ผมแตกประเด็นจากกระทู้นั้นะครับ
https://ppantip.com/topic/36715656
---------------------------------------
จากข่าวต้นฉบับอันนี้ ( ขอใช้คนละ link กับที่ จขกท. โน้นหามา )
ที่มา :
https://hilight.kapook.com/view/157455 พะเยาค้านเลนจักรยาน 50 ล้าน ร้องหลายหน่วยงานไม่มีใครฟัง อ้างงบมาแล้วก็ต้องทำ
---------------------------------------
ทีนี้ผมไปเจออีกข่าว เป็นความเห็นของผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงจักรยาน พูดถึงทางจักรยานใน กทม. ที่ทำมาแล้วล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะภาครัฐคิดแบบผิดๆ มาตลอด
---------------------------------------
ขณะที่
ศ.(กิตติคุณ) ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และอดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้ใช้จักรยาน พบว่า
โครงการทางจักรยานริมถนนจุดต่างๆ ที่ กทม. ทำขึ้นไม่ตอบสนองความต้องการของคนที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจริงๆ ผลคือไม่มีการใช้งานทำให้ต่อมากลายเป็นที่จอดรถบ้าง หรือมีชาวบ้านบริเวณนั้นติดป้ายไม่เอาทางจักรยาน
"ถ้าเป็นโครงสร้างปิระมิด ยอดแหลมคือนักแข่งจักรยานก็มีไม่กี่คน ตรงกลางคือพวกนักจักรยาน อย่างผมเองก็เป็นนักจักรยาน แต่ถัดลงมาเป็นฐานปิระมิดคือชาวบ้านที่ใช้จักรยาน นักแข่ง นักจักรยาน ผู้ใช้จักรยานไม่เหมือนกัน สิ่งที่ไปทำกันตอนนี้คือสิ่งที่นักจักรยานเรียกร้องอยากได้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้มี ที่ กทม. บอกมีประมาณ 200 กิโลเมตร ไปดูได้เลยไม่ได้ใช้" ดร.ธงชัย กล่าว
ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ยกตัวอย่าง
ทางจักรยานริมคลองชลประทาน ระยะทาง 184 กม. เส้นทาง 5 จังหวัด คือปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท งบประมาณก่อสร้าง 1.5 พันล้านบาท ว่า ชาวบ้านทั่วไปที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันคงไม่ได้ใช้เส้นทางนี้เพราะอยู่ห่างจากถนนสายหลัก ขณะที่บรรดานักจักรยานที่หมายถึงผู้ชื่นชอบการปั่นจักรยาน มีการซื้อหาอุปกรณ์เครื่องแต่งกายมาใช้ ก็คงไม่ไปใช้เส้นทางนี้บ่อยๆ อาจจะใช้เพียงหนสองหนเพราะต่อไปก็จะรู้สึกว่ามันซ้ำๆ จึงตั้งคำถามว่าคุ้มค่าหรือไม่
