"หนี้รถยนต์" เป็นหนี้สินประเภทเดียวที่ผมจะแนะนำให้ทยอยผ่อนไปเรื่อยๆ แม้จะมีเงินก้อนไปโปะก็ตาม แต่สำหรับหนี้สินประเภทอื่นๆ ผมมักจะแนะนำให้รีบโปะหนี้เสมอด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่า ดอกเบี้ยที่เราจ่ายไปทุกเดือนเป็นดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายแน่ๆแบบไม่มีความเสี่ยงเลย ไม่มีความเสี่ยงในที่นี้ หมายถึงว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่านี้แหละ ไม่สามารถต่อรองได้สักเท่าไหร่
แต่สำหรับ "หนี้รถยนต์" เหตุผลที่ไม่แนะนำให้โปะหนี้ ก็เพราะว่าหนี้รถยนต์เป็นหนี้ที่เค้ามีการเก็บดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ หรือที่เรียกกันว่า Flat Rate นั่นเอง
"หนี้รถยนต์" คิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) มีวิธีคิดยังไง ?
ยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจง่ายจะดีกว่า โดยปกติถ้าเราติดเงินเพื่อนอยู่ 10,000 บาท แล้วเพื่อนคิดดอกเบี้ย 10% ต่อปี นั่นแปลว่า เมื่อสิ้นปีเราต้องนำเงินไปคืนเพื่อน 11,000 บาท ประกอบไปด้วยเงินต้น 10,000 บาทและดอกเบี้ยอีก 1,000 บาท
สมมติว่าเราไม่มีเงินไปคืนเพื่อนทั้งหมดแต่นำเงินไปคืนเพียง 6,000 บาท ตอนสิ้นปี ก็แปลว่าเราจะติดเงินเพื่อนอยู่อีก 5,000 บาท ปีหน้าเราก็ต้องนำเงินไปคืนเพื่อนอีก 5,500 บาท ถึงจะทำให้เรากับเพื่อนหมดหนี้สินกัน
แต่การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่หรือ Flat Rate จะไม่ได้คิดแบบนั้น การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ เค้าจะถามเราเลยว่าเราจะยืมกี่ปี สมมติว่ากรณีเดียวกัน ยืม 10,000 บาท ระยะเวลา 2 ปี กับดอกเบี้ย 10% ต่อปี ก็แบ่งชำระ 2 งวดเหมือนกัน คืนตอนสิ้นปีที่ 1 และสิ้นปีที่ 2
เค้าจะคำนวณดอกเบี้ยโดยการนำ 10,000 บาทมาคูณ 10% จะเท่ากับ 1,000 บาท ระยะเวลายืม 2 ปี ก็เป็น 2,000 บาท นั่นแปลว่าระหว่างทาง 2 ปี เราต้องจ่ายดอกเบี้ย 2,000 บาท เมื่อรวมกับเงินต้นจะเป็นเงิน 12,000 บาท จากนั้นก็หาร 2 งวดที่เราจะจ่ายก็เท่ากับเราจ่ายงวดละ 6,000 บาท เราจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
วิธีปกติ วิธีแรกเราจะจ่ายเงินคืนทั้งหมด 11,500 บาท แต่วิธีการคิดแบบเงินต้นคงที่เราจะต้องจ่ายรวม 12,000 บาท นั่นแปลว่าเราจะโดนดอกเบี้ยมากกว่าความเป็นจริง ซึ่งหนี้รถยนต์เค้าใช้วิธีคิดแบบนี้แหละ
สมมติเรากู้รถยนต์ 500,000 บาท ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ผ่อน 60 เดือน เค้าก็จะคิดโดยการเอา 500,000 บาท มาคุณ 3% เท่ากับ 15,000 บาท แล้วนำไปคูณ 5 ปีที่เราเป็นหนี้ ก็เท่ากับ 75,000 บาท เค้าก็จะเอา 575,000 บาทมาหาร 60 งวดจะเท่ากับ 9,583.33 บาทต่องวด
ไม่ว่าเราจะรีบโปะเท่าไหร่ก็ตามดอกเบี้ยก็ถูกคิดไปตั้งแต่วันแรกที่เราจะเป็นหนี้แล้ว แล้วเราจะรีบโปะไปทำไมล่ะจริงมั้ย ? ก็ผ่อนตามงวดไปนั่นแหละ เอาเงินก้อนที่เรามีไปฝากธนาคารยังดีกว่าเอาเงินไปโปะเลย ซึ่งการนำเงินไปโปะสำหรับหนี้รถยนต์มันจะไม่เกิดประโยชน์ ไม่ได้ทำให้หนี้เราลดลงแต่อย่างใด
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่
https://goo.gl/go5NQy
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
Website
http://www.moneybuffalo.in.th หรือ
FB Page :
fb.com/moneybuffalo
LINE :
https://goo.gl/GAQxF8
เหตุผลดีดีที่เราไม่ควรโปะ "หนี้รถยนต์"
"หนี้รถยนต์" เป็นหนี้สินประเภทเดียวที่ผมจะแนะนำให้ทยอยผ่อนไปเรื่อยๆ แม้จะมีเงินก้อนไปโปะก็ตาม แต่สำหรับหนี้สินประเภทอื่นๆ ผมมักจะแนะนำให้รีบโปะหนี้เสมอด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่า ดอกเบี้ยที่เราจ่ายไปทุกเดือนเป็นดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายแน่ๆแบบไม่มีความเสี่ยงเลย ไม่มีความเสี่ยงในที่นี้ หมายถึงว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่านี้แหละ ไม่สามารถต่อรองได้สักเท่าไหร่
แต่สำหรับ "หนี้รถยนต์" เหตุผลที่ไม่แนะนำให้โปะหนี้ ก็เพราะว่าหนี้รถยนต์เป็นหนี้ที่เค้ามีการเก็บดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ หรือที่เรียกกันว่า Flat Rate นั่นเอง
"หนี้รถยนต์" คิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) มีวิธีคิดยังไง ?
ยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจง่ายจะดีกว่า โดยปกติถ้าเราติดเงินเพื่อนอยู่ 10,000 บาท แล้วเพื่อนคิดดอกเบี้ย 10% ต่อปี นั่นแปลว่า เมื่อสิ้นปีเราต้องนำเงินไปคืนเพื่อน 11,000 บาท ประกอบไปด้วยเงินต้น 10,000 บาทและดอกเบี้ยอีก 1,000 บาท
สมมติว่าเราไม่มีเงินไปคืนเพื่อนทั้งหมดแต่นำเงินไปคืนเพียง 6,000 บาท ตอนสิ้นปี ก็แปลว่าเราจะติดเงินเพื่อนอยู่อีก 5,000 บาท ปีหน้าเราก็ต้องนำเงินไปคืนเพื่อนอีก 5,500 บาท ถึงจะทำให้เรากับเพื่อนหมดหนี้สินกัน
แต่การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่หรือ Flat Rate จะไม่ได้คิดแบบนั้น การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ เค้าจะถามเราเลยว่าเราจะยืมกี่ปี สมมติว่ากรณีเดียวกัน ยืม 10,000 บาท ระยะเวลา 2 ปี กับดอกเบี้ย 10% ต่อปี ก็แบ่งชำระ 2 งวดเหมือนกัน คืนตอนสิ้นปีที่ 1 และสิ้นปีที่ 2
เค้าจะคำนวณดอกเบี้ยโดยการนำ 10,000 บาทมาคูณ 10% จะเท่ากับ 1,000 บาท ระยะเวลายืม 2 ปี ก็เป็น 2,000 บาท นั่นแปลว่าระหว่างทาง 2 ปี เราต้องจ่ายดอกเบี้ย 2,000 บาท เมื่อรวมกับเงินต้นจะเป็นเงิน 12,000 บาท จากนั้นก็หาร 2 งวดที่เราจะจ่ายก็เท่ากับเราจ่ายงวดละ 6,000 บาท เราจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
วิธีปกติ วิธีแรกเราจะจ่ายเงินคืนทั้งหมด 11,500 บาท แต่วิธีการคิดแบบเงินต้นคงที่เราจะต้องจ่ายรวม 12,000 บาท นั่นแปลว่าเราจะโดนดอกเบี้ยมากกว่าความเป็นจริง ซึ่งหนี้รถยนต์เค้าใช้วิธีคิดแบบนี้แหละ
สมมติเรากู้รถยนต์ 500,000 บาท ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ผ่อน 60 เดือน เค้าก็จะคิดโดยการเอา 500,000 บาท มาคุณ 3% เท่ากับ 15,000 บาท แล้วนำไปคูณ 5 ปีที่เราเป็นหนี้ ก็เท่ากับ 75,000 บาท เค้าก็จะเอา 575,000 บาทมาหาร 60 งวดจะเท่ากับ 9,583.33 บาทต่องวด
ไม่ว่าเราจะรีบโปะเท่าไหร่ก็ตามดอกเบี้ยก็ถูกคิดไปตั้งแต่วันแรกที่เราจะเป็นหนี้แล้ว แล้วเราจะรีบโปะไปทำไมล่ะจริงมั้ย ? ก็ผ่อนตามงวดไปนั่นแหละ เอาเงินก้อนที่เรามีไปฝากธนาคารยังดีกว่าเอาเงินไปโปะเลย ซึ่งการนำเงินไปโปะสำหรับหนี้รถยนต์มันจะไม่เกิดประโยชน์ ไม่ได้ทำให้หนี้เราลดลงแต่อย่างใด
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://goo.gl/go5NQy
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
Website http://www.moneybuffalo.in.th หรือ
FB Page : fb.com/moneybuffalo
LINE : https://goo.gl/GAQxF8