จรวดสกัดกั้นของระบบป้องกันขีปนาวุธ THAAD ถูกยิงออกจากบริเวณกลุ่มอาคารแปซิฟิก สเปซพอร์ต ในเมืองโคดิแอค รัฐอะแลสกา ระหว่างการทดสอบเมื่อวันอังคาร (11 ก.ค.) ซึ่งสำนักงานป้องกันขีปนาวุธสหรัฐฯระบุว่า สามารถเข้าทำลายขีปนาวุธนำวิถีพิสัยกลางกึ่งสูง (IRBM) ของข้าศึกจำลอง ซึ่งออกแบบให้มีลักษณะคล้ายๆ กับขีปนาวุธเกาหลีเหนือได้อย่างแม่นยำ
รอยเตอร์/MGR Online - สหรัฐฯ แถลงในวันอังคาร (11 ก.ค.) ว่าประสบความสำเร็จในการทดสอบใช้ระบบป้องกันขีปนาวุธ “ทาด” ยิงทำลายขีปนาวุธนำวิถีพิสัยกลางกึ่งสูง (IRBM) ของข้าศึกจำลอง ซึ่งออกแบบให้มีลักษณะคล้ายๆ กับจรวดที่กำลังพัฒนาอยู่ในหลายๆ ประเทศรวมทั้งเกาหลีเหนือด้วย
ถึงแม้การทดสอบระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกคราวนี้ มีการวางแผนล่วงหน้าเอาไว้หลายเดือนแล้ว แต่กำลังได้รับการจับตาให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นอีกมาก หลังจากเกาหลีเหนือได้ปล่อยขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป (intercontinental ballistic missile หรือ ICBM) อย่างประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ยิ่งมีความวิตกกังวลขึ้นอีกมากในเรื่องภัยคุกคามจากเปียงยาง
การทดสอบในวันอังคาร (11) ยังถือเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ นำเอาระบบป้องกันขีปนาวุธในบรรยากาศชั้นสูง (THAAD) มาสอยขีปนาวุธนำวิถีพิสัยกลางกึ่งสูง (intermediate-range ballistic missile หรือ IRBM) ที่กำลังบินรี่เข้ามา โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญบอกว่า IRBM เป็นเป้าหมายที่ความเร็วสูงกว่าและล็อคเป้าได้ยากกว่าพวกขีปนาวุธที่มีพิสัยทำการสั้นกว่า
สำนักงานป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ (US Missile Defense Agency ) แถลงว่า IRBM ข้าศึกจำลองที่ใช้ในการทดสอบคราวนี้ ถูกออกแบบให้แสดงพฤติกรรมคล้ายๆ กับพวกขีปนาวุธประเภทที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐฯ
“ความสำเร็จในการสาธิตใช้ THAAD สอยภัยคุกคามจากขีปนาวุธ IRBM ครั้งนี้ เป็นการเพิ่มพูนสมรรถนะของประเทศเราในการป้องกันภัยคุกคามด้านขีปนาวุธที่กำลังพัฒนาในเกาหลีเหนือและประเทศอื่นๆ” สำนักงานป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ ระบุในคำแถลง
ความสำเร็จของการทดสอบ THAAD คราวนี้ ถือเป็นการเพิ่มเครดิตความน่าเชื่อถือให้แก่โครงการป้องกันขีปนาวุธของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงไม่กี่หลังที่ผ่านมาได้ถูกตรวจสอบพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ภายหลังจากที่ต้องเลื่อนการทดสอบหรือว่าการทดสอบประสบความล้มเหลวมาแล้วหลายครั้งหลายหน
สำนักงานตรวจสอบภาระรับผิดชอบภาครัฐบาลสหรัฐฯ (US Government Accountability Office ) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านกำกับดูแล ได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในรายงานที่จัดทำเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า สำนักงานป้องกันขีปนาวุธไม่เคยทดลองใช้ THAAD ยิงสกัด IRBM มาก่อนเลย ถึงแม้นำเอาระบบป้องกันนี้มาติดตั้งประจำการอยู่บนเกาะกวม ที่เป็นดินแดนของสหรัฐฯ ในแปซิฟิก ตั้งแต่เมื่อปี 2013 สืบเนื่องจากความห่วงใยเกี่ยวกับโครงการขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
นั่นหมายความว่า ก่อนการทดสอบล่าสุดคราวนี้ ระบบ THAAD ยังไม่ได้มีสมรรถนะอันผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถสอย IRBM ซึ่งนิยามกันว่าหมายถึงขีปนาวุธที่มีพิสัยทำการระหว่าง 3,000-5,000 กม.ได้ ทั้งนี้เกาะกวมอยู่ห่างจากเกาหลีเหนือราวๆ 3,400 กม.
