ทุกวันนี้ใคร ๆ ก็สนใจเรื่องนวัตกรรม สนใจเรื่อง 4.0 ฉันก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่องนี้ และเมื่อไม่นานมานี้ฉันได้ไปฟังสัมมนา“นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าผลผลิต ยุค 4.0” จึงอยากสรุปสาระจากการฟังสัมมนามาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ในนี้ได้มีส่วนร่วมกับความรู้ในครั้งนี้
ช่วงแรกเป็นการกล่าวเปิดงาน โดยนายศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีใจความสำคัญ คือ “ธุรกิจเกษตรเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ในปี 2560 รัฐบาลสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิมให้เป็นการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าจากสินค้าโภคภัณฑ์สู่สินค้านวัตกรรม ส่งเสริมเอสเอ็มอีในด้านเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งในการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้ประกอบการต้องมีความพร้อมในการปรับตัวโดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ซึ่งในนามของธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน ได้ประสานความร่วมมือกับองค์ภาครัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ จัดงานสัมมนาให้ความรู้ และทำหน้าที่ในการให้สินเชื่อและคำปรึกษาเรื่องเงินทุนเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต”
จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยใช้นวัตกรรม 4.0”โดย ผศ.ดร.บัณทิต อินณวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
โดย ผศ.ดร.บัณทิต กล่าวเปิดประเด็นว่า การเริ่มต้นธุรกิจที่ดีต้องมองในสิ่งที่ผู้อื่นมองไม่เห็น ต้องมองให้ออกว่าต้องการสร้างสินค้าแบบไหน และจะโตได้อย่างไร ในการจะพัฒนาสินค้าต้องเริ่มแรกมีความเข้าใจโครงสร้างของราคา คือต้องรู้ต้นทุนสินค้าของตัวเอง รวมค่าแรงในต้นทุนของสินค้า
“สมมติว่าเราขายสินค้าบางอย่าง 100 บาท ต้นทุนต้องต่ำกว่า 3 เท่า ซึ่งก็คือสินค้าที่ออกจากโรงงานในราคา 30 บาท ต้นทุนวัตถุดิบต้องไม่เกิน 9 บาท ของ 100 บาท มีค่าวัตถุดิบต้องไม่เกิน 9 บาท นอกนั้นเป็นต้นทุนหน้าร้าน เช่น ค่าโลจิสติกส์ ค่าแรง ค่าการตลาด ค่าภาษี ค่าสูญเสียยอดขาย” ผศ.ดร.บัณทิต กล่าว
จากนั้นได้กล่าวต่อถึงเรื่องการพัฒนาสินค้าในอุตสาหกรรมอาหาร ผศ.ดร.บัณทิต อธิบายว่า สำหรับธุรกิจอาหารในยุค 4.0 ต้องจรรโลงใจด้วย ไม่ใช่แค่มีรสชาติอร่อยรูปลักษณ์สวยงามเพียงอย่างเดียว ซึ่งจรรโลงใจคือความชอบ เห็นแล้วตื่นเต้นประทับใจ ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องดีกว่าด้วย ต้องโดนใจลูกค้า มองกลุ่มลูกค้าให้ออกและเสิร์ฟความต้องการที่แท้จริงให้ได้
ส่วนเรื่องการออกแบบนั้นมีส่วนสำคัญมาก ทั้งเรื่องการสร้างแบรนด์ดิ้ง แพ็กเกจ ออกแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลึกๆ ของลูกค้า ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจและเข้าถึง ต้องมีความชัดเจนในความต้องการของลูกค้าจึงจะพัฒนาสินค้าได้ ต้องมองเห็นช่องโหว่ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการและยังไม่มีใครตอบโจทย์ สำหรับในฐานะนักวิจัยที่จะช่วยพัฒนาสินค้า คือการช่วยในเรื่องวิธีการ แต่ผู้ประกอบการต้องมีโจทย์ที่ชัดเจน
โดยโอกาสการพัฒนาสินค้าไม่ได้มองแค่ธุรกิจต้องไปได้ แต่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยว่าได้รับผลกระทบด้านลบหรือไม่ จึงเกิดสินค้าประเภทกรีนหรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นมา ถึงแม้จะมีราคาสูงแต่มีกลุ่มลูกค้าต้องการ สำหรับสินค้าเกษตรซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความประณีตในการทำงานสูง ผู้ประกอบการต้องตระหนักอยู่เสมอว่าอย่าขายของโดยเน้นปริมาณ แต่ให้มองถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
ซึ่งทางที่จะไปได้คือการใช้นวัตกรรม โดยไอเดียต่างๆ มีอยู่รอบตัว ผู้ประกอบการต้องมองให้ออกแล้วนำมาปรับให้เหมาะสมกับสินค้าของตัวเอง ซึ่งนวัตกรรมมีทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมเชิงกระบวนการ นวัตกรรมบริการ และนวัตกรรมการสร้างประสบการณ์
“ผู้ประกอบการต้องมองย้อนกลับไปถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า แล้วนำมาปรึกษานักวิจัยที่จะเป็นตัวช่วยในเรื่องวิธีการ โดยมีโจทย์นวัตกรรมที่ชัดเจน” ผศ.ดร.บัณทิต สรุป
จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ “พัฒนาธุรกิจให้เข้มแข็งด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า” โดย ผศ.ดร.บัณทิต อินณวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณตรันต์ สิริกาญจน ผู้อำนวยการกองบริการธุรกิจ สถานบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
และผู้ประกอบที่ใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้า คุณสุรพงษ์ ณรงค์น้อย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชายน้อยฟู้ด จำกัด และ คุณไกรยุทธ แสวงสุข กรรมการ บริษัท จูแอมเฮิร์บ แอนด์ เฮ้ลท์ จำกัด ดำเนินรายการโดยคุณบรรพต ธนาเพิ่มสุข จากรายการ SME Clinic
ซึ่งในการเสวนา คุณบรรพตเปิดประเด็นคำถาม ถึงเรื่องความแตกต่างของสินค้าเมื่อใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยผู้ประกอบการท่านแรกที่ตอบคำถามคือ คุณสุรพงษ์ ณรงค์น้อย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชายน้อยฟู้ด จำกัด ได้เปิดเผยว่า จากเดิมที่ทุเรียนมีราคาขายอยู่ที่กิโลกรัม 100-300 บาท แต่เมื่อนำนวัตกรรมเข้ามาใช้สามารถเพิ่มมูลค่าได้สูงกว่าเดิมเป็นเท่าตัว โดยจุดเปลี่ยนสำคัญที่ตัดสินใจนำนวัตกรรมเข้ามาใช้เกิดจากปัญหาในเรื่องของวัตถุดิบที่ขึ้นราคาและเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
“เราเจาะเข้ามาเลเซียและจีน ไปกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศออกบูธ ซึ่งในช่วงแรกขายไม่ได้ คนมาเลเซียและสิงคโปร์ชอบทุเรียนก็จริง แต่ทุเรียนทอดไทยของเราไม่มีกลิ่นทุเรียน เขาก็ไม่เชื่อว่าเป็นทุเรียน เป็นบทเรียนครั้งใหญ่จากการไม่ศึกษาตลาด กลับมาคิดวิธีแก้ปัญหาโดยตัดสินใจใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย ได้ปรึกษากับ อ.บัณทิต พัฒนาสินค้าในเรื่องกลิ่นจนประสบความสำเร็จตรงกับความต้องการของลูกค้า” คุณสุรพงษ์กล่าว
ด้านผู้ประกอบการอีกท่านที่เข้าร่วมสัมมนาคือ คุณไกรยุทธ แสวงสุข กรรมการ บริษัท จูแอมเฮิร์บ แอนด์ เฮ้ลท์ จำกัด เปิดเผยว่า จำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้และสมุนไพร เริ่มจากธุรกิจของครอบครัวที่เป็นโอท็อป เข้ามารับช่วงต่อเพื่อพัฒนาโดยนำนวัตกรรมมาเป็นตัวช่วยเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ Energy Bar อาหาร (บาร์) อัดแท่งสำหรับนักกีฬา และผู้ที่ออกกำลังกาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนและวิจัย ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.)
