(ถ้าข่าวซ้ำ ขออภัยด้วยจ้า)
สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งผลักดันโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ เต็มกำลัง ตามแผนงานโครงการก่อสร้างสนามทดสอบตามมาตรฐาน มอก.2721-2559 (UN R117) และอาคารสำนักงานพร้อมห้องปฏิบัติการเฟสแรกให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นภายในปี 2561 และเร่งรัดงานตามแผนการก่อสร้างต่อเนื่องในระยะที่ 2
นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ. ได้ผลักดันมาตรฐาน มอก. 2721-2559 เสียงจากยางล้อที่สัมผัสผิวถนน การยึดเกาะถนนบนพื้นเปียกและความต้านทานการหมุน ซึ่งอ้างอิงมาจากมาตรฐาน UN R 117 เป็นมาตรฐานบังคับ และเร่งผลักดันโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติเพื่อให้การก่อสร้างระยะแรกแล้วเสร็จภายในปี 2561 พร้อมกับเร่งรัดทำงานบูรณาการร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทรา องค์การบริหารส่วนตำบลลาดกระทิง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุประสงค์อย่างรวดเร็วตามเป้าหมายของรัฐบาล
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา สมอ. ได้นำสื่อมวลชนเดินทางลงพื้นที่ศูนย์ทดสอบยางยนต์และยางล้อแห่งชาติ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการในระยะแรก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการปรับพื้นที่ขนาด 200 ไร่ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2560 เพื่อดำเนินการก่อสร้างสนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R 117 ในรายการเสียงจากยางล้อที่สัมผัสผิวถนน และการยึดเกาะถนนบนพื้นเปียก (Noise & Wet Grip) และก่อสร้างอาคารสำนักงานพร้อมห้องปฏิบัติการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างคู่ขนานกันกับการปรับพื้นที่
สำหรับงานก่อสร้างโครงการระยะที่ 2 ส่วนทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วน ประกอบด้วยสนามทดสอบกลางแจ้ง 5 สนาม คือ สนามทดสอบระบบเบรก (Brake Performance) สนามทดสอบระบบเบรกมือ (Park Brake) สนามทดสอบอุปกรณ์บังคับเลี้ยว (Dynamic Platform) สนามทดสอบระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง มาตรวัดความเร็ว และอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (Long Distance and High Speed) และสนามทดสอบการยึดเกาะถนนขณะเข้าโค้ง (Skid-Pad) ที่สามารถทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนรวม 19 รายการ เช่น ระบบเบรก เฟือง ระบบไฟ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ สนามทดสอบนี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการดึงดูดผู้ประกอบการและนักลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางล้อจากทั่วทุกภูมิภาคสู่ประเทศไทย
“โครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพทำให้ประเทศไทยมีศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อมาตรฐานเดียวกันกับมาตรฐานโลก และยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางการทดสอบของภูมิภาคอาเซียนโดยมีเป้าหมายที่จะให้ในภูมิภาคอาเซียนและผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกมาใช้ประเทศไทยเป็นฐานด้านการวิจัย นอกจากนี้ผู้ผลิตยางล้อในประเทศสามารถขอรับการทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน มอก. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทดสอบ จากปัจจุบันที่ต้องไปทดสอบในต่างประเทศ อีกทั้งผู้ใช้รถยนต์ในประเทศได้ใช้ยางล้อที่ได้สมรรถนะผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน มอก. ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุทางถนนอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้จะทำให้เกิดความเจริญในจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นจังหวัดเป้าหมายของรัฐบาลในการผลักดันการสร้างเมืองใหม่พัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษทางภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่สำคัญรองรับการขยายตัวของกรุงเทพฯและการเติบโตของเมืองเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตยั่งยืนในอนาคต” เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย
เตรียมผุดศูนย์ทดสอบยางล้อแห่งชาติ
สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งผลักดันโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ เต็มกำลัง ตามแผนงานโครงการก่อสร้างสนามทดสอบตามมาตรฐาน มอก.2721-2559 (UN R117) และอาคารสำนักงานพร้อมห้องปฏิบัติการเฟสแรกให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นภายในปี 2561 และเร่งรัดงานตามแผนการก่อสร้างต่อเนื่องในระยะที่ 2
นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ. ได้ผลักดันมาตรฐาน มอก. 2721-2559 เสียงจากยางล้อที่สัมผัสผิวถนน การยึดเกาะถนนบนพื้นเปียกและความต้านทานการหมุน ซึ่งอ้างอิงมาจากมาตรฐาน UN R 117 เป็นมาตรฐานบังคับ และเร่งผลักดันโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติเพื่อให้การก่อสร้างระยะแรกแล้วเสร็จภายในปี 2561 พร้อมกับเร่งรัดทำงานบูรณาการร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทรา องค์การบริหารส่วนตำบลลาดกระทิง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุประสงค์อย่างรวดเร็วตามเป้าหมายของรัฐบาล
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา สมอ. ได้นำสื่อมวลชนเดินทางลงพื้นที่ศูนย์ทดสอบยางยนต์และยางล้อแห่งชาติ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการในระยะแรก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการปรับพื้นที่ขนาด 200 ไร่ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2560 เพื่อดำเนินการก่อสร้างสนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R 117 ในรายการเสียงจากยางล้อที่สัมผัสผิวถนน และการยึดเกาะถนนบนพื้นเปียก (Noise & Wet Grip) และก่อสร้างอาคารสำนักงานพร้อมห้องปฏิบัติการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างคู่ขนานกันกับการปรับพื้นที่
สำหรับงานก่อสร้างโครงการระยะที่ 2 ส่วนทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วน ประกอบด้วยสนามทดสอบกลางแจ้ง 5 สนาม คือ สนามทดสอบระบบเบรก (Brake Performance) สนามทดสอบระบบเบรกมือ (Park Brake) สนามทดสอบอุปกรณ์บังคับเลี้ยว (Dynamic Platform) สนามทดสอบระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง มาตรวัดความเร็ว และอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (Long Distance and High Speed) และสนามทดสอบการยึดเกาะถนนขณะเข้าโค้ง (Skid-Pad) ที่สามารถทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนรวม 19 รายการ เช่น ระบบเบรก เฟือง ระบบไฟ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ สนามทดสอบนี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการดึงดูดผู้ประกอบการและนักลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางล้อจากทั่วทุกภูมิภาคสู่ประเทศไทย
“โครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพทำให้ประเทศไทยมีศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อมาตรฐานเดียวกันกับมาตรฐานโลก และยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางการทดสอบของภูมิภาคอาเซียนโดยมีเป้าหมายที่จะให้ในภูมิภาคอาเซียนและผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกมาใช้ประเทศไทยเป็นฐานด้านการวิจัย นอกจากนี้ผู้ผลิตยางล้อในประเทศสามารถขอรับการทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน มอก. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทดสอบ จากปัจจุบันที่ต้องไปทดสอบในต่างประเทศ อีกทั้งผู้ใช้รถยนต์ในประเทศได้ใช้ยางล้อที่ได้สมรรถนะผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน มอก. ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุทางถนนอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้จะทำให้เกิดความเจริญในจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นจังหวัดเป้าหมายของรัฐบาลในการผลักดันการสร้างเมืองใหม่พัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษทางภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่สำคัญรองรับการขยายตัวของกรุงเทพฯและการเติบโตของเมืองเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตยั่งยืนในอนาคต” เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย