
ในยุคที่หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในชั่วโมงเร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นการรีบเดินทางไปทำงาน ไปโรงเรียน หรือไปทำธุระต่างๆในยามเช้า เรามักจะต้องตื่นก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันปัญหารถติดโดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร ที่มีปัญหารถติดเป็นอันดับ 1 เมืองที่รถติดที่สุดในโลก จนหลายคนไม่มีโอกาสได้ทานอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุด ซึ่งตัวเลือกในการแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ อาหารสำเร็จรูป
อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารที่สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีสำหรับคนที่มีเวลาน้อยหรือมีเวลาไม่มากพอที่จะไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร อาหารสำเร็จรูปจึงเป็นทางออกอย่างดี เพราะใช้เวลาในการอุ่นเพียงแค่ 1 - 5 นาที ซื้อเก็บไว้อุ่นทานเองที่บ้านก็ได้หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งปัจจุบันก็มีขายอยู่ทั่วไป ใช้เวลาเพียงไม่นานก็ได้รับประทานอาหารแล้ว ไม่ต้องไปนั่งรออาหารเหมือนเวลาไปรับประทานที่ร้าน ช่วยประหยัดเวลาชีวิตลงไปมากเลยทีเดียว โดยส่วนมากคนที่รับประทานอาหารสำเร็จรูปบ่อยๆมักจะเป็นช่วงวัยเรียนจนถึงวัยทำงาน ที่ใช้ชีวิตอยู่กับชั่วโมงเร่งรีบ นั้นก็เป็นไปได้ว่าเด็กมีโอกาสจะได้รับประทานอาหารสำเร็จรูปตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะจะช่วยประหยัดเวลาของผู้ปกครอง แต่หารู้หรือไม่ว่ามีบางอย่างกำลังสะสมอยู่ในร่างกายของคุณ
ก่อนอื่นเลยเราจะลองเเบ่งประเภทของอาหารสำเร็จให้ทุกคนได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น 3 ประเภท ได้แก่ อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป

1. อาหารแช่แข็ง
คือการถนอมอาหารหรือการล็อกความสดและรสชาติของอาหารเอาไว้ด้วยการใช้ความเย็น การใช้ความเย็นที่จุดเบือกแข็งหรือลบ 18 องศาเซลเซียส นั้นสามารถหยุดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหารเอาไว้ได้ และยังคงคุณภาพทางโภชนาการได้อยู่ แต่อันตรายจากอาหารแช่แข็งคือ บรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ของอาหารนั้นสามารถใช้ได้เพียงแต่ครั้งเดียวเท่านั้น หากใช้ซ้ำบ่อยๆจะทำให้สารเคมีจากบรรจุภัณฑ์ตกค้างมายังอาหาร และ เป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็ง (อ้างอิงข้อมูลจาก : รายการ ‘กิน อยู่’ เรื่องอาหารแช่เยือกแข็ง)

2. อาหารกระป๋อง
คือวิธีการถนอมวิธีหนึ่งเช่นเดียวกัน โดยอาหารกระป๋องยังได้รับความนิยมอยู่มากแต่จะเป็นการนำไปปรุงรสต่อมากกว่า แต่ก็มีอาหารกระป๋องบางส่วนที่นิยมรับประทานทันที่ ซึ่งการเก็บรักษาอาหารกระป๋องก็เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในกระป๋อง เพราะเมื่ออาหารโดนอากาศทำให้จุลินทรีย์ในอาหารเติบโตจนกระทั่งไม่สามารถรับประทานได้ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องควรระวังนั้นคือสีเคลือบของกระป๋องเพราะสีของกระป๋องถ้าเกิดตกข้างในอาหารก็อาจจะเกิดกรณีเดียวกับอาหารแช่แข็งคือ สารก่อมะเร็ง เข้าไปเจือปนอยู่ในอาหาร (อ้างอิงข้อมูลจาก :
http://www.thaihealth.or.th/Content/30268 )
3. อาหารกึ่งสำเร็จรูป
เป็นอาหารที่ัยังไม่สามารถรับประทานได้เลยทันทีต้องผ่านทำให้สุกเสียก่อนโดยน้ำอุ่นหรือไมโครเวฟ แล้วจึงสามารถรับประทานได้โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรมากมาย ที่มาพร้อมสโลแกน “อร่อยได้ในสามนาที” กระบวนการการผลิตคือหลังจากทำให้สุกก็ถนอมอาหารด้วยการ ทำให้แห้งหรือทำให้เป็นผง เพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษา แต่เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วใช้เวลานานมากกว่าอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ นั้นเป็นสาเหตุว่าทำไมรับประทานแล้วอิ่มนาน อีกอย่างเมื่ออยู่ในลำไส้นานๆ ลำไส้ที่มีหน้าที่ซึบซับสารอาหารก็จะซึบซับสารจากเส้นบะหมี่ไปเรื่อยๆจนเราได้รับสารปรุงแต่งที่อยู่ในเส้นเข้าไปด้วย ซึ่งกลายเป็นสารตกค้างในลำไส้หรือเลือด (อ้างอิงข้อมูลจาก : BradenKuoz ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารจาก Massachusetts General Hospital )

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นโทษของอาหารสำเร็จแต่ละประเภทที่เราจะได้จำแนกตามข้อมูลที่เราหาได้ แต่ยังมีโทษอีกอย่างที่สำคัญและเป็นโทษที่มาจากการรับประทานอาหารสำเร็จรูปทุกชนิดเป็นประจำนั้นก็คือ โซเดียม
โซเดียม
โซเดียมเป็นสารอาหารที่สำคัญในตระกูลเกลือแร่ จัดอยู่ในกลุ่มอีเลคโทรไลต์ เมื่อละลายน้ำจะแยกตัวออกเป็น ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าบวก โซเดียมมีมากที่สุดที่น้ำนอกเซลล์ โดยควบคุมความดันออสโมติกเพื่อรักษาปริมาณของน้ำนอกเซลล์ โซเดียมจะถูกดูดซึมได้ตลอดทางเดินอาหาร น้อยที่สุดที่กระเพาะอาหาร และมากที่สุดที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง โซเดียมยังช่วยรักษา ความเป็น กรดและด่างของร่างกาย ช่วยนำซูโครสและกรดอะมิโน ไปเลี้ยงร่างกาย โดยกรมอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดการรับประทานโซเดียมเอาไว้ 2000 มิลลิกรัมต่อวันและไม่เกิน 2300 มิลลิกรัมต่อวัน (อ้างอิงข้อมูลจาก : เว็บไซต์ Lovefitt )
เรื่องนี้เคยถูกเรียกร้องให้เกือบจะได้เป็นวาระเเห่งชาติมาแล้ว คนไทยส่วนมากรับประทานโซเดียมเกินที่มาตราฐานกำหนดไว้โดยไม่รู้ตัว เ เพราะโซเดียมไม่ได้มาจากเกลือทีเรารู้จักเท่านั้น แต่โซเดียม ยังแฝงอยู่ในอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหารที่เรารับประทานทั่วไป เครื่องปรุงรส อาหารดอง ขนมอบกรอบ และที่สำคัญอาหารสำเร็จรูป
โซเดียมมากไปอันตรายยังไง?

เมื่อเรารับประทานโซเดียมเข้าไปก็จะมีการดูดซึมเข้าสู่การแสเลือด เมื่อโซเดียมในเลือกก็จะมีการดูดซึมน้ำเข้ามาเพื่อลดความเข้มข้นของโซเดียมในเลือด และเมื่อของเหลวในเลือดมากขึ้น หัวใจก็จะสูบฉีดเร็วขึ้น ความดันก็จะสูงตามไปด้วย

ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะมี ไต ค่อยทำหน้าที่ขจัดของเสียหรือส่วนเกินออกจากร่างกายมาทาง ปัสสะวะ เพื่อควบคุมปริมาณของโซเดียมในร่างกาย แต่ถ้าเรารับประทานโซเดียมมากเกินไปก็จะทำให้ ไต ทำงานหนักขึ้น เพราะโมเลกุลของโซเดียมนั้นใหญ่กว่าระบบการทำงานของไต แล้วมันจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น พอไตเสื่อมสภาพของเสียก็จะอยู่ในร่างกายมากขึ้น

เมื่อร่างกายของเรามีของเสียสะสมอยู่นร่างกายมากๆ รวมกับไตที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิจากการรับประทานโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ร่างกายอ่อนแอและมีโรคตามมา โดยเฉพาะ โรคเกี่ยวทางเดินหัวใจ และ โรคไตวายเรื้อรัง (อ้างอิงข้อมูลจาก : โครงการลดพุง ลดโรค ของ สสส.)

ทั้งหมดที่กล่าวมาเราจะเห็นได้ว่าโซเดียมนั้น ถ้าหากรับประทานมากเกินมันจะส่งผลเสียอย่างไรกับร่างกายของเราบ้าง รู้อย่างนี้แล้วคุณยังจะทานเค็มหรืออาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมเป็นประจำอยู่หรือไม่? เราไม่ได้บอกว่าอาหารสำเร็จเป็นสิ่งไม่ดี แต่การทานอาหารบางอย่างเป็นประจำย่อมส่งผลเสียกับร่างกาย เราขอแค่ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง” เพื่อความสุขของคุณและคนรอบข้างของคุณเอง
*หมายเหตุ ถ้ามีข้อผิดพลาดอย่างไรสามารถคอมเม้นได้เลยครับ นี้เป็นเพียงชิ้นงานที่รวมรวบข้อมูลมาเขียนทความใหม่ โดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาต่างๆ บางข้อมูลก็สรุปเองเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น รูปภาพประกอบใช้เพื่อประกอบบทความเท่านั้นไม่ได้มีเจตนาอื่นแอบแฝงครับ ขออภัยหากผิดพลาด
อาหารสำเร็จรูป ไม่ดีจริงหรือ?
ในยุคที่หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในชั่วโมงเร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นการรีบเดินทางไปทำงาน ไปโรงเรียน หรือไปทำธุระต่างๆในยามเช้า เรามักจะต้องตื่นก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันปัญหารถติดโดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร ที่มีปัญหารถติดเป็นอันดับ 1 เมืองที่รถติดที่สุดในโลก จนหลายคนไม่มีโอกาสได้ทานอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุด ซึ่งตัวเลือกในการแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ อาหารสำเร็จรูป
อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารที่สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีสำหรับคนที่มีเวลาน้อยหรือมีเวลาไม่มากพอที่จะไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร อาหารสำเร็จรูปจึงเป็นทางออกอย่างดี เพราะใช้เวลาในการอุ่นเพียงแค่ 1 - 5 นาที ซื้อเก็บไว้อุ่นทานเองที่บ้านก็ได้หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งปัจจุบันก็มีขายอยู่ทั่วไป ใช้เวลาเพียงไม่นานก็ได้รับประทานอาหารแล้ว ไม่ต้องไปนั่งรออาหารเหมือนเวลาไปรับประทานที่ร้าน ช่วยประหยัดเวลาชีวิตลงไปมากเลยทีเดียว โดยส่วนมากคนที่รับประทานอาหารสำเร็จรูปบ่อยๆมักจะเป็นช่วงวัยเรียนจนถึงวัยทำงาน ที่ใช้ชีวิตอยู่กับชั่วโมงเร่งรีบ นั้นก็เป็นไปได้ว่าเด็กมีโอกาสจะได้รับประทานอาหารสำเร็จรูปตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะจะช่วยประหยัดเวลาของผู้ปกครอง แต่หารู้หรือไม่ว่ามีบางอย่างกำลังสะสมอยู่ในร่างกายของคุณ
ก่อนอื่นเลยเราจะลองเเบ่งประเภทของอาหารสำเร็จให้ทุกคนได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น 3 ประเภท ได้แก่ อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป
1. อาหารแช่แข็ง
คือการถนอมอาหารหรือการล็อกความสดและรสชาติของอาหารเอาไว้ด้วยการใช้ความเย็น การใช้ความเย็นที่จุดเบือกแข็งหรือลบ 18 องศาเซลเซียส นั้นสามารถหยุดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหารเอาไว้ได้ และยังคงคุณภาพทางโภชนาการได้อยู่ แต่อันตรายจากอาหารแช่แข็งคือ บรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ของอาหารนั้นสามารถใช้ได้เพียงแต่ครั้งเดียวเท่านั้น หากใช้ซ้ำบ่อยๆจะทำให้สารเคมีจากบรรจุภัณฑ์ตกค้างมายังอาหาร และ เป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็ง (อ้างอิงข้อมูลจาก : รายการ ‘กิน อยู่’ เรื่องอาหารแช่เยือกแข็ง)
2. อาหารกระป๋อง
คือวิธีการถนอมวิธีหนึ่งเช่นเดียวกัน โดยอาหารกระป๋องยังได้รับความนิยมอยู่มากแต่จะเป็นการนำไปปรุงรสต่อมากกว่า แต่ก็มีอาหารกระป๋องบางส่วนที่นิยมรับประทานทันที่ ซึ่งการเก็บรักษาอาหารกระป๋องก็เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในกระป๋อง เพราะเมื่ออาหารโดนอากาศทำให้จุลินทรีย์ในอาหารเติบโตจนกระทั่งไม่สามารถรับประทานได้ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องควรระวังนั้นคือสีเคลือบของกระป๋องเพราะสีของกระป๋องถ้าเกิดตกข้างในอาหารก็อาจจะเกิดกรณีเดียวกับอาหารแช่แข็งคือ สารก่อมะเร็ง เข้าไปเจือปนอยู่ในอาหาร (อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th/Content/30268 )
3. อาหารกึ่งสำเร็จรูป
เป็นอาหารที่ัยังไม่สามารถรับประทานได้เลยทันทีต้องผ่านทำให้สุกเสียก่อนโดยน้ำอุ่นหรือไมโครเวฟ แล้วจึงสามารถรับประทานได้โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรมากมาย ที่มาพร้อมสโลแกน “อร่อยได้ในสามนาที” กระบวนการการผลิตคือหลังจากทำให้สุกก็ถนอมอาหารด้วยการ ทำให้แห้งหรือทำให้เป็นผง เพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษา แต่เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วใช้เวลานานมากกว่าอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ นั้นเป็นสาเหตุว่าทำไมรับประทานแล้วอิ่มนาน อีกอย่างเมื่ออยู่ในลำไส้นานๆ ลำไส้ที่มีหน้าที่ซึบซับสารอาหารก็จะซึบซับสารจากเส้นบะหมี่ไปเรื่อยๆจนเราได้รับสารปรุงแต่งที่อยู่ในเส้นเข้าไปด้วย ซึ่งกลายเป็นสารตกค้างในลำไส้หรือเลือด (อ้างอิงข้อมูลจาก : BradenKuoz ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารจาก Massachusetts General Hospital )
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นโทษของอาหารสำเร็จแต่ละประเภทที่เราจะได้จำแนกตามข้อมูลที่เราหาได้ แต่ยังมีโทษอีกอย่างที่สำคัญและเป็นโทษที่มาจากการรับประทานอาหารสำเร็จรูปทุกชนิดเป็นประจำนั้นก็คือ โซเดียม
โซเดียม
โซเดียมเป็นสารอาหารที่สำคัญในตระกูลเกลือแร่ จัดอยู่ในกลุ่มอีเลคโทรไลต์ เมื่อละลายน้ำจะแยกตัวออกเป็น ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าบวก โซเดียมมีมากที่สุดที่น้ำนอกเซลล์ โดยควบคุมความดันออสโมติกเพื่อรักษาปริมาณของน้ำนอกเซลล์ โซเดียมจะถูกดูดซึมได้ตลอดทางเดินอาหาร น้อยที่สุดที่กระเพาะอาหาร และมากที่สุดที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง โซเดียมยังช่วยรักษา ความเป็น กรดและด่างของร่างกาย ช่วยนำซูโครสและกรดอะมิโน ไปเลี้ยงร่างกาย โดยกรมอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดการรับประทานโซเดียมเอาไว้ 2000 มิลลิกรัมต่อวันและไม่เกิน 2300 มิลลิกรัมต่อวัน (อ้างอิงข้อมูลจาก : เว็บไซต์ Lovefitt )
เรื่องนี้เคยถูกเรียกร้องให้เกือบจะได้เป็นวาระเเห่งชาติมาแล้ว คนไทยส่วนมากรับประทานโซเดียมเกินที่มาตราฐานกำหนดไว้โดยไม่รู้ตัว เ เพราะโซเดียมไม่ได้มาจากเกลือทีเรารู้จักเท่านั้น แต่โซเดียม ยังแฝงอยู่ในอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหารที่เรารับประทานทั่วไป เครื่องปรุงรส อาหารดอง ขนมอบกรอบ และที่สำคัญอาหารสำเร็จรูป
โซเดียมมากไปอันตรายยังไง?
เมื่อเรารับประทานโซเดียมเข้าไปก็จะมีการดูดซึมเข้าสู่การแสเลือด เมื่อโซเดียมในเลือกก็จะมีการดูดซึมน้ำเข้ามาเพื่อลดความเข้มข้นของโซเดียมในเลือด และเมื่อของเหลวในเลือดมากขึ้น หัวใจก็จะสูบฉีดเร็วขึ้น ความดันก็จะสูงตามไปด้วย
ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะมี ไต ค่อยทำหน้าที่ขจัดของเสียหรือส่วนเกินออกจากร่างกายมาทาง ปัสสะวะ เพื่อควบคุมปริมาณของโซเดียมในร่างกาย แต่ถ้าเรารับประทานโซเดียมมากเกินไปก็จะทำให้ ไต ทำงานหนักขึ้น เพราะโมเลกุลของโซเดียมนั้นใหญ่กว่าระบบการทำงานของไต แล้วมันจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น พอไตเสื่อมสภาพของเสียก็จะอยู่ในร่างกายมากขึ้น
เมื่อร่างกายของเรามีของเสียสะสมอยู่นร่างกายมากๆ รวมกับไตที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิจากการรับประทานโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ร่างกายอ่อนแอและมีโรคตามมา โดยเฉพาะ โรคเกี่ยวทางเดินหัวใจ และ โรคไตวายเรื้อรัง (อ้างอิงข้อมูลจาก : โครงการลดพุง ลดโรค ของ สสส.)
ทั้งหมดที่กล่าวมาเราจะเห็นได้ว่าโซเดียมนั้น ถ้าหากรับประทานมากเกินมันจะส่งผลเสียอย่างไรกับร่างกายของเราบ้าง รู้อย่างนี้แล้วคุณยังจะทานเค็มหรืออาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมเป็นประจำอยู่หรือไม่? เราไม่ได้บอกว่าอาหารสำเร็จเป็นสิ่งไม่ดี แต่การทานอาหารบางอย่างเป็นประจำย่อมส่งผลเสียกับร่างกาย เราขอแค่ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง” เพื่อความสุขของคุณและคนรอบข้างของคุณเอง
*หมายเหตุ ถ้ามีข้อผิดพลาดอย่างไรสามารถคอมเม้นได้เลยครับ นี้เป็นเพียงชิ้นงานที่รวมรวบข้อมูลมาเขียนทความใหม่ โดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาต่างๆ บางข้อมูลก็สรุปเองเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น รูปภาพประกอบใช้เพื่อประกอบบทความเท่านั้นไม่ได้มีเจตนาอื่นแอบแฝงครับ ขออภัยหากผิดพลาด