ครั้งหนึ่งโลกภาพยนตร์เคยเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายนานาชนิดที่พร้อมจะปลดปล่อยความคลั่งแล้วละเลงเลือดของเหยื่อให้ท่วมจอภาพยนตร์ ก่อนที่ความนิยมของพวกมันจะลดทอนไปตามกาลเวลาจนต้องอพยพไปอาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กๆ อย่างดีวีดี และเคเบิ้ลทีวี แต่เชื่อว่าอีกไม่นาน.. ‘พวกมัน’ จะกลับมาโลกภาพยนตร์ เปลี่ยนให้เป็นแหล่งละเลงเลือดของพวกมันอีกครั้ง
สัตว์คลั่งสายพันธุ์เหี้ยมที่ขึ้นชื่อที่สุดในโลกภาพยนตร์..พวกมันอาศัยอยู่ใต้ผืนสมุทร แต่ถ้าจะให้พูดไปถึงมังกรทะเล ปลาหมึกยักษ์ หรือสัตว์กลายพันธุ์อื่นๆ ความน่ากลัวของพวกมันคงทำได้แค่อยู่ในโลกภาพยนตร์ และพวกมันคงอยู่ลึกลงไปเกินกว่าที่เราจะพบเจอมันได้ง่ายๆ ดังนั้น เราจะขอยก 1 ในสัตว์ร้ายที่ในโลกความเป็นจริง เราเองก็สามารถพบมันได้ทั่วไปเช่นกัน..สัตว์ร้ายชนิดนั้นคือ ‘ฉลาม’ ซึ่งมีอยู่ในโลกความเป็นจริง พบเจอได้แม้เราจะอยู่เพียงผิวน้ำมหาสมุทร และที่สำคัญ มันกลายเป็นซุปเปอร์สตาร์สายสยองที่ยึดครองผืนน้ำในโลกภาพยนตร์ไปแล้วเรียบร้อย โดยเราจะหยิบเอา ‘หนังฉลาม’ ที่ถือว่าเป็นสุดยอดความประทับใจตลอดความทรงจำของผมเองเท่าที่เคยดูหนังฉลามมาทั้งสิ้นถึง 10 เรื่อง โดยหวังว่า หลายๆ เรื่องใน 10 เรื่องนี้ ผู้อ่านบางท่านจะมีความประทับใจที่ตรงใจกันนะครับ..
“ฉลามมีดวงตาที่ดูไร้ชีวิต..สีดำสนิทเหมือนตุ๊กตา
เมื่อมันพุ่งตรงมาที่คุณ มันดูไม่เหมือนสิ่งมีชีวิต
จนมันอ้าปากขย้ำคุณนั่นแหละ..
คุณจะได้ยินแต่เสียงตัวเองกรีดร้อง น้ำทะเลรอบๆ ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงฉาน
แต่ต่อให้คุณกรีดร้องเท่าไหร่..มันก็ไม่หยุดขย้ำคุณอยู่ดี”
โคตรเขี้ยวมฤตยู
เดือน พฤษภาคม ปี 1974 ‘สตีเวน สปีลเบิร์ก’ ชายหนุ่มวัย 28 ปีผู้หวังจะยกระดับการเป็นผู้ผลิตสื่อบันเทิงจากตำแหน่งผู้กำกับละครทีวี สู่ตำแหน่งผู้กำกับภาพยนตร์แห่งฮอลลีวู้ด ได้รับการติดต่อจาก ‘เดวิด บราวน์’ และ ริชาร์ด ดี. ซานุก คู่หูโปรดิวเซอร์ที่หยิบเอาหนังสือชื่อ ‘JAWS’ นวนิยายสยองขวัญเล่าถึงเหตุการณ์ที่ฉลามตัวหนึ่งหลุดเข้ามาในเขตของมนุษย์ ณ ชายหาดนิวอิงแลนด์ ทำให้เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งต้องรวมกลุ่มกันออกไปล่าฉลาม แต่กลายเป็นว่า เหล่าเจ้าหน้าที่ได้พาตัวเองไปอยู่ใจกลางอาณาเขตของมันเสียเอง จนกลายเป็นเรื่องราวการเอาชีวิตรอดของเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งจากฉลามขาวยักษ์ที่รอสังเวยชีวิตของพวกเขาไปทีละคน สปีลเบิร์กตอบตกลงไปในทันที ด้วยความยังเลือดใหม่ไฟแรง ต้องการไต่ระดับความฝัน และเคยรวมงานกับ บราวน์ และ ดี. ซานุก โดยที่สปีลเบิร์กเองก็ไม่รู้ว่าที่คู่หูโปรดิวเซอร์ติดต่อมา จะให้ไปกำกับหนังแนวไหน..รู้แค่ว่ามันคือหนังที่จะได้ฉายในโรง
“ผมยังจำได้..
