เปิดสถิติ : ผลงานทีมชาติไทย WGP 2017 สนามแรก - กระทู้ด้วยรักถึงห้องวอลเลย์บอล

สวัสดีค่ะ ห่างหายไปพักใหญ่เลยเรา
สืบเนื่องจากกระแสโหมกระหน่ำหลัง WGP สนามแรกจบลง และมีหลายประเด็นที่เราอยากแสดงความเห็นแต่ยังไม่มีโอกาส จึงเป็นที่มาของกระทู้นี้ (คงเป็นกระทู้เดียวสำหรับ WGP 2017 นะคะ เพราะภาระงานถล่มหนักเหลือเกินช่วงนี้ ถถถถถ)

PART 1 - เปิดสถิติรายบุคคล มัน #ขาลง ขนาดนั้นจริงหรอ?
ส่วนนี้เราจะหยิบจับสถิติหลักๆของทั้ง 3 นัดมาตีแผ่นะคะ เพราะนี่คือข้อมูลที่จริงที่สุดแล้ว ละค่อยเสริมความเห็นส่วนตัวของเราเข้าไปต่อท้ายภายหลัง

บอลหลัก : เพียว บิ๋ม บีม
เพียวทำไป 34 แต้ม (2.83 per set) spike success rate 28.16% (29/103) eff. rate ได้ 52.94% (ปิดบอลแรก), dig 1.9 per set โดยเฉพาะเกมแรกกับญี่ปุ่น ขุดได้มากที่สุดในทีมถึง 2.8 per set
                              เพียวในสนามแรกยังคงเป็นหัวเสาที่รับบทหนักที่สุดในบรรดา 3 เสา ทั้งอัตราการเข้าทำและผลงาน ถามในมุมมองของเรา ด้วยเหตุที่น้องมีศักยภาพสูงมากๆ คือดันเพดานผลงานของตัวเองไว้สูง ในสนามนี้จึงยังไปไม่ถึงจุดนั้น มีช่องว่างที่น้องจะโชว์ผลงานออกมาได้อีกพอสมควร ซึ่งการรับบทบาท ace killer ด้วยวัย 22 มันก็ไม่ใช่งานเบานะคะ ต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย ส่วนสคิลอื่นเราว่าน้องทำได้ดีแล้ว


บิ๋มทำไป 26 แต้ม (2.6 per set) spike success rate 33.33% (23/69) reception eff. rate 57.14%, dig 1.4 per set
                              บิ๋มในเกมรุก 33.33% สำหรับหัวเสาเอเชียเราถือว่าผ่าน (ยกเว้นจะเป็น KYK, Zhu Ting หรือ Nagaoka ซึ่งปกติ success rate ค่อนข้างสูง) เทียบผลงานกับหัวเสาญี่ปุ่น โคกะ 33.06% อิชิอิ 31.91% เราไม่เป็นรองเลยนะคะ ส่วนบอลแรกในเกมที่ลง น้องต้องรับบทหนักมาก เรียกว่าล๊อคเป้ามาเลย ซึ่งจุดนี้เราให้ผ่านนะ แม้แต่กับทีมที่เสิร์ฟวัวตายความล้มอย่างโด บิ๋มก็ยังทำผลงานได้ดี แต่ทั้งหมดทั้งมวล สิ่งที่เราปลื้มใจไม่ใช่ตัวเลขพวกนี้เลยค่ะ บิ๋มคือเด็กที่ปี 2014 ถูกเข็นไป WCH ยังจำได้ไม๊ จากจุดนั้นผ่านมาแค่ 3 ปีเองนะ การที่น้องเทคตัวขึ้นตบ “โดยในแววตาไม่มีความหวาดกลัว” นั่นแหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