สำหรับการที่เกาหลีเหนือจะยิงขีปนาวุธมาถึงแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ ได้นั้นจะต้องใช้ ICBM ซึ่งนิยามกันว่า เป็นขีปนาวุธที่มีพิสัยทำการไกลกว่า 5,500 กม.
ในการทดสอบครั้งล่าสุด ซึ่งแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่กลาโหมผู้หนึ่งเปิดเผยว่ากระทำกันตอนช่วงเช้าวันอังคาร (11) ระบบ THAAD ชุดที่ประจำการอยู่ในเมืองโคดิแอค รัฐอะแลสกา สามารถสกัดถูกเป้าหมายขีปนาวุธนำวิถีลูกหนึ่งซึ่งยิงออกจากเครื่องบินซี-17 ที่กำลังบินอยู่ทางตอนเหนือของฮาวาย ทั้งนี้ตามคำแถลงของสำนักงานป้องกันขีปนาวุธ
คำแถลงระบุด้วยว่า ความสำเร็จนี้ส่งผลให้ระบบ THAAD มีสถิติยิงถูกเป้าหมายเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ จากทดสอบสกัดกั้นทั้ง 14 ครั้ง ซึ่งเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อราว 10 ปีเศษที่ผ่านมา
ล็อกฮีด มาร์ติน คอร์ป บริษัทผู้ทำสัญญาหลักในการผลิตระบบ THAAD คุยว่า ระบบนี้สามารถยิงสกัดขีปนาวุธข้าศึก ทั้งภายในและภายนอกชั้นบรรยากาศของโลก
สหรัฐฯนำระบบ THAAD เข้าประจำการในเกาหลีใต้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยระบุว่าเพื่อปกป้องจากภัยคุกคามขีปนาวุธพิสัยใกล้ของเกาหลีเหนือ แต่ทำให้มีเสียงประณามอย่างดุเดือดจากจีนและรัสเซีย ซึ่งบอกว่าเรดาร์ทรงอานุภาพของระบบนี้สามารถสอดส่องลึกเข้ามาภายในดินแดนของพวกเขา
ตอนต้นเดือนนี้ จีนและรัสเซียได้ออกถ้อยแถลงร่วมเรียกร้องให้วอชิงตันระงับการติดตั้ง THAAD ในเกาหลีใต้ทันที พร้อมเตือนสหรัฐฯว่าเอาปัญหาเกาหลีเหนือมาเป็นข้ออ้างขยายโครงสร้างพื้นฐานทางทหารในเอเชีย และเสี่ยงภัยที่จะทำให้เกิดการเสียสมดุลทางยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจในภูมิภาคนี้
อัตราความสำเร็จของTHAAD ในการยิงทดสอบนั้น สูงเลยล้ำกว่าระบบป้องกันขีปนาวุธอีกระบบหนึ่งของอเมริกา ซึ่งก็คือ ระบบป้องกันช่วงโคจรกลางที่มีฐานยิงจากภาคพื้นดิน (Ground-based Midcourse Defense System - GMD) ที่ออกแบบมาเพื่อยิงทำลายขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป ซึ่งมุ่งหน้าสู่แผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ
GMD มีอัตราประสบความสำเร็จในการยิงทดสอบเพียง 55% ตลอดอายุของโครงการ ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากกลุ่มต่างๆ เป็นต้นว่า สหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้สนใจห่วงใย (Union of Concerned Scientists) ซึ่งเป็นกลุ่มไม่แสวงหากำไรที่มุ่งจับประเด็นปัญหาสาธารณะในทางด้านวิทยาศาสตร์
แต่ฝ่ายสนับสนุนอ้างว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีของระบบป้องกันนี้ได้รับการปรับปรุงยกระดับขึ้นมาอย่างมากมาย ในการทดสอบครั้งหลังสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ระบบ GMD ก็ประสบความสำเร็จในการสอยเป้าหมายที่เป็น ICBM เกาหลีเหนือจำลอง
เรื่องนี้ทำให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) อัปเกรดข้อมูลผลการประเมินความสามารถของสหรัฐฯในการป้องกัน สำหรับกรณีที่มี ICBM จำนวนไม่มากยิงเข้ามา ทั้งนี้ตามบันทึกภายในฉบับหนึ่งซึ่งรอยเตอร์ได้เห็นมา
THAAD ซึ่งเป็นระบบป้องกันขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นดิน ออกแบบมาให้มีศักยภาพสอยได้ทั้งขีปนาวุธนำวิถีพิสัยใกล้ (short-range), พิสัยกลาง (medium-range) และกลางกึ่งสูง (intermediate-range)
