ทริปนี้ผมมีโอกาสได้ร่วมเดินทางกับ AIS Trip ใน Project
“กอดสายหมอกที่พะเนินทุ่ง เมืองเพชรบุรี เรียนรู้เทคนิคถ่ายภาพจากช่างภาพมืออาชีพ” โปรแกรมการเดินทางหลักๆ จะอยู่ที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี โดยจะมีอาจารย์นพดล อาชาสันติสุข รองประธานมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.2557 -ปัจจุบัน รวมถึงเป็นช่างภาพที่บันทึกภาพเหตุการณ์ครั้งสำคัญของประเทศ และอาจารย์สมโภช แตงไทย ช่างภาพอิสระและเป็นผู้เขียนบทความด้านการถ่ายภาพ และการท่องเที่ยวในนิตยสารถ่ายภาพคาเมราร์ต คอยมาให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพให้กับสมาชิกทุกคนครับ ผมเลยอยากเอาประสบการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปันกันครับ สำหรับการจัดกิจกรรม AIS Trip มีการจัดต่อเนื่องกันมา ปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว และ AIS Trip ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 23 ครับ
สมาชิกนัดรวมตัวกันที่ตึก AIS 1 เมื่อสมาชิกพร้อม ก็เริ่มออกเดินทางกันครับ
หลังจากที่ออกเดินทางประมาณ 30 นาที อาจารย์นพดลก็มาแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพให้พวกเราบนรถ แต่เป็นการแนะนำแบบคร่าวๆ ก่อน เพียงให้เราได้รู้จักกล้องของเรามากขึ้น เพื่อที่เตรียมพร้อมในการลงไปถ่ายรูปยังจุดหมายปลายทางแรก คือวัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรีครับ
เราใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ก็มาถึงยัง
“วัดขนอน (หนังใหญ่)” สันนิษฐานว่าวัดขนอนสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2327 หรืออาจจะก่อนหน้านั้น เดิมชื่อวัด
“กานอน” ด้วยเหตุเพราะรอบๆ บริเวณวัดมีป่าไม้แดง ไม้ยาง จึงทำให้มีสัตว์นานาชนิดมาอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเสือ เก้ง กวาง ลิง ค่าง บ่าง ชะนี รวมถึงนกหลากหลายชนิด แต่มีนกชนิดหนึ่งที่มีจำนวนมาก นั่นคือ นกกา ในเวลากลางวันนกกาจะบินไปหาอาหารตามลำน้ำแม่กลอง และจะกลับมานอนที่วัดขนอน ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดกานอน ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น
“วัดขนอนโปราวาส” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกสั้นๆ ว่า
“วัดขนอน” ครับ
สิ่งที่ไม่ควรพลาดชมของวัดขนอนมี 3 จุด จุดแรกคือพระอุโบสถ ที่มีลักษณะการสร้างคล้ายกับพระวิหารหลวงของวัดสุทัศน์เทพวราราม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาแลงประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านซ้ายและขวามีพระอัครสาวกยืนพนมมือ ด้านหลังพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงระฆังก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ครับ
โดยรอบพระอุโบสถมีระเบียงคตก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทั้งสี่ทิศ ภายในระเบียงมีพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัยจำนวน 120 องค์ประดิษฐานรายรอบเจดีย์ราย
จุดที่สองคือพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนครับ
เรือนหลังนี้เป็นที่จัดแสดงของตัวหนัง ที่ทยอยเริ่มสร้างขึ้นในสมัย ร.5 โดยหลวงปู่กล่อม ท่านได้ชักชวนช่างร่วมกันสร้าง ชุดแรกที่สร้างคือ ชุดหนุมานถวายแหวน ต่อมาได้สร้างเพิ่มอีกรวม 9 ชุด ปัจจุบันมีตัวหนังทั้งหมด 313 ตัว
พระครูพิทักษ์ศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดขนอน ผู้อนุรักษ์หนังใหญ่ไม่ให้สูญหายไปจากเมืองไทย ท่านมาเล่าถึงประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ให้พวกเราได้ฟังกันครับ
จากนั้นอาจารย์นพดลมาแนะนำเทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพ และให้ผู้ร่วมทริปได้ทดลองถ่ายภาพกันครับ
ถ่ายออกมาแล้วก็มาตรวจเช็คกัน อาจารย์สมโภชจะมาคอยให้คำแนะนำเพื่อให้ภาพนั้นๆ ดูดีขึ้นครับ
ตัวหนังใหญ่ส่วนมากทำจากหนังโค นำมาฉลุเป็นภาพตามตัวละครในเนื้อเรื่อง ตัวหนังที่มีความสำคัญคือ หนังเจ้าหรือหนังครู จะเป็นตัวหนังที่ใช้ในการไหว้ครู มี 3 ตัวคือพระฤาษี พระอิศวร และพระนารายณ์ การทำหนังเจ้าจะใช้หนังโคที่ตายท้องกลม หรือถูกเสือกัดตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย แต่ถ้าหากหาไม่ได้ก็จะใช้หนังเสือหรือหนังหมีแทน โดยผู้สร้างจะต้องนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลแปด เขียนและลงสีให้เสร็จภายในวันเดียว สำหรับหนังอื่นๆ จะใช้หนังโคครับ
ตัวหนังแต่ละตัวที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จะนำมานาบกับตู้ไฟ ทำให้ตัวหนังมีสีสันสดใส ตอนที่เดินดูตัวหนังในพิพิธภัณฑ์ผมยังแอบนึกสงสัยอยู่ในใจว่า ตัวหนังแต่ละตัวมีอายุมายาวนานมาก แต่ทำไมที่นำมาโชว์เหมือนหนังที่ทำขึ้นใหม่เลย แต่ถ้าหากว่าเราทำการปิดไฟที่ตู้ไฟ จะทำให้มองเห็นถึงความเก่าของตัวหนังอย่างชัดเจนครับ
ตัวหนังที่อยู่กลางภาพ คือตัวหนังนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งเป็นร่างอวตารของพระราม ตัวนี้ใช้หนังวัวถึง 4 ตัว มีความสูง 3.15 เมตร ใช้เวลาทำเพียง 2 วัน ถือเป็นตัวหนังที่ใหญ่ที่สุดในโลกครับ
ห้องเก็บหนังเก่า เท่าที่มองจากสายตา น่าจะมีตัวหนังที่เก่ามากๆ กว่า 100 ตัวเลยทีเดียว
ลานระเบียงที่ยื่นออกมาจากส่วนของพิพิธภัณฑ์ มีต้นจัน-อินแผ่กิ่งก้านสาขา ให้ความร่มรื่นเป็นอย่างมากครับ ผมไม่แน่ใจว่าลานตรงนี้คือที่ใช้ฝึกเชิดหนังใหญ่ด้วยหรือเปล่า เพราะเท่าที่เคยดูผ่านตาทางรายการทีวี จะใช้จุดนี้เป็นจุดสอนเชิดหนังใหญ่ครับ
และสิ่งที่ถือว่าเป็นไฮไลท์ของวัดขนอน ที่ไม่ควรพลาดชม นั่นคือการแสดงเชิดหนังใหญ่ที่โรงมหรสพหนังใหญ่วัดขนอน ซึ่งในวันเสาร์จะมีการแสดงเชิดหนังใหญ่ในเวลา 10.00 น. และวันอาทิตย์แสดงเวลา 11.00 น. จัดแสดงวันละ 1 รอบเท่านั้นครับ
หนังใหญ่ถือเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นการแสดงชั้นสูง เป็นการแสดงที่รวมศิลปะที่ทรงคุณค่าหลายแขนง ได้แก่ด้านศิลปะการออกแบบลวดลายไทยเชิงจิตกรรมที่มีความวิจิตรบรรจง ผสมกับฝีมือช่างแกะสลักที่ประณีต เมื่อแสดงก็จะมีการนำศิลปะทางนาฏศิลป์การละครที่เคลื่อนไหวอย่างได้อารมณ์ตามเนื้อเรื่อง ประกอบกับบทพากย์ บทเจรจา บทขับร้อง ดนตรีปี่พาทย์ ทำให้เกิดเรื่องราวและอรรถรสในการชม
ภาพนี้อาจารย์นพดลแนะนำว่าให้ลองใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ประมาณ 1/60 ดู เพื่อจะได้ภาพตัวหนังที่ดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในภาพ ภาพนี้ผมกดไปหลายชอตอยู่เหมือนกัน เพราะมือไม่นิ่งพอครับ
เสียงดนตรีปี่พาทย์ที่ทำให้ผู้ชมได้รับอรรถรสในการชมมากขึ้นมาจากเด็กกลุ่มนี้ เก่งจริงๆ ครับ
หลังจากชมการเชิดหนังเสร็จแล้ว ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนได้ร่วมลงมือกันทำ นั่นคือการตอกตัวหนังครับ
มีวิทยากรจากทางวัดมาแนะนำในการตอกตัวหนัง จากนั้นสมาชิกทุกคนได้เริ่มประชันฝีมือในการตอกตัวหนังกันอย่างเอาจริงเอาจัง เมื่อจัดการทำหนังธรรมดาให้มีลวดลายตามที่ร่างไว้เรียบร้อยแล้วก็ถึงขั้นตอนนำหนังมาติดพวงกุญแจ เป็นอันเสร็จพิธี และทางวัดได้มอบตัวหนังที่เราทำเองกับมือให้เราเก็บไว้เป็นที่ระลึกด้วยครับ
ที่วัดขนอน เราได้รับทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตัวหนังใหญ่ ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ ความเพลิดเพลินในการชมการเชิดหนังใหญ่ รวมถึงการได้ลงมือตอกหนังฝีมือตัวเองแถมยังได้นำกลับเป็นของฝากอีกด้วย แต่ละคนดูมีความสุขกันถ้วนหน้า ต้องบอกเลยว่ามาที่นี่ดีต่อใจจริงๆ ครับ
คณะกรรมการจากยูเนสโกประกาศให้
“การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอน” ได้รับรางวัลจากยูเนสโก และได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรมด้วยนะครับ น่าภูมิใจแทนวัดขนอนมากๆ ใครที่มาเที่ยวราชบุรี ผมแนะนำว่าไม่ควรพลาดการมาเที่ยวชมที่วัดขนอนนะครับ และควรวางแผนดีๆ ให้มาตรงเวลาที่มีการแสดงด้วยจะคุ้มค่ามากๆ ครับ
[SR] กอดสายหมอกที่พะเนินทุ่ง
ทริปนี้ผมมีโอกาสได้ร่วมเดินทางกับ AIS Trip ใน Project “กอดสายหมอกที่พะเนินทุ่ง เมืองเพชรบุรี เรียนรู้เทคนิคถ่ายภาพจากช่างภาพมืออาชีพ” โปรแกรมการเดินทางหลักๆ จะอยู่ที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี โดยจะมีอาจารย์นพดล อาชาสันติสุข รองประธานมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.2557 -ปัจจุบัน รวมถึงเป็นช่างภาพที่บันทึกภาพเหตุการณ์ครั้งสำคัญของประเทศ และอาจารย์สมโภช แตงไทย ช่างภาพอิสระและเป็นผู้เขียนบทความด้านการถ่ายภาพ และการท่องเที่ยวในนิตยสารถ่ายภาพคาเมราร์ต คอยมาให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพให้กับสมาชิกทุกคนครับ ผมเลยอยากเอาประสบการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปันกันครับ สำหรับการจัดกิจกรรม AIS Trip มีการจัดต่อเนื่องกันมา ปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว และ AIS Trip ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 23 ครับ
สมาชิกนัดรวมตัวกันที่ตึก AIS 1 เมื่อสมาชิกพร้อม ก็เริ่มออกเดินทางกันครับ
หลังจากที่ออกเดินทางประมาณ 30 นาที อาจารย์นพดลก็มาแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพให้พวกเราบนรถ แต่เป็นการแนะนำแบบคร่าวๆ ก่อน เพียงให้เราได้รู้จักกล้องของเรามากขึ้น เพื่อที่เตรียมพร้อมในการลงไปถ่ายรูปยังจุดหมายปลายทางแรก คือวัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรีครับ
เราใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ก็มาถึงยัง “วัดขนอน (หนังใหญ่)” สันนิษฐานว่าวัดขนอนสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2327 หรืออาจจะก่อนหน้านั้น เดิมชื่อวัด “กานอน” ด้วยเหตุเพราะรอบๆ บริเวณวัดมีป่าไม้แดง ไม้ยาง จึงทำให้มีสัตว์นานาชนิดมาอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเสือ เก้ง กวาง ลิง ค่าง บ่าง ชะนี รวมถึงนกหลากหลายชนิด แต่มีนกชนิดหนึ่งที่มีจำนวนมาก นั่นคือ นกกา ในเวลากลางวันนกกาจะบินไปหาอาหารตามลำน้ำแม่กลอง และจะกลับมานอนที่วัดขนอน ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดกานอน ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดขนอนโปราวาส” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกสั้นๆ ว่า “วัดขนอน” ครับ
สิ่งที่ไม่ควรพลาดชมของวัดขนอนมี 3 จุด จุดแรกคือพระอุโบสถ ที่มีลักษณะการสร้างคล้ายกับพระวิหารหลวงของวัดสุทัศน์เทพวราราม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาแลงประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านซ้ายและขวามีพระอัครสาวกยืนพนมมือ ด้านหลังพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงระฆังก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ครับ
โดยรอบพระอุโบสถมีระเบียงคตก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทั้งสี่ทิศ ภายในระเบียงมีพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัยจำนวน 120 องค์ประดิษฐานรายรอบเจดีย์ราย
จุดที่สองคือพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนครับ
เรือนหลังนี้เป็นที่จัดแสดงของตัวหนัง ที่ทยอยเริ่มสร้างขึ้นในสมัย ร.5 โดยหลวงปู่กล่อม ท่านได้ชักชวนช่างร่วมกันสร้าง ชุดแรกที่สร้างคือ ชุดหนุมานถวายแหวน ต่อมาได้สร้างเพิ่มอีกรวม 9 ชุด ปัจจุบันมีตัวหนังทั้งหมด 313 ตัว
พระครูพิทักษ์ศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดขนอน ผู้อนุรักษ์หนังใหญ่ไม่ให้สูญหายไปจากเมืองไทย ท่านมาเล่าถึงประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ให้พวกเราได้ฟังกันครับ
จากนั้นอาจารย์นพดลมาแนะนำเทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพ และให้ผู้ร่วมทริปได้ทดลองถ่ายภาพกันครับ
ถ่ายออกมาแล้วก็มาตรวจเช็คกัน อาจารย์สมโภชจะมาคอยให้คำแนะนำเพื่อให้ภาพนั้นๆ ดูดีขึ้นครับ
ตัวหนังใหญ่ส่วนมากทำจากหนังโค นำมาฉลุเป็นภาพตามตัวละครในเนื้อเรื่อง ตัวหนังที่มีความสำคัญคือ หนังเจ้าหรือหนังครู จะเป็นตัวหนังที่ใช้ในการไหว้ครู มี 3 ตัวคือพระฤาษี พระอิศวร และพระนารายณ์ การทำหนังเจ้าจะใช้หนังโคที่ตายท้องกลม หรือถูกเสือกัดตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย แต่ถ้าหากหาไม่ได้ก็จะใช้หนังเสือหรือหนังหมีแทน โดยผู้สร้างจะต้องนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลแปด เขียนและลงสีให้เสร็จภายในวันเดียว สำหรับหนังอื่นๆ จะใช้หนังโคครับ
ตัวหนังแต่ละตัวที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จะนำมานาบกับตู้ไฟ ทำให้ตัวหนังมีสีสันสดใส ตอนที่เดินดูตัวหนังในพิพิธภัณฑ์ผมยังแอบนึกสงสัยอยู่ในใจว่า ตัวหนังแต่ละตัวมีอายุมายาวนานมาก แต่ทำไมที่นำมาโชว์เหมือนหนังที่ทำขึ้นใหม่เลย แต่ถ้าหากว่าเราทำการปิดไฟที่ตู้ไฟ จะทำให้มองเห็นถึงความเก่าของตัวหนังอย่างชัดเจนครับ
ตัวหนังที่อยู่กลางภาพ คือตัวหนังนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งเป็นร่างอวตารของพระราม ตัวนี้ใช้หนังวัวถึง 4 ตัว มีความสูง 3.15 เมตร ใช้เวลาทำเพียง 2 วัน ถือเป็นตัวหนังที่ใหญ่ที่สุดในโลกครับ
ห้องเก็บหนังเก่า เท่าที่มองจากสายตา น่าจะมีตัวหนังที่เก่ามากๆ กว่า 100 ตัวเลยทีเดียว
ลานระเบียงที่ยื่นออกมาจากส่วนของพิพิธภัณฑ์ มีต้นจัน-อินแผ่กิ่งก้านสาขา ให้ความร่มรื่นเป็นอย่างมากครับ ผมไม่แน่ใจว่าลานตรงนี้คือที่ใช้ฝึกเชิดหนังใหญ่ด้วยหรือเปล่า เพราะเท่าที่เคยดูผ่านตาทางรายการทีวี จะใช้จุดนี้เป็นจุดสอนเชิดหนังใหญ่ครับ
และสิ่งที่ถือว่าเป็นไฮไลท์ของวัดขนอน ที่ไม่ควรพลาดชม นั่นคือการแสดงเชิดหนังใหญ่ที่โรงมหรสพหนังใหญ่วัดขนอน ซึ่งในวันเสาร์จะมีการแสดงเชิดหนังใหญ่ในเวลา 10.00 น. และวันอาทิตย์แสดงเวลา 11.00 น. จัดแสดงวันละ 1 รอบเท่านั้นครับ
หนังใหญ่ถือเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นการแสดงชั้นสูง เป็นการแสดงที่รวมศิลปะที่ทรงคุณค่าหลายแขนง ได้แก่ด้านศิลปะการออกแบบลวดลายไทยเชิงจิตกรรมที่มีความวิจิตรบรรจง ผสมกับฝีมือช่างแกะสลักที่ประณีต เมื่อแสดงก็จะมีการนำศิลปะทางนาฏศิลป์การละครที่เคลื่อนไหวอย่างได้อารมณ์ตามเนื้อเรื่อง ประกอบกับบทพากย์ บทเจรจา บทขับร้อง ดนตรีปี่พาทย์ ทำให้เกิดเรื่องราวและอรรถรสในการชม
ภาพนี้อาจารย์นพดลแนะนำว่าให้ลองใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ประมาณ 1/60 ดู เพื่อจะได้ภาพตัวหนังที่ดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในภาพ ภาพนี้ผมกดไปหลายชอตอยู่เหมือนกัน เพราะมือไม่นิ่งพอครับ
เสียงดนตรีปี่พาทย์ที่ทำให้ผู้ชมได้รับอรรถรสในการชมมากขึ้นมาจากเด็กกลุ่มนี้ เก่งจริงๆ ครับ
หลังจากชมการเชิดหนังเสร็จแล้ว ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนได้ร่วมลงมือกันทำ นั่นคือการตอกตัวหนังครับ
มีวิทยากรจากทางวัดมาแนะนำในการตอกตัวหนัง จากนั้นสมาชิกทุกคนได้เริ่มประชันฝีมือในการตอกตัวหนังกันอย่างเอาจริงเอาจัง เมื่อจัดการทำหนังธรรมดาให้มีลวดลายตามที่ร่างไว้เรียบร้อยแล้วก็ถึงขั้นตอนนำหนังมาติดพวงกุญแจ เป็นอันเสร็จพิธี และทางวัดได้มอบตัวหนังที่เราทำเองกับมือให้เราเก็บไว้เป็นที่ระลึกด้วยครับ
ที่วัดขนอน เราได้รับทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตัวหนังใหญ่ ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ ความเพลิดเพลินในการชมการเชิดหนังใหญ่ รวมถึงการได้ลงมือตอกหนังฝีมือตัวเองแถมยังได้นำกลับเป็นของฝากอีกด้วย แต่ละคนดูมีความสุขกันถ้วนหน้า ต้องบอกเลยว่ามาที่นี่ดีต่อใจจริงๆ ครับ
คณะกรรมการจากยูเนสโกประกาศให้ “การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอน” ได้รับรางวัลจากยูเนสโก และได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรมด้วยนะครับ น่าภูมิใจแทนวัดขนอนมากๆ ใครที่มาเที่ยวราชบุรี ผมแนะนำว่าไม่ควรพลาดการมาเที่ยวชมที่วัดขนอนนะครับ และควรวางแผนดีๆ ให้มาตรงเวลาที่มีการแสดงด้วยจะคุ้มค่ามากๆ ครับ