โดยคุณไกรยุทธกล่าวว่า“โจทย์ตั้งต้นคือพัฒนารสชาติ รูปลักษณ์ และคุณค่าทางสารอาหาร ต้องการความแตกต่างจากสินค้านำเข้า โดยเน้นวัตถุหลักที่มีในประเทศเพื่อต้นทุนการผลิตที่ไม่สูง อีกทั้งคิดว่าคุณภาพของวัตถุดิบในเมืองไทยดีไม่แพ้ต่างประเทศ โดยงานวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องพัฒนาตัวสินค้า และในส่วนของวิทยาศาสตร์การกีฬา เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะของกลุ่มนักกีฬา”
ต่อด้วย คุณตรันต์ สิริกาญจน ผู้อำนวยการกองบริการธุรกิจ สถานบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในฐานะนักวิจัย ได้อธิบายถึงการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมสำหรับเอสเอ็มอีว่า เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันในเรื่องต้นทุนได้เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ดังนั้นเอสเอ็มอีต้องเลือกนวัตกรรมที่เหมาะสมคือเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง สอดคล้องกับกำลังเงินลงทุน อีกทั้งต้องมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะสินค้าภาคการเกษตรในแต่ละพื้นที่จุดเด่นจะอยู่ที่ความน่าสนใจของเรื่องราวในตัวผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้โดยที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร
“ความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ เมื่อใส่ลงไปจะเป็นความแตกต่างในตัวสินค้า เช่นสับปะรดกวนมีทั่วประเทศ แต่ก็มีหลายแบรนด์ สร้างความแตกต่างในสินค้าที่เหมือนกันให้กับผู้บริโภค” คุณตรันต์กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.บัณทิต อินณวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เสริมในประเด็นนี้ โดยเปิดภาพจากธุรกิจทางด้านอาหารที่มีความเชี่ยวชาญ ว่าสินค้าปะเภทอาหารไม่ว่าอะไรก็ตาม หากนำนวัตกรรมเข้าพัฒนา มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้แน่นอน ต้องสร้างคุณภาพให้เหนือกว่าสิ่งที่ลูกค้าคาดคิด
“เช่นญี่ปุ่นทำน้ำปลาจากถั่วเหลือง หากเราจะทำจากน้ำมะพร้าวก็มีโอกาส โดยใช้นวัตกรรมเข้าไปช่วย มีกลุ่มลุกค้าคือคนที่ต้องการกินน้ำปลาที่ไม่มีส่วนผสมจากเนื้อสัตว์ ต้องเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคของสินค้าในแต่ละตัว หยิบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ สื่อสารให้ลูกค้ารับรู้ได้ว่าเราจะขายอะไร มองให้ออกว่าใครคือลูกค้าของเราจริงๆ และคาดหวังอะไรจากสินค้าของเรา แล้วสร้างคุณภาพให้เหนือกว่า” ผศ.ดร.บัณทิตกล่าว
ไปได้อะไรมาจากงานสัมมนา “นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าผลผลิต ยุค 4.0”
ช่วงแรกเป็นการกล่าวเปิดงาน โดยนายศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีใจความสำคัญ คือ “ธุรกิจเกษตรเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ในปี 2560 รัฐบาลสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิมให้เป็นการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าจากสินค้าโภคภัณฑ์สู่สินค้านวัตกรรม ส่งเสริมเอสเอ็มอีในด้านเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งในการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้ประกอบการต้องมีความพร้อมในการปรับตัวโดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ซึ่งในนามของธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน ได้ประสานความร่วมมือกับองค์ภาครัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ จัดงานสัมมนาให้ความรู้ และทำหน้าที่ในการให้สินเชื่อและคำปรึกษาเรื่องเงินทุนเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต”
จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยใช้นวัตกรรม 4.0”โดย ผศ.ดร.บัณทิต อินณวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
โดย ผศ.ดร.บัณทิต กล่าวเปิดประเด็นว่า การเริ่มต้นธุรกิจที่ดีต้องมองในสิ่งที่ผู้อื่นมองไม่เห็น ต้องมองให้ออกว่าต้องการสร้างสินค้าแบบไหน และจะโตได้อย่างไร ในการจะพัฒนาสินค้าต้องเริ่มแรกมีความเข้าใจโครงสร้างของราคา คือต้องรู้ต้นทุนสินค้าของตัวเอง รวมค่าแรงในต้นทุนของสินค้า
“สมมติว่าเราขายสินค้าบางอย่าง 100 บาท ต้นทุนต้องต่ำกว่า 3 เท่า ซึ่งก็คือสินค้าที่ออกจากโรงงานในราคา 30 บาท ต้นทุนวัตถุดิบต้องไม่เกิน 9 บาท ของ 100 บาท มีค่าวัตถุดิบต้องไม่เกิน 9 บาท นอกนั้นเป็นต้นทุนหน้าร้าน เช่น ค่าโลจิสติกส์ ค่าแรง ค่าการตลาด ค่าภาษี ค่าสูญเสียยอดขาย” ผศ.ดร.บัณทิต กล่าว
จากนั้นได้กล่าวต่อถึงเรื่องการพัฒนาสินค้าในอุตสาหกรรมอาหาร ผศ.ดร.บัณทิต อธิบายว่า สำหรับธุรกิจอาหารในยุค 4.0 ต้องจรรโลงใจด้วย ไม่ใช่แค่มีรสชาติอร่อยรูปลักษณ์สวยงามเพียงอย่างเดียว ซึ่งจรรโลงใจคือความชอบ เห็นแล้วตื่นเต้นประทับใจ ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องดีกว่าด้วย ต้องโดนใจลูกค้า มองกลุ่มลูกค้าให้ออกและเสิร์ฟความต้องการที่แท้จริงให้ได้
ส่วนเรื่องการออกแบบนั้นมีส่วนสำคัญมาก ทั้งเรื่องการสร้างแบรนด์ดิ้ง แพ็กเกจ ออกแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลึกๆ ของลูกค้า ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจและเข้าถึง ต้องมีความชัดเจนในความต้องการของลูกค้าจึงจะพัฒนาสินค้าได้ ต้องมองเห็นช่องโหว่ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการและยังไม่มีใครตอบโจทย์ สำหรับในฐานะนักวิจัยที่จะช่วยพัฒนาสินค้า คือการช่วยในเรื่องวิธีการ แต่ผู้ประกอบการต้องมีโจทย์ที่ชัดเจน
โดยโอกาสการพัฒนาสินค้าไม่ได้มองแค่ธุรกิจต้องไปได้ แต่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยว่าได้รับผลกระทบด้านลบหรือไม่ จึงเกิดสินค้าประเภทกรีนหรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นมา ถึงแม้จะมีราคาสูงแต่มีกลุ่มลูกค้าต้องการ สำหรับสินค้าเกษตรซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความประณีตในการทำงานสูง ผู้ประกอบการต้องตระหนักอยู่เสมอว่าอย่าขายของโดยเน้นปริมาณ แต่ให้มองถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
ซึ่งทางที่จะไปได้คือการใช้นวัตกรรม โดยไอเดียต่างๆ มีอยู่รอบตัว ผู้ประกอบการต้องมองให้ออกแล้วนำมาปรับให้เหมาะสมกับสินค้าของตัวเอง ซึ่งนวัตกรรมมีทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมเชิงกระบวนการ นวัตกรรมบริการ และนวัตกรรมการสร้างประสบการณ์
“ผู้ประกอบการต้องมองย้อนกลับไปถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า แล้วนำมาปรึกษานักวิจัยที่จะเป็นตัวช่วยในเรื่องวิธีการ โดยมีโจทย์นวัตกรรมที่ชัดเจน” ผศ.ดร.บัณทิต สรุป
จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ “พัฒนาธุรกิจให้เข้มแข็งด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า” โดย ผศ.ดร.บัณทิต อินณวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณตรันต์ สิริกาญจน ผู้อำนวยการกองบริการธุรกิจ สถานบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
และผู้ประกอบที่ใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้า คุณสุรพงษ์ ณรงค์น้อย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชายน้อยฟู้ด จำกัด และ คุณไกรยุทธ แสวงสุข กรรมการ บริษัท จูแอมเฮิร์บ แอนด์ เฮ้ลท์ จำกัด ดำเนินรายการโดยคุณบรรพต ธนาเพิ่มสุข จากรายการ SME Clinic
ซึ่งในการเสวนา คุณบรรพตเปิดประเด็นคำถาม ถึงเรื่องความแตกต่างของสินค้าเมื่อใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยผู้ประกอบการท่านแรกที่ตอบคำถามคือ คุณสุรพงษ์ ณรงค์น้อย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชายน้อยฟู้ด จำกัด ได้เปิดเผยว่า จากเดิมที่ทุเรียนมีราคาขายอยู่ที่กิโลกรัม 100-300 บาท แต่เมื่อนำนวัตกรรมเข้ามาใช้สามารถเพิ่มมูลค่าได้สูงกว่าเดิมเป็นเท่าตัว โดยจุดเปลี่ยนสำคัญที่ตัดสินใจนำนวัตกรรมเข้ามาใช้เกิดจากปัญหาในเรื่องของวัตถุดิบที่ขึ้นราคาและเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