แต่ จอห์น ชิลลิ่ง ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมเขียนเรื่องให้ “38 นอร์ท” (38 North) โครงการคอยเฝ้าติดตามเกาหลีเหนือ อันมีฐานอยู่ที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ ในกรุงวอชิงตัน ไม่ให้น้ำหนักแก่แนวความคิดที่ว่า อาจจะใช้ THAAD เป็นระบบสำรองในการยิงสกัดขีปนาวุธ ICBM แบบที่มีพิสัยไกลๆ ได้ โดยเขาบอกว่า THAAD ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ยิงขีปนาวุธพิสัยไกลๆ เช่นนั้นซึ่งจะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงมากๆ
“การนำเอา THAAD มาสู้กับ ICBM ก็เหมือนกับการขอให้ผู้เล่นเบสบอลระดับโรงเรียนไฮสกูลคนหนึ่ง มาตีลูกฟาสต์บอลซึ่งขว้างโดยพิตเชอร์จากระดับเมเจอร์ลีก นั่นคือในความเป็นจริงแล้วมันเกินเลยจากลีกที่เขาสังกัดอยู่ไปมาก” ชิลลิ่งกล่าว
สำนักงานป้องกันขีปนาวุธ ได้รายงานรัฐสภาสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า วางแผนจะนำส่งจรวดสกัดกั้นของระบบ THAAD (THAAD interceptors) ให้กองทัพบกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 52 ชุด ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2017 ถึงกันยายน 2018 ซึ่งจะทำให้จำนวนส่งมอบทั้งหมดอยู่ที่ 210 ชุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2011 เป็นต้นมา
ที่มา
https://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9600000071010
สหรัฐฯ ทดสอบระบบ “THAAD” ทำลายขีปนาวุธ IRBM จำลองเลียนแบบจรวดเกาหลีเหนือ
จรวดสกัดกั้นของระบบป้องกันขีปนาวุธ THAAD ถูกยิงออกจากบริเวณกลุ่มอาคารแปซิฟิก สเปซพอร์ต ในเมืองโคดิแอค รัฐอะแลสกา ระหว่างการทดสอบเมื่อวันอังคาร (11 ก.ค.) ซึ่งสำนักงานป้องกันขีปนาวุธสหรัฐฯระบุว่า สามารถเข้าทำลายขีปนาวุธนำวิถีพิสัยกลางกึ่งสูง (IRBM) ของข้าศึกจำลอง ซึ่งออกแบบให้มีลักษณะคล้ายๆ กับขีปนาวุธเกาหลีเหนือได้อย่างแม่นยำ
รอยเตอร์/MGR Online - สหรัฐฯ แถลงในวันอังคาร (11 ก.ค.) ว่าประสบความสำเร็จในการทดสอบใช้ระบบป้องกันขีปนาวุธ “ทาด” ยิงทำลายขีปนาวุธนำวิถีพิสัยกลางกึ่งสูง (IRBM) ของข้าศึกจำลอง ซึ่งออกแบบให้มีลักษณะคล้ายๆ กับจรวดที่กำลังพัฒนาอยู่ในหลายๆ ประเทศรวมทั้งเกาหลีเหนือด้วย
ถึงแม้การทดสอบระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกคราวนี้ มีการวางแผนล่วงหน้าเอาไว้หลายเดือนแล้ว แต่กำลังได้รับการจับตาให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นอีกมาก หลังจากเกาหลีเหนือได้ปล่อยขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป (intercontinental ballistic missile หรือ ICBM) อย่างประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ยิ่งมีความวิตกกังวลขึ้นอีกมากในเรื่องภัยคุกคามจากเปียงยาง
การทดสอบในวันอังคาร (11) ยังถือเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ นำเอาระบบป้องกันขีปนาวุธในบรรยากาศชั้นสูง (THAAD) มาสอยขีปนาวุธนำวิถีพิสัยกลางกึ่งสูง (intermediate-range ballistic missile หรือ IRBM) ที่กำลังบินรี่เข้ามา โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญบอกว่า IRBM เป็นเป้าหมายที่ความเร็วสูงกว่าและล็อคเป้าได้ยากกว่าพวกขีปนาวุธที่มีพิสัยทำการสั้นกว่า
