รักใครคนไหน
จะเป็นแบบใด................ก็ล้วนจริงใจ
มิได้ระวัง
วาจาบาดคม
ถล่มพลาดพลั้ง................รักกลับชิงชัง
ผละห่างละไป
อยากเอากลับคืน
ระรื่นสุขสันต์.............เหมือนวันก่อนนั้น
ก็ไปมิได้
อับจนปัญญา
มิว่าอย่างไร..............เขาร้างห่างไกล
มิอ่อนฤดี ฯ
สวัสดีครับ พี่ๆเพื่อนๆน้องๆทั้งหลาย
วันนี้ ผมได้เห็นคุณหมอชลภูมิ นำเสนอ โคลงแบบใหม่ อันน่าตื่นใจตื่นตา เลยเข้าไปลองแต่งเล่นๆดู แล้วก็มานึกว่า ผมเองก็เคยแต่งบทกวีที่ใช้ฉันทลักษณ์รูปแบบ "ฉันท์" ที่เคยเรียนบาลีมาในสมัยก่อน แต่มิได้แสดงว่าแผนผังเป็นอย่างไร บังคับ ครุ ลหุ อย่างไร
และเท่าที่ผมเข้ามาในถนนนักเขียนนี้ตั้งแต่ประมาณปลายเดือนเมษายน และอยู่มานานถึงเดือนสิงหาคมนี่แล้ว สังเกตดู ตรวจสอบดู ก็ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดแต่ง "ปัฐยาวัตร" ให้ปรากฏ.....เพราะฉะนั้น วันนี้ ผมขอนำเสนอ "ปัฐยาวัตร" ประยุกต์จากบาลี มาสู่ภาษาไทยแด่ทุกๆท่านกันครับ
แต่ก่อนจะเริ่มแต่ง.....สำหรับฉันท์ชนิดนี้ (รวมทั้งชนิดอื่นๆในรูปแบบบาลีด้วย) ต้องทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า "คณะฉันท์" เสียก่อน
"คณะฉันท์" หมายถึง รูปแบบ ครุ/ลหุ ซึ่งกำหนดตายตัว ในชุดของคำหรือพยางค์ ชุดหนึ่ง ประกอบด้วย 3 คำ/พยางค์....ซึ่งต่อไปนี้ ผมขอใช้คำว่า "คำ" ก็แล้วกันนะครับ เพื่อมิให้รุ่มร่าม และเร็วต่อการพิมพ์ (ผมพิมพ์ดีดไม่เป็นนะครับ ใช้การ "จิ้มดีด" โดยนิ้วชี้ นิ้วกลาง เป็นหลัก)
พึงทราบว่า ต่อไปนี้ เมื่อผมกล่าวถึง "คำ" ผมหมายรวมถึง "พยางค์" ด้วย ถ้าผมบอกว่า 3 คำ ก็คือ 3 พยางค์
คณะฉันท์หนึ่งๆ จะมี 3 คำ และมีคณะฉันท์ ทั้งหมด 8 คณะ ดังนี้คือ
ม คณะ ครุล้วน เช่น สัพพัญญู/เป็นคนไทย (ตัวอย่างซ้ายมือคือคำบาลี,ขวามือคือภาษาไทย)
น คณะ ลหุล้วน เช่น สุมุนิ/สุริยะ
ส คณะ ลหุ ลหุ ครุ เช่น สุคโต/บริวาร
ช คณะ ลหุ ครุ ลหุ เช่น มุนินทะ/อะไรวะ
ต คณะ ครุ ครุ ลหุ เช่น มาราริ/ควรลดละ
ภ คณะ ครุ ลหุ ลหุ เช่น มาระชิ/ผลมะระ
ร คณะ ครุ ลหุ ครุ เช่น นายะโก/กรรมการ
ย คณะ ลหุ ครุ ครุ เช่น มะเหสี/ศิโรราบ
พระโบราณจารย์ ท่านผูกเป็นคำฉันท์ชนิดหนึ่งไว้ (ไม่ทราบว่าฉันท์ชื่ออะไรครับ) เพื่อให้ผู้ศึกษาท่องเป็นสูตร ดังนี้
สัพพัญญู โม สุมุนิ โน
สุคะโต โส มุนินทะ โช
มาราริ โต มาระชิ โภ
นายะโก โร มะเหสี โย
เมื่อทราบและเข้าใจว่า คณะฉันท์ใด เป็นครุ ลหุ อย่างไรแล้ว ก็มาดูแผนผังกันได้เลยครับ
จากแผนผัง เราจะเห็น การบังคับใช้คณะฉันท์อยู่ 2 คณะ คือ
ย คณะ (ลหุ ครุ ครุ) คำที่ 5-6-7 ทางซ้ายมือ และ ช คณะ (ลหุ ครุ ลหุ) คำที่ 5-6-7 ทางขวามือ
และ ห้ามใช้ น คณะ (ลหุล้วน) และ ส คณะ (ลหุ ลหุ ครุ) ในคำที่ 2-3-4 ของทั้งสองฝั่งซ้ายขวา
นอกนั้น แต่งได้ตามสบาย
ที่ว่ามานี้ คือรูปแบบบาลี
ส่วนการกำหนดสัมผัส ผมวางจุดสัมผัสเอง ให้เป็นแบบมาตรฐานทั่วไปที่ใช้กันในหลายๆฉันทลักษณ์ในภาษาไทย
ลองดูแผนผัง เปรียบเทียบกับฉันท์ที่ผมเคยแต่งอันนี้ดูนะครับ
รักใครคนไหน
จะเป็นแบบใด................ก็ล้วนจริงใจ
มิได้ระวัง
วาจาบาดคม
ถล่มพลาดพลั้ง................รักกลับชิงชัง
ผละห่างละไป
อยากเอากลับคืน
ระรื่นสุขสันต์.............เหมือนวันก่อนนั้น
ก็ไปมิได้
อับจนปัญญา
มิว่าอย่างไร..............เขาร้างห่างไกล
มิอ่อนฤดี ฯ
ขอฝากไว้ ณ ห้องกวีแห่งนี้ เป็นการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ ว่างๆก็ลองแต่งเล่นดูครับผม
⭐️⭐️⭐️ {{{ จากรูปแบบบาลี ประยุกต์สู่ภาษาไทย - ปัฐยาวัตรฉันท์ }}} ⭐️⭐️⭐️
วาจาบาดคม ถล่มพลาดพลั้ง................รักกลับชิงชัง ผละห่างละไป
อยากเอากลับคืน ระรื่นสุขสันต์.............เหมือนวันก่อนนั้น ก็ไปมิได้
อับจนปัญญา มิว่าอย่างไร..............เขาร้างห่างไกล มิอ่อนฤดี ฯ
สวัสดีครับ พี่ๆเพื่อนๆน้องๆทั้งหลาย
วันนี้ ผมได้เห็นคุณหมอชลภูมิ นำเสนอ โคลงแบบใหม่ อันน่าตื่นใจตื่นตา เลยเข้าไปลองแต่งเล่นๆดู แล้วก็มานึกว่า ผมเองก็เคยแต่งบทกวีที่ใช้ฉันทลักษณ์รูปแบบ "ฉันท์" ที่เคยเรียนบาลีมาในสมัยก่อน แต่มิได้แสดงว่าแผนผังเป็นอย่างไร บังคับ ครุ ลหุ อย่างไร
และเท่าที่ผมเข้ามาในถนนนักเขียนนี้ตั้งแต่ประมาณปลายเดือนเมษายน และอยู่มานานถึงเดือนสิงหาคมนี่แล้ว สังเกตดู ตรวจสอบดู ก็ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดแต่ง "ปัฐยาวัตร" ให้ปรากฏ.....เพราะฉะนั้น วันนี้ ผมขอนำเสนอ "ปัฐยาวัตร" ประยุกต์จากบาลี มาสู่ภาษาไทยแด่ทุกๆท่านกันครับ
แต่ก่อนจะเริ่มแต่ง.....สำหรับฉันท์ชนิดนี้ (รวมทั้งชนิดอื่นๆในรูปแบบบาลีด้วย) ต้องทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า "คณะฉันท์" เสียก่อน
"คณะฉันท์" หมายถึง รูปแบบ ครุ/ลหุ ซึ่งกำหนดตายตัว ในชุดของคำหรือพยางค์ ชุดหนึ่ง ประกอบด้วย 3 คำ/พยางค์....ซึ่งต่อไปนี้ ผมขอใช้คำว่า "คำ" ก็แล้วกันนะครับ เพื่อมิให้รุ่มร่าม และเร็วต่อการพิมพ์ (ผมพิมพ์ดีดไม่เป็นนะครับ ใช้การ "จิ้มดีด" โดยนิ้วชี้ นิ้วกลาง เป็นหลัก)
พึงทราบว่า ต่อไปนี้ เมื่อผมกล่าวถึง "คำ" ผมหมายรวมถึง "พยางค์" ด้วย ถ้าผมบอกว่า 3 คำ ก็คือ 3 พยางค์
คณะฉันท์หนึ่งๆ จะมี 3 คำ และมีคณะฉันท์ ทั้งหมด 8 คณะ ดังนี้คือ
ม คณะ ครุล้วน เช่น สัพพัญญู/เป็นคนไทย (ตัวอย่างซ้ายมือคือคำบาลี,ขวามือคือภาษาไทย)
น คณะ ลหุล้วน เช่น สุมุนิ/สุริยะ
ส คณะ ลหุ ลหุ ครุ เช่น สุคโต/บริวาร
ช คณะ ลหุ ครุ ลหุ เช่น มุนินทะ/อะไรวะ
ต คณะ ครุ ครุ ลหุ เช่น มาราริ/ควรลดละ
ภ คณะ ครุ ลหุ ลหุ เช่น มาระชิ/ผลมะระ
ร คณะ ครุ ลหุ ครุ เช่น นายะโก/กรรมการ
ย คณะ ลหุ ครุ ครุ เช่น มะเหสี/ศิโรราบ
พระโบราณจารย์ ท่านผูกเป็นคำฉันท์ชนิดหนึ่งไว้ (ไม่ทราบว่าฉันท์ชื่ออะไรครับ) เพื่อให้ผู้ศึกษาท่องเป็นสูตร ดังนี้
สัพพัญญู โม สุมุนิ โน
สุคะโต โส มุนินทะ โช
มาราริ โต มาระชิ โภ
นายะโก โร มะเหสี โย
เมื่อทราบและเข้าใจว่า คณะฉันท์ใด เป็นครุ ลหุ อย่างไรแล้ว ก็มาดูแผนผังกันได้เลยครับ
จากแผนผัง เราจะเห็น การบังคับใช้คณะฉันท์อยู่ 2 คณะ คือ
ย คณะ (ลหุ ครุ ครุ) คำที่ 5-6-7 ทางซ้ายมือ และ ช คณะ (ลหุ ครุ ลหุ) คำที่ 5-6-7 ทางขวามือ
และ ห้ามใช้ น คณะ (ลหุล้วน) และ ส คณะ (ลหุ ลหุ ครุ) ในคำที่ 2-3-4 ของทั้งสองฝั่งซ้ายขวา
นอกนั้น แต่งได้ตามสบาย
ที่ว่ามานี้ คือรูปแบบบาลี
ส่วนการกำหนดสัมผัส ผมวางจุดสัมผัสเอง ให้เป็นแบบมาตรฐานทั่วไปที่ใช้กันในหลายๆฉันทลักษณ์ในภาษาไทย
ลองดูแผนผัง เปรียบเทียบกับฉันท์ที่ผมเคยแต่งอันนี้ดูนะครับ
รักใครคนไหน จะเป็นแบบใด................ก็ล้วนจริงใจ มิได้ระวัง
วาจาบาดคม ถล่มพลาดพลั้ง................รักกลับชิงชัง ผละห่างละไป
อยากเอากลับคืน ระรื่นสุขสันต์.............เหมือนวันก่อนนั้น ก็ไปมิได้
อับจนปัญญา มิว่าอย่างไร..............เขาร้างห่างไกล มิอ่อนฤดี ฯ
ขอฝากไว้ ณ ห้องกวีแห่งนี้ เป็นการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ ว่างๆก็ลองแต่งเล่นดูครับผม