ตอนที่ผมได้ไปพบกับบราวน์ และดี. ซานุก
บนโต๊ะมีกระดาษปึกหนาที่น่าจะเป็นบทหนังอยู่
บนปกมันมีว่า ‘JAWS’
ตอนนั้นผมยังไม่รู้เลยว่ามันเป็นหนังเกี่ยวกับอะไร
ผมนึกว่ามันเป็นหนังเกี่ยวกับหมอฟัน”
สตีเวน สปีลเบิร์ก วัย 28 ปี

สตีตเวน สปีลเบิร์ก ได้รับทุนการถ่ายทำหลังเสร็จสิ้นการเขียนบทจาก Universal Pictures มากว่า 8 ล้านเหรียญ ก่อนจะออกกองถ่ายด้วยความกระตือรือร้น ตื่นเต้น และไฟแรงตามวัย ทว่า ความไฟแรงนั้นไม่อาจเป็นเชื้อเพลิงให้กองถ่ายของสปีลเบิร์กดำเนินการถ่ายทำไปได้อย่างราบรื่นสักเท่าไหร่ เนื่องจากวิทยาการในยุค 70s นั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์รุ่นไหนที่จะสามารถเนรมิตฉลามสักตัวมาแหวกว่ายใต้ผืนน้ำได้อย่างสมจริง ดังนั้น สปีลเบิร์ก และทีมผู้สร้างจึงเลือกการสร้างหุ่นกลไกขึ้นมาเพื่อความเหมือนจริง ให้นักแสดงได้ต่อกรกับมันได้อย่างสมบทบาท แต่ถึงอย่างนั้น การสร้างหุ่นกลไกเองก็ใช้เวลานานพอสมควร จนสปีลเบิร์กที่มากับทีมงานได้ไกลเกินกว่าจะพักกลางทางต้องเลือกถ่ายทำฉากที่ไม่ต้องใช้หุ่นฉลามไปก่อน จนกระทั่งมาถึงคิวถ่ายที่เหล่าทีมงานและนักแสดงตัวละครสำคัญต้องออกกองถ่ายทำกลางทะเลกันแล้ว หุ่นฉลามก็ยังไม่พร้อม สปีลเบิร์กจึงต้องเค้นหาวิธีที่จะทำให้สุดท้ายแล้ว ผู้ชมจะรู้สึกกลัวได้โดยไม่จำเป็นต้องมีฉลามโผล่มาให้เห็นจะๆ จึงเกิดเป็นเทคนิค ‘Sight and Sound’ นั่นคือ การเล่นกับภาพและดนตรีประกอบ หรือเสียงของบรรยากาศค่อยๆ สร้างฐานความคิดให้กับคนดูแบบไต่ระดับความระทึกขึ้นเรื่อยๆ กรณีนี้ คือการถ่ายทอดภาพความกว้างของผืนทะเล และดนตรีประกอบจนคนดูรู้สึกว่า ทะเลคือสถานที่ที่น่ากลัว ซึ่งการดำเนินการถ่ายทำฉากสยองขวัญโดยอาศัยเทคนิค Sight and Sound ก็ทำให้สปีลเบิร์กวัย 28 ปีต้องปรับแผนการถ่ายทำกันยกใหญ่โดยทำใจล่วงหน้าแล้วว่า
“ท่าทางหนังเรื่องนี้..
คนดูจะไม่ได้เห็นฉลามเลย
แม้แต่ตัวเดียว”
ทว่าการดำเนินการถ่ายทำด้วยเทคนิคนี้ ก็เป็นการซื้อเวลาให้ทีมงานที่รับหน้าที่สร้างหุ่นฉลาม ได้สร้างมันออกมาอย่างสมบูรณ์แบบชนิดเส้นยาแดงผ่าแปด ก่อนจะใช้มันเข้าฉากร่วมกับนักแสดงได้อย่างน่าเกรงขาม และสมจริง จนในที่สุด กองถ่ายภาพยนตร์ JAWS ก็ปิดกล้องลงไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ความเหนื่อยล้า และความท้อแท้จากครั้งจากการถ่ายทำภาพยนตร์ฉายโรงใหญ่ครั้งแรกในชีวิต มันเกินกว่าที่มือใหม่อย่าง สตีเวน สปีลเบิร์ก จะรับไหว จนเขาถึงประกาศกลางกองถ่ายว่า..