สำนักงานป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ (US Missile Defense Agency ) แถลงว่า IRBM ข้าศึกจำลองที่ใช้ในการทดสอบคราวนี้ ถูกออกแบบให้แสดงพฤติกรรมคล้ายๆ กับพวกขีปนาวุธประเภทที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐฯ
“ความสำเร็จในการสาธิตใช้ THAAD สอยภัยคุกคามจากขีปนาวุธ IRBM ครั้งนี้ เป็นการเพิ่มพูนสมรรถนะของประเทศเราในการป้องกันภัยคุกคามด้านขีปนาวุธที่กำลังพัฒนาในเกาหลีเหนือและประเทศอื่นๆ” สำนักงานป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ ระบุในคำแถลง
ความสำเร็จของการทดสอบ THAAD คราวนี้ ถือเป็นการเพิ่มเครดิตความน่าเชื่อถือให้แก่โครงการป้องกันขีปนาวุธของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงไม่กี่หลังที่ผ่านมาได้ถูกตรวจสอบพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ภายหลังจากที่ต้องเลื่อนการทดสอบหรือว่าการทดสอบประสบความล้มเหลวมาแล้วหลายครั้งหลายหน
สำนักงานตรวจสอบภาระรับผิดชอบภาครัฐบาลสหรัฐฯ (US Government Accountability Office ) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านกำกับดูแล ได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในรายงานที่จัดทำเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า สำนักงานป้องกันขีปนาวุธไม่เคยทดลองใช้ THAAD ยิงสกัด IRBM มาก่อนเลย ถึงแม้นำเอาระบบป้องกันนี้มาติดตั้งประจำการอยู่บนเกาะกวม ที่เป็นดินแดนของสหรัฐฯ ในแปซิฟิก ตั้งแต่เมื่อปี 2013 สืบเนื่องจากความห่วงใยเกี่ยวกับโครงการขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
นั่นหมายความว่า ก่อนการทดสอบล่าสุดคราวนี้ ระบบ THAAD ยังไม่ได้มีสมรรถนะอันผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถสอย IRBM ซึ่งนิยามกันว่าหมายถึงขีปนาวุธที่มีพิสัยทำการระหว่าง 3,000-5,000 กม.ได้ ทั้งนี้เกาะกวมอยู่ห่างจากเกาหลีเหนือราวๆ 3,400 กม.
สำหรับการที่เกาหลีเหนือจะยิงขีปนาวุธมาถึงแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ ได้นั้นจะต้องใช้ ICBM ซึ่งนิยามกันว่า เป็นขีปนาวุธที่มีพิสัยทำการไกลกว่า 5,500 กม.
ในการทดสอบครั้งล่าสุด ซึ่งแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่กลาโหมผู้หนึ่งเปิดเผยว่ากระทำกันตอนช่วงเช้าวันอังคาร (11) ระบบ THAAD ชุดที่ประจำการอยู่ในเมืองโคดิแอค รัฐอะแลสกา สามารถสกัดถูกเป้าหมายขีปนาวุธนำวิถีลูกหนึ่งซึ่งยิงออกจากเครื่องบินซี-17 ที่กำลังบินอยู่ทางตอนเหนือของฮาวาย ทั้งนี้ตามคำแถลงของสำนักงานป้องกันขีปนาวุธ
คำแถลงระบุด้วยว่า ความสำเร็จนี้ส่งผลให้ระบบ THAAD มีสถิติยิงถูกเป้าหมายเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ จากทดสอบสกัดกั้นทั้ง 14 ครั้ง ซึ่งเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อราว 10 ปีเศษที่ผ่านมา
ล็อกฮีด มาร์ติน คอร์ป บริษัทผู้ทำสัญญาหลักในการผลิตระบบ THAAD คุยว่า ระบบนี้สามารถยิงสกัดขีปนาวุธข้าศึก ทั้งภายในและภายนอกชั้นบรรยากาศของโลก
สหรัฐฯนำระบบ THAAD เข้าประจำการในเกาหลีใต้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยระบุว่าเพื่อปกป้องจากภัยคุกคามขีปนาวุธพิสัยใกล้ของเกาหลีเหนือ แต่ทำให้มีเสียงประณามอย่างดุเดือดจากจีนและรัสเซีย ซึ่งบอกว่าเรดาร์ทรงอานุภาพของระบบนี้สามารถสอดส่องลึกเข้ามาภายในดินแดนของพวกเขา
