จากกระทู้ข้างล่างมีน้อง ตั้งถามว่าผู้ถือหุ้นคืออะไร กรรมการคืออะไร
https://ppantip.com/topic/36685340
อ่านดูแล้ว แม้จะเป็นคำถามที่คนทั่วไป น่าจะเข้าใจ แต่ ก็ยังมีบางอัน ที่คนเข้าใจกันผิด ตอบน้องยาว เลย เอาเขียนเล่น แจมให้เพื่อนๆ อีกทีดีกว่า ใครอยากเพิ่มเติมอะไรให้ความรู้เพื่อนๆ เชิญได้เลยครับ
-------------------------------
มาดูรูปแบบการร่วมทุนใน บริษัท ก่อน
บริษัท ทุนจดทะเบียน พาร์ และจำนวนหุ้น
สมมุติ บริษัทนึงมีกิจการและทรัพย์สินมูลค่า 10,000 บาท
เอามาระดมทุน แบ่งขายให้กับหลายๆคนที่มาร่วมลงทุนกัน แบ่งย่อย ออกเป็น 1,000 หุ้น
อย่างนี้ มูลค่าแต่ล่ะหุ้น ก็ = 10 บาท เวลาจดทะเบียน ก็เรียกว่า
มีทุนจดทะเบียนรวม 10,000 บาท
พาร์ 10 บาท(มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ = 10บาท) จำนวนหุ้นที่จดทะเบียนทั้งหมด 1,000 หุ้น
ซึ่งหุ้น 1,000 หุ้นนี้ จะแบ่งออกไปถือโดยกี่คนได้ จำนวนคนล่ะกี่หุ้นก็ได้ ไม่ใช่ พันหุ้น ต้องพันคน เหมือนเราหุ้นกับเพื่อนห้าคน ลงทุนเท่ากันแล้วเรียก เลยมี 5 คน 5 หุ้น(ส่วน)
มูลค่าหุ้นนี้ ถ้าดำเนินกิจการไป ถ้าเติบโต กำไรมีกำไรสะสม มากๆขึ้น มันอาจจะโต ไปมีมูลค่า หุ้นล่ะ หลายสิบบาท หรือ หลายร้อยบาท ก็ได้ แต่ก็ยังเรียกว่า พาร์ 10 บาทเหมือนเดิม ส่วนมูลค่าจริง ของมันต่อหุ้นนั้น เค้าเรียกมูลค่าหุ้นทางบัญชี หรือ book value
สำหรับในตลาดหลักทรัพย์ เวลามีหุ้นเข้าตลาดใหม่ มาเสนอขายให้กับนักลงทุน( IPO ) จะเห็นว่า ส่วนใหญ่ราคาเสนอขายมักจะสูงกว่า ราคา พาร์ เช่น สาหร่ายเถ้าแก่น้อย TKN แบ่งย่อยราคา Par .025 บาท แต่เสนอขาย ที่ราคา 4 บาท แพงกว่า ราคา พาร์ ถึง 16 เท่า แต่ว่าคนก็ยังแย่งกันซื้อ เพราะมองว่ามูลค่าจริง ของมัน สูงกว่าราคาพาร์มาก เข้าตลาดแล้ว น่าจะโตต่อไปได้ ซึ่งทุกวันนี้ราคา มันก็มา เกิน 20 บาทไปแล้ว ทั้งที่ พาร์แค่ .25 บาทเท่านั้น (ส่วนตอนนี้แพงไปหรือไม่ให้ตลาดเค้าตัดสิน กันเอง )
ผู้ถือหุ้น คือ ผู้มีส่วนเป็นเจ้าของในบริษัทนั้น
ถ้าบริษัทแบ่งหุ้นออกเป็นทั้งหมด 1000 หุ้น
คนที่ถือ 1 หุ้นก็ เท่ากับถือหุ้นบริษัทนั้น 0.1%
ถ้าถือ 100 หุ้นก็เท่ากับ ถือ 10%
ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิ์ เข้าประชุม และออกเสียงในการประชุมบริษัท รวมทั้งเลือกกรรมการมาบริหารบริษัทได้ และรับผลประโยชน์ ต่างๆ เช่นปันผล ตามสัดส่วนหุ้นที่ถือไว้ เช่น ถ้าบริษัทปันผล ออกมา หุ้นล่ะ 2 บาท ถือไว้ 10 หุ้น ก็ได้20 บาท
กรรมการ และ ผู้บริหารบริษัท
พวกนี้ คือผู้ที่ เข้ามาดูแล บริหาร ตัดสินใจดำเนินการในบริษัท(เหมือนที่เห็นกันในหนัง มานั่งล้อมวงประชุมกันนั่นแหละ)