“เสร็จงานนี้แล้ว
ผมจะกลับไปทำละครทีวี
ไม่เอาอีกแล้วกับหนังใหญ่”
แต่ใครเลยจะรู้เมื่อ JAWS ที่แทบจะเป็น 1 ในประสบการณ์ถ่ายทำที่แย่ที่สุดของสปีลเบิร์ก ได้ลงโรงฉายในปี 1975 กลับสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมในยุคนั้นเกินกว่าที่ใครจะนึกฝัน กับหนังฉลามตัวเดียวไล่กินคนกลางทะเลที่กวาดรายได้กว่า 260 ล้านเหรียญ กลายเป็นหนังที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอย่างไม่มีใครเทียบ แถมยังเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แต่ถึงแม้จะชวดรางวัลสาขานั้นไป.. เจ้าฉลามวายร้ายแห่ง JAWS ก็งาบเอาสาขาตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม ,ตัดต่อภาพยอดเยี่ยม และเพลงประกอบยอดเยี่ยมมาไว้ในครอบครองจนได้ ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ไม่มีหนังสัตว์คลั่งเรื่องไหนอีกเลยที่สามารถเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ก่อนที่ในปี 1977 อันดับรายได้สูงสุดตลอดกาลของเจ้าฉลามวายร้ายจะจมทะเลไปด้วยฝีมือของเพื่อนสนิทร่วมชั้นเรียนวิชาภาพยนตร์อย่าง ‘จอร์จ ลูคัส’ ที่พากองทัพจักรวรรดิ และกองกำลังฝ่ายกบฎมาปะทะกันท่ามกลางหมู่ดาวด้วยปืนเลเซอร์กับกระบี่แสงในชื่อเรื่อง ‘STAR WARS’
ถึงอย่างนั้น JAWS ก็ได้กลายเป็นการต่อยอดทางแรงบันดาลใจครั้งสำคัญของเหล่าผู้สร้างหนังที่ต้องการจะส่งบรรดาสัตว์คลั่งลงสนามละเลงเลือดแห่งจอภาพยนตร์ แม้แต่เฟรนไชส์สยองขวัญระดับจักรวาลอย่าง ‘ALIEN’ ของผู้กำกับ ‘ริดลีย์ สก็อตต์’ ก็ถูกคู่หูมือเขียนบท ‘แดน โอ แบนนอน’ กับ ‘โรนัลด์ ชูเชต์’ นำเจ้า Xenomorph ไปเร่ขายคอนเซปต์ของหนังด้วยประโยคนิยามอย่างง่ายๆ ว่า “JAWS เวอร์ชั่นอวกาศ” ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไปตามๆ กัน
นอกจากนี้บารมีของสัตว์ร้ายใต้ผืนน้ำของ JAWS ก็ได้เป็นแรงบันดาลใจให้อีก 1 เฟรนไชส์สัตว์น้ำพันธุ์คลั่งอันแสนจะตราตรึงในความทรงจำได้ถือกำเนิดขึ้น นั่นคือ ‘Piranha’ (ปิรันย่า) และความประสบความสำเร็จของ Piranha ที่ถึงแม้จะเวิร์คแค่ 2 ภาค นั่นคือต้นฉบับในปี 1978 และรีเมคในปี 2010 แต่ก็เป็นหนังเรื่องเดียวในบรรดาหนังปลาฆ่าคนแรงบันดาลใจจาก JAWS ที่สตีเวน สปีลเบิร์ก ออกมาชมเองว่า “ดีที่สุด” ในประเภทเดียวกัน
ความสำเร็จของ JAWS ไม่ใช่แค่เพียงการเป็นหนังทำรายได้ถล่มทลาย..หนังรางวัลชั้นยอด หรือการเป็นหนังแรงบันดาลใจชั้นเยี่ยม..แม้แต่ 1 ในประโยคสั้นๆ ที่มาจากบทพูดในหนัง JAWS ก็กลายมาเป็นสำนวนที่ใช้กันอย่างสากล ความหมายของสำนวนนั้นมันหมายถึง “การประสบปัญหาที่ยากจะข้ามพ้นไปได้” แต่น้อยคนมากที่จะรู้ว่าสำนวนแสนคมคายนั้นเกิดขึ้นมาเพียงแค่การแก้บทกันสดๆ ของสตีเวน สปีลเบิร์ก และรอย ไชเดอร์ นักแสดงนำของเรื่อง ในฉากที่ตัวละคร ‘โบรดี้’ ตัวเอกของเรื่อง ได้เห็นฉลามอย่างเต็มๆ ตาครั้งแรก ด้วยขนาดอันมหึมาของมัน ทำให้โบรดี้ต้องหันมาพูดกับเจ้าหน้าที่คนอื่นว่า..
“You need a bigger boat”
และแน่นอนว่า ถ้าปล่อยให้มีหนังเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ JAWS ผลัดมือกันมาครองบัลลังก์วังบาดาลเลือด ถึงแม้ว่าบางเรื่องจะได้แรงบันดาลใจจาก JAWS เอง แต่ถ้าต้นตำหรับอย่าง JAWS เอง ไม่มีการทำ ‘ภาคต่อ’ มันก็ดูจะน้อยหน้ากันไปหน่อย ด้วยผลสำเจ็จต่างๆ ที่รวมกันมา ทาง Universal จึงกดไฟเขียวอนุมัติโปรเจ็คภาคต่อของ JAWS ให้แก่เหล่า)รดิวเซอร์ และมือเขียนบททันที แต่ทว่า..
“ผมเคยบอกไปแล้ว..
ผมจะกลับไปทำแค่ละครทีวี
ผมจะไม่ทำหนังใหญ่อีกแล้ว”
สปีลเบิร์กในสภาพจิตใจที่ค่อนข้างเหนื่อยล้ากับการกำกับหนังใหญ่ครั้งแรกในชีวิตก็ให้คำตอบตามความรู้สึกของเขาจริงๆ จนทีมงานต้องเฟ้นตัวหาผู้กำกับคนใหม่ที่มีโปรไฟล์คล้ายกันนั่นคือ “มาจากละครทีวี” จนกระทั่ง JAWS ได้มีภาคต่อสมใจค่ายไปถึงอีก 3 ภาค รวมทั้งหมดเป็น 4 ภาค แต่ก็ต้องยอมรับว่า ด้วยการดำเนินเรื่องที่ยังเดินด้วยเส้นเดิม มันทำให้ไม่มีอะไรใหม่ให้ดูสำหรับเฟรนไชส์นี้เลย ต่อให้มีตัวละครใหม่ๆ และวิธีการฆ่าฉลามที่แตกต่างกันออกไปก็ตาม..บัลลังก์บาดาลเลือดของ JAWS จึงต้องลาไปในปี 1987 ด้วยภาคที่ 4 หรือ ‘JAWS: The Revenge’
จุดจบของเฟรนไชส์ฉลามฆ่าคนเรื่องแรกของโลกอาจจะจบลงไม่สวยงามเท่าไหร่นัก แต่ก็ไม่มีทางที่จะคัดค้านได้เลยว่า JAWS กลายเป็นหนังสัตว์คลั่งอันดับต้นๆ ของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไปแล้วอย่างไม่มีใครเทียบ นับจากหนังนกนางนวลฆ่าคนอย่าง The Birds ของอัลเฟรด ฮิทช์ค็อก
แม้ว่าเวลาผ่านไปหลายสิบปี แต่ JAWS เองก็ยังเป็นฝันร้ายที่หลอกหลอนตัวสตีเวน สปีลเบิร์กในหลายๆ คืน..มีบางคืนที่สปีลเบิร์กในปัจจุบันฝันว่าเขาตื่นมาในวันที่ 3 ของการถ่ายทำ จนต้องสะดุ้งตื่น ปวดหัวอย่างแรง ก่อนจะนอนต่อแล้วฝันว่าตัวเองได้มาอยู่ในวันที่ 4 ของการถ่ายทำ ซึ่งมันเหลืออีก 146 วันที่สปีลเบิร์กจำเป็นต้อง ‘หาเรือใหญ่กว่านี้’ ในการถ่ายทำ JAWS
“JAWS เป็น 1 ในความภูมิใจที่สุดในชีวิต
มันเป็นหนังที่สนุกมากเมื่อได้ดู
..แต่ไม่สนุกเลยที่ต้องมาทำเอง”
- สตีเวน สปีลเบิร์ก –
เสพสยอง | เผชิญเขี้ยวสยองใต้ผืนน้ำ..ก่อนดิ่งลึก 47 เมตร..และรีวิวหนัง | DEVA HELLBLAZER
ครั้งหนึ่งโลกภาพยนตร์เคยเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายนานาชนิดที่พร้อมจะปลดปล่อยความคลั่งแล้วละเลงเลือดของเหยื่อให้ท่วมจอภาพยนตร์ ก่อนที่ความนิยมของพวกมันจะลดทอนไปตามกาลเวลาจนต้องอพยพไปอาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กๆ อย่างดีวีดี และเคเบิ้ลทีวี แต่เชื่อว่าอีกไม่นาน.. ‘พวกมัน’ จะกลับมาโลกภาพยนตร์ เปลี่ยนให้เป็นแหล่งละเลงเลือดของพวกมันอีกครั้ง
สัตว์คลั่งสายพันธุ์เหี้ยมที่ขึ้นชื่อที่สุดในโลกภาพยนตร์..พวกมันอาศัยอยู่ใต้ผืนสมุทร แต่ถ้าจะให้พูดไปถึงมังกรทะเล ปลาหมึกยักษ์ หรือสัตว์กลายพันธุ์อื่นๆ ความน่ากลัวของพวกมันคงทำได้แค่อยู่ในโลกภาพยนตร์ และพวกมันคงอยู่ลึกลงไปเกินกว่าที่เราจะพบเจอมันได้ง่ายๆ ดังนั้น เราจะขอยก 1 ในสัตว์ร้ายที่ในโลกความเป็นจริง เราเองก็สามารถพบมันได้ทั่วไปเช่นกัน..สัตว์ร้ายชนิดนั้นคือ ‘ฉลาม’ ซึ่งมีอยู่ในโลกความเป็นจริง พบเจอได้แม้เราจะอยู่เพียงผิวน้ำมหาสมุทร และที่สำคัญ มันกลายเป็นซุปเปอร์สตาร์สายสยองที่ยึดครองผืนน้ำในโลกภาพยนตร์ไปแล้วเรียบร้อย โดยเราจะหยิบเอา ‘หนังฉลาม’ ที่ถือว่าเป็นสุดยอดความประทับใจตลอดความทรงจำของผมเองเท่าที่เคยดูหนังฉลามมาทั้งสิ้นถึง 10 เรื่อง โดยหวังว่า หลายๆ เรื่องใน 10 เรื่องนี้ ผู้อ่านบางท่านจะมีความประทับใจที่ตรงใจกันนะครับ..
เมื่อมันพุ่งตรงมาที่คุณ มันดูไม่เหมือนสิ่งมีชีวิต
จนมันอ้าปากขย้ำคุณนั่นแหละ..
คุณจะได้ยินแต่เสียงตัวเองกรีดร้อง น้ำทะเลรอบๆ ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงฉาน
แต่ต่อให้คุณกรีดร้องเท่าไหร่..มันก็ไม่หยุดขย้ำคุณอยู่ดี”
โคตรเขี้ยวมฤตยู
เดือน พฤษภาคม ปี 1974 ‘สตีเวน สปีลเบิร์ก’ ชายหนุ่มวัย 28 ปีผู้หวังจะยกระดับการเป็นผู้ผลิตสื่อบันเทิงจากตำแหน่งผู้กำกับละครทีวี สู่ตำแหน่งผู้กำกับภาพยนตร์แห่งฮอลลีวู้ด ได้รับการติดต่อจาก ‘เดวิด บราวน์’ และ ริชาร์ด ดี. ซานุก คู่หูโปรดิวเซอร์ที่หยิบเอาหนังสือชื่อ ‘JAWS’ นวนิยายสยองขวัญเล่าถึงเหตุการณ์ที่ฉลามตัวหนึ่งหลุดเข้ามาในเขตของมนุษย์ ณ ชายหาดนิวอิงแลนด์ ทำให้เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งต้องรวมกลุ่มกันออกไปล่าฉลาม แต่กลายเป็นว่า เหล่าเจ้าหน้าที่ได้พาตัวเองไปอยู่ใจกลางอาณาเขตของมันเสียเอง จนกลายเป็นเรื่องราวการเอาชีวิตรอดของเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งจากฉลามขาวยักษ์ที่รอสังเวยชีวิตของพวกเขาไปทีละคน สปีลเบิร์กตอบตกลงไปในทันที ด้วยความยังเลือดใหม่ไฟแรง ต้องการไต่ระดับความฝัน และเคยรวมงานกับ บราวน์ และ ดี. ซานุก โดยที่สปีลเบิร์กเองก็ไม่รู้ว่าที่คู่หูโปรดิวเซอร์ติดต่อมา จะให้ไปกำกับหนังแนวไหน..รู้แค่ว่ามันคือหนังที่จะได้ฉายในโรง
