สวัสดีครับ กลับมาพบกับช่วงกระทู้ "วิทยานิพนธ์" วันนี้เราจะนำทุกท่านไปรู้จักกับเรื่อง "พื้นๆ"
ทีแรกผมก็จวนจะหมดมุกเขียนอยู่แล้วล่ะ ก็เผอิญแฟนคลับหลายรายสงสัยครามครันว่า ทำไม๊ ทำไม มิดฟิลด์ฟ้าประทาน ห้ายุคสมัยอย่างลูคัส เลว่า ถึงไม่ได้เทสติโมเนียล แมตต์ เหตุผลจริงๆก็คงไม่มีใครรู้หรอกครับ แต่สาเหตุหนึ่งที่มีผลแน่ๆคือ ตอนนี้สนามแอนฟิลด์ไม่พร้อมใช้งาน เพราะเรากำลังอัพเดตสนามใหม่เอี่ยมอ่องอยู่นั่นเอง
พื้นสนามของลิเวอร์พูลผ่านการรีโนเวทครั้งสุดท้ายปี 1998 ปัญหาที่พบก็คือพื้นสนามนั้นทรุดโทรมเร็วมากๆ หญ้าเกาะตัวกันหลุดออกมาเป็นก้อนๆ จัด พอยด์ตันผู้จัดการสนาม บอกว่า "รากมันไม่ยึดเหนียวแน่นและลึกพอที่จะทำให้มันทนทาน" ดังนั้นสโมสรก็เลยจัดการติดตั้งระบบระบายน้ำใหม่ ปลูกหญ้าใหม่ แต่ก็อยู่ได้แค่สองปี
ปัญหาใหม่ที่พบก็คือ แสงไม่พอ - และมันไม่พอก็เพราะการต่อเติมอัฒจันทร์ อัฒจันทร์ที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เงามากขึ้น การระบายอากาศแย่ลง พอบวกกับอากาศอึมครึมและฝนตกตลอดปีของอังกฤษด้วยแล้วก็กลายเป็นฝันร้ายของสนามไปเลย
นับจากนั้นเป็นต้นมา สโมสรก็ต้องขุดดินเพื่อมาปลูกหญ้าใหม่ทุกปิดฤดูกาล ไปพร้อมๆกับการหยอดกระปุกค่าสนามและอดทนเสียงบ่นของผู้จัดการทีมทั้งหลาย สองปีหลังนี่ยิ่งหนัก เมื่อมีแผนขยายสนามด้วย ดังนั้นสภาพสนามก็เลยปะผุเข้าไปใหญ่ หนักขนาดว่ารดน้ำลงในสนามจนชุ่ม แค่สิบห้านาทีก็แห้งผากเหมือนเดิม
ครับ และ คล็อปจะไม่ทน! หลังคล็อปโป้โวยเรื่องพื้นสนาม และดวงดาวทำมุมกันถูกต้อง(เช่นเดียวกับชะตาขาดของกระปุกหมูออมสิน) สนามจึงโดนรื้อมาตั้งแต่วันปิดฤดูกาล
เทสติโมเนียลสภาพนี้คงดูไม่จืด
(ภาพนี้เอามาจาก Chiefs ครับ ไม่ใช่แอนฟิลด์)
ในการนี้ แอนฟิลด์วางท่อยาวรวมกันกว่า 19 ไมล์ ใต้พื้นสนาม เพื่อให้ความอบอุ่นกับพื้นดิน(undersoil heating system) นี่จะป้องกันพื้นผิวจับตัวเป็นน้ำแข็ง เมื่อเปิดระบบ น้ำร้อนจะถูกปั๊มไปตามท่อ และละลายหิมะบนผิวดิน ก่อนลงดินทับ
หลังจากนั้น สโมสรว่าจ้าง Desso Sport System มาวางพื้นสนามให้ โดยใช้เป็นหญ้าไฮบริดครับ
ไฮบริดในที่นี้ก็คือ เป็นหญ้าธรรมชาติ ผสมกับ เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยสังเคราะห์ จะถูกเครื่องจักรชนิดพิเศษยิงฝังลงไปในดินลึก 20 เซนติเมตร เป็นระยะๆจนทั่วสนาม