พวกนี้ จะได้มาจากการโหวตเลือกจาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้นใคร ได้เสียงมากสุด ก็ได้เป็น กรรมการ และผู้บริหาร และ กรรมการ ที่ได้มา ไม่จำเป็นต้องได้เสียงเกิน กึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของผู้ถือหุ้นนะ ขอให้แค่ได้มากที่สุด ก็พอ
เช่นสมมุติ ถ้าโหวตเลือกกรรมการ 8 คน คนที่คะแนนสูงสุด 8 คน ก็ชนะ เข้ามาบริหาร
หรือถ้าเป็นการโหวต รับรอง การเป็นการกรรมการ ถ้า คนโหวตรับ มากกว่า การ โหวตไม่รับ ก็ได้เป็นกรรมการเช่นกัน คือ
ตัดสินกันที่ จำนวนเสียงที่มากกว่า ไม่ใช่ เสียงเกินกึ่งหนึ่ง
ดังนั้น บริษัทที่ มีผู้ถือหุ้นกระจาย มากๆ หรือ เรียกว่า Free Floate เยอะ และในการประชุม โหวตคนเข้าประชุม ไม่ค่อยมาก เสียงแตกกระจาย ทีมที่คุมเสียงได้ แค่ไม่กี่สิบเปอร์เซนต์ ก็อาจจะรวบอำนาจขึ้นมาบริหาร บริษัทได้ ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเกิน 50%
แต่แน่นอน ถ้าใครถือ เกิน 50% ย่อมคุมอำนาจการโหวตได้เบ็ดเสร็จ โหวตทีไร ชนะทุกครั้ง กุมอำนาจการบริหารได้อย่างสบายใจ
แต่มีเจ้าของ บางบริษัท ที่ เห็นราคาหุ้นบริษัตัวเองสูงดี แอบปล่อยหุ้น ที่ถืออยู่ ออกมาขายในตลาดทำกำไรทำให้สัดส่วนในมือตัวเองลดต่ำ โดนคนดอดเก็บหุ้น จนเค้าถือเสียงมากกว่า เรียกประชุมผู้ถือหุ้นใหม่ ขอเปลี่ยนทีมผู้บริหาร ไล่ ทีมเก่ากระเด็นไปก็มีให้เห็น เช่นกัน
ซึ่งการทำแบบนี้ เรียกว่า Hostile Take Over หรือการเทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร
บางครั้ง กรรมการ และ ผู้บริหาร อาจจะไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นก็ได้ แต่เป็นคนที่มีความสามารถ ที่ ทางผู้ถือหุ้นเดิม เชิญ หรือจ้างเข้ามา และ ได้รับการโหวตสนับสนุนจาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้เข้ามาเป็นกรรมการและ ทีมบริหาร หรือ ประธานบริหาร บริษัทก็ได้ เช่นกัน
ผู้ถือหุ้นใหญ่ Major share Holder หลายคนเข้าใจว่า คือผู้ถือหุ้นที่คุมเสียงข้างมากเกิน 50%
จริงๆไม่ใช่ครับ (ไอ้คุมเกิน 50% นั่นคือใหญ่มากๆๆๆๆ คุมเสียงเบ็ดเสร็จ กุมอำนาจบริษัท แบบไม่ต้องกลัวแพ้โหวตใคร)
แต่ MJH นี่ ส่วนใหญ่นับกันที่จำนวนที่ถือหุ้นเกิน 0.5% ของบริษัท ก็ถือว่าเป็น MJH แล้ว
ถ้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะแสดงรายชื่อนี้ไว้ให้คนทั่วไปทราบด้วยว่า ใคร เป็น MJH ในบริษัทนี้บ้าง
ตัว Major Share Holder นี้ ไม่ได้มีสิทธิ์พิเศษอะไร เหนือกว่า ผู้ถือหุ้นทั่วไป มีสิทธิ์โหวตได้ ตามสัดส่วนเสียงที่ตัวเองมี แต่ว่า เวลาประชุม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่เห็นสัดส่วนที่ถืออยู่ ก็คงเกรงใจกันมั่ง หรือ ถ้า กรณี เค้าแย่งอำนาจบริหารกัน พวกนี้ ก็คงเนื้อหอม มีคนมาจีบ ขอให้ช่วยเข้าโหวต ให้ฝ่ายเค้ากัน
