เนื้อหาตรงนี้เป็นการย่อมาจากในบล๊อกอีกทีนะครับ โดยตัดการอธิบายรายละเอียดออกไปพอสมควร ซึ่งก็ยังยาวเพราะถ้าอธิบายสั้นผมคิดว่าหลายคนอาจมองภาพไม่ออกซึ่งจะทำให้เข้าใจผิดกันไปเปล่าๆ
อ่านเวอร์ชั่นเต็มได้ตามลิงค์ครับ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=naai-nyo&month=07-2017&date=07&group=11&gblog=21
____________________________
ที่จริงเรื่องนี้เขียนไว้นานแล้ว เพิ่งจะได้มาทำต่อให้จบเมื่อไม่นานนี้นี่ล่ะครับ
ก่อนอื่นเลยต้องบอกก่อนว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ากระทรวงศึกษาปล่อยเรื่องชุดนักเรียนแล้วหรือยัง คือให้โรงเรียนดีไซน์ใหม่ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ตามแบบเดิม แต่จะขอพูดถึงไอเดียที่ผมคิดว่ามันน่าจะดีกว่าเดิมครับ
ก่อนหน้านี้ก็เป็นประเด็นกันมาหลายครั้งกับเรื่องของชุดนักเรียนของไทย ทั้งเรื่องของค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ทั้งเรื่องที่ว่าควรจะมีเครื่องแบบมั้ย และเรื่องที่ว่าเครื่องแบบนักเรียนจะเปลี่ยนดีหรือเปล่า
ผมก็เลยลองคิดดูและพบว่ามันน่าจะเป็นอย่างไรดี ซึ่งผมก็คิดพิจารณาจากปัญหาที่ผมรู้ แน่นอนว่าผมก็อาจไม่ได้รู้ปัญหาทั้งหมด
ผมคิดว่าชุดนักเรียนไทยควรเปลี่ยนครับ....
หลายคนอาจคิดว่า ชุดนักเรียนก็แค่ชุดที่ใส่ไปเรียน ไปเรียนก็เพื่อไปหาความรู้ไม่จำเป็นต้องไปคิดเรื่องแต่งตัวอะไร ชุดอะไรก็ใส่ไปเรียนหาความรู้ได้เหมือนกัน....จุดนี้ผมมองว่า ใช่เลยครับ ชุดอะไรก็ใส่ไปเรียนหาความรู้ได้เหมือนกัน ใส่ชุดนอนไปเรียนก็เรียนรู้ได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อขาวกับกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสีน้ำเงินหรอก ใส่เสื้อยืดสีชมพูกางเกงสีเทา รองเท้าแตะ ก็เรียนรู้ได้ ในเมื่อชุดนักเรียนคือชุดที่ใส่ไปเรียนเพราะงั้นมันก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเสื้อขาวกับกางเกง/กระโปรงน้ำเงินหรือดำหรอก เปลี่ยนใหม่ก็ได้ แต่ไม่ใช่เพื่อให้มีความเป็นแฟชั่น แต่เพื่อให้เหมาะกับสมัยปัจจุบัน คงข้อดีเอาไว้และสามารถตอบโจทย์ทั้งหมดซึ่งแก้ปัญหาที่เจอได้
สำหรับคนไทยแล้วถ้าไม่มีเครื่องแบบที่เป็นระเบียบบังคับไว้บ้างมันจะยิ่งเละเทะครับ เพราะนิสัยคนไทย "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้" ทำให้ไม่ค่อยจะมีระเบียบกัน ไม่รู้จักความเหมาะสมและความพอดี เพราะงั้นเครื่องแบบนักเรียนยังน่าจะมีต่อไปครับ เพราะข้อดีของมัน (ความเป็นระเบียบ, การแสดงสถานะของผู้สวมใส่) แต่น่าจะมีการปรับให้เหมาะสมกับปัจจุบันมากขึ้น
แล้วชุดนักเรียนไทยน่าจะเป็นยังไงดีล่ะ....
