เคยไหม..เจอญาติถามเรื่องเงินเดือน !!!!

ผมเจอญาติอยู่คนหนึ่งนอนเด็กๆเจอบ่อย
แต่พอโตแล้วนานๆเจอที....อยู่ๆมีวันหนึ่ง
มาถามว่าเงินเดือนเท่าไร..
พูดเหมือนดูถูกอ่ะ...ถามนู่นถามนี่ตลอด
เงินเดือนเท่าไร ...ตำแหน่งอะไร..
ทำบุญบ้างนะ...
โห...โคดเซ็ง..ไม่อยากคุยด้วยเลย

ตอนจบมาใหม่ๆ...ตกงานปีนึง
เดินแจกใบปลิวกับกรอกแบบสอบถาม
ตอนนั้นโคดเจอญาติคนนี้ดูถูก

..ยังไม่ได้งานเหรอ..ตกงานมานานเท่าไหร่แล้วนี่
...ปีนึงแล้วเหรอ..ฯลฯ

พอได้งานมีตำแหน่งดีๆ....แกเงียบไปหลายปี
พอตอนนี้มาถามเงินเดือนเท่าไร
หัดทำบุญบ้างนะ....แต่งงานยัง..ไม่หาเมียล่ะ
แถมยังจะให้เราเลี้ยงนู่นเลี้ยงนี่
คิดว่าเราเงินเดือนเยอะ...เราก้อบอกเลี้ยงได้แต่ตอนนี้ไม่หิว..ขอเป็นวันหลัง..แกก้อถามใหญ่เลย
มาวันไหนล่ะ...อยากกินกุ้ง..เอาตัวโตๆนะ..

เวร...ใครเคยเจอแบบนี้บ้างครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
นับจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมแพร่ทุนนิยมในระดับโลกาภิวัฒน์ บางประเทศที่วางโครงสร้างเศรษฐกิจไว้เชิงสังคมนิยมเกิดการเก็บภาษีสร้างรัฐสวัสดิการ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ผู้คนเฉลี่ยไล่เลี่ยกัน ความเหลื่อมล้ำน้อย ไม่มีสูงโดดกับต่ำจนห่างโยชน์ ส่วนบางประเทศวางโครงสร้างเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี รัฐไม่ค่อยเข้าไปควบคุมในเชิงป้องกันการผูกขาด Monopoly ก็ทำให้การความเหลื่อมล้ำตามมา และความเหลื่อมล้ำนี้เองที่ทำให้เกิดสภาพการเปรียบเทียบ รายได้มาก รายได้น้อย หาเงินเก่ง หาเงินไม่เก่ง self esteem หรือความนับถือในตนเองของผู้คนในสังคมจะ insecure (ไม่ปลอดภัย) เพราะเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ตัวเองสร้างได้ ซื้อได้ จากการหาเงินได้มากน้อยเท่าใด ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและประเมินระหว่างกัน คุณค่าเกิดจากรายได้ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ผู้อื่น

ผมเคยเจอประสบการณ์ที่สะเทือนใจครั้งหนึ่ง มีน้องผู้หญิงวัยรุ่นที่ทำงานใช้แรงงานคนหนึ่ง แอบปลื้มผมเวลาผมพักเที่ยงไปหาข้าวกิน เพราะจุดที่ผมเดินจากออฟฟิศจะผ่านจุดที่เธอทำงานบ่อยๆ จนวันหนึ่งผมเปรยๆ กับเพื่อนที่ทำงานว่าจะย้ายงานสิ้นเดือน แล้วน้องได้ยิน ก็เลยรวบรวมความกล้าเพื่อจะเข้ามาคุย ถามชื่อและขอถ่ายรูปกับผมเป็นที่ระลึกก่อนผมลาออก ผมถามว่าทำไมไม่เข้ามาคุยตั้งแต่แรก กลัวอะไรผม เธอตอบว่ากลัวคนทำงานดีๆ แบบผมจะรังเกียจหรือไม่อยากคุยด้วย

จริงๆ ถ้าเราเกิดมาในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำน้อย มีการกระจายรายได้และโอกาส เธอคงไม่คิดตัดสินคุณค่าตัวเองเพราะคิดว่าผมจะตัดสินเธอไปก่อนเช่นนี้ ความมั่นใจและความนับถือตนเองของเธอคงจะสูงกว่านี้


การถามถึงเรื่อง “รายได้” ด้วยเจตนาอันไม่จำเป็น (กรณีที่จำเป็นเช่น อีกฝ่ายขอให้เราช่วยวางแผนการเงิน เราจึงถามเรื่องรายได้ เป็นต้น) จึงถือเป็นพยายามสร้าง Value Judgement (การตัดสินคุณค่า) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ในความสัมพันธ์ หากรู้ว่าน้อยห่างจากคนอื่นมาก ก็อาจรู้สึกด้อยค่า รู้สึกล้มเหลว กระทั่งอิจฉา หากได้มากกว่าคนอื่นมาก ก็รู้สึกว่าเหนือและมีอำนาจต่อรองมากกว่าผู้อื่นที่อ่อนแอในระบบทุนมากกว่า เหล่านี้ทำให้สุขภาพจิตคนในสังคม unhealthy คือมีชีวิตอยู่กับความกังวลกระวนกระวายเดินหน้าหาเงินรักษาศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจไม่ให้ตนต้องตกค่าเฉลี่ย ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ทั้งกับคนใกล้ตัวหรือความเชื่อใจกับคนแปลกหน้าในสังคมก็จะถูกเอาไว้เป็นสิ่งสุดท้ายที่ต้องคิดถึง คนต่างเปิดโหมด survivor เอาตัวให้รอด คิดถึงแต่การสร้างสถานะตัวเองแข่งกับคนอื่นไม่ให้ตกขอบ

ส่วนผู้ใหญ่รุ่นก่อนที่สร้างด้วยตัวเองไม่สำเร็จ โดยเฉพาะในสังคมเอเชียที่ให้คุณค่าความกตัญญูผู้เลี้ยงดูแบบขงจื๊อแบบพุทธ  ก็มองว่าลูกอาจเป็นตัวแทนชดเชยปมด้อย ได้เลื่อนสถานะทางสังคม เมื่อนำลูกตนเองไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นๆ แล้วรู้สึกเหนือกว่า ก็เป็นเงาสะท้อนสร้างภาคภูมิใจที่ตนไม่สามารถทำได้เอง ไม่ต้องอายใคร ด้านป่วยๆ ก็มีเช่น สนับสนุนให้ลูกจับสามีต่างชาติรวยๆ มาดูแลครอบครัว ส่งเงินให้ใช้ สร้างบ้านให้อยู่ ถือเป็นภารกิจอันดับหนึ่งในชีวิต ผมเองก็เบื่อที่เวลาไปงานแต่งญาติพ่อชอบเอาผมไปพูดกับญาติพี่น้องคนอื่นๆ เรื่องหน้าที่การงาน ทั้งๆ ที่ในวงโต๊ะจีนนั้น ไม่ใช่ทุกคนจะมีลูกที่ได้ดั่งใจ เกิดบรรยากาศไม่น่าสนทนาฉันญาติมิตรที่พบปะกัน

ผมเกลียดสภาพที่ใครสักคนรู้สึกมั่นใจ ภูมิใจตนเองได้ โดยพื้นฐานของการเหยียบความไม่มั่นใจ ไม่ภูมิใจตนเองของผู้อื่นครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่