ตอนที่ผมได้ไปพบกับบราวน์ และดี. ซานุก
บนโต๊ะมีกระดาษปึกหนาที่น่าจะเป็นบทหนังอยู่
บนปกมันมีว่า ‘JAWS’
ตอนนั้นผมยังไม่รู้เลยว่ามันเป็นหนังเกี่ยวกับอะไร
ผมนึกว่ามันเป็นหนังเกี่ยวกับหมอฟัน”
สตีตเวน สปีลเบิร์ก ได้รับทุนการถ่ายทำหลังเสร็จสิ้นการเขียนบทจาก Universal Pictures มากว่า 8 ล้านเหรียญ ก่อนจะออกกองถ่ายด้วยความกระตือรือร้น ตื่นเต้น และไฟแรงตามวัย ทว่า ความไฟแรงนั้นไม่อาจเป็นเชื้อเพลิงให้กองถ่ายของสปีลเบิร์กดำเนินการถ่ายทำไปได้อย่างราบรื่นสักเท่าไหร่ เนื่องจากวิทยาการในยุค 70s นั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์รุ่นไหนที่จะสามารถเนรมิตฉลามสักตัวมาแหวกว่ายใต้ผืนน้ำได้อย่างสมจริง ดังนั้น สปีลเบิร์ก และทีมผู้สร้างจึงเลือกการสร้างหุ่นกลไกขึ้นมาเพื่อความเหมือนจริง ให้นักแสดงได้ต่อกรกับมันได้อย่างสมบทบาท แต่ถึงอย่างนั้น การสร้างหุ่นกลไกเองก็ใช้เวลานานพอสมควร จนสปีลเบิร์กที่มากับทีมงานได้ไกลเกินกว่าจะพักกลางทางต้องเลือกถ่ายทำฉากที่ไม่ต้องใช้หุ่นฉลามไปก่อน จนกระทั่งมาถึงคิวถ่ายที่เหล่าทีมงานและนักแสดงตัวละครสำคัญต้องออกกองถ่ายทำกลางทะเลกันแล้ว หุ่นฉลามก็ยังไม่พร้อม สปีลเบิร์กจึงต้องเค้นหาวิธีที่จะทำให้สุดท้ายแล้ว ผู้ชมจะรู้สึกกลัวได้โดยไม่จำเป็นต้องมีฉลามโผล่มาให้เห็นจะๆ จึงเกิดเป็นเทคนิค ‘Sight and Sound’ นั่นคือ การเล่นกับภาพและดนตรีประกอบ หรือเสียงของบรรยากาศค่อยๆ สร้างฐานความคิดให้กับคนดูแบบไต่ระดับความระทึกขึ้นเรื่อยๆ กรณีนี้ คือการถ่ายทอดภาพความกว้างของผืนทะเล และดนตรีประกอบจนคนดูรู้สึกว่า ทะเลคือสถานที่ที่น่ากลัว ซึ่งการดำเนินการถ่ายทำฉากสยองขวัญโดยอาศัยเทคนิค Sight and Sound ก็ทำให้สปีลเบิร์กวัย 28 ปีต้องปรับแผนการถ่ายทำกันยกใหญ่โดยทำใจล่วงหน้าแล้วว่า
คนดูจะไม่ได้เห็นฉลามเลย
แม้แต่ตัวเดียว”
ทว่าการดำเนินการถ่ายทำด้วยเทคนิคนี้ ก็เป็นการซื้อเวลาให้ทีมงานที่รับหน้าที่สร้างหุ่นฉลาม ได้สร้างมันออกมาอย่างสมบูรณ์แบบชนิดเส้นยาแดงผ่าแปด ก่อนจะใช้มันเข้าฉากร่วมกับนักแสดงได้อย่างน่าเกรงขาม และสมจริง จนในที่สุด กองถ่ายภาพยนตร์ JAWS ก็ปิดกล้องลงไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ความเหนื่อยล้า และความท้อแท้จากครั้งจากการถ่ายทำภาพยนตร์ฉายโรงใหญ่ครั้งแรกในชีวิต มันเกินกว่าที่มือใหม่อย่าง สตีเวน สปีลเบิร์ก จะรับไหว จนเขาถึงประกาศกลางกองถ่ายว่า..
