การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นชนิด Intrinsically Safe โดยมีหน่วยงานตรวจสอบ และ ออกใบรับรองระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้อง คือ FM Approval, Underwriters Laboratories (UL) และ International Electrotechnical Commission (IEC), Atmosphere Explosibles (ATEX)
ผู้ที่ทำงานด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้าในประเทศไทย มักคุ้นเคยกับ FM Approval และ UL-913 เป็นอย่างดี แต่อาจไม่ทราบว่า IEC และ ATEX เข้ามามีบทบาทอย่างมากกับมาตราฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในระดับสากล (single standard) ในส่วนของประเทศไทยได้สมัครเป็นสมาชิกของ IEC ประเภทสมาชิกสมบูรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2534
มาตราฐานความปลอดภัยอุปกรณ์ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี พศ 2553 เนื่องจาก FM Approval, UL ได้ยกระดับความเข้มงวดของมาตราฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าให้ทัดเทียมกับ IEC และ ATEX โดยเรียกว่า ATEX Directive การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ FM Approval ยกระดับจาก version 1988 เป็น FM Approval Version 2010 และ ยกระดับจาก UL913-5th edition มาเป็น UL913-7th edition (ปัจจุบันให้ยกเลิก UL913-7th edition เป็น UL913-8th edition แล้ว)
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การเพิ่มข้อกำหนดให้อุปกรณ์ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้วัสดุที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ที่ไม่ได้บังคับใช้ใน FM Approval version 1988 และ UL913-5th edition แต่เป็นข้อกำหนดพื้นฐานของ IEC และ ATEX ทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น
ในประเทศไทยการใช้วิทยุสื่อสารที่ต้องใช้มาตรฐานความปลอดภัยของ IEC นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นั้นจะต้องได้มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าเป็นหลัก แต่บริษัทสำคัญๆในธุรกิจนี้กลับที่จะไม่เลือกปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ กล่าวคือ ได้มีการนำอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานยี่ห้อ HYTERA รุ่น PT580H (UL913)มาใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานของ IEC และในขณะนี้ก็ถูกบริษัทวิทยุสื่อสารยี่ห้อหนึ่งฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งในยุโรปและอเมริกา และศาลรับคำร้องเรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ไม่สามารถวางจำหน่ายในยุโรปและอเมริกาได้อีก แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชั้นนำของไทยจะไม่ทราบเรื่องนี้ อาทิPTT GC , THAIOIL , GPSC เป็นต้น ทั้งยังมีความต้องการจะจัดหาอุปกรณ์วิทยุรุ่นนี้มาใช้งาน หรือบางแห่งได้มีการใช้งานแล้วด้วย เป็นที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ บริษัทชั้นนำเหล่านี้มีทั้งมาตรฐานและธรรมมาภิบาล แต่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก จึงอยากให้บริษัทเหล่านี้ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ลดปัญหาความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย เพราะธุรกิจนี้คือหัวใจของการพัฒนาประเทศ
วิทยุสื่อสารไทย
ผู้ที่ทำงานด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้าในประเทศไทย มักคุ้นเคยกับ FM Approval และ UL-913 เป็นอย่างดี แต่อาจไม่ทราบว่า IEC และ ATEX เข้ามามีบทบาทอย่างมากกับมาตราฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในระดับสากล (single standard) ในส่วนของประเทศไทยได้สมัครเป็นสมาชิกของ IEC ประเภทสมาชิกสมบูรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2534
มาตราฐานความปลอดภัยอุปกรณ์ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี พศ 2553 เนื่องจาก FM Approval, UL ได้ยกระดับความเข้มงวดของมาตราฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าให้ทัดเทียมกับ IEC และ ATEX โดยเรียกว่า ATEX Directive การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ FM Approval ยกระดับจาก version 1988 เป็น FM Approval Version 2010 และ ยกระดับจาก UL913-5th edition มาเป็น UL913-7th edition (ปัจจุบันให้ยกเลิก UL913-7th edition เป็น UL913-8th edition แล้ว)
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การเพิ่มข้อกำหนดให้อุปกรณ์ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้วัสดุที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ที่ไม่ได้บังคับใช้ใน FM Approval version 1988 และ UL913-5th edition แต่เป็นข้อกำหนดพื้นฐานของ IEC และ ATEX ทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น
ในประเทศไทยการใช้วิทยุสื่อสารที่ต้องใช้มาตรฐานความปลอดภัยของ IEC นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นั้นจะต้องได้มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าเป็นหลัก แต่บริษัทสำคัญๆในธุรกิจนี้กลับที่จะไม่เลือกปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ กล่าวคือ ได้มีการนำอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานยี่ห้อ HYTERA รุ่น PT580H (UL913)มาใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานของ IEC และในขณะนี้ก็ถูกบริษัทวิทยุสื่อสารยี่ห้อหนึ่งฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งในยุโรปและอเมริกา และศาลรับคำร้องเรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ไม่สามารถวางจำหน่ายในยุโรปและอเมริกาได้อีก แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชั้นนำของไทยจะไม่ทราบเรื่องนี้ อาทิPTT GC , THAIOIL , GPSC เป็นต้น ทั้งยังมีความต้องการจะจัดหาอุปกรณ์วิทยุรุ่นนี้มาใช้งาน หรือบางแห่งได้มีการใช้งานแล้วด้วย เป็นที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ บริษัทชั้นนำเหล่านี้มีทั้งมาตรฐานและธรรมมาภิบาล แต่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก จึงอยากให้บริษัทเหล่านี้ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ลดปัญหาความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย เพราะธุรกิจนี้คือหัวใจของการพัฒนาประเทศ