ถ้าโลกอยู่ใกล้จุดที่หลุมดำชนกัน โลกของเราจะยืดหดไปกับคลื่นความโน้มถ่วงไหม แล้วเราจะเห็นอะไรบ้างครับ


เราจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวเรายืดหดเหมือนคลื่นไหมครับ ถ้ามันยืดหดได้แสดงว่ามันก็ไม่ใช่ของแข็งสิครับ

งั้นสสารต่างๆที่อยู่ในจักรวาลคืออะไร ของเหลว แก๊ส แสงที่มีอนุภาคเข้มข้นสูง หรือจริงๆแล้วเป็นแค่ภาพลวงตาครับ

เราสามารถใช้หลักการนี้หดโลกให้เดินทางได้เร็วขึ้นได้ไหมครับ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ตามความคิดผม คือ  ลักษณะทางกายภาพของโลก  จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามคลื่นความโน้มถ่วง
ที่พาดผ่านโลกครับ  คนบนโลกก็ยังเห็นวัตถุต่าง ๆ เหมือนเดิม  เพียงแต่จะมี แรงโน้มถ่วง กระทำต่อโลก
เปลี่ยนแปลงเป็นระลอก ๆๆๆ  ซึ่งจะตรวจจับได้ค่อนข้างเข้ม  เพราะ จขกท.กำหนดให้โลกอยู่ใกล้หลุมดำ

การที่ตัวเราจะ มองเห็น วัตถุใด ๆ มีสภาพเปลี่ยนแปลงภายใต้แรงโน้มถ่วงสูง  จะมีกรณีเดียวคือ  
แรงโน้มถ่วงที่สูงมากใกล้ ๆ Event horizon ของหลุมดำ  โดยเมื่อวัตถุนั้นกำลังจะเคลื่อนที่เข้าเขต Event horizon
วัตถุนั้นจะแทบหยุดนิ่งในสายตาเรา (ที่มองห่างจากหลุมดำ)  และจะเห็นวัตถุนั้นค่อย ๆ จางออกไปเป็นแสงสีแดง (Red shift) ครับ

สรุป  เราจะเห็นสิ่งต่าง ๆ เหมือนเดิมทั้งในโลก และ นอกโลกครับ
เพียงแต่มีการตรวจวัดคลื่นแรงโน้มถ่วงเป็นระลอกพาดผ่านโลกไปเท่านั้น

แต่ .... ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่อาจเกิดขึ้น คือ  สัณฐานของโลกอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยไปตาม
คลื่นแรงโน้มถ่วงที่พาดผ่านโลก  หลักการนี้จะเหมือนกับพวกดวงจันทร์ของดาวพฤหัส  ที่ บิดเบี้ยว
ไปตามการโคจรรอบดาวพฤหัส  ทำให้ดวงจันทร์บางดวงเกิด Tidal heating ได้ครับ

อีกอย่างหนึ่ง คือ  อาจมีปรากฏการณ์ Gravitational Lensing เกิดขึ้นก็ได้ครับ
สมมุติว่าตำแหน่งของหลุมดำ 2 หลุมหมุนรอบกัน คือ ดวงอาทิตย์  และเราอยู่ห่างออกไป
ประมาณ 10 นาทีแสง  เราก็อาจจะมองเห็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา
มีภาพที่บิดเบี้ยวไปตามอิทธิพลของ Gravitational Lensing ก็ได้  ก็คือแสงจากดาวเคราะห์
ที่เราเห็นจากโลก  จะมีการ วูบวาบ ตามผลของ Lensing ครับ



เพิ่มเติมครับ  Period ของการโคจรรอบกันของหลุมดำ  ส่วนใหญ่จะคำนวณได้มากถึง
10,000 - 30,000 ปี  ดังนั้น  การตรวจจับ หรือ การมองเห็นในปรากฏการณ์ Gravitational Lensing
ก็จะเป็นไปไม่ได้ครับ  เพราะช่วงเวลานานมากจนเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่