“เราเจาะเข้ามาเลเซียและจีน ไปกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศออกบูธ ซึ่งในช่วงแรกขายไม่ได้ คนมาเลเซียและสิงคโปร์ชอบทุเรียนก็จริง แต่ทุเรียนทอดไทยของเราไม่มีกลิ่นทุเรียน เขาก็ไม่เชื่อว่าเป็นทุเรียน เป็นบทเรียนครั้งใหญ่จากการไม่ศึกษาตลาด กลับมาคิดวิธีแก้ปัญหาโดยตัดสินใจใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย ได้ปรึกษากับ อ.บัณทิต พัฒนาสินค้าในเรื่องกลิ่นจนประสบความสำเร็จตรงกับความต้องการของลูกค้า” คุณสุรพงษ์กล่าว
ด้านผู้ประกอบการอีกท่านที่เข้าร่วมสัมมนาคือ คุณไกรยุทธ แสวงสุข กรรมการ บริษัท จูแอมเฮิร์บ แอนด์ เฮ้ลท์ จำกัด เปิดเผยว่า จำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้และสมุนไพร เริ่มจากธุรกิจของครอบครัวที่เป็นโอท็อป เข้ามารับช่วงต่อเพื่อพัฒนาโดยนำนวัตกรรมมาเป็นตัวช่วยเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ Energy Bar อาหาร (บาร์) อัดแท่งสำหรับนักกีฬา และผู้ที่ออกกำลังกาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนและวิจัย ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.)
โดยคุณไกรยุทธกล่าวว่า“โจทย์ตั้งต้นคือพัฒนารสชาติ รูปลักษณ์ และคุณค่าทางสารอาหาร ต้องการความแตกต่างจากสินค้านำเข้า โดยเน้นวัตถุหลักที่มีในประเทศเพื่อต้นทุนการผลิตที่ไม่สูง อีกทั้งคิดว่าคุณภาพของวัตถุดิบในเมืองไทยดีไม่แพ้ต่างประเทศ โดยงานวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องพัฒนาตัวสินค้า และในส่วนของวิทยาศาสตร์การกีฬา เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะของกลุ่มนักกีฬา”
ต่อด้วย คุณตรันต์ สิริกาญจน ผู้อำนวยการกองบริการธุรกิจ สถานบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในฐานะนักวิจัย ได้อธิบายถึงการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมสำหรับเอสเอ็มอีว่า เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันในเรื่องต้นทุนได้เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ดังนั้นเอสเอ็มอีต้องเลือกนวัตกรรมที่เหมาะสมคือเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง สอดคล้องกับกำลังเงินลงทุน อีกทั้งต้องมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะสินค้าภาคการเกษตรในแต่ละพื้นที่จุดเด่นจะอยู่ที่ความน่าสนใจของเรื่องราวในตัวผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้โดยที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร
“ความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ เมื่อใส่ลงไปจะเป็นความแตกต่างในตัวสินค้า เช่นสับปะรดกวนมีทั่วประเทศ แต่ก็มีหลายแบรนด์ สร้างความแตกต่างในสินค้าที่เหมือนกันให้กับผู้บริโภค” คุณตรันต์กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.บัณทิต อินณวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เสริมในประเด็นนี้ โดยเปิดภาพจากธุรกิจทางด้านอาหารที่มีความเชี่ยวชาญ ว่าสินค้าปะเภทอาหารไม่ว่าอะไรก็ตาม หากนำนวัตกรรมเข้าพัฒนา มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้แน่นอน ต้องสร้างคุณภาพให้เหนือกว่าสิ่งที่ลูกค้าคาดคิด
“เช่นญี่ปุ่นทำน้ำปลาจากถั่วเหลือง หากเราจะทำจากน้ำมะพร้าวก็มีโอกาส โดยใช้นวัตกรรมเข้าไปช่วย มีกลุ่มลุกค้าคือคนที่ต้องการกินน้ำปลาที่ไม่มีส่วนผสมจากเนื้อสัตว์ ต้องเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคของสินค้าในแต่ละตัว หยิบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ สื่อสารให้ลูกค้ารับรู้ได้ว่าเราจะขายอะไร มองให้ออกว่าใครคือลูกค้าของเราจริงๆ และคาดหวังอะไรจากสินค้าของเรา แล้วสร้างคุณภาพให้เหนือกว่า” ผศ.ดร.บัณทิตกล่าว