สวัสดีครับ
พอดีตามหาข่าวฟุตซอลสโมสรที่บลูเวฟได้แชมป์ บังเอิญไปเจอคอลัมน์ของสำนักข่าว Nikkan Sport (สื่อด้านกีฬาของญี่ปุ่น) ทำสกู๊ปเกี่ยวกับชนาธิป ขออนุญาตเอามาฝากเพื่อนๆครับ
แปลไม่ตรงตามตัวอักษร 100% นะครับ เน้นสรุปให้เข้ากับการใช้คำของภาษาไทยครับ
MF ชนาธิป นักเตะทีมชาติไทยได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของทีมคอนซาโดเร่ซัปโปโร
ในนัดเปิดตัวนั้นคอนซาโดเร่พ่ายต่อเซเรสโซ่ ซึ่งนักเตะไทยคนแรกในระดับเจลีค(หมายถึงเจวัน) ก็ได้ทำสัญลักษณ์ "ประตู" เหมือนในการ์ตูนญี่ปุ่น (สื่อถึงการแจ้งเตือนการทำประตูในญี่ปุ่น:ผู้แปล)
Cr. Nikkansports
นักเตะร่างเล็กผู้มีทักษะด้านการเลี้ยงบอลได้ทำอย่างเต็มที่ในนัดเปิดตัว
วันที่25กคหลังจากซ้อมที่มิยะโนะซาวะ(สนามซ้อมของคอนซาโดเร่ อยู่ติดกับโรงงานช็อคโกแลตชิโร่ยโคยบิโตะ:ผู้แปล) ก่อนที่จะลงเตะเกมลีคอย่างเป็นทางการนั้น ชนาธิปได้กล่าวอย่างมุ่งมั่นว่า "ตื่นเต้นครับ อยากจะพยายามทำผลงานที่ดีออกมาให้ได้" (อันนี้ไม่รู้เจ้าตัวกล่าวอย่างไร แปลตามที่ลงในสื่อญี่ปุ่นครับ :ผู้แปล) พร้อมกับใช้มือสองข้างทำรูปสี่เหลี่ยม (หมายถึงประตู)
(คห บรรณาธิการ)
"ศักยภาพในการทำประตู (Goal Performance) ที่เขามีอยู่สมัยอยู่เมืองไทย ได้เกิดขึ้นจริงที่ญี่ปุ่นแล้ว"
(ทักษะของเขา) คล้ายกับนักเตะคนสำคัญอย่าง มัลโก้ คุโอเร่ (Malco Cuore) ในการ์ตูนเรื่องญี่ปุ่นเรื่อง Fantasista เลยทีเดียว
ผู้แปล: เผื่อใครไม่รู้จัก เรื่อง Fantasista นี่แปลไทยของ สนพ สยาม ใช้ชื่อไทยว่า "มหัศจรรย์สิงห์นักเตะ"
สำหรับท่านใดที่ไม่เคยอ่าน เรื่องนี้แนะนำครับ จะเข้าใจบริบทของเจลีคยุคปัจจุบันมากขึ้น ในเรื่องกล่าวถึงนักเตะที่เป็น Fantasista ที่ตัวเล็กๆ แต่มุมานะฝึกซ้อมอย่างหนักจนเชี่ยวชาญการครองบอล เลี้ยงบอล ยิงฟรีคิก แต่ไปเจอกำแพงของทีมชาติญี่ปุ่นที่นักเตะส่วนมากฝ่าฟันมาจากเทรเซน (Training Center) ที่จะเน้นแทคติกมากกว่าเทคนิคส่วนตัว พัฒนาการด้านแทคติกของทีมญี่ปุ่นอดีตจนปัจจุบัน ซึ่งจะตรงกับแนวทางเจลีคปัจจุบันโดยเน้นที่ "ความผิดพลาดน้อยที่สุดในแต่ละเกม" คนที่ไม่เข้าใจว่าทำไมญี่ปุ่นถึงไม่เสี่ยงกับการกล้าได้กล้าเสีย ในเรื่องนี้มีอธิบายหมดครับ
(ย่อหน้านี้เป็นความคิดเห็นของบรรณาธิการ)
หลังจากที่ได้กลับไปเตะกระชับมิตรกับเมืองทอง ขากลับมาญี่ปุ่นชนาธิปไม่สามารถกลบเกลื่อนเรื่องอาการเหนื่อยล้าได้ แต่เขาแสดงความมุ่งมั่นออกมาว่า "ดีใจที่ได้พบกับเพื่อนร่วมทีมที่เมืองทอง ได้พบครอบครัว หลังจากได้กลับบ้านมาแล้วทำให้เกิดความมุมานะที่จะเล่นในญี่ปุ่นขึ้นมา"
รู้สึกได้ว่า "หากมีโอกาสก็จะทำให้ได้ แต่จะไม่กดดันตัวเอง และอยากจะลงเล่นอย่างสนุกสนาน" (ในสังคมญี่ปุ่นยุคใหม่ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะเน้นคำนี้ "ทำงานเต็มที่ด้วยความสนุกสนาน": ผู้แปล)
คร่าวๆนะครับ อันนี้ลิงค์ข่าวต้นฉบับครับ
https://www.nikkansports.com/soccer/news/1861953.html
คอลัมน์เล็กๆบนสำนักข่าวกีฬาเกี่ยวกับชนาธิปที่ญี่ปุ่น
พอดีตามหาข่าวฟุตซอลสโมสรที่บลูเวฟได้แชมป์ บังเอิญไปเจอคอลัมน์ของสำนักข่าว Nikkan Sport (สื่อด้านกีฬาของญี่ปุ่น) ทำสกู๊ปเกี่ยวกับชนาธิป ขออนุญาตเอามาฝากเพื่อนๆครับ
แปลไม่ตรงตามตัวอักษร 100% นะครับ เน้นสรุปให้เข้ากับการใช้คำของภาษาไทยครับ
MF ชนาธิป นักเตะทีมชาติไทยได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของทีมคอนซาโดเร่ซัปโปโร
ในนัดเปิดตัวนั้นคอนซาโดเร่พ่ายต่อเซเรสโซ่ ซึ่งนักเตะไทยคนแรกในระดับเจลีค(หมายถึงเจวัน) ก็ได้ทำสัญลักษณ์ "ประตู" เหมือนในการ์ตูนญี่ปุ่น (สื่อถึงการแจ้งเตือนการทำประตูในญี่ปุ่น:ผู้แปล)
นักเตะร่างเล็กผู้มีทักษะด้านการเลี้ยงบอลได้ทำอย่างเต็มที่ในนัดเปิดตัว
วันที่25กคหลังจากซ้อมที่มิยะโนะซาวะ(สนามซ้อมของคอนซาโดเร่ อยู่ติดกับโรงงานช็อคโกแลตชิโร่ยโคยบิโตะ:ผู้แปล) ก่อนที่จะลงเตะเกมลีคอย่างเป็นทางการนั้น ชนาธิปได้กล่าวอย่างมุ่งมั่นว่า "ตื่นเต้นครับ อยากจะพยายามทำผลงานที่ดีออกมาให้ได้" (อันนี้ไม่รู้เจ้าตัวกล่าวอย่างไร แปลตามที่ลงในสื่อญี่ปุ่นครับ :ผู้แปล) พร้อมกับใช้มือสองข้างทำรูปสี่เหลี่ยม (หมายถึงประตู)
(คห บรรณาธิการ)
"ศักยภาพในการทำประตู (Goal Performance) ที่เขามีอยู่สมัยอยู่เมืองไทย ได้เกิดขึ้นจริงที่ญี่ปุ่นแล้ว"
(ทักษะของเขา) คล้ายกับนักเตะคนสำคัญอย่าง มัลโก้ คุโอเร่ (Malco Cuore) ในการ์ตูนเรื่องญี่ปุ่นเรื่อง Fantasista เลยทีเดียว
ผู้แปล: เผื่อใครไม่รู้จัก เรื่อง Fantasista นี่แปลไทยของ สนพ สยาม ใช้ชื่อไทยว่า "มหัศจรรย์สิงห์นักเตะ"
สำหรับท่านใดที่ไม่เคยอ่าน เรื่องนี้แนะนำครับ จะเข้าใจบริบทของเจลีคยุคปัจจุบันมากขึ้น ในเรื่องกล่าวถึงนักเตะที่เป็น Fantasista ที่ตัวเล็กๆ แต่มุมานะฝึกซ้อมอย่างหนักจนเชี่ยวชาญการครองบอล เลี้ยงบอล ยิงฟรีคิก แต่ไปเจอกำแพงของทีมชาติญี่ปุ่นที่นักเตะส่วนมากฝ่าฟันมาจากเทรเซน (Training Center) ที่จะเน้นแทคติกมากกว่าเทคนิคส่วนตัว พัฒนาการด้านแทคติกของทีมญี่ปุ่นอดีตจนปัจจุบัน ซึ่งจะตรงกับแนวทางเจลีคปัจจุบันโดยเน้นที่ "ความผิดพลาดน้อยที่สุดในแต่ละเกม" คนที่ไม่เข้าใจว่าทำไมญี่ปุ่นถึงไม่เสี่ยงกับการกล้าได้กล้าเสีย ในเรื่องนี้มีอธิบายหมดครับ
(ย่อหน้านี้เป็นความคิดเห็นของบรรณาธิการ)
หลังจากที่ได้กลับไปเตะกระชับมิตรกับเมืองทอง ขากลับมาญี่ปุ่นชนาธิปไม่สามารถกลบเกลื่อนเรื่องอาการเหนื่อยล้าได้ แต่เขาแสดงความมุ่งมั่นออกมาว่า "ดีใจที่ได้พบกับเพื่อนร่วมทีมที่เมืองทอง ได้พบครอบครัว หลังจากได้กลับบ้านมาแล้วทำให้เกิดความมุมานะที่จะเล่นในญี่ปุ่นขึ้นมา"
รู้สึกได้ว่า "หากมีโอกาสก็จะทำให้ได้ แต่จะไม่กดดันตัวเอง และอยากจะลงเล่นอย่างสนุกสนาน" (ในสังคมญี่ปุ่นยุคใหม่ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะเน้นคำนี้ "ทำงานเต็มที่ด้วยความสนุกสนาน": ผู้แปล)
คร่าวๆนะครับ อันนี้ลิงค์ข่าวต้นฉบับครับ
https://www.nikkansports.com/soccer/news/1861953.html