อย่างแรกเลย ผมว่าชุดนักเรียนน่าจะเปลี่ยนสีให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและการใช้งาน เปลี่ยนจากเสื้อขาวเป็นสีพวก อ๊อฟไวท์ เบจอ่อน เทา หรือสีแบบฝ้ายไม่ฟอกสีอะไรแบบนั้น ซึ่งจะเป็นสีที่ออกเทาๆ หรือปนน้ำตาลอ่อนไปเลยเหมือนสีของพวกเสื้อเอาท์ดอร์ สีแบบนี้เวลาเลอะมันก็จะดูไม่น่าเกลียด แถมพอเก่าก็จะไม่ดูเหลือง และสีแบบนี้ยังใส่ได้ทั้งคนขาวและคล้ำด้วย ส่วนกางเกงกระโปรงก็ใช้สีสุภาพอย่างดำหรือน้ำเงินเหมือนเดิมไปครับ
ผ้าที่ทำเสื้อ อาจใช้เส้นใยเป็นโพลีเอสเตอร์ เพราะราคาถูก แห้งเร็ว ผลิตให้เนื้อเนียนได้ รีดง่าย ยับยาก ซึ่งช่วยลดงานในการจัดการกับเสื้อผ้าของทางบ้าน...การตัดเย็บอาจทำแบบเย็บตะเข็บไว้ 2 ชุด เป็น 2 ไซส์ เช่น S,M หรือ M,L เป็นต้น เมื่อใช้ไปพอเสื้อเริ่มเล็กลงก็เลาะตะเข็บออกเพื่อขยายเป็นอีกไซส์ที่ใหญ่ขึ้นได้ หรือไม่ก็ให้นักเรียนใส่เป็นแบบลูสฟิตไปเลยครับ
กางเกงกับกระโปรงก็ใส่เอวยางยืดหรือทำแอดจัสเตอร์ไปเลย ให้ขยับขนาดได้ราว 1-2 นิ้ว กางเกงหรือกระโปรงก็จะใช้ได้นานขึ้นครับ กรณีที่ยางยืดเสื่อมก็แค่ไปเปลี่ยนใหม่ ไม่ถึงร้อยกางเกงก็กลับมาใช้ได้อย่างเดิมแล้ว
ถุงเท้าก็น่าจะเปลี่ยนเป็นสีเทาแทนนะครับ เพราะมันช่วยให้เวลาที่เลอะแล้วดูไม่แย่เท่าถุงเท้าขาวมันช่วยลดภาระในการจัดการกับเสื้อผ้าของทางบ้านของนักเรียนได้
ต่อไปก็เรื่องระเบียบครับ....
การถูกบังคับตลอด 12 ปีทำให้เด็กนักเรียนหลายคนเบื่อเพราะต้องใส่แต่ชุดเดิมๆ ตลอด เพราะงั้นก็ลองมาปรับแนวคิดกันหน่อยครับ
แต่ละโรงเรียนอาจออกแบบชุดในแบบของตัวเองไปเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมดทุกโรงเรียน การที่ชุดแต่ละโรงเรียนต่างกันก็มีข้อดีนะครับ คือถ้าเกิดเรื่องอะไรขึ้นมองไปปุ๊บรู้ปั๊บว่าเป็นเด็กโรงเรียนไหน ซึ่งผมก็มีไอเดียให้อยู่ 2 แบบ คือ.....
- แบบแรก
ใช้ไอเดียแบบญี่ปุ่นครับ คือในชุดนักเรียนมีให้เลือกใส่ได้ สมมุติว่ามีสัก 10 ชิ้น ก็ให้เลือกใส่เองได้ ผสมชุดเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องใส่เหมือนกันหมดทุกคน (ไม่ใช่ทุกโรงเรียนในญี่ปุ่นนะครับ แต่เห็นมีหลายโรงเรียนทำแบบนี้) ก็ไม่ใช่ว่าจะให้เด็กไทยไปผูกเน็คไทใส่เสื้อนอกอะไรหรอกนะครับ มันไม่เหมาะกับประเทศเราซึ่งเป็นเมืองร้อน แต่หมายถึงว่าเราน่าจะเอาแนวคิดที่ให้เด็กได้เลือกผสมชุดที่จะใส่เองได้มาใช้
รูปจากเวบของโรงเรียนมัธยมเทเคียวฮาจิโอจิ (Teikyo Hachioji) จะมีชุดหลักที่บังคับอยู่ แล้วจะมีเสื้อสีฟ้ากับเทา (ชาย) และชมพูกับม่วง (หญิง) ให้เลือกใส่ได้ ชิ้นล่างมีให้เลือกได้ 3 สี นักเรียนหญิงสามารถเลือกใช้เนคไทหรือโบว์ก็ได้
เช่นเราอาจจะมีเสื้อให้เลือกสัก 2-3 แบบ(เชิ้ตนักเรียน, โปโล, เสื้อไทย) สีก็แล้วแต่ว่าจะให้เลือกได้หรือไม่ ถ้าเลือกได้ก็อาจจะมีสัก 2 หรือ 3 สี เช่น ขาว, เทา, เบจอ่อน (หรือจะเป็นสีอื่นก็แล้วแต่) กางเกง/กระโปรง สัก 2 แบบ อาจมีการผสมชุดไทยลำลองเข้าไปด้วย (กางเกง/กระโปรงปกติ, กางเกงไทย, ซิ่นสั้นหรือกระโปรงแร็ปอะราวด์ชายตรง) ถุงเท้าให้ใส่สีขาว เทา ดำ ได้ เลือกใส่รองเท้าได้สีขาวกับดำล้วน เข็มขัดเป็นสีสุภาพไม่กำหนดว่าเป็นผ้าหรือหนัง อาจทำหัวให้เหมือนกันให้เป็นระเบียบสักหน่อย....หรืออาจออกไอเดียอื่นๆ อีกก็ได้ตามเห็นสมควร และบังคับให้ใส่ชุดตามที่โรงเรียนกำหนดเมื่อต้องเข้าพิธีต่างๆ ของทางโรงเรียน.....ชุดนักเรียนที่ว่ามีหลายแบบให้เลือกใส่นี้ก็หมายความว่าชุดหลักคือแบบที่ทุกคนจะต้องมี ส่วนแบบอื่นๆ ก็แล้วแต่คนครับ จะซื้อใส่หรือไม่ก็ได้ มันเป็นแค่ตัวเลือกให้ใส่กันได้เท่านั้นครับ
รูปจากอินเตอร์เน็ต...มีการตัดต่อใหม่
การให้อิสระแบบนี้ผมคิดว่าน่าจะทำในชั้นมัธยมครับ ม.ต้น ก็อาจให้อิสระได้แต่อาจยังไม่มากเท่าไหร่ แล้ว ม.ปลาย ก็จะมีอิสระมากกว่า ส่วนประถมก็ให้บังคับอยู่ในระเบียบไปก่อนเพราะเด็กควรจะผ่านการรู้จักอยู่ในระเบียบมาก่อนที่จะได้อิสระครับ
อย่างไรก็ตามผมก็ยังมองว่าการไม่มีเครื่องแบบเลยนั้นไม่เหมาะกับคนไทยที่รู้จักความเหมาะสมน้อยกว่า เข้าใจกาลเทศะน้อยกว่า และมีระเบียบน้อยกว่าญี่ปุ่นครับ พ่อแม่เด็กหลายๆ คนก็ไม่ได้เข้าใจเรื่องเหล่านี้มากนัก เพราะงั้นเด็กๆ จึงควรจะได้รับการฝึกสอนในเรื่องพวกนี้ในช่วงประถมซึ่งเป็นวัยที่สำคัญในการวางพื้นฐานก่อนที่จะไปให้มีอิสระในช่วงมัธยม ซึ่งจะเป็นช่วงที่เด็กกำลังต้องการอิสระพอดีครับ
- แบบที่ 2
บังคับแต่เสื้อส่วนกางเกงรองเท้าไม่บังคับแต่มีข้อกำหนด คือให้ใส่เสื้อเหมือนกันทุกคนเช่นอาจเป็นเสื้อเชิ้ตนักเรียนธรรมดา อย่างทุกวันนี้ก็ได้หรืออาจเป็นเสื้อโปโลแทน หรือบางโรงเรียนจะใช้เสื้อไทยก็แล้วแต่ครับ ส่วนชิ้นล่างก็ให้เลือกใส่มาเองได้เลย แต่ก็ต้องมีการกำหนดว่าให้สั้นที่สุดได้แค่ไหน ให้ใช้สีสุภาพ และรองเท้าก็ต้องเป็นรองเท้าสีขาวหรือดำล้วน เข็มขัดผ้าหรือหนังและเป็นสีสุภาพ...ชุดพละก็เพิ่มแค่กางเกงเข้ามา....วิธีนี้จะมีสิ่งที่ต้องซื้อคือแค่เสื้อกับรองเท้าและกางเกงพละเท่านั้น ส่วนอย่างอื่นก็ใช้ของที่มีอยู่ได้ จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกมากครับ
รูปจากอินเตอร์เน็ต...มีการตัดต่อใหม่
- รายละเอียดชุดอื่นๆ.....ในทั้ง 2 แบบ
...ชุดลูกเสือก็อาจไม่จะเป็นต้องมีอะไรมากมายอาจใช้แค่ผ้าพันคออย่างเดียวพอ หรืออาจมีปลอกแขนหรือเสื้อเฉพาะในกรณีทีต้องปักอะไรเป็นพิเศษ ซึ่งน่าจะช่วยประหยัดได้อีกไม่น้อยครับ
...ชุดไทยลำลองถ้าจะให้มีการใช้ในโรงเรียนก็ต้องมีการปรับกางเกงไทยหรือซิ่นสั้นให้ใส่ได้ง่ายขึ้นไม่ต้องใช้เชือกผูก อาจใส่หูร้อยเข็มขัดเข้าไปเลยก็ได้ หรืออาจทำเป็นแบบสายรูดก็ได้
คือไม่ได้หมายความว่าจะต้องเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่งแต่เอาทั้ง 2 แบบนี้มาผสมเข้าด้วยกันเลยก็ได้ เช่นบังคับเฉพาะเสื้อแต่ก็มีเสื้อให้เลือกใส่ได้มากกว่า 1 แบบหรือมีอะไรอย่างนี้ครับ ซึ่งถ้ามีการให้เลือกใส่ได้มากกว่า 1 สี ก็อาจมีสีขาวยืนพื้นเป็นสีมาตรฐานก็ได้แล้วมีสีอื่นๆ ให้เลือกใช้ได้ เพราะเด็กหรือผู้ปกครองก็สามารถเลือกใช้สีอื่นที่ดูแลง่ายกว่าสีขาวได้
ประโยชน์ของการทำแบบนี้ เราได้อะไร....
- ทำให้เด็กไม่เบื่อ
- เป็นการฝึกสอนในทางปฏิบัติในด้านการรู้จักอยู่ในระเบียบด้วย คือแม้จะมีอิสระแต่ก็ต้องรู้จักที่จะอยู่ภายในข้อกำหนด
- เด็กจะได้แสดงออกทางความคิด ถูกฝึกให้คิดแบบจะทำยังไงก็ได้แต่ต้องไม่ผิดกฏกติกา
- เป็นการเรียนรู้เรื่องของกฏกติกา กาลเทศะรวมถึงความความเหมาะสมในการแต่งตัวไปพร้อมๆ กัน
- ทำให้เด็กรู้จักคิดและพิจารณาสิ่งต่างๆ เองมากขึ้นไม่ใช่แค่เดินตามที่ผู้ใหญ่กำหนดไว้อย่างเดียว
- ให้เด็กรู้จักการตัดสินใจเองโดยอยู่ภายใต้กฏกติกา
- การที่มีชุดไทยลำลองให้เลือกใส่ได้ด้วยเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในระยะยาว ต่างกับการให้ใส่ทุกวันศุกร์เพราะมันคือการให้เด็กเลือกและตัดสินใจหยิบมันมาใส่ได้เองโดยไม่ได้บังคับ
- อาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำในแง่ของสภาพของข้าวของเครื่องใช้ได้
- อาจเป็นการฝึกสอนให้เด็กได้อยู่ในโลกจริงได้เพราะชีวิตจริงมันไม่ได้เท่าเทียมครับ มันมีความเหลื่อมล้ำอยู่ ทุกวันนี้ก็มี เมื่อเราลบมันไปไม่ได้ก็สอนให้เด็กอยู่กับมันให้ได้ดีกว่า
- อาจช่วยสอนเด็กให้ไม่แบ่งแยกในเรื่องความเหลื่อมล้ำนี้ไปได้พร้อมๆ กันได้ด้วย
บางคนอาจคิดว่าเด็กมีหน้าที่เรียนก็ควรสนใจเรื่องเรียน ควรตั้งใจเรียน ทำไมต้องไปสนใจเรื่องการแต่งตัวไปเรียนด้วย คิดง่ายๆ ครับ ผู้ใหญ่เองก็มีหน้าที่การงานต้องทำ แล้วผู้ใหญ่สนใจแต่เรื่องการงานหน้าที่ของตัวเองเพียงอย่างเดียวหรือเปล่า ตั้งใจทำงานเพียงอย่างเดียวหรือเปล่า เปล่าเลย หลายคนก็ไม่ได้ตั้งใจทำงาน หลายคนก็ยังสนใจแต่เรื่องการแต่งตัว ของใช้แบรนด์เนม การมีของใช้ที่เท่าเทียมกับคนอื่น โดยอ้างว่ามันเป็นเรื่องของสังคมที่ผู้ใหญ่มี...คิดดีๆ ครับ ผู้ใหญ่ไม่ได้มีแค่เรื่องของการทำงานและความรับผิดชอบ ชีวิตของเด็กก็ไม่ได้มีแค่การเรียนและความรับผิดชอบในเรื่องเรียนเพียงอย่างเดียวเหมือนกัน เด็กก็มีสังคมของเขาเหมือนกันกับผู้ใหญ่นั่นแหละ แถมการทำอย่างที่ได้พูดถึงกันไปทั้งหมดนี้มันยังช่วยวางพื้นฐานอีกส่วนหนึ่งให้กับเด็กเพื่อเตรียมออกไปเจอกับสังคมภายนอกเมื่อโตขึ้นไปพร้อมกันด้วย
เมื่อพิจารณาทั้งหมดนี้แล้วการเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนใหม่มันก็ยังไม่เห็นข้อเสียอะไรที่ทำให้แย่ลงใช่มั้ยครับ มีแต่ดีขึ้นกับเหมือนเดิม ซึ่งผมเองก็ไม่รู้หรอกว่าถ้าทำจริงแล้วมันจะมีปัญหาอะไรที่เราคิดไม่ถึงหรือเปล่า แต่ถ้าเราเปิดใจสักหน่อย ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ยอมปรับเปลี่ยน มันก็จะกลายเป็นการพัฒนาขึ้นไปได้ เพราะการยอมเปลี่ยนอย่างนี้มันไม่ใช่เรื่องของแฟชั่นแต่เป็นเรื่องของการปรับให้เหมาะสมกับยุคสมัย และมันจะให้ผลในการฝึกสอนเด็กในทางปฏิบัติเกี่ยวกับด้านต่างๆ เข้ามาด้วยครับ
ชุดนักเรียนไทย เอาแบบนี้ดีกว่ามั้ย...
อ่านเวอร์ชั่นเต็มได้ตามลิงค์ครับ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=naai-nyo&month=07-2017&date=07&group=11&gblog=21
____________________________
ที่จริงเรื่องนี้เขียนไว้นานแล้ว เพิ่งจะได้มาทำต่อให้จบเมื่อไม่นานนี้นี่ล่ะครับ
ก่อนอื่นเลยต้องบอกก่อนว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ากระทรวงศึกษาปล่อยเรื่องชุดนักเรียนแล้วหรือยัง คือให้โรงเรียนดีไซน์ใหม่ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ตามแบบเดิม แต่จะขอพูดถึงไอเดียที่ผมคิดว่ามันน่าจะดีกว่าเดิมครับ
ก่อนหน้านี้ก็เป็นประเด็นกันมาหลายครั้งกับเรื่องของชุดนักเรียนของไทย ทั้งเรื่องของค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ทั้งเรื่องที่ว่าควรจะมีเครื่องแบบมั้ย และเรื่องที่ว่าเครื่องแบบนักเรียนจะเปลี่ยนดีหรือเปล่า
ผมก็เลยลองคิดดูและพบว่ามันน่าจะเป็นอย่างไรดี ซึ่งผมก็คิดพิจารณาจากปัญหาที่ผมรู้ แน่นอนว่าผมก็อาจไม่ได้รู้ปัญหาทั้งหมด
ผมคิดว่าชุดนักเรียนไทยควรเปลี่ยนครับ....
หลายคนอาจคิดว่า ชุดนักเรียนก็แค่ชุดที่ใส่ไปเรียน ไปเรียนก็เพื่อไปหาความรู้ไม่จำเป็นต้องไปคิดเรื่องแต่งตัวอะไร ชุดอะไรก็ใส่ไปเรียนหาความรู้ได้เหมือนกัน....จุดนี้ผมมองว่า ใช่เลยครับ ชุดอะไรก็ใส่ไปเรียนหาความรู้ได้เหมือนกัน ใส่ชุดนอนไปเรียนก็เรียนรู้ได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อขาวกับกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสีน้ำเงินหรอก ใส่เสื้อยืดสีชมพูกางเกงสีเทา รองเท้าแตะ ก็เรียนรู้ได้ ในเมื่อชุดนักเรียนคือชุดที่ใส่ไปเรียนเพราะงั้นมันก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเสื้อขาวกับกางเกง/กระโปรงน้ำเงินหรือดำหรอก เปลี่ยนใหม่ก็ได้ แต่ไม่ใช่เพื่อให้มีความเป็นแฟชั่น แต่เพื่อให้เหมาะกับสมัยปัจจุบัน คงข้อดีเอาไว้และสามารถตอบโจทย์ทั้งหมดซึ่งแก้ปัญหาที่เจอได้
สำหรับคนไทยแล้วถ้าไม่มีเครื่องแบบที่เป็นระเบียบบังคับไว้บ้างมันจะยิ่งเละเทะครับ เพราะนิสัยคนไทย "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้" ทำให้ไม่ค่อยจะมีระเบียบกัน ไม่รู้จักความเหมาะสมและความพอดี เพราะงั้นเครื่องแบบนักเรียนยังน่าจะมีต่อไปครับ เพราะข้อดีของมัน (ความเป็นระเบียบ, การแสดงสถานะของผู้สวมใส่) แต่น่าจะมีการปรับให้เหมาะสมกับปัจจุบันมากขึ้น
แล้วชุดนักเรียนไทยน่าจะเป็นยังไงดีล่ะ....
อย่างแรกเลย ผมว่าชุดนักเรียนน่าจะเปลี่ยนสีให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและการใช้งาน เปลี่ยนจากเสื้อขาวเป็นสีพวก อ๊อฟไวท์ เบจอ่อน เทา หรือสีแบบฝ้ายไม่ฟอกสีอะไรแบบนั้น ซึ่งจะเป็นสีที่ออกเทาๆ หรือปนน้ำตาลอ่อนไปเลยเหมือนสีของพวกเสื้อเอาท์ดอร์ สีแบบนี้เวลาเลอะมันก็จะดูไม่น่าเกลียด แถมพอเก่าก็จะไม่ดูเหลือง และสีแบบนี้ยังใส่ได้ทั้งคนขาวและคล้ำด้วย ส่วนกางเกงกระโปรงก็ใช้สีสุภาพอย่างดำหรือน้ำเงินเหมือนเดิมไปครับ
ผ้าที่ทำเสื้อ อาจใช้เส้นใยเป็นโพลีเอสเตอร์ เพราะราคาถูก แห้งเร็ว ผลิตให้เนื้อเนียนได้ รีดง่าย ยับยาก ซึ่งช่วยลดงานในการจัดการกับเสื้อผ้าของทางบ้าน...การตัดเย็บอาจทำแบบเย็บตะเข็บไว้ 2 ชุด เป็น 2 ไซส์ เช่น S,M หรือ M,L เป็นต้น เมื่อใช้ไปพอเสื้อเริ่มเล็กลงก็เลาะตะเข็บออกเพื่อขยายเป็นอีกไซส์ที่ใหญ่ขึ้นได้ หรือไม่ก็ให้นักเรียนใส่เป็นแบบลูสฟิตไปเลยครับ
กางเกงกับกระโปรงก็ใส่เอวยางยืดหรือทำแอดจัสเตอร์ไปเลย ให้ขยับขนาดได้ราว 1-2 นิ้ว กางเกงหรือกระโปรงก็จะใช้ได้นานขึ้นครับ กรณีที่ยางยืดเสื่อมก็แค่ไปเปลี่ยนใหม่ ไม่ถึงร้อยกางเกงก็กลับมาใช้ได้อย่างเดิมแล้ว
ถุงเท้าก็น่าจะเปลี่ยนเป็นสีเทาแทนนะครับ เพราะมันช่วยให้เวลาที่เลอะแล้วดูไม่แย่เท่าถุงเท้าขาวมันช่วยลดภาระในการจัดการกับเสื้อผ้าของทางบ้านของนักเรียนได้
ต่อไปก็เรื่องระเบียบครับ....
การถูกบังคับตลอด 12 ปีทำให้เด็กนักเรียนหลายคนเบื่อเพราะต้องใส่แต่ชุดเดิมๆ ตลอด เพราะงั้นก็ลองมาปรับแนวคิดกันหน่อยครับ
แต่ละโรงเรียนอาจออกแบบชุดในแบบของตัวเองไปเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมดทุกโรงเรียน การที่ชุดแต่ละโรงเรียนต่างกันก็มีข้อดีนะครับ คือถ้าเกิดเรื่องอะไรขึ้นมองไปปุ๊บรู้ปั๊บว่าเป็นเด็กโรงเรียนไหน ซึ่งผมก็มีไอเดียให้อยู่ 2 แบบ คือ.....
- แบบแรก
ใช้ไอเดียแบบญี่ปุ่นครับ คือในชุดนักเรียนมีให้เลือกใส่ได้ สมมุติว่ามีสัก 10 ชิ้น ก็ให้เลือกใส่เองได้ ผสมชุดเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องใส่เหมือนกันหมดทุกคน (ไม่ใช่ทุกโรงเรียนในญี่ปุ่นนะครับ แต่เห็นมีหลายโรงเรียนทำแบบนี้) ก็ไม่ใช่ว่าจะให้เด็กไทยไปผูกเน็คไทใส่เสื้อนอกอะไรหรอกนะครับ มันไม่เหมาะกับประเทศเราซึ่งเป็นเมืองร้อน แต่หมายถึงว่าเราน่าจะเอาแนวคิดที่ให้เด็กได้เลือกผสมชุดที่จะใส่เองได้มาใช้
รูปจากเวบของโรงเรียนมัธยมเทเคียวฮาจิโอจิ (Teikyo Hachioji) จะมีชุดหลักที่บังคับอยู่ แล้วจะมีเสื้อสีฟ้ากับเทา (ชาย) และชมพูกับม่วง (หญิง) ให้เลือกใส่ได้ ชิ้นล่างมีให้เลือกได้ 3 สี นักเรียนหญิงสามารถเลือกใช้เนคไทหรือโบว์ก็ได้