"งบแบบนี้ลงไป 1,500 ล้านได้ แต่ไม่มีงบสักบาทเดียวไปทำทางจักรยานในชุมชน มีแต่ไปทาสีตีเส้น อย่างคนบางลำพูเขาไม่เอาทางจักรยานเพราะไปสร้างในที่ที่ชาวบ้านเขาไม่ต้องการใช้ มันไปรบกวนเขาเสียด้วยซ้ำ เขาจึงติดป้ายว่าไม่ต้องการ ป้ายแบบนี้เมืองนอกก็มี หรือบางที่ก็ติดป้ายว่าตรงนี้จอดรถซื้อของได้ เพราะมันไปรบกวนการทำมาหากินของเขา เราอยากได้แบบยุโรป แบบเนเธอร์แลนด์ที่ชาวบ้านชาวเมืองขี่จักรยาน แต่เราไปทำแบบอเมริกาที่เป็นนักจักรยานแต่งตัวเต็มยศเสียส่วนใหญ่ มันไม่มีทางเป็นไปได้" ดร.ธงชัย ระบุ
ที่มา :
http://www.naewna.com/local/280775 ส่อสูญเปล่า!'ถนนเลียบเจ้าพระยา' ชี้ไม่ตอบโจทย์-เอื้อทุนคอนโด ( เว็บไซต์ นสพ.แนวหน้า หมวดคุณภาพชีวิต )
---------------------------------------
ผมลองเข้าไปดูในเว็บของ TDRI ก็มีเอกสารประกอบสัมมนาอันนี้อยู่
https://tdri.or.th/2017/07/14-riversidepromenade/
เข้าไปดูในส่วนของ ดร.ธงชัย หลายภาพก็น่าคิดนะ
---------------------------------------
ข้างบนเป็นความเห็นในข่าวต่างๆ ส่วนอันนี้เป็นข้อสังเกตของผมเอง
1.ประเทศไทยให้ความสำคัญกับ
"รถยนต์" มากที่สุดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คนไทยสามารถซื้อรถได้โดยไม่ต้องมีที่จอด และบริษัทห้างร้านต่างๆ ใครใคร่ค้าค้า จำนวนมากไม่มีที่จอดรถเพียงพอ ดังนั้นเลนซ้ายของถนนจึงกลายเป็นที่จอดรถไปโดยปริยาย ปกติตำรวจจะไม่มาไล่หรือเขียนใบสั่ง เว้นแต่จะเป็นชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น เช่น ร้านอาหารหลายๆ แห่ง ช่วงกลางวันร้านปิดนี่เลนซ้ายรอบๆ จะโล่ง พอตกเย็นไปถึงดึกที่ร้านเปิด ลูกค้ายึดเลนซ้ายจอดกันยาวๆ มี พนง. ร้าน มาโบกรถ เอากรวยมาตั้งให้ด้วย หรือแม้แต่สถานที่ราชการ ก็ยังให้คนมาติดต่อราชการจอดรถชิดเลนซ้ายได้ ดังนั้นการจอดรถเลนซ้ายมันเลยกลายเป็น "วิถีชีวิต" ของคนในประเทศไทยไปแล้ว สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
2.สิ่งพิสูจน์สมมติฐานข้อแรก คือดราม่า
"รถยนต์ vs มอเตอร์ไซค์" ที่มีมาตลอดทุกยุค ( ถ้าในห้องรัชดา ณ พันติ๊ป ก็เฉลี่ยสัปดาห์ละกระทู้ ) ก่อนจะมีกระแสจักรยาน มอเตอร์ไซค์กับรถยนต์มักเป็นคู่ปรับที่ช่วงชิงพื้นที่บนท้องถนนกันเสมอ คนขี่มอเตอร์ไซค์นอกจากจะถูกข้อกฎหมายบังคับให้วิ่งชิดซ้ายแล้ว ยังถูกคนขับรถยนต์แสดงท่าทีเหยียดหยาม หงุดหงิด รำคาญใจเรื่อยๆ เมื่อไปวิ่งเลนอื่นๆ ที่รถยนต์วิ่ง คนขับรถยนต์มักไล่คนขี่มอเตอร์ไซค์กลับไปวิ่งเลนซ้าย แต่ในทางกลับกัน คนขี่มอเตอร์ไซค์ก็จะย้อนถามว่า
"ไล่ไปวิ่งเลนซ้ายแล้วมันมีให้วิ่งไหม?" ก็เพราะรถยนต์นั่นแหละ ยึดเลนซ้ายเป็นที่จอดไปหมดแล้ว จอดส่งลูกเข้าโรงเรียน จอดแวะตลาดซื้อกับข้าว หรือบางทีรถยนต์อยากเลี้ยวก็เลี้ยวไฟไม่เปิด หรือออกจากซอยก็พุ่งพรวดออกมาไม่ดูอะไรทั้งสิ้น ฯลฯ