== มารู้จักกับ บริษัท ,Par ,IPO Price , ผู้ถือหุ้น ,กรรมการ , Hostile Takeover, Major Sharholder ==[เฉพาะมือใหม่]
https://ppantip.com/topic/36685340
อ่านดูแล้ว แม้จะเป็นคำถามที่คนทั่วไป น่าจะเข้าใจ แต่ ก็ยังมีบางอัน ที่คนเข้าใจกันผิด ตอบน้องยาว เลย เอาเขียนเล่น แจมให้เพื่อนๆ อีกทีดีกว่า ใครอยากเพิ่มเติมอะไรให้ความรู้เพื่อนๆ เชิญได้เลยครับ
-------------------------------
มาดูรูปแบบการร่วมทุนใน บริษัท ก่อน
บริษัท ทุนจดทะเบียน พาร์ และจำนวนหุ้น
สมมุติ บริษัทนึงมีกิจการและทรัพย์สินมูลค่า 10,000 บาท
เอามาระดมทุน แบ่งขายให้กับหลายๆคนที่มาร่วมลงทุนกัน แบ่งย่อย ออกเป็น 1,000 หุ้น
อย่างนี้ มูลค่าแต่ล่ะหุ้น ก็ = 10 บาท เวลาจดทะเบียน ก็เรียกว่า มีทุนจดทะเบียนรวม 10,000 บาท
พาร์ 10 บาท(มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ = 10บาท) จำนวนหุ้นที่จดทะเบียนทั้งหมด 1,000 หุ้น
ซึ่งหุ้น 1,000 หุ้นนี้ จะแบ่งออกไปถือโดยกี่คนได้ จำนวนคนล่ะกี่หุ้นก็ได้ ไม่ใช่ พันหุ้น ต้องพันคน เหมือนเราหุ้นกับเพื่อนห้าคน ลงทุนเท่ากันแล้วเรียก เลยมี 5 คน 5 หุ้น(ส่วน)
มูลค่าหุ้นนี้ ถ้าดำเนินกิจการไป ถ้าเติบโต กำไรมีกำไรสะสม มากๆขึ้น มันอาจจะโต ไปมีมูลค่า หุ้นล่ะ หลายสิบบาท หรือ หลายร้อยบาท ก็ได้ แต่ก็ยังเรียกว่า พาร์ 10 บาทเหมือนเดิม ส่วนมูลค่าจริง ของมันต่อหุ้นนั้น เค้าเรียกมูลค่าหุ้นทางบัญชี หรือ book value
สำหรับในตลาดหลักทรัพย์ เวลามีหุ้นเข้าตลาดใหม่ มาเสนอขายให้กับนักลงทุน( IPO ) จะเห็นว่า ส่วนใหญ่ราคาเสนอขายมักจะสูงกว่า ราคา พาร์ เช่น สาหร่ายเถ้าแก่น้อย TKN แบ่งย่อยราคา Par .025 บาท แต่เสนอขาย ที่ราคา 4 บาท แพงกว่า ราคา พาร์ ถึง 16 เท่า แต่ว่าคนก็ยังแย่งกันซื้อ เพราะมองว่ามูลค่าจริง ของมัน สูงกว่าราคาพาร์มาก เข้าตลาดแล้ว น่าจะโตต่อไปได้ ซึ่งทุกวันนี้ราคา มันก็มา เกิน 20 บาทไปแล้ว ทั้งที่ พาร์แค่ .25 บาทเท่านั้น (ส่วนตอนนี้แพงไปหรือไม่ให้ตลาดเค้าตัดสิน กันเอง )
ผู้ถือหุ้น คือ ผู้มีส่วนเป็นเจ้าของในบริษัทนั้น
ถ้าบริษัทแบ่งหุ้นออกเป็นทั้งหมด 1000 หุ้น
คนที่ถือ 1 หุ้นก็ เท่ากับถือหุ้นบริษัทนั้น 0.1%
ถ้าถือ 100 หุ้นก็เท่ากับ ถือ 10%
ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิ์ เข้าประชุม และออกเสียงในการประชุมบริษัท รวมทั้งเลือกกรรมการมาบริหารบริษัทได้ และรับผลประโยชน์ ต่างๆ เช่นปันผล ตามสัดส่วนหุ้นที่ถือไว้ เช่น ถ้าบริษัทปันผล ออกมา หุ้นล่ะ 2 บาท ถือไว้ 10 หุ้น ก็ได้20 บาท
กรรมการ และ ผู้บริหารบริษัท
พวกนี้ คือผู้ที่ เข้ามาดูแล บริหาร ตัดสินใจดำเนินการในบริษัท(เหมือนที่เห็นกันในหนัง มานั่งล้อมวงประชุมกันนั่นแหละ)