ผมจะกลับไปทำละครทีวี
ไม่เอาอีกแล้วกับหนังใหญ่”
แต่ใครเลยจะรู้เมื่อ JAWS ที่แทบจะเป็น 1 ในประสบการณ์ถ่ายทำที่แย่ที่สุดของสปีลเบิร์ก ได้ลงโรงฉายในปี 1975 กลับสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมในยุคนั้นเกินกว่าที่ใครจะนึกฝัน กับหนังฉลามตัวเดียวไล่กินคนกลางทะเลที่กวาดรายได้กว่า 260 ล้านเหรียญ กลายเป็นหนังที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอย่างไม่มีใครเทียบ แถมยังเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แต่ถึงแม้จะชวดรางวัลสาขานั้นไป.. เจ้าฉลามวายร้ายแห่ง JAWS ก็งาบเอาสาขาตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม ,ตัดต่อภาพยอดเยี่ยม และเพลงประกอบยอดเยี่ยมมาไว้ในครอบครองจนได้ ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ไม่มีหนังสัตว์คลั่งเรื่องไหนอีกเลยที่สามารถเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ก่อนที่ในปี 1977 อันดับรายได้สูงสุดตลอดกาลของเจ้าฉลามวายร้ายจะจมทะเลไปด้วยฝีมือของเพื่อนสนิทร่วมชั้นเรียนวิชาภาพยนตร์อย่าง ‘จอร์จ ลูคัส’ ที่พากองทัพจักรวรรดิ และกองกำลังฝ่ายกบฎมาปะทะกันท่ามกลางหมู่ดาวด้วยปืนเลเซอร์กับกระบี่แสงในชื่อเรื่อง ‘STAR WARS’
ถึงอย่างนั้น JAWS ก็ได้กลายเป็นการต่อยอดทางแรงบันดาลใจครั้งสำคัญของเหล่าผู้สร้างหนังที่ต้องการจะส่งบรรดาสัตว์คลั่งลงสนามละเลงเลือดแห่งจอภาพยนตร์ แม้แต่เฟรนไชส์สยองขวัญระดับจักรวาลอย่าง ‘ALIEN’ ของผู้กำกับ ‘ริดลีย์ สก็อตต์’ ก็ถูกคู่หูมือเขียนบท ‘แดน โอ แบนนอน’ กับ ‘โรนัลด์ ชูเชต์’ นำเจ้า Xenomorph ไปเร่ขายคอนเซปต์ของหนังด้วยประโยคนิยามอย่างง่ายๆ ว่า “JAWS เวอร์ชั่นอวกาศ” ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไปตามๆ กัน
นอกจากนี้บารมีของสัตว์ร้ายใต้ผืนน้ำของ JAWS ก็ได้เป็นแรงบันดาลใจให้อีก 1 เฟรนไชส์สัตว์น้ำพันธุ์คลั่งอันแสนจะตราตรึงในความทรงจำได้ถือกำเนิดขึ้น นั่นคือ ‘Piranha’ (ปิรันย่า) และความประสบความสำเร็จของ Piranha ที่ถึงแม้จะเวิร์คแค่ 2 ภาค นั่นคือต้นฉบับในปี 1978 และรีเมคในปี 2010 แต่ก็เป็นหนังเรื่องเดียวในบรรดาหนังปลาฆ่าคนแรงบันดาลใจจาก JAWS ที่สตีเวน สปีลเบิร์ก ออกมาชมเองว่า “ดีที่สุด” ในประเภทเดียวกัน
ความสำเร็จของ JAWS ไม่ใช่แค่เพียงการเป็นหนังทำรายได้ถล่มทลาย..หนังรางวัลชั้นยอด หรือการเป็นหนังแรงบันดาลใจชั้นเยี่ยม..แม้แต่ 1 ในประโยคสั้นๆ ที่มาจากบทพูดในหนัง JAWS ก็กลายมาเป็นสำนวนที่ใช้กันอย่างสากล ความหมายของสำนวนนั้นมันหมายถึง “การประสบปัญหาที่ยากจะข้ามพ้นไปได้” แต่น้อยคนมากที่จะรู้ว่าสำนวนแสนคมคายนั้นเกิดขึ้นมาเพียงแค่การแก้บทกันสดๆ ของสตีเวน สปีลเบิร์ก และรอย ไชเดอร์ นักแสดงนำของเรื่อง ในฉากที่ตัวละคร ‘โบรดี้’ ตัวเอกของเรื่อง ได้เห็นฉลามอย่างเต็มๆ ตาครั้งแรก ด้วยขนาดอันมหึมาของมัน ทำให้โบรดี้ต้องหันมาพูดกับเจ้าหน้าที่คนอื่นว่า..