3.ส่วนจักรยาน ก่อนหน้านี้ไม่เคยถูกนำมานับรวมบนท้องถนน อันนี้หมายถึงในทางผู้กำหนดนโยบาย ไม่ใช่ในกฎหมาย อย่างคนมีอายุหน่อยคงเคยฟังเพลง
"จักรยานคนจน" ที่เนื้อเพลงออกแนวตัดพ้อทำนองคนขี่จักรยานมันจนกว่าคนขี่มอเตอร์ไซค์ ( และแน่นอนว่าคนขี่มอเตอร์ไซค์ก็เป็นชนชั้นต่ำกว่าคนขับรถยนต์อีกที อย่างในเพลง
"มอเตอร์ไซค์ฮ่าง" เนื้องเพลงเป็นคุณครูหนุ่ม ขี่มอเตอร์ไซค์เก่าๆ อกหักเพราะสาวเจ้าไปคบนายตำรวจขับกระบะ ) จักรยานมาบูมเพราะระยะหลังๆ มีคนชั้นกลางนิยมมากขึ้น แต่ไม่ใช่ในแง่ขี่ในชีวิตประจำกัน หากแต่เป็นในแง่งานอดิเรก ขี่เพื่อออกกำลังกายหรือท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ไปเรื่อย ไม่ต่างจากมอเตอร์ไซค์ที่หลังๆ ก็เริ่มมีเสียงโต้แย้งว่าไม่ใช่พาหนะของชนชั้นรากหญ้าแล้วนะ เพราะ Big Bike ราคาหลักแสนคนทั่วไปเข้าถึงง่ายขึ้น
จาก 3 ข้อแรก สรุปได้ว่าวิธีคิดเกี่ยวกับยานพาหนะบ้านเราแต่เดิมมา รถยนต์สำคัญที่สุด มอเตอร์ไซค์เป็นพลเมืองชั้น 2 ส่วนจักรยานเป็นกลุ่มตกสำรวจ กระทั่งยุคหลังๆ จักรยานถูกนับรวมเข้ามา การช่วงชิงพื้นที่ การต่อสู้ต่อรองบนท้องถนนเลยไม่ได้มีแต่คนขับรถยนต์กับคนขี่มอเตอร์ไซค์แล้ว แต่ยังมีคนขี่จักรยานที่มีปากมีเสียง มีพลังอำนาจต่อรองมากขึ้นเรื่อยๆ
( และอาจจะรุนแรงขึ้น? อย่าลืมว่าประเทศไทยไม่มีนโยบายจำกัดจำนานรถยนต์ คุณซื้อรถไม่ต้องมีที่จอดก็ได้ คุณซื้อรถจะใช้ไปกี่ปีก็ได้ถ้าตรวจสภาพผ่านก็จบ จะเห็นได้จากใน กทม. รวมถึงตัวจังหวัดต่างๆ ที่นับวันจะมีแต่เสียงบ่นเรื่องรถติด )
4.ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การที่มนุษย์ออฟฟิศจะปั่นจักรยานไปทำงานในห้องแอร์คงไม่เหมาะเท่าไร บริษัทห้างร้าน องค์กรต่างๆ ไม่ได้เตรียมห้องอาบน้ำไว้ให้ ( ขนาดคนขี่มอเตอร์ไซค์ยังบ่นเลยเวลาหน้าร้อน ขี่ไปตัวเหนียวไป ) ไม่เหมือนฝรั่งที่เป็นเมืองหนาว แดดไม่ค่อยมีไม่ค่อยแรง
5.ระบบขนส่งหลักมันไม่เชื่อมกันจนสะดวกมากๆ อย่างญี่ปุ่นขี่จักรยานจากในซอยออกมาจอดปากซอยแล้วขึ้นรถเมล์ - รถไฟฟ้าไปทำงานได้สบายๆ แถมบ้านเราใครอยากอยู่ตรงไหนก็ได้ มีอาคารไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายผังเมือง ที่เหลือสร้างกันตามสบาย ไม่ได้มีการจัดโซนแบบต่างประเทศ ขนส่งหลักเลยไม่มีทางพอ พอแบบนี้ก็ต้องดึงขนส่งรองๆ จากของเถื่อนมาทำให้ถูกกฎหมาย เช่น รถตู้ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถกระป๋อง กลายเป็นมาเพิ่มจำนวนรถยนต์บนท้องถนนอีก
6.เราไม่มีการกระจายคนเลย อันนี้เป็นกรณีของ กทม. โดยเฉพาะ อย่างแผงลอยบนทางเท้า เอาจริงๆ ก็มีแทบทุกที่ทั่วประเทศ แต่ใน จว. อื่นๆ จำนวนประชากรอยู่อาศัยมันไม่มากเท่า กทม. คนขายและคนซื้อจึงดูมีไม่มาก มันเลยไม่ดูเกะกะจนรู้สึกว่าเป็นปัญหาเหมือนใน กทม. ( การจอดรถเลนซ้ายก็เช่นกัน ) สังเกตว่าปัญหาดราม่าบนท้องถนนหรือแม้แต่บนทางเท้า จำนวนมากเกิดใน กทม. นี่แหละ คนเยอะเรื่องแยะ กทม. เป็นแหล่งรวมของคนทุกกลุ่มตั้งแต่ล่างสุดยันบนสุด และทุกกลุ่มก็ช่วงชิงต่อสู้เพื่อรักษาพื้นที่ใช้ชีวิตของตนใน กทม. ( ไม่รู้ตอนนี้มี จว. ไหน เริ่มเจริญรอยตาม กทม. กันบ้างไหม? )
---------------------------------------
ทั้งหมดนี้ผมขอชวนทุกท่านมาคิดกันครับ ตกลงแล้วที่เราเห็นประเทศอื่นๆ เขามีทางจักรยาน เราดูแล้วมันรู้สึกว่ามีอารยะ เราเลยอยากมีบ้าง แต่กลายเป็นว่าพอมีแล้วก็เกิดปัญหา เกิดข้อขัดแย้งระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมอีก
ประเทศไทยเหมาะสมกับการใช้จักรยานจริงๆ หรือเปล่า?
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )
[แตกประเด็น] คิดว่าประเทศไทยเหมาะสมกับการใช้ "จักรยาน" ในลักษณะ "วิถีชีวิตประจำวัน" กันไหม?
---------------------------------------
จากข่าวต้นฉบับอันนี้ ( ขอใช้คนละ link กับที่ จขกท. โน้นหามา )
ที่มา : https://hilight.kapook.com/view/157455 พะเยาค้านเลนจักรยาน 50 ล้าน ร้องหลายหน่วยงานไม่มีใครฟัง อ้างงบมาแล้วก็ต้องทำ
---------------------------------------
ทีนี้ผมไปเจออีกข่าว เป็นความเห็นของผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงจักรยาน พูดถึงทางจักรยานใน กทม. ที่ทำมาแล้วล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะภาครัฐคิดแบบผิดๆ มาตลอด
---------------------------------------
ขณะที่ ศ.(กิตติคุณ) ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และอดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้ใช้จักรยาน พบว่า โครงการทางจักรยานริมถนนจุดต่างๆ ที่ กทม. ทำขึ้นไม่ตอบสนองความต้องการของคนที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจริงๆ ผลคือไม่มีการใช้งานทำให้ต่อมากลายเป็นที่จอดรถบ้าง หรือมีชาวบ้านบริเวณนั้นติดป้ายไม่เอาทางจักรยาน
"ถ้าเป็นโครงสร้างปิระมิด ยอดแหลมคือนักแข่งจักรยานก็มีไม่กี่คน ตรงกลางคือพวกนักจักรยาน อย่างผมเองก็เป็นนักจักรยาน แต่ถัดลงมาเป็นฐานปิระมิดคือชาวบ้านที่ใช้จักรยาน นักแข่ง นักจักรยาน ผู้ใช้จักรยานไม่เหมือนกัน สิ่งที่ไปทำกันตอนนี้คือสิ่งที่นักจักรยานเรียกร้องอยากได้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้มี ที่ กทม. บอกมีประมาณ 200 กิโลเมตร ไปดูได้เลยไม่ได้ใช้" ดร.ธงชัย กล่าว
ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ยกตัวอย่าง ทางจักรยานริมคลองชลประทาน ระยะทาง 184 กม. เส้นทาง 5 จังหวัด คือปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท งบประมาณก่อสร้าง 1.5 พันล้านบาท ว่า ชาวบ้านทั่วไปที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันคงไม่ได้ใช้เส้นทางนี้เพราะอยู่ห่างจากถนนสายหลัก ขณะที่บรรดานักจักรยานที่หมายถึงผู้ชื่นชอบการปั่นจักรยาน มีการซื้อหาอุปกรณ์เครื่องแต่งกายมาใช้ ก็คงไม่ไปใช้เส้นทางนี้บ่อยๆ อาจจะใช้เพียงหนสองหนเพราะต่อไปก็จะรู้สึกว่ามันซ้ำๆ จึงตั้งคำถามว่าคุ้มค่าหรือไม่
"งบแบบนี้ลงไป 1,500 ล้านได้ แต่ไม่มีงบสักบาทเดียวไปทำทางจักรยานในชุมชน มีแต่ไปทาสีตีเส้น อย่างคนบางลำพูเขาไม่เอาทางจักรยานเพราะไปสร้างในที่ที่ชาวบ้านเขาไม่ต้องการใช้ มันไปรบกวนเขาเสียด้วยซ้ำ เขาจึงติดป้ายว่าไม่ต้องการ ป้ายแบบนี้เมืองนอกก็มี หรือบางที่ก็ติดป้ายว่าตรงนี้จอดรถซื้อของได้ เพราะมันไปรบกวนการทำมาหากินของเขา เราอยากได้แบบยุโรป แบบเนเธอร์แลนด์ที่ชาวบ้านชาวเมืองขี่จักรยาน แต่เราไปทำแบบอเมริกาที่เป็นนักจักรยานแต่งตัวเต็มยศเสียส่วนใหญ่ มันไม่มีทางเป็นไปได้" ดร.ธงชัย ระบุ
ที่มา : http://www.naewna.com/local/280775 ส่อสูญเปล่า!'ถนนเลียบเจ้าพระยา' ชี้ไม่ตอบโจทย์-เอื้อทุนคอนโด ( เว็บไซต์ นสพ.แนวหน้า หมวดคุณภาพชีวิต )
---------------------------------------
ผมลองเข้าไปดูในเว็บของ TDRI ก็มีเอกสารประกอบสัมมนาอันนี้อยู่ https://tdri.or.th/2017/07/14-riversidepromenade/
เข้าไปดูในส่วนของ ดร.ธงชัย หลายภาพก็น่าคิดนะ
---------------------------------------
ข้างบนเป็นความเห็นในข่าวต่างๆ ส่วนอันนี้เป็นข้อสังเกตของผมเอง
1.ประเทศไทยให้ความสำคัญกับ "รถยนต์" มากที่สุดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คนไทยสามารถซื้อรถได้โดยไม่ต้องมีที่จอด และบริษัทห้างร้านต่างๆ ใครใคร่ค้าค้า จำนวนมากไม่มีที่จอดรถเพียงพอ ดังนั้นเลนซ้ายของถนนจึงกลายเป็นที่จอดรถไปโดยปริยาย ปกติตำรวจจะไม่มาไล่หรือเขียนใบสั่ง เว้นแต่จะเป็นชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น เช่น ร้านอาหารหลายๆ แห่ง ช่วงกลางวันร้านปิดนี่เลนซ้ายรอบๆ จะโล่ง พอตกเย็นไปถึงดึกที่ร้านเปิด ลูกค้ายึดเลนซ้ายจอดกันยาวๆ มี พนง. ร้าน มาโบกรถ เอากรวยมาตั้งให้ด้วย หรือแม้แต่สถานที่ราชการ ก็ยังให้คนมาติดต่อราชการจอดรถชิดเลนซ้ายได้ ดังนั้นการจอดรถเลนซ้ายมันเลยกลายเป็น "วิถีชีวิต" ของคนในประเทศไทยไปแล้ว สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
2.สิ่งพิสูจน์สมมติฐานข้อแรก คือดราม่า "รถยนต์ vs มอเตอร์ไซค์" ที่มีมาตลอดทุกยุค ( ถ้าในห้องรัชดา ณ พันติ๊ป ก็เฉลี่ยสัปดาห์ละกระทู้ ) ก่อนจะมีกระแสจักรยาน มอเตอร์ไซค์กับรถยนต์มักเป็นคู่ปรับที่ช่วงชิงพื้นที่บนท้องถนนกันเสมอ คนขี่มอเตอร์ไซค์นอกจากจะถูกข้อกฎหมายบังคับให้วิ่งชิดซ้ายแล้ว ยังถูกคนขับรถยนต์แสดงท่าทีเหยียดหยาม หงุดหงิด รำคาญใจเรื่อยๆ เมื่อไปวิ่งเลนอื่นๆ ที่รถยนต์วิ่ง คนขับรถยนต์มักไล่คนขี่มอเตอร์ไซค์กลับไปวิ่งเลนซ้าย แต่ในทางกลับกัน คนขี่มอเตอร์ไซค์ก็จะย้อนถามว่า "ไล่ไปวิ่งเลนซ้ายแล้วมันมีให้วิ่งไหม?" ก็เพราะรถยนต์นั่นแหละ ยึดเลนซ้ายเป็นที่จอดไปหมดแล้ว จอดส่งลูกเข้าโรงเรียน จอดแวะตลาดซื้อกับข้าว หรือบางทีรถยนต์อยากเลี้ยวก็เลี้ยวไฟไม่เปิด หรือออกจากซอยก็พุ่งพรวดออกมาไม่ดูอะไรทั้งสิ้น ฯลฯ
3.ส่วนจักรยาน ก่อนหน้านี้ไม่เคยถูกนำมานับรวมบนท้องถนน อันนี้หมายถึงในทางผู้กำหนดนโยบาย ไม่ใช่ในกฎหมาย อย่างคนมีอายุหน่อยคงเคยฟังเพลง "จักรยานคนจน" ที่เนื้อเพลงออกแนวตัดพ้อทำนองคนขี่จักรยานมันจนกว่าคนขี่มอเตอร์ไซค์ ( และแน่นอนว่าคนขี่มอเตอร์ไซค์ก็เป็นชนชั้นต่ำกว่าคนขับรถยนต์อีกที อย่างในเพลง "มอเตอร์ไซค์ฮ่าง" เนื้องเพลงเป็นคุณครูหนุ่ม ขี่มอเตอร์ไซค์เก่าๆ อกหักเพราะสาวเจ้าไปคบนายตำรวจขับกระบะ ) จักรยานมาบูมเพราะระยะหลังๆ มีคนชั้นกลางนิยมมากขึ้น แต่ไม่ใช่ในแง่ขี่ในชีวิตประจำกัน หากแต่เป็นในแง่งานอดิเรก ขี่เพื่อออกกำลังกายหรือท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ไปเรื่อย ไม่ต่างจากมอเตอร์ไซค์ที่หลังๆ ก็เริ่มมีเสียงโต้แย้งว่าไม่ใช่พาหนะของชนชั้นรากหญ้าแล้วนะ เพราะ Big Bike ราคาหลักแสนคนทั่วไปเข้าถึงง่ายขึ้น
จาก 3 ข้อแรก สรุปได้ว่าวิธีคิดเกี่ยวกับยานพาหนะบ้านเราแต่เดิมมา รถยนต์สำคัญที่สุด มอเตอร์ไซค์เป็นพลเมืองชั้น 2 ส่วนจักรยานเป็นกลุ่มตกสำรวจ กระทั่งยุคหลังๆ จักรยานถูกนับรวมเข้ามา การช่วงชิงพื้นที่ การต่อสู้ต่อรองบนท้องถนนเลยไม่ได้มีแต่คนขับรถยนต์กับคนขี่มอเตอร์ไซค์แล้ว แต่ยังมีคนขี่จักรยานที่มีปากมีเสียง มีพลังอำนาจต่อรองมากขึ้นเรื่อยๆ
( และอาจจะรุนแรงขึ้น? อย่าลืมว่าประเทศไทยไม่มีนโยบายจำกัดจำนานรถยนต์ คุณซื้อรถไม่ต้องมีที่จอดก็ได้ คุณซื้อรถจะใช้ไปกี่ปีก็ได้ถ้าตรวจสภาพผ่านก็จบ จะเห็นได้จากใน กทม. รวมถึงตัวจังหวัดต่างๆ ที่นับวันจะมีแต่เสียงบ่นเรื่องรถติด )
4.ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การที่มนุษย์ออฟฟิศจะปั่นจักรยานไปทำงานในห้องแอร์คงไม่เหมาะเท่าไร บริษัทห้างร้าน องค์กรต่างๆ ไม่ได้เตรียมห้องอาบน้ำไว้ให้ ( ขนาดคนขี่มอเตอร์ไซค์ยังบ่นเลยเวลาหน้าร้อน ขี่ไปตัวเหนียวไป ) ไม่เหมือนฝรั่งที่เป็นเมืองหนาว แดดไม่ค่อยมีไม่ค่อยแรง
5.ระบบขนส่งหลักมันไม่เชื่อมกันจนสะดวกมากๆ อย่างญี่ปุ่นขี่จักรยานจากในซอยออกมาจอดปากซอยแล้วขึ้นรถเมล์ - รถไฟฟ้าไปทำงานได้สบายๆ แถมบ้านเราใครอยากอยู่ตรงไหนก็ได้ มีอาคารไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายผังเมือง ที่เหลือสร้างกันตามสบาย ไม่ได้มีการจัดโซนแบบต่างประเทศ ขนส่งหลักเลยไม่มีทางพอ พอแบบนี้ก็ต้องดึงขนส่งรองๆ จากของเถื่อนมาทำให้ถูกกฎหมาย เช่น รถตู้ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถกระป๋อง กลายเป็นมาเพิ่มจำนวนรถยนต์บนท้องถนนอีก
6.เราไม่มีการกระจายคนเลย อันนี้เป็นกรณีของ กทม. โดยเฉพาะ อย่างแผงลอยบนทางเท้า เอาจริงๆ ก็มีแทบทุกที่ทั่วประเทศ แต่ใน จว. อื่นๆ จำนวนประชากรอยู่อาศัยมันไม่มากเท่า กทม. คนขายและคนซื้อจึงดูมีไม่มาก มันเลยไม่ดูเกะกะจนรู้สึกว่าเป็นปัญหาเหมือนใน กทม. ( การจอดรถเลนซ้ายก็เช่นกัน ) สังเกตว่าปัญหาดราม่าบนท้องถนนหรือแม้แต่บนทางเท้า จำนวนมากเกิดใน กทม. นี่แหละ คนเยอะเรื่องแยะ กทม. เป็นแหล่งรวมของคนทุกกลุ่มตั้งแต่ล่างสุดยันบนสุด และทุกกลุ่มก็ช่วงชิงต่อสู้เพื่อรักษาพื้นที่ใช้ชีวิตของตนใน กทม. ( ไม่รู้ตอนนี้มี จว. ไหน เริ่มเจริญรอยตาม กทม. กันบ้างไหม? )
---------------------------------------
ทั้งหมดนี้ผมขอชวนทุกท่านมาคิดกันครับ ตกลงแล้วที่เราเห็นประเทศอื่นๆ เขามีทางจักรยาน เราดูแล้วมันรู้สึกว่ามีอารยะ เราเลยอยากมีบ้าง แต่กลายเป็นว่าพอมีแล้วก็เกิดปัญหา เกิดข้อขัดแย้งระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมอีก
ประเทศไทยเหมาะสมกับการใช้จักรยานจริงๆ หรือเปล่า?
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )