คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
คือการเดินทางทุกอย่างต้องวางแผนนะครับ รอรถเมก็ต้องเตรียมตัว เพราะแต่ก่อนผมขึ้นรถเมประจะ ก็ต้องกะเวลาให้ถูกบางสายไม่ไช่ทางหลังก็ต้องรอนานถ้าไม่รอนานก็ต้องใช้วิธีเดินทางแบบอื่นแล้วครับ หรือไม่ก็หาสายอื่นไกล้เคียงที่เป็นทางหลักและไปต่ออีกที
ด้วยราคาที่ถูกกว่าการเดินทางอื่นๆ คนที่น้อยจะให้เขาเอารถมาวิ่งให้ถี่ๆเขาก็ขาดทุนครับอยู่ไม่ได้ ลองไปดูสายที่คนเยอะๆสิครับมาบ่อยมากแต่คนก็เยอะมากเหมือนกันก็ต้องยืนเบียดกันไป
บางอย่างในชีวิตก็ต้องปรับตัวครับ บางอย่างเราก็แก้ไขอะไรมันไม่ได้ ไม่มีอะไรเท่าเทียมกันในโลกนี้ เราจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและมีชีวิตอย่างมีสุข ถ้าเอาเรื่องรอรถเมนานมาทำให้อารมเสียได้ ผมว่า ชีวิตคงเป็นสุขยาก
นึกถึงเด็กโดนพ่อแม่ตามใจแล้วดิ้นจะเอาของเล่นให้ได้เลย
ด้วยราคาที่ถูกกว่าการเดินทางอื่นๆ คนที่น้อยจะให้เขาเอารถมาวิ่งให้ถี่ๆเขาก็ขาดทุนครับอยู่ไม่ได้ ลองไปดูสายที่คนเยอะๆสิครับมาบ่อยมากแต่คนก็เยอะมากเหมือนกันก็ต้องยืนเบียดกันไป
บางอย่างในชีวิตก็ต้องปรับตัวครับ บางอย่างเราก็แก้ไขอะไรมันไม่ได้ ไม่มีอะไรเท่าเทียมกันในโลกนี้ เราจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและมีชีวิตอย่างมีสุข ถ้าเอาเรื่องรอรถเมนานมาทำให้อารมเสียได้ ผมว่า ชีวิตคงเป็นสุขยาก
นึกถึงเด็กโดนพ่อแม่ตามใจแล้วดิ้นจะเอาของเล่นให้ได้เลย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
ทำไมวัยรุ่นหลายคนถึง "เบื่อหน่ายชาติ" ?
.
นั่นก็เพราะ เขาไม่เคยรู้สึกว่า "ชาติ" เป็นของเขาเลยไงครับ
.
นี่คือความรู้สึกเวลาที่ผมอ่านข่าวที่ฮ่องกงสามารถเลือกผู้สมัครอายุยี่สิบจากพรรคเยาวชนเข้าไปเป็นปากเป็นเสียงในสภาได้ ในขณะที่สภาบ้านเรา 3/4 เป็นคนวัยหลังเกษียณ
.
หรือข่าวที่สิงคโปร์ทำประชาพิจารณ์เรื่องวัสดุพื้นทางเดิน แล้วนึกไปถึงดีไซน์สะพานคนเดินข้ามเจ้าพระยาสุดอุบาทว์ ที่ผู้สร้างไม่คิดจะถงจะถามอะไรเราสักคำ
.
คุณภาพชีวิตที่แย่เป็นแค่ครึ่งหนึ่งของปัญหา เพราะอีกครึ่งหนึ่งคือโครงสร้างอะไรก็แล้วแต่ที่กีดกันไม่ให้เรากระโดดเข้าไปแก้มัน
.
แน่ล่ะว่ามีคนรุ่นใหม่หลาย ๆ คนพยายามจะหาทางแก้ไขปัญหาเล็ก ๆ ในมุมของตัวเอง (ผมก็หวังว่าสักวันจะได้เป็นหนึ่งในนั้น) แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีคนตัวเล็กน้อยคนที่พยายามแก้ไขปัญหาอะไรในประเทศนี้ แล้วไม่จบลงด้วยการเจอตอ
.
นั่นคือเหตุผลว่าทำไมผมถึงไม่เห็นด้วยทุกครั้ง เวลาที่มีคนบ่นคนด่าประเทศตัวเอง แล้วมีอีกคนไปคอมเมนต์ทำนองว่า "ก่อนจะด่า ทำอะไรให้ประเทศรึยัง?" ถ้าลองคิดดูดี ๆ แล้ว ...
.
1. คุณรู้ได้ยังไงว่าเขาไม่ได้ทำอะไร เขาอาจจะทำแล้ว/กำลังพยายามทำอยู่แต่คุณไม่รู้ หรือว่าอยากทำใจจะขาด แต่หลาย ๆ อย่างในสังคมมันไม่เอื้อให้เขาทำได้ คือคนมันจะด่าไปด้วย หาทางแก้ไปด้วยไม่ได้เหรอ?
.
2. ต่อให้เขาจะไม่ได้ทำอะไรเป็นรูปธรรม แต่แค่การที่เขาเลือกที่จะไม่เงียบ แล้วกล้ากระโดดออกมาสะท้อนความรู้สึกในฐานะผู้อยู่อาศัยในประเทศคนหนึ่ง แค่นี้มันก็เป็นข้อมูลที่ล้ำค่าแล้ว อย่างน้อยสังคมก็ควรจะได้รับรู้ว่าคนคนนึงรู้สึกยังไงจริง ๆ ไม่อย่างนั้นแรงขับดันสู่การเปลี่ยนแปลงมันก็ไม่เกิด
.
3. ต่อให้สิ่งที่เขาพูดจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยก็ตาม ถ้าบ้านหลังนี้เป็นของเขาจริง ๆ มันก็สิทธิ์ของเขาที่จะด่าขิงด่าข่าอะไรตามใจชอบ ความคิดที่ว่าบ้านหลังนี้ด่าไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ รังแต่จะทำให้ความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของบ้านลดลงไปอีก
.
บ้านควรจะเป็นสถานที่ที่เราสามารถเป็นตัวเองได้มากที่สุด ถ้าบ้านหลังไหนผู้อยู่อาศัยต้องใส่หน้ากากเข้าหากันถึงจะอยู่ได้ นั่นก็ไม่เรียกว่าบ้าน
.
เราไม่รู้หรอกว่าในอีก 50 ปีหรือ 1000 ปี ประเทศเราจะเจริญหรือเปล่า หรือว่ารถเมล์จะมาตรงเวลาขึ้นไหม แต่สิ่งที่มัน "จริง" ในข้อความเหล่านั้น คือความรู้สึกสิ้นหวังของคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่มีต่อประเทศนี้
.
แต่เอาเถอะ สุดท้ายโดยส่วนตัวแล้วผมก็ยังอยากรู้สึกว่าประเทศนี้เป็นบ้าน ไม่ใช่แค่ "เช่าเขาอยู่" อย่างที่หลาย ๆ คนพูดกัน แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่อยู่ระหว่างคนรุ่นใหม่กับเป้าหมายที่ว่าคือ Generation Gap ขนาดมโหฬาร ที่อีกฝั่งมีคนอีกกลุ่มพยายามพาประเทศไปในทิศทางที่เราได้แต่สายหัว ทั้ง ๆ ที่ในอนาคตอีกยี่สิบสามสิบปีข้างหน้า โลกมันไม่ใช่ของพวกเขาอีกต่อไปแล้ว
.
ดังนั้นก่อนถามว่าเราทำอะไรให้กับประเทศ
.
จงถามว่าประเทศให้เราทำอะไรกับมันได้บ้าง
by Krittapas Boonprasart
.
นั่นก็เพราะ เขาไม่เคยรู้สึกว่า "ชาติ" เป็นของเขาเลยไงครับ
.
นี่คือความรู้สึกเวลาที่ผมอ่านข่าวที่ฮ่องกงสามารถเลือกผู้สมัครอายุยี่สิบจากพรรคเยาวชนเข้าไปเป็นปากเป็นเสียงในสภาได้ ในขณะที่สภาบ้านเรา 3/4 เป็นคนวัยหลังเกษียณ
.
หรือข่าวที่สิงคโปร์ทำประชาพิจารณ์เรื่องวัสดุพื้นทางเดิน แล้วนึกไปถึงดีไซน์สะพานคนเดินข้ามเจ้าพระยาสุดอุบาทว์ ที่ผู้สร้างไม่คิดจะถงจะถามอะไรเราสักคำ
.
คุณภาพชีวิตที่แย่เป็นแค่ครึ่งหนึ่งของปัญหา เพราะอีกครึ่งหนึ่งคือโครงสร้างอะไรก็แล้วแต่ที่กีดกันไม่ให้เรากระโดดเข้าไปแก้มัน
.
แน่ล่ะว่ามีคนรุ่นใหม่หลาย ๆ คนพยายามจะหาทางแก้ไขปัญหาเล็ก ๆ ในมุมของตัวเอง (ผมก็หวังว่าสักวันจะได้เป็นหนึ่งในนั้น) แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีคนตัวเล็กน้อยคนที่พยายามแก้ไขปัญหาอะไรในประเทศนี้ แล้วไม่จบลงด้วยการเจอตอ
.
นั่นคือเหตุผลว่าทำไมผมถึงไม่เห็นด้วยทุกครั้ง เวลาที่มีคนบ่นคนด่าประเทศตัวเอง แล้วมีอีกคนไปคอมเมนต์ทำนองว่า "ก่อนจะด่า ทำอะไรให้ประเทศรึยัง?" ถ้าลองคิดดูดี ๆ แล้ว ...
.
1. คุณรู้ได้ยังไงว่าเขาไม่ได้ทำอะไร เขาอาจจะทำแล้ว/กำลังพยายามทำอยู่แต่คุณไม่รู้ หรือว่าอยากทำใจจะขาด แต่หลาย ๆ อย่างในสังคมมันไม่เอื้อให้เขาทำได้ คือคนมันจะด่าไปด้วย หาทางแก้ไปด้วยไม่ได้เหรอ?
.
2. ต่อให้เขาจะไม่ได้ทำอะไรเป็นรูปธรรม แต่แค่การที่เขาเลือกที่จะไม่เงียบ แล้วกล้ากระโดดออกมาสะท้อนความรู้สึกในฐานะผู้อยู่อาศัยในประเทศคนหนึ่ง แค่นี้มันก็เป็นข้อมูลที่ล้ำค่าแล้ว อย่างน้อยสังคมก็ควรจะได้รับรู้ว่าคนคนนึงรู้สึกยังไงจริง ๆ ไม่อย่างนั้นแรงขับดันสู่การเปลี่ยนแปลงมันก็ไม่เกิด
.
3. ต่อให้สิ่งที่เขาพูดจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยก็ตาม ถ้าบ้านหลังนี้เป็นของเขาจริง ๆ มันก็สิทธิ์ของเขาที่จะด่าขิงด่าข่าอะไรตามใจชอบ ความคิดที่ว่าบ้านหลังนี้ด่าไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ รังแต่จะทำให้ความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของบ้านลดลงไปอีก
.
บ้านควรจะเป็นสถานที่ที่เราสามารถเป็นตัวเองได้มากที่สุด ถ้าบ้านหลังไหนผู้อยู่อาศัยต้องใส่หน้ากากเข้าหากันถึงจะอยู่ได้ นั่นก็ไม่เรียกว่าบ้าน
.
เราไม่รู้หรอกว่าในอีก 50 ปีหรือ 1000 ปี ประเทศเราจะเจริญหรือเปล่า หรือว่ารถเมล์จะมาตรงเวลาขึ้นไหม แต่สิ่งที่มัน "จริง" ในข้อความเหล่านั้น คือความรู้สึกสิ้นหวังของคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่มีต่อประเทศนี้
.
แต่เอาเถอะ สุดท้ายโดยส่วนตัวแล้วผมก็ยังอยากรู้สึกว่าประเทศนี้เป็นบ้าน ไม่ใช่แค่ "เช่าเขาอยู่" อย่างที่หลาย ๆ คนพูดกัน แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่อยู่ระหว่างคนรุ่นใหม่กับเป้าหมายที่ว่าคือ Generation Gap ขนาดมโหฬาร ที่อีกฝั่งมีคนอีกกลุ่มพยายามพาประเทศไปในทิศทางที่เราได้แต่สายหัว ทั้ง ๆ ที่ในอนาคตอีกยี่สิบสามสิบปีข้างหน้า โลกมันไม่ใช่ของพวกเขาอีกต่อไปแล้ว
.
ดังนั้นก่อนถามว่าเราทำอะไรให้กับประเทศ
.
จงถามว่าประเทศให้เราทำอะไรกับมันได้บ้าง
by Krittapas Boonprasart
แสดงความคิดเห็น
สงสัย ?? รอรถเมล์นาน แล้วด่าประเทศไม่ได้หรือไง ?!?!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์
ที่มา https://www.matichon.co.th/news/616774
คือถ้ารอรถนาน แล้วอารมณ์เสีย อยากระบาย
ทำไมไม่ด่าให้ตรงประเด็น จะด่าผู้บริหาร ขสมก ก็ด่าไป
จะมาด่าอะไร แล้วพาลไปถึงประเทศชาติ
สมมุติถ้ามีฝรั่ง มาด่าประเทศไทย ว่า เ ฮ ง ซ ว ย บาง คนไทยจะรู้สึกยังไง ?
พวกฝ่ายการเมืองทีโหนเด็กก็เหมือนกัน มีเหตุมีผลกันบาง ไม่ใช่เอาแต่ความสะใจ
การบอกชี้ให้เห็นถึงปัญหา ไม่ได้ผิดอะไร แต่ต้องช่วยกันแก้ไขด้วย ให้ตรงจุดที่มีปัญหา
ประเทศชาติจะพัฒนาได้ ก็เพราะ พวกเราทุกคนช่วยกัน
ประเทศอื่นก็มีปัญหาในแบบของเค้า ไทยก็มีปัญหาในแบบของไทย
ประเทศที่ยากลำบากทุกข์ยากกว่าไทย ก็มีอยู่มากมาย
เมืองไทยก็ถึงว่าดีในระดับหนึ่งแล้ว อุดมสมบูรญ์ อยากกินไรมีให้กิน
แต่ถ้าอะไรยังไม่ดี ก็ค่อยๆแก้ไขกันไป
ประเทศชาติก็เหมือนบ้านหลังหนึ่ง มีพ่อแม่ปู่ย่าตายายญาคิพี่น้องอาศัยอยู่ร่วมกัน
ดังนั้น การที่เห็นสิ่งที่ไม่ดีของประเทศชาติแล้ว
ต้องแก้ไข ตักเตือน แนะนำ ด้วยความรัก ความเมตตา ด้วยความเคารพ
ไม่ใช่ ด่าแบบใส่อารมณ์ หรือเอาแต่บ่นเฉยๆ
เช่นเดียวกับ
สมมุติถ้าพ่อแม่ญาติพี่น้องในบ้านของเรา สกปรก ไม่มีระเบียบ ใจร้อน ขี้ขโมย
เป็นมนุดป้ามนุดลุง ขี้โกง เห็นแก่ตัว ไม่มีน้ำใจ ๆลๆ
เราก็คงไม่มายืนชี้หน้าด่าพ่อแม่ตัวเองเสียๆหายๆ หรือเอาแต่บ่นให้พ่อแม่ตัวเองใช่ไหม ?
แต่เราคงค่อยๆบอก ค่อยๆสอน ค่อยๆตักเตือน แบบละมุนละม่อม กับพ่อแม่ของเรา
ด้วยความรัก ความเมตตา ด้วยความเคารพ ใช่ไหม ?
แต่ที่เป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้เห็นๆเลย ในเคสนี้คือ
คนไทยบางส่วน ไม่ค่อยภูมิใจกับความเป็นไทยหรือไม่ภูมิใจกับประเทศชาติไทย
และ
คนไทยบางส่วน ชอบยกย่องเชิดชูประเทศอื่น แต่ดูถูกประเทศตัวเองหรือดูถูกรากเหง้าตัวเอง