และแน่นอนว่า ถ้าปล่อยให้มีหนังเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ JAWS ผลัดมือกันมาครองบัลลังก์วังบาดาลเลือด ถึงแม้ว่าบางเรื่องจะได้แรงบันดาลใจจาก JAWS เอง แต่ถ้าต้นตำหรับอย่าง JAWS เอง ไม่มีการทำ ‘ภาคต่อ’ มันก็ดูจะน้อยหน้ากันไปหน่อย ด้วยผลสำเจ็จต่างๆ ที่รวมกันมา ทาง Universal จึงกดไฟเขียวอนุมัติโปรเจ็คภาคต่อของ JAWS ให้แก่เหล่า)รดิวเซอร์ และมือเขียนบททันที แต่ทว่า..
ผมจะกลับไปทำแค่ละครทีวี
ผมจะไม่ทำหนังใหญ่อีกแล้ว”
สปีลเบิร์กในสภาพจิตใจที่ค่อนข้างเหนื่อยล้ากับการกำกับหนังใหญ่ครั้งแรกในชีวิตก็ให้คำตอบตามความรู้สึกของเขาจริงๆ จนทีมงานต้องเฟ้นตัวหาผู้กำกับคนใหม่ที่มีโปรไฟล์คล้ายกันนั่นคือ “มาจากละครทีวี” จนกระทั่ง JAWS ได้มีภาคต่อสมใจค่ายไปถึงอีก 3 ภาค รวมทั้งหมดเป็น 4 ภาค แต่ก็ต้องยอมรับว่า ด้วยการดำเนินเรื่องที่ยังเดินด้วยเส้นเดิม มันทำให้ไม่มีอะไรใหม่ให้ดูสำหรับเฟรนไชส์นี้เลย ต่อให้มีตัวละครใหม่ๆ และวิธีการฆ่าฉลามที่แตกต่างกันออกไปก็ตาม..บัลลังก์บาดาลเลือดของ JAWS จึงต้องลาไปในปี 1987 ด้วยภาคที่ 4 หรือ ‘JAWS: The Revenge’
จุดจบของเฟรนไชส์ฉลามฆ่าคนเรื่องแรกของโลกอาจจะจบลงไม่สวยงามเท่าไหร่นัก แต่ก็ไม่มีทางที่จะคัดค้านได้เลยว่า JAWS กลายเป็นหนังสัตว์คลั่งอันดับต้นๆ ของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไปแล้วอย่างไม่มีใครเทียบ นับจากหนังนกนางนวลฆ่าคนอย่าง The Birds ของอัลเฟรด ฮิทช์ค็อก
แม้ว่าเวลาผ่านไปหลายสิบปี แต่ JAWS เองก็ยังเป็นฝันร้ายที่หลอกหลอนตัวสตีเวน สปีลเบิร์กในหลายๆ คืน..มีบางคืนที่สปีลเบิร์กในปัจจุบันฝันว่าเขาตื่นมาในวันที่ 3 ของการถ่ายทำ จนต้องสะดุ้งตื่น ปวดหัวอย่างแรง ก่อนจะนอนต่อแล้วฝันว่าตัวเองได้มาอยู่ในวันที่ 4 ของการถ่ายทำ ซึ่งมันเหลืออีก 146 วันที่สปีลเบิร์กจำเป็นต้อง ‘หาเรือใหญ่กว่านี้’ ในการถ่ายทำ JAWS
มันเป็นหนังที่สนุกมากเมื่อได้ดู
..แต่ไม่สนุกเลยที่ต้องมาทำเอง”
- สตีเวน สปีลเบิร์ก –