เช่นเราอาจจะมีเสื้อให้เลือกสัก 2-3 แบบ(เชิ้ตนักเรียน, โปโล, เสื้อไทย) สีก็แล้วแต่ว่าจะให้เลือกได้หรือไม่ ถ้าเลือกได้ก็อาจจะมีสัก 2 หรือ 3 สี เช่น ขาว, เทา, เบจอ่อน (หรือจะเป็นสีอื่นก็แล้วแต่) กางเกง/กระโปรง สัก 2 แบบ อาจมีการผสมชุดไทยลำลองเข้าไปด้วย (กางเกง/กระโปรงปกติ, กางเกงไทย, ซิ่นสั้นหรือกระโปรงแร็ปอะราวด์ชายตรง) ถุงเท้าให้ใส่สีขาว เทา ดำ ได้ เลือกใส่รองเท้าได้สีขาวกับดำล้วน เข็มขัดเป็นสีสุภาพไม่กำหนดว่าเป็นผ้าหรือหนัง อาจทำหัวให้เหมือนกันให้เป็นระเบียบสักหน่อย....หรืออาจออกไอเดียอื่นๆ อีกก็ได้ตามเห็นสมควร และบังคับให้ใส่ชุดตามที่โรงเรียนกำหนดเมื่อต้องเข้าพิธีต่างๆ ของทางโรงเรียน.....ชุดนักเรียนที่ว่ามีหลายแบบให้เลือกใส่นี้ก็หมายความว่าชุดหลักคือแบบที่ทุกคนจะต้องมี ส่วนแบบอื่นๆ ก็แล้วแต่คนครับ จะซื้อใส่หรือไม่ก็ได้ มันเป็นแค่ตัวเลือกให้ใส่กันได้เท่านั้นครับ
รูปจากอินเตอร์เน็ต...มีการตัดต่อใหม่
การให้อิสระแบบนี้ผมคิดว่าน่าจะทำในชั้นมัธยมครับ ม.ต้น ก็อาจให้อิสระได้แต่อาจยังไม่มากเท่าไหร่ แล้ว ม.ปลาย ก็จะมีอิสระมากกว่า ส่วนประถมก็ให้บังคับอยู่ในระเบียบไปก่อนเพราะเด็กควรจะผ่านการรู้จักอยู่ในระเบียบมาก่อนที่จะได้อิสระครับ
อย่างไรก็ตามผมก็ยังมองว่าการไม่มีเครื่องแบบเลยนั้นไม่เหมาะกับคนไทยที่รู้จักความเหมาะสมน้อยกว่า เข้าใจกาลเทศะน้อยกว่า และมีระเบียบน้อยกว่าญี่ปุ่นครับ พ่อแม่เด็กหลายๆ คนก็ไม่ได้เข้าใจเรื่องเหล่านี้มากนัก เพราะงั้นเด็กๆ จึงควรจะได้รับการฝึกสอนในเรื่องพวกนี้ในช่วงประถมซึ่งเป็นวัยที่สำคัญในการวางพื้นฐานก่อนที่จะไปให้มีอิสระในช่วงมัธยม ซึ่งจะเป็นช่วงที่เด็กกำลังต้องการอิสระพอดีครับ
- แบบที่ 2
บังคับแต่เสื้อส่วนกางเกงรองเท้าไม่บังคับแต่มีข้อกำหนด คือให้ใส่เสื้อเหมือนกันทุกคนเช่นอาจเป็นเสื้อเชิ้ตนักเรียนธรรมดา อย่างทุกวันนี้ก็ได้หรืออาจเป็นเสื้อโปโลแทน หรือบางโรงเรียนจะใช้เสื้อไทยก็แล้วแต่ครับ ส่วนชิ้นล่างก็ให้เลือกใส่มาเองได้เลย แต่ก็ต้องมีการกำหนดว่าให้สั้นที่สุดได้แค่ไหน ให้ใช้สีสุภาพ และรองเท้าก็ต้องเป็นรองเท้าสีขาวหรือดำล้วน เข็มขัดผ้าหรือหนังและเป็นสีสุภาพ...ชุดพละก็เพิ่มแค่กางเกงเข้ามา....วิธีนี้จะมีสิ่งที่ต้องซื้อคือแค่เสื้อกับรองเท้าและกางเกงพละเท่านั้น ส่วนอย่างอื่นก็ใช้ของที่มีอยู่ได้ จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกมากครับ
รูปจากอินเตอร์เน็ต...มีการตัดต่อใหม่
- รายละเอียดชุดอื่นๆ.....ในทั้ง 2 แบบ
...ชุดลูกเสือก็อาจไม่จะเป็นต้องมีอะไรมากมายอาจใช้แค่ผ้าพันคออย่างเดียวพอ หรืออาจมีปลอกแขนหรือเสื้อเฉพาะในกรณีทีต้องปักอะไรเป็นพิเศษ ซึ่งน่าจะช่วยประหยัดได้อีกไม่น้อยครับ
...ชุดไทยลำลองถ้าจะให้มีการใช้ในโรงเรียนก็ต้องมีการปรับกางเกงไทยหรือซิ่นสั้นให้ใส่ได้ง่ายขึ้นไม่ต้องใช้เชือกผูก อาจใส่หูร้อยเข็มขัดเข้าไปเลยก็ได้ หรืออาจทำเป็นแบบสายรูดก็ได้
คือไม่ได้หมายความว่าจะต้องเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่งแต่เอาทั้ง 2 แบบนี้มาผสมเข้าด้วยกันเลยก็ได้ เช่นบังคับเฉพาะเสื้อแต่ก็มีเสื้อให้เลือกใส่ได้มากกว่า 1 แบบหรือมีอะไรอย่างนี้ครับ ซึ่งถ้ามีการให้เลือกใส่ได้มากกว่า 1 สี ก็อาจมีสีขาวยืนพื้นเป็นสีมาตรฐานก็ได้แล้วมีสีอื่นๆ ให้เลือกใช้ได้ เพราะเด็กหรือผู้ปกครองก็สามารถเลือกใช้สีอื่นที่ดูแลง่ายกว่าสีขาวได้
ประโยชน์ของการทำแบบนี้ เราได้อะไร....
- ทำให้เด็กไม่เบื่อ
- เป็นการฝึกสอนในทางปฏิบัติในด้านการรู้จักอยู่ในระเบียบด้วย คือแม้จะมีอิสระแต่ก็ต้องรู้จักที่จะอยู่ภายในข้อกำหนด
- เด็กจะได้แสดงออกทางความคิด ถูกฝึกให้คิดแบบจะทำยังไงก็ได้แต่ต้องไม่ผิดกฏกติกา
- เป็นการเรียนรู้เรื่องของกฏกติกา กาลเทศะรวมถึงความความเหมาะสมในการแต่งตัวไปพร้อมๆ กัน
- ทำให้เด็กรู้จักคิดและพิจารณาสิ่งต่างๆ เองมากขึ้นไม่ใช่แค่เดินตามที่ผู้ใหญ่กำหนดไว้อย่างเดียว
- ให้เด็กรู้จักการตัดสินใจเองโดยอยู่ภายใต้กฏกติกา
- การที่มีชุดไทยลำลองให้เลือกใส่ได้ด้วยเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในระยะยาว ต่างกับการให้ใส่ทุกวันศุกร์เพราะมันคือการให้เด็กเลือกและตัดสินใจหยิบมันมาใส่ได้เองโดยไม่ได้บังคับ
- อาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำในแง่ของสภาพของข้าวของเครื่องใช้ได้
- อาจเป็นการฝึกสอนให้เด็กได้อยู่ในโลกจริงได้เพราะชีวิตจริงมันไม่ได้เท่าเทียมครับ มันมีความเหลื่อมล้ำอยู่ ทุกวันนี้ก็มี เมื่อเราลบมันไปไม่ได้ก็สอนให้เด็กอยู่กับมันให้ได้ดีกว่า
- อาจช่วยสอนเด็กให้ไม่แบ่งแยกในเรื่องความเหลื่อมล้ำนี้ไปได้พร้อมๆ กันได้ด้วย
บางคนอาจคิดว่าเด็กมีหน้าที่เรียนก็ควรสนใจเรื่องเรียน ควรตั้งใจเรียน ทำไมต้องไปสนใจเรื่องการแต่งตัวไปเรียนด้วย คิดง่ายๆ ครับ ผู้ใหญ่เองก็มีหน้าที่การงานต้องทำ แล้วผู้ใหญ่สนใจแต่เรื่องการงานหน้าที่ของตัวเองเพียงอย่างเดียวหรือเปล่า ตั้งใจทำงานเพียงอย่างเดียวหรือเปล่า เปล่าเลย หลายคนก็ไม่ได้ตั้งใจทำงาน หลายคนก็ยังสนใจแต่เรื่องการแต่งตัว ของใช้แบรนด์เนม การมีของใช้ที่เท่าเทียมกับคนอื่น โดยอ้างว่ามันเป็นเรื่องของสังคมที่ผู้ใหญ่มี...คิดดีๆ ครับ ผู้ใหญ่ไม่ได้มีแค่เรื่องของการทำงานและความรับผิดชอบ ชีวิตของเด็กก็ไม่ได้มีแค่การเรียนและความรับผิดชอบในเรื่องเรียนเพียงอย่างเดียวเหมือนกัน เด็กก็มีสังคมของเขาเหมือนกันกับผู้ใหญ่นั่นแหละ แถมการทำอย่างที่ได้พูดถึงกันไปทั้งหมดนี้มันยังช่วยวางพื้นฐานอีกส่วนหนึ่งให้กับเด็กเพื่อเตรียมออกไปเจอกับสังคมภายนอกเมื่อโตขึ้นไปพร้อมกันด้วย
เมื่อพิจารณาทั้งหมดนี้แล้วการเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนใหม่มันก็ยังไม่เห็นข้อเสียอะไรที่ทำให้แย่ลงใช่มั้ยครับ มีแต่ดีขึ้นกับเหมือนเดิม ซึ่งผมเองก็ไม่รู้หรอกว่าถ้าทำจริงแล้วมันจะมีปัญหาอะไรที่เราคิดไม่ถึงหรือเปล่า แต่ถ้าเราเปิดใจสักหน่อย ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ยอมปรับเปลี่ยน มันก็จะกลายเป็นการพัฒนาขึ้นไปได้ เพราะการยอมเปลี่ยนอย่างนี้มันไม่ใช่เรื่องของแฟชั่นแต่เป็นเรื่องของการปรับให้เหมาะสมกับยุคสมัย และมันจะให้ผลในการฝึกสอนเด็กในทางปฏิบัติเกี่ยวกับด้านต่างๆ เข้ามาด้วยครับ