ตอนต้นเดือนนี้ จีนและรัสเซียได้ออกถ้อยแถลงร่วมเรียกร้องให้วอชิงตันระงับการติดตั้ง THAAD ในเกาหลีใต้ทันที พร้อมเตือนสหรัฐฯว่าเอาปัญหาเกาหลีเหนือมาเป็นข้ออ้างขยายโครงสร้างพื้นฐานทางทหารในเอเชีย และเสี่ยงภัยที่จะทำให้เกิดการเสียสมดุลทางยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจในภูมิภาคนี้
อัตราความสำเร็จของTHAAD ในการยิงทดสอบนั้น สูงเลยล้ำกว่าระบบป้องกันขีปนาวุธอีกระบบหนึ่งของอเมริกา ซึ่งก็คือ ระบบป้องกันช่วงโคจรกลางที่มีฐานยิงจากภาคพื้นดิน (Ground-based Midcourse Defense System - GMD) ที่ออกแบบมาเพื่อยิงทำลายขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป ซึ่งมุ่งหน้าสู่แผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ
GMD มีอัตราประสบความสำเร็จในการยิงทดสอบเพียง 55% ตลอดอายุของโครงการ ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากกลุ่มต่างๆ เป็นต้นว่า สหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้สนใจห่วงใย (Union of Concerned Scientists) ซึ่งเป็นกลุ่มไม่แสวงหากำไรที่มุ่งจับประเด็นปัญหาสาธารณะในทางด้านวิทยาศาสตร์
แต่ฝ่ายสนับสนุนอ้างว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีของระบบป้องกันนี้ได้รับการปรับปรุงยกระดับขึ้นมาอย่างมากมาย ในการทดสอบครั้งหลังสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ระบบ GMD ก็ประสบความสำเร็จในการสอยเป้าหมายที่เป็น ICBM เกาหลีเหนือจำลอง
เรื่องนี้ทำให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) อัปเกรดข้อมูลผลการประเมินความสามารถของสหรัฐฯในการป้องกัน สำหรับกรณีที่มี ICBM จำนวนไม่มากยิงเข้ามา ทั้งนี้ตามบันทึกภายในฉบับหนึ่งซึ่งรอยเตอร์ได้เห็นมา
THAAD ซึ่งเป็นระบบป้องกันขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นดิน ออกแบบมาให้มีศักยภาพสอยได้ทั้งขีปนาวุธนำวิถีพิสัยใกล้ (short-range), พิสัยกลาง (medium-range) และกลางกึ่งสูง (intermediate-range)
แต่ จอห์น ชิลลิ่ง ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมเขียนเรื่องให้ “38 นอร์ท” (38 North) โครงการคอยเฝ้าติดตามเกาหลีเหนือ อันมีฐานอยู่ที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ ในกรุงวอชิงตัน ไม่ให้น้ำหนักแก่แนวความคิดที่ว่า อาจจะใช้ THAAD เป็นระบบสำรองในการยิงสกัดขีปนาวุธ ICBM แบบที่มีพิสัยไกลๆ ได้ โดยเขาบอกว่า THAAD ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ยิงขีปนาวุธพิสัยไกลๆ เช่นนั้นซึ่งจะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงมากๆ
“การนำเอา THAAD มาสู้กับ ICBM ก็เหมือนกับการขอให้ผู้เล่นเบสบอลระดับโรงเรียนไฮสกูลคนหนึ่ง มาตีลูกฟาสต์บอลซึ่งขว้างโดยพิตเชอร์จากระดับเมเจอร์ลีก นั่นคือในความเป็นจริงแล้วมันเกินเลยจากลีกที่เขาสังกัดอยู่ไปมาก” ชิลลิ่งกล่าว
สำนักงานป้องกันขีปนาวุธ ได้รายงานรัฐสภาสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า วางแผนจะนำส่งจรวดสกัดกั้นของระบบ THAAD (THAAD interceptors) ให้กองทัพบกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 52 ชุด ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2017 ถึงกันยายน 2018 ซึ่งจะทำให้จำนวนส่งมอบทั้งหมดอยู่ที่ 210 ชุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2011 เป็นต้นมา
ที่มา https://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9600000071010