ไม่ได้เข้าห้องเรียนโคลงนานมากแล้ว วันนี้คุณครูว่าง จึงแวะมาต่อยอดจากอดีตที่เคยร่วมเรียนกันมา
นักเรียนใหม่สามารถเข้าไปดูกระทู้ย้อนหลังได้โดยพิมพ์หาในกูเกิ้ลว่า ** เคล็ดลับคำโคลง ** ( ของแท้ต้องมีดอกจัน ** ประกบหัว-ท้าย )
ซึ่งเป็นตอนต้นๆอีกหลายตอน..
พูดถึงการเล่นคำ กวีโบราณจะนิยมนำมาใช้ในแทบทุกโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทนิราศต่างๆ เพราะต้องผ่านสถานที่ เหตุการณ์ การระลึกบุคคล
สิงสาราสัตว์ พฤกษ์พรรณไม้ ธรรมชาติ ฯลฯ
ยกตัวอย่างโคลงปรมาจารย์ อ.นรินทร์ ที่มีการเล่นคำ"บาง"
๐ จากบางมาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพราง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ ฯ
คราวนี้ลองมาดูนิราศแม่ฮ่องสอน ที่ข้าพเจ้าเคยแต่งบ้าง...
๑๔๕ ถึงนิวาสป่าพร้าว พราวไสว
พร้าวผ่องฉลองสมัย แม่นหมั้น
เคยเคียงคู่วิไล วิลาส ยาตรแฮ
สองปรารถนาปั้น ปลูกพร้าวอนุสรณ์ ฯ
+++ บทนี้เป็นการเล่นคำ"พร้าว" แบบตรงไป-ตรงมา บาทแรกพูดถึง "ป่าพร้าว" ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งที่เคยร่วมอาศัยกับคนรัก +++
๑๔๖ จรจรัลจอมแจ้งจรัส ใจจอม
จอมจิ่มจอมถนอม แจ่มแจ้ง
แจ้งใจข่มใจยอม จำจาก จริตแม่
จากสุขจอมปลอมแกล้ง กลับแล้งแจ้งสมร ฯ
+++ คนนอกพื้นที่อ่าน อาจไม่เข้าใจ "จอมแจ้ง" เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งใน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
จุดเด่นของคำ"แจ้ง" คือ เป็นคำโท และ เป็นกิริยาอาการ ( นอกเหนือจากคำวิสามานยนาม ที่เป็นชื่อหมู่บ้าน )
จึงพยายามจัดวางตำแหน่งและการเล่นคำ ตามตัวอย่างที่เห็น
๑๔๗ กาดแลงแกงร่ำก้อย รอยกรรม
รำเก่าเล่ากานท์ลำ ก่ำร้าว
กาวรอยกร่อยหลายตำ ตรำตราก ตรมพ่อ
ต่องแต่งตำรับข้าว ข่าวเลี้ยงเคยเลียง ฯ
+++ ในบทนี้ "กาดแลง" หมายถึง ตลาดตอนเย็น ( ในแม่สะเรียงจะมีกาดเช้า, กาดแลง )
ผู้เขียนนำคำดังกล่าวมาเล่นคำ เล่นอักษรสลับ ส่วน"เลียง"คำสุดท้าย หมายถึง แกงเลียง
๒๑๘ ถึงแม่สามแลบแล้ว แจวเรือ
สองฝั่งธรรมชาติเหนือ น่านน้ำ
รวยรินกลิ่นโคลนเจือ โกลนจ่อม ทรายฤา
หินกรวดระกำช้ำ ตอกย้ำนิราเฉา ฯ