พวกนี้ จะได้มาจากการโหวตเลือกจาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้นใคร ได้เสียงมากสุด ก็ได้เป็น กรรมการ และผู้บริหาร และ กรรมการ ที่ได้มา ไม่จำเป็นต้องได้เสียงเกิน กึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของผู้ถือหุ้นนะ ขอให้แค่ได้มากที่สุด ก็พอ
เช่นสมมุติ ถ้าโหวตเลือกกรรมการ 8 คน คนที่คะแนนสูงสุด 8 คน ก็ชนะ เข้ามาบริหาร
หรือถ้าเป็นการโหวต รับรอง การเป็นการกรรมการ ถ้า คนโหวตรับ มากกว่า การ โหวตไม่รับ ก็ได้เป็นกรรมการเช่นกัน คือตัดสินกันที่ จำนวนเสียงที่มากกว่า ไม่ใช่ เสียงเกินกึ่งหนึ่ง
ดังนั้น บริษัทที่ มีผู้ถือหุ้นกระจาย มากๆ หรือ เรียกว่า Free Floate เยอะ และในการประชุม โหวตคนเข้าประชุม ไม่ค่อยมาก เสียงแตกกระจาย ทีมที่คุมเสียงได้ แค่ไม่กี่สิบเปอร์เซนต์ ก็อาจจะรวบอำนาจขึ้นมาบริหาร บริษัทได้ ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเกิน 50%
แต่แน่นอน ถ้าใครถือ เกิน 50% ย่อมคุมอำนาจการโหวตได้เบ็ดเสร็จ โหวตทีไร ชนะทุกครั้ง กุมอำนาจการบริหารได้อย่างสบายใจ
แต่มีเจ้าของ บางบริษัท ที่ เห็นราคาหุ้นบริษัตัวเองสูงดี แอบปล่อยหุ้น ที่ถืออยู่ ออกมาขายในตลาดทำกำไรทำให้สัดส่วนในมือตัวเองลดต่ำ โดนคนดอดเก็บหุ้น จนเค้าถือเสียงมากกว่า เรียกประชุมผู้ถือหุ้นใหม่ ขอเปลี่ยนทีมผู้บริหาร ไล่ ทีมเก่ากระเด็นไปก็มีให้เห็น เช่นกัน ซึ่งการทำแบบนี้ เรียกว่า Hostile Take Over หรือการเทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร
บางครั้ง กรรมการ และ ผู้บริหาร อาจจะไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นก็ได้ แต่เป็นคนที่มีความสามารถ ที่ ทางผู้ถือหุ้นเดิม เชิญ หรือจ้างเข้ามา และ ได้รับการโหวตสนับสนุนจาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้เข้ามาเป็นกรรมการและ ทีมบริหาร หรือ ประธานบริหาร บริษัทก็ได้ เช่นกัน
ผู้ถือหุ้นใหญ่ Major share Holder หลายคนเข้าใจว่า คือผู้ถือหุ้นที่คุมเสียงข้างมากเกิน 50%
จริงๆไม่ใช่ครับ (ไอ้คุมเกิน 50% นั่นคือใหญ่มากๆๆๆๆ คุมเสียงเบ็ดเสร็จ กุมอำนาจบริษัท แบบไม่ต้องกลัวแพ้โหวตใคร)
แต่ MJH นี่ ส่วนใหญ่นับกันที่จำนวนที่ถือหุ้นเกิน 0.5% ของบริษัท ก็ถือว่าเป็น MJH แล้ว
ถ้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะแสดงรายชื่อนี้ไว้ให้คนทั่วไปทราบด้วยว่า ใคร เป็น MJH ในบริษัทนี้บ้าง
ตัว Major Share Holder นี้ ไม่ได้มีสิทธิ์พิเศษอะไร เหนือกว่า ผู้ถือหุ้นทั่วไป มีสิทธิ์โหวตได้ ตามสัดส่วนเสียงที่ตัวเองมี แต่ว่า เวลาประชุม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่เห็นสัดส่วนที่ถืออยู่ ก็คงเกรงใจกันมั่ง หรือ ถ้า กรณี เค้าแย่งอำนาจบริหารกัน พวกนี้ ก็คงเนื้อหอม มีคนมาจีบ ขอให้ช่วยเข้าโหวต ให้ฝ่ายเค้ากัน