ก่อนหว่านเมล็ดหญ้าธรรมชาติลงไป รากหญ้าจะพันเข้ากับเส้นใยสังเคราะห์ ลงไปได้ลึกกว่าการหว่านหญ้าแบบธรรมชาติ ทำให้ได้พื้นสนามที่ทนทานมากขึ้น เส้นใยยังช่วยให้น้ำระบายได้เร็วขึ้นอีกด้วย และเพื่อช่วยการเจริญเติบโตของหญ้า สโมสรจัดซื้อ Grow Light ขนาดใหญ่ 12 อัน และขนาดเล็กอีก 3 อัน พร้อมเต๊นท์ ปรับความชื้นและอุณหภูมิ เพื่อประคบประหงมเป็นพิเศษในยามที่อากาศไม่ดี
Desso อ้างว่า สนามที่ใช้เทคโนโลยีของ Desso มีอายุการใช้งานยืนยาวกว่าถึงสามเท่าเมื่อเทืยบกับสนามหญ้าธรรมชาติ (750 ชั่วโมง vs 250 ชม) และยอมรับกลายๆว่าค่า maintenance แพงกว่ามาก แต่นั่นแหละครับ สำหรับสโมสรฟุตบอลอาชีพมันคุ้มค่า
อย่างน้อยปีนี้ ผู้จัดการสนามคงไม่โดนคล็อปบ่นแล้ว
อันนี้เป็นคลิปโฆษณาจากเข้าของเทคโนโลยี
อ้างอิงจาก
https://www.thisisanfield.com/2017/06/photos-work-continues-new-pitch-anfield/
http://www.dessosports.com
https://en.wikipedia.org/wiki/Under-soil_heating
https://en.wikipedia.org/wiki/Desso_GrassMaster
(วิทยานิพนธ์)เรื่องพื้นๆ
ทีแรกผมก็จวนจะหมดมุกเขียนอยู่แล้วล่ะ ก็เผอิญแฟนคลับหลายรายสงสัยครามครันว่า ทำไม๊ ทำไม มิดฟิลด์ฟ้าประทาน ห้ายุคสมัยอย่างลูคัส เลว่า ถึงไม่ได้เทสติโมเนียล แมตต์ เหตุผลจริงๆก็คงไม่มีใครรู้หรอกครับ แต่สาเหตุหนึ่งที่มีผลแน่ๆคือ ตอนนี้สนามแอนฟิลด์ไม่พร้อมใช้งาน เพราะเรากำลังอัพเดตสนามใหม่เอี่ยมอ่องอยู่นั่นเอง
พื้นสนามของลิเวอร์พูลผ่านการรีโนเวทครั้งสุดท้ายปี 1998 ปัญหาที่พบก็คือพื้นสนามนั้นทรุดโทรมเร็วมากๆ หญ้าเกาะตัวกันหลุดออกมาเป็นก้อนๆ จัด พอยด์ตันผู้จัดการสนาม บอกว่า "รากมันไม่ยึดเหนียวแน่นและลึกพอที่จะทำให้มันทนทาน" ดังนั้นสโมสรก็เลยจัดการติดตั้งระบบระบายน้ำใหม่ ปลูกหญ้าใหม่ แต่ก็อยู่ได้แค่สองปี
ปัญหาใหม่ที่พบก็คือ แสงไม่พอ - และมันไม่พอก็เพราะการต่อเติมอัฒจันทร์ อัฒจันทร์ที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เงามากขึ้น การระบายอากาศแย่ลง พอบวกกับอากาศอึมครึมและฝนตกตลอดปีของอังกฤษด้วยแล้วก็กลายเป็นฝันร้ายของสนามไปเลย