+++ "แม่สามแลบ" เป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอสบเมย เป็นพื้นที่หนึ่งของอุทยานสาละวิน ผู้เขียนบรรยายตอนพายเรือในลำน้ำสาละวิน
เจอกลิ่นโคลนดิน สาบทราย มองดูคล้ายหินกรวดกำลังเศร้าใจ เหมือนโคลนดินมาพอกทรายและหินกรวด เท่ากับพอกหรือตอกย้ำความช้ำใจของผู้เขียน
๒๑๙ ปลาคังขังข้องดัก เดียวไฉน
ปลาตะเพียนเพียรไป ประพาส-ร้าง
ปลาคมข่มดุกไพร ใดพิศ สนิทเอย
เรียมโศกปลาโศกบ้าง บ่อน้ำโศกเสมือน ฯ
+++ ระหว่างแจวเรือในลำน้ำสาละวินอันใสสะอาด เจอปลาหลากชนิด เช่น ปลาคัง, ปลาตะเพียน, ปลาคม, ปลาดุกป่า เป็นต้น
พายไปเศร้าใจไป พิศมัจฉาประหนึ่งเจอพิษโศกศัลย์เฉกเช่นโศกเรียม
๒๒๐ นิรารสบถสะท้าน สาละวิน ไพรเอย
ร่มสักรักษาดิน เด่นอะคร้าว
ไอชรอุ่มไอสินธุ์ อินสุข แล้วฤา
ลืมเพรียกไพรพงพร้าว เพิ่มร้อยวารคืน ฯ
+++ เดินทางมาป่าสาละวินครานี้ เห็นต้นสักมากมาย รักษ์ป่ารักษ์ดินรักษ์น้ำ
กลับมามองตัวเรา ที่เคยอาศัยอยู่แถวหมู่บ้านป่าพร้าวกับน้องนาง อย่างมีความสุขสองต่อสอง
แต่มาบัดนี้ไยเล่าจึ่งจำพรากจากกันไกล จึงอย่ากให้อดีตอันหวานชื่นเช่นนั้นคืนหวน. +++
.... ที่บรรยายมานั้น เพียงให้ดูตัวอย่างคร่าวๆเท่านั้น มิบังอาจจะไปบังคับใครให้ทำตามได้
อยากให้ไว้เป็นไอเดียในการแต่งเฉยๆ ข้อสำคัญคือต้องหมั่นอ่านบทกวีโบราณ, ฝึกเขียนบ่อยๆ, ฝึกคิดฝึกจินตนาการ และพยายามค้นหาตัวเองให้เจอ
หากผิดพลาดประการใดแนะนำกันได้นะครับ ....
ปล.อยากให้เขียนเรื่องอะไรต่อก็บอกได้ หากไม่เหลือบ่ากว่าเนื้อสมองอันน้อยนิดนี้ ก็ยินดีรับใช้ครับ.
แก้ไขคำผิดครับ.
** เคล็ดลับคำโคลง ** ตอน.. การเล่นคำ
นักเรียนใหม่สามารถเข้าไปดูกระทู้ย้อนหลังได้โดยพิมพ์หาในกูเกิ้ลว่า ** เคล็ดลับคำโคลง ** ( ของแท้ต้องมีดอกจัน ** ประกบหัว-ท้าย )
ซึ่งเป็นตอนต้นๆอีกหลายตอน..
พูดถึงการเล่นคำ กวีโบราณจะนิยมนำมาใช้ในแทบทุกโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทนิราศต่างๆ เพราะต้องผ่านสถานที่ เหตุการณ์ การระลึกบุคคล
สิงสาราสัตว์ พฤกษ์พรรณไม้ ธรรมชาติ ฯลฯ
ยกตัวอย่างโคลงปรมาจารย์ อ.นรินทร์ ที่มีการเล่นคำ"บาง"
๐ จากบางมาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพราง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ ฯ
คราวนี้ลองมาดูนิราศแม่ฮ่องสอน ที่ข้าพเจ้าเคยแต่งบ้าง...
