 % ออกซิเจน 20% อื่นๆ 2% )

ดูจากหนังเรื่อง Everest ก็มีการใช้ถังออกซิเจนถังแล้วถังเล่า ทำไมไม่มีอาการเมา หรือมีปัจจัยหรือองประกอบอื่นๆ อะไรยังไง

รวมถึงมีการป้องกันอาการเหล่านี้อย่างไรบ้าง เพราะมันเป็นอันตรายและส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ผมเคยอ่านเจอ ขออนุญาติจำแหล่งอ้างอิงไม่ได้
บางคนถึงขั้นหาตู้กดเงิน หน้า 7-11 ขณะดำน้ำอยู่ก็มี คือสติสตัง หายหมดเกลี้ยง ขอบคุณครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
คือว่า  อาการเมาไนโตรเจน นั้น  จะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อเราดำน้ำลึกกว่า 15 เมตร เท่านั้นครับ

ที่ความลึกมากกว่า 15 เมตร  การ ละลาย ของไนโตรเจนลงสู่เนื้อเยื่อไขมันจะมีอัตราเพิ่มมากขึ้น  
โดยกลไกการเกิดจะเป็นในระดับโลมเลกุลของแก้ส  คือ  โมเลกุลขอ Nitrogen จะละลายเข้าไป
ใน membrane ของระบบประสาท  ทำให้การส่งกระแสประสาทเกิดความผิดเพี้ยนไป  จะทำให้เกิดอาการนี้ครับ  

คือว่า Nitrogen เนี่ย  หากเราหายใจปกติบนบกธรรมดาจะมีคุณสมบัติเป็นแก้สเฉื่อย  
คือไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ เลย เพราะมันไม่ได้เกิดการละลายในระบบใด ๆ ของร่างกาย
แต่หากเราดำน้ำลึก 80 - 100 ฟุต  Nitrogen จะเริ่มมีฤทธิ์กดประสาทจากกลไกข้างต้นครับ  
ทำให้เกิดอาการ เมา  มีการเคลิ้มได้  หลอนได้บ้างนิดหน่อย  แต่อาการหลัก ๆ คือ
จะเหมือนกับเมาเหล้ามากครับ  เป็นเพราะว่าแก้สเฉื่อยที่มีมวลโมเลกุลมาก  จะออกฤทธิ์เป็น ยาสลบ
ได้มากขึ้นด้วยตามผลทางเภสัจนศาสตร์ครับ

การเมา Nitrogen นี้  จะเริ่มมีผลตั้งแต่ความลึก 50 ฟุตขึ้นไป  พอเริ่มพ้น 100 ฟุต
ก็จะเริ่มทำงานละเอียดอ่อนไม่ได้แล้ว   ในวงการดำน้ำจะมีการตั้งกฏขึ้นมา 1 กฏ คือ
กฎของมาร์ตินี่ Martini's law ครับ  โดยกล่าวว่า การดำน้ำลงไปทุก ๆ 30 ฟุต  
จะเท่ากับคุณดื่ม Martini 1 แก้ว  ซึ่งเป็นเรื่องจริง  โดยมาจากพิษของ Nitrogen นี่เองครับ

การแก้ปัญหาการเมา Nitrogen ทำได้โดยการใช้อากาศผสมสูตรต่าง ๆ กัน  เช่น ....
หากดำลึกลงไปกว่า 150 ฟุต  ก็จะใช้อากาศสูตร Heliox คือเป็นแก้ส Helium + Oxygen
หากดำลึกลงไปอีก  ก็จะมีสูตร Hydrox อีกครับ  คือใช้ Hydrogen + Oxygen
ซึ่งจะเห็นว่าภายใต้ความกดดันสูงในน้ำ  ก็ยากที่จะฝืนธรรมชาติได้นะครับ
จำเป็นต้องเปลี่ยนสูตรอากาศหายใจกันเลยทีเดียว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่