บทความดี ๆที่อยากแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่าน โดยเฉพาะผู้ปกครอง...
การเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นอกจากผู้เป็นพ่อแม่จะสอนด้วยการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว
การปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้เอง ตามวัยบ้าง ก็เป็นวิธีอย่างหนึ่งในการสอนให้ลูกรู้จักคิดด้วยตัวเองจากประสบการณ์....หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆพันทิปบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
ครั้งหนึ่งระหว่างนั่งรถไฟในประเทศญี่ปุ่น แม่ลูกคู่หนึ่งก้าวขึ้นมา ไม่มีใครสละที่นั่งให้ แต่ดูเหมือนว่าทั้งสองคนไม่ได้เดือดร้อน ผู้เป็นแม่ไม่ได้เหลียวหาผู้ที่ได้ชื่อว่ามีน้ำใจ
ส่วน
ลูกสาววัยราวสามขวบยืนจับมือแม่ไว้ด้วยมือข้างขวา ในขณะที่มือซ้ายถือนมกล่องและมีกระเป๋าคล้องที่ข้อพับแขน
หมอคิดว่าสิ่งที่เห็นนี้บอกเล่าเรื่องราวบางประเด็นได้เป็นอย่างดีค่ะ จึงถ่ายภาพ(เบลอๆนี้)เอาไว้
1)
เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ร่างกายและความคิดของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ ประสบการณ์ชีวิตยังมีน้อย จึงควรได้รับ "ความช่วยเหลือ" ตามสมควร
ผู้ใหญ่มีหน้าที่ป้องกัน เด็กจากอันตราย ที่เขาไม่รู้จัก เช่น เด็กเล็กห้ามจับมีด (เมื่อโตพอที่จะใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดี จึงค่อยใช้อย่างรู้จักระวัง)
สอน ให้เด็กสามารถทำสิ่งที่เด็กวัยนั้นๆทำได้ เช่น 1ขวบเดินได้ 2ขวบวิ่งได้
สอน ให้เด็กรู้ว่าเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร เช่น เมื่อซื้อของต้องต่อคิว , พูดคำว่าขอบคุณและขอโทษ
ดังนั้น ความช่วยเหลือ จึงไม่ได้มาในรูปแบบการทำแทนไปเสียหมด แต่อาจเป็นการ "ปล่อย" ใ
ห้เด็กได้ใช้ศักยภาพตามวัยของเขา รวมถึงเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก-ทำผิดพลาด
เช่น เด็ก2ขวบสามารถวิ่งได้คล่องแล้ว เขาจึงไม่จำเป็นต้องถูกอุ้มไว้บ่อยเกินไป และหากขึ้นรถไฟแล้วไม่มีที่นั่ง การยืนก็เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องจับมือพ่อแม่เอาไว้ ถ้ามีใครลุกให้ ให้กล่าวขอบคุณไม่ว่าเราจะรับน้ำใจนั้นหรือไม่ก็ตาม
2)
น้ำใจ คือ "การเลือก" ที่จะให้ความช่วยเหลือ มันเป็นสิทธิที่เราจะเลือกจะให้หรือไม่ให้ก็ได้ ไม่ใช่หน้าที่ ใครให้ก็ให้ด้วยความเต็มใจ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ให้ก็ไม่มีความผิดหรือถือเป็นคนเลวร้าย
อย่าทำให้เด็กเข้าใจว่า การได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น เป็น "สิ่งที่พึงได้" อายุน้อยไม่ใช่ "สิทธิพิเศษ" ในการไม่ทำตามของกติกาของสังคม
เช่น ขอเข้าห้องน้ำสาธารณะที่คิวยาวเหยียดก่อนเพราะเขายังเด็ก...แล้วแม่ก็ได้เข้าก่อนด้วย
ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เอาตัวรอด รู้จักเอื้อเฟื้อ รู้สึกขอบคุณไมตรีที่ผู้อื่นมีให้ หรือ เป็นผู้ใหญ่ที่ช่างเรียกร้อง มักรอคอยความช่วยเหลือจากคนอื่น ไม่พอใจเมื่อไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาถูกเลี้ยงมาอย่างไร และพ่อแม่ทำพฤติกรรมแบบไหนให้เขาเห็นบ่อยๆ
ความมีน้ำใจ เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของคนที่ใครๆอยากอยู่ใกล้ หากเราอยากให้ลูกมีคุณสมบัติที่น่ารักข้อนี้ เราก็ต้องสอนเขาโดยเป็น
"ต้นแบบ" ของเขาค่ะ
cr. หมอมีฟ้า
เมื่อไหร่ ?? ควรสอนลูกด้วยการปล่อยให้เรียนรู้เอง
การเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นอกจากผู้เป็นพ่อแม่จะสอนด้วยการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว
การปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้เอง ตามวัยบ้าง ก็เป็นวิธีอย่างหนึ่งในการสอนให้ลูกรู้จักคิดด้วยตัวเองจากประสบการณ์....หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆพันทิปบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
ครั้งหนึ่งระหว่างนั่งรถไฟในประเทศญี่ปุ่น แม่ลูกคู่หนึ่งก้าวขึ้นมา ไม่มีใครสละที่นั่งให้ แต่ดูเหมือนว่าทั้งสองคนไม่ได้เดือดร้อน ผู้เป็นแม่ไม่ได้เหลียวหาผู้ที่ได้ชื่อว่ามีน้ำใจ
ส่วนลูกสาววัยราวสามขวบยืนจับมือแม่ไว้ด้วยมือข้างขวา ในขณะที่มือซ้ายถือนมกล่องและมีกระเป๋าคล้องที่ข้อพับแขน
หมอคิดว่าสิ่งที่เห็นนี้บอกเล่าเรื่องราวบางประเด็นได้เป็นอย่างดีค่ะ จึงถ่ายภาพ(เบลอๆนี้)เอาไว้
1) เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ร่างกายและความคิดของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ ประสบการณ์ชีวิตยังมีน้อย จึงควรได้รับ "ความช่วยเหลือ" ตามสมควร
ผู้ใหญ่มีหน้าที่ป้องกัน เด็กจากอันตราย ที่เขาไม่รู้จัก เช่น เด็กเล็กห้ามจับมีด (เมื่อโตพอที่จะใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดี จึงค่อยใช้อย่างรู้จักระวัง)
สอน ให้เด็กสามารถทำสิ่งที่เด็กวัยนั้นๆทำได้ เช่น 1ขวบเดินได้ 2ขวบวิ่งได้
สอน ให้เด็กรู้ว่าเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร เช่น เมื่อซื้อของต้องต่อคิว , พูดคำว่าขอบคุณและขอโทษ
ดังนั้น ความช่วยเหลือ จึงไม่ได้มาในรูปแบบการทำแทนไปเสียหมด แต่อาจเป็นการ "ปล่อย" ให้เด็กได้ใช้ศักยภาพตามวัยของเขา รวมถึงเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก-ทำผิดพลาด
เช่น เด็ก2ขวบสามารถวิ่งได้คล่องแล้ว เขาจึงไม่จำเป็นต้องถูกอุ้มไว้บ่อยเกินไป และหากขึ้นรถไฟแล้วไม่มีที่นั่ง การยืนก็เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องจับมือพ่อแม่เอาไว้ ถ้ามีใครลุกให้ ให้กล่าวขอบคุณไม่ว่าเราจะรับน้ำใจนั้นหรือไม่ก็ตาม
2) น้ำใจ คือ "การเลือก" ที่จะให้ความช่วยเหลือ มันเป็นสิทธิที่เราจะเลือกจะให้หรือไม่ให้ก็ได้ ไม่ใช่หน้าที่ ใครให้ก็ให้ด้วยความเต็มใจ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ให้ก็ไม่มีความผิดหรือถือเป็นคนเลวร้าย
อย่าทำให้เด็กเข้าใจว่า การได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น เป็น "สิ่งที่พึงได้" อายุน้อยไม่ใช่ "สิทธิพิเศษ" ในการไม่ทำตามของกติกาของสังคม
เช่น ขอเข้าห้องน้ำสาธารณะที่คิวยาวเหยียดก่อนเพราะเขายังเด็ก...แล้วแม่ก็ได้เข้าก่อนด้วย
ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เอาตัวรอด รู้จักเอื้อเฟื้อ รู้สึกขอบคุณไมตรีที่ผู้อื่นมีให้ หรือ เป็นผู้ใหญ่ที่ช่างเรียกร้อง มักรอคอยความช่วยเหลือจากคนอื่น ไม่พอใจเมื่อไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาถูกเลี้ยงมาอย่างไร และพ่อแม่ทำพฤติกรรมแบบไหนให้เขาเห็นบ่อยๆ
ความมีน้ำใจ เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของคนที่ใครๆอยากอยู่ใกล้ หากเราอยากให้ลูกมีคุณสมบัติที่น่ารักข้อนี้ เราก็ต้องสอนเขาโดยเป็น "ต้นแบบ" ของเขาค่ะ
cr. หมอมีฟ้า