นับจากนั้นเป็นต้นมา สโมสรก็ต้องขุดดินเพื่อมาปลูกหญ้าใหม่ทุกปิดฤดูกาล ไปพร้อมๆกับการหยอดกระปุกค่าสนามและอดทนเสียงบ่นของผู้จัดการทีมทั้งหลาย สองปีหลังนี่ยิ่งหนัก เมื่อมีแผนขยายสนามด้วย ดังนั้นสภาพสนามก็เลยปะผุเข้าไปใหญ่ หนักขนาดว่ารดน้ำลงในสนามจนชุ่ม แค่สิบห้านาทีก็แห้งผากเหมือนเดิม
ครับ และ คล็อปจะไม่ทน! หลังคล็อปโป้โวยเรื่องพื้นสนาม และดวงดาวทำมุมกันถูกต้อง(เช่นเดียวกับชะตาขาดของกระปุกหมูออมสิน) สนามจึงโดนรื้อมาตั้งแต่วันปิดฤดูกาล
เทสติโมเนียลสภาพนี้คงดูไม่จืด
(ภาพนี้เอามาจาก Chiefs ครับ ไม่ใช่แอนฟิลด์)
ในการนี้ แอนฟิลด์วางท่อยาวรวมกันกว่า 19 ไมล์ ใต้พื้นสนาม เพื่อให้ความอบอุ่นกับพื้นดิน(undersoil heating system) นี่จะป้องกันพื้นผิวจับตัวเป็นน้ำแข็ง เมื่อเปิดระบบ น้ำร้อนจะถูกปั๊มไปตามท่อ และละลายหิมะบนผิวดิน ก่อนลงดินทับ
หลังจากนั้น สโมสรว่าจ้าง Desso Sport System มาวางพื้นสนามให้ โดยใช้เป็นหญ้าไฮบริดครับ
ไฮบริดในที่นี้ก็คือ เป็นหญ้าธรรมชาติ ผสมกับ เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยสังเคราะห์ จะถูกเครื่องจักรชนิดพิเศษยิงฝังลงไปในดินลึก 20 เซนติเมตร เป็นระยะๆจนทั่วสนาม
ก่อนหว่านเมล็ดหญ้าธรรมชาติลงไป รากหญ้าจะพันเข้ากับเส้นใยสังเคราะห์ ลงไปได้ลึกกว่าการหว่านหญ้าแบบธรรมชาติ ทำให้ได้พื้นสนามที่ทนทานมากขึ้น เส้นใยยังช่วยให้น้ำระบายได้เร็วขึ้นอีกด้วย และเพื่อช่วยการเจริญเติบโตของหญ้า สโมสรจัดซื้อ Grow Light ขนาดใหญ่ 12 อัน และขนาดเล็กอีก 3 อัน พร้อมเต๊นท์ ปรับความชื้นและอุณหภูมิ เพื่อประคบประหงมเป็นพิเศษในยามที่อากาศไม่ดี
Desso อ้างว่า สนามที่ใช้เทคโนโลยีของ Desso มีอายุการใช้งานยืนยาวกว่าถึงสามเท่าเมื่อเทืยบกับสนามหญ้าธรรมชาติ (750 ชั่วโมง vs 250 ชม) และยอมรับกลายๆว่าค่า maintenance แพงกว่ามาก แต่นั่นแหละครับ สำหรับสโมสรฟุตบอลอาชีพมันคุ้มค่า
อย่างน้อยปีนี้ ผู้จัดการสนามคงไม่โดนคล็อปบ่นแล้ว
อันนี้เป็นคลิปโฆษณาจากเข้าของเทคโนโลยี
อ้างอิงจาก
https://www.thisisanfield.com/2017/06/photos-work-continues-new-pitch-anfield/
http://www.dessosports.com
https://en.wikipedia.org/wiki/Under-soil_heating
https://en.wikipedia.org/wiki/Desso_GrassMaster