ทำไมพลธนูยาวอังกฤษสามารถยิงทะลุเกราะอัศวินฝรั่งเศสได้ในศึกที่อาแชงคูรต์

ผมเคยเห็นคลิปในยูทุปที่เอาธนูยาว (Longbow) มายิงเกราะเหล็ก
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ซึ่งในคลิปนั้นยิงไม่ทะลุ โดยที่เกราะแทบไม่เป็นรอยเลย
แล้วมาอ่านประวัติเกี่ยวกับศึกนอาแชงคูรต์
อังกฤษมีกำลังพลประมาณ 6000 ส่วนมากเป็นพลธนูยาวประมาณ 5000 ที่เหลือเป็นทหารราบหนัก(สวมเกราะชั้นดีและอาวุธสองมือ)
ฝรั่งเศสมี 25000 ซึ่งส่วนมากเป็นอัศวินประมาณ 10000 ขี่ม้า 2400 เดินเท้า 7600 ที่เหลือเป็นพลธนูกับหน้าไม้
ดูจากสัดส่วนแล้วผมยังสงสัยว่าฝรั่งเศสแพ้ได้อย่างไร จริงอยู่ว่าไม่ได้ตายหรือโดนจับทุกคน
แต่อัศวินฝรั่งเศสตายไปประมาณ 8000 ส่วนมากตายเพราะธนูยาวอังกฤษ
จึงสงสัยว่าเพราะอะไรธนูยาวอังกฤษจึงยิงเกราะเหล็กอัศวินเข้า
หรือเพราะเมื่อก่อนเกราะมันบางกว่านี้ครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เคยดูสารคดีของตปท เค้าก็สงสัยกันแบบนี้เลย เค้าเลยจำลองการรบที่อาแชงคูรต์กันจริงๆ ณ.สถานที่รบในประวัติศาสตร์เลยครับ

สนามรบในวันนั้นเป็นปลักดินซึ่งวันก่อนจะรบนั้นฝนตกลงมาห่าใหญ่ทำให้สนามรบนั้นเต็มไปด้วยโคลน ทหารฝรั่งเศษที่เป็นอัศวินขี่ม้าใช้ม้าไม่ได้ต้องลงมาสู้กันบนดิน และทหารอัศวินส่วนใหญ่ก็สวมชุดเกราะเหล็กมาเต็มอัตรา ในขณะที่อังกฤษทหารส่วนใหญ่(ข้อมูลไม่ตรงกับ จขกท) นั้นไม่ได้ใส่เสื้อเกราะหนักเป็นแค่ชุดหนัง ไม่ก็เสื้อผ้าปกติ

พอเริ่มสงครามทหารอังกฤษก็จัดพลธนูยาวอยู่หน้าระดมยิงเฉียงขึ้นฟ้า 45องศาลงที่กลุ่มทหารฝรังเศษที่กำลังดาหน้าถือโลห์วิ่งเข้ามา ผลคือ สนามรบที่เต็มไปด้วยปลักโคลนการวิ่งทั้งสวมเกราะหนักกันแบบไม่เป็นระเบียบทำให้ทหารเกราะและอัศวิบางส่วนลื่นล้มลง โคลนที่เละอยู่แล้วทำหน้าที่เป็นกาวหนึดและติดเข้ากับเกราะเหล็กทำให้ยากแก่การลุกขึ้น โลห์ที่เอาไว้กันลูกธนูกลับกลายเป็นภาระทำให้ติดกับปลักโคลนแน่นขึ้น ทหารบางส่วนต้องสละโลห์ทิ้งไว้เพราะติดโคลนยกขึ้นมาไม่ไหว แถมปลักโคลนยังทำให้การเคลื่นไหวของทหารใส่เกราะช้าลงไปอีก หนำซ้ำยังถูกกระหน่ำด้วยห่าธนูทำให้กองทัพอลหม่านกันไปหมด พวกที่พอจะพยุงตัวลุกขึ้นก็โดนพวกที่วิ่งมาข้างหลังชนเข้าบ้างล้มลงไปอีก

เกราะเหล็กมีความแข็งแกร่งมากในช่วงป้องกันด้านหน้าอกซึ่งเป็นแผ่นเรียนหนา กลายเป็นกับดักมรณะชั้นดีเมื่อล้มลงไปแนบติดกับพื้นโคลนในสนามรบมันเหมือนเอากาวมาแปะที่แผ่นเกราะหน้าอกกันเลยทีเดียว  แต่เกราะป้องกันด้านข้างและหลังลำตัวนั้นไม่ได้หนาเหมือนด้านหน้า รวมถึงทหารบางคนก็ไม่ได้มีเกราะป้องกันที่ช่วงแขนและส่วนขา มันจึงเหมือนกับการจับเต่ามาหงายท้องแล้วถูกจกด้วยจงอยปากอีแร้ง ผลคือทัพทหารฝรังเศษเกิดการอลม่านย่อมๆขึ้น พวกที่ถูกธนูก็ล้มลงติดลงไปกับปลักโคลน พวกที่พยามลุกขึ้นยืนก็ถูกธนูยิงซ้ำล้มลงไปขวางทางทหารด้านหลังที่วิ่งเข้ามา บางคนถึงยังไม่ตายทันทีก็ถูกธนูปักขาปักแขนทำให้สู้ไม่ได้

จากนั้นทัพอัศวินที่สังเกตุการณ์อยู่จึงพยามขี่ม้าเข้ามาเพื่อช่วยยันสถานการณ์ทั้งๆที่ก็รู้ว่าเสี่ยง ผลก็คือทำให้เหตุการณ์แย่ลงไปอีก เพราะม้าบางตัวก็ควบให้วิ่งเร็วไม่ได้ กลายเป็นเป้าขนาดใหญ่ให้กับพลธนูให้ยิงเล่นกันสนุก

สุดท้ายพอทัพฝรั่งเศษเริ่มระส่ำมากขึ้น พลทหารอังกฤษที่คอยตั้งรับอยู่ส่วนใหญ่เป็นทหารเกราะเบา แต่ถืออาวุธหนัก(ฆ้อน ขวาน ดาบ) ก็เริ่มเข้ามาตะลุมบอนในสนามรบ ข้อได้เปรียบเลยคือฝ่ายอังกฤษมีแค่เสื้อหนังกับเสื้อผ้าปกติ แต่มันกลับไม่หนึดติดโคลนเหมื่อนเกราะเหล็กตอนที่ล้มลงบนโคลน ทำให้ทหารอังกฤษไล่ทุบไล่ฆ่าทหารฝรังเศษที่ล้มลุกคลุกคลานกันสนุกมือเลย ด้วยน้ำหนักเกราะที่มากกว่าทำให้อาวุธของฝรังเศษถึงแม้จะปราณีตกว่าและผลิตออกมาได้ดีกว่า กลับไรความหมายเมื่อเจอกับขวานผ่าฟืนทื่อๆหรือฆ้อนตอกซุงที่ใช้งานทั่วไป

จริงๆธนูยาวของอังกฤษเคยทดสอบกันหลายสารคดีแล้วครับ ว่าแรงจริงเๆท่าไร บางสารคดีบอกว่ายิงไม่เข้าหรอก แต่บางสารคดีบอกว่าทะลุเกราะถึงตายถ้ายิงในระยะไม่ไกลมาก ความน่ากลัวของพลธนูยาวอังกฤษนอกจากความแรงของธนูที่มากกว่าแล้ว คือระยะที่ยิงได้ไกลกว่าพลธนูของฝรั่งเศษมาก พลธนูฝรั่งเศษต้องฝ่าห่าธนูเข้ามาในระยะสังหารก่อนที่จะสามารถยิงโต้กลับไปได้ และพลธนูที่ยืนยิ่งอยู่กับที่โดยมีดอกธนูปักเตรียมไว้ให้ยิงลูกต่อไปได้ทันทีเลยกับพลธนูที่ต้องวิ่งหากำบังแล้วค่อยหยิบธนูจากหลังมาขึ้นศรแล้วยิงโต้กลับไป อัตราการยิงย่อมต่างกันราวฟ้ากับเหวอยู่แล้วด้วย
และพลธนูอังกฤษที่ฝึกมาดีแล้วนั้นสามารถยิงธนูได้สูงถึง 70-80 ลูกต่อนาทีเลยทีเดียว และถึงแม้มีเกราะหรือถือโลห์เอาไว้ได้ ก็ไม่ได้สามารถป้องกันหมด100% ทุกส่วน ถ้าโดนยิงเป็นห่าธนูยังไงก็ต้องมีโดนขาโดนช่วงแขนกันบ้าง

แต่ปัจจัยแห่งชัยชนะจริงๆคืออังกฤษเลือกชัยภูมิสนามรบก่อน และเลือกจุดที่ตัวเองได้เปรียบโดยที่ทางฝรังเศษก็ดูเบาฝั่งอังกฤษจนลืมคิดถึงข้อนี้ไปครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่