๑๔๕ ถึงนิวาสป่าพร้าว พราวไสว
พร้าวผ่องฉลองสมัย แม่นหมั้น
เคยเคียงคู่วิไล วิลาส ยาตรแฮ
สองปรารถนาปั้น ปลูกพร้าวอนุสรณ์ ฯ
+++ บทนี้เป็นการเล่นคำ"พร้าว" แบบตรงไป-ตรงมา บาทแรกพูดถึง "ป่าพร้าว" ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งที่เคยร่วมอาศัยกับคนรัก +++
๑๔๖ จรจรัลจอมแจ้งจรัส ใจจอม
จอมจิ่มจอมถนอม แจ่มแจ้ง
แจ้งใจข่มใจยอม จำจาก จริตแม่
จากสุขจอมปลอมแกล้ง กลับแล้งแจ้งสมร ฯ
+++ คนนอกพื้นที่อ่าน อาจไม่เข้าใจ "จอมแจ้ง" เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งใน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
จุดเด่นของคำ"แจ้ง" คือ เป็นคำโท และ เป็นกิริยาอาการ ( นอกเหนือจากคำวิสามานยนาม ที่เป็นชื่อหมู่บ้าน )
จึงพยายามจัดวางตำแหน่งและการเล่นคำ ตามตัวอย่างที่เห็น
๑๔๗ กาดแลงแกงร่ำก้อย รอยกรรม
รำเก่าเล่ากานท์ลำ ก่ำร้าว
กาวรอยกร่อยหลายตำ ตรำตราก ตรมพ่อ
ต่องแต่งตำรับข้าว ข่าวเลี้ยงเคยเลียง ฯ
+++ ในบทนี้ "กาดแลง" หมายถึง ตลาดตอนเย็น ( ในแม่สะเรียงจะมีกาดเช้า, กาดแลง )
ผู้เขียนนำคำดังกล่าวมาเล่นคำ เล่นอักษรสลับ ส่วน"เลียง"คำสุดท้าย หมายถึง แกงเลียง
๒๑๘ ถึงแม่สามแลบแล้ว แจวเรือ
สองฝั่งธรรมชาติเหนือ น่านน้ำ
รวยรินกลิ่นโคลนเจือ โกลนจ่อม ทรายฤา
หินกรวดระกำช้ำ ตอกย้ำนิราเฉา ฯ
+++ "แม่สามแลบ" เป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอสบเมย เป็นพื้นที่หนึ่งของอุทยานสาละวิน ผู้เขียนบรรยายตอนพายเรือในลำน้ำสาละวิน
เจอกลิ่นโคลนดิน สาบทราย มองดูคล้ายหินกรวดกำลังเศร้าใจ เหมือนโคลนดินมาพอกทรายและหินกรวด เท่ากับพอกหรือตอกย้ำความช้ำใจของผู้เขียน
๒๑๙ ปลาคังขังข้องดัก เดียวไฉน
ปลาตะเพียนเพียรไป ประพาส-ร้าง
ปลาคมข่มดุกไพร ใดพิศ สนิทเอย
เรียมโศกปลาโศกบ้าง บ่อน้ำโศกเสมือน ฯ
+++ ระหว่างแจวเรือในลำน้ำสาละวินอันใสสะอาด เจอปลาหลากชนิด เช่น ปลาคัง, ปลาตะเพียน, ปลาคม, ปลาดุกป่า เป็นต้น
พายไปเศร้าใจไป พิศมัจฉาประหนึ่งเจอพิษโศกศัลย์เฉกเช่นโศกเรียม
๒๒๐ นิรารสบถสะท้าน สาละวิน ไพรเอย
ร่มสักรักษาดิน เด่นอะคร้าว
ไอชรอุ่มไอสินธุ์ อินสุข แล้วฤา
ลืมเพรียกไพรพงพร้าว เพิ่มร้อยวารคืน ฯ
+++ เดินทางมาป่าสาละวินครานี้ เห็นต้นสักมากมาย รักษ์ป่ารักษ์ดินรักษ์น้ำ
กลับมามองตัวเรา ที่เคยอาศัยอยู่แถวหมู่บ้านป่าพร้าวกับน้องนาง อย่างมีความสุขสองต่อสอง
แต่มาบัดนี้ไยเล่าจึ่งจำพรากจากกันไกล จึงอย่ากให้อดีตอันหวานชื่นเช่นนั้นคืนหวน. +++
.... ที่บรรยายมานั้น เพียงให้ดูตัวอย่างคร่าวๆเท่านั้น มิบังอาจจะไปบังคับใครให้ทำตามได้
อยากให้ไว้เป็นไอเดียในการแต่งเฉยๆ ข้อสำคัญคือต้องหมั่นอ่านบทกวีโบราณ, ฝึกเขียนบ่อยๆ, ฝึกคิดฝึกจินตนาการ และพยายามค้นหาตัวเองให้เจอ
หากผิดพลาดประการใดแนะนำกันได้นะครับ ....
ปล.อยากให้เขียนเรื่องอะไรต่อก็บอกได้ หากไม่เหลือบ่ากว่าเนื้อสมองอันน้อยนิดนี้ ก็ยินดีรับใช้ครับ.
แก้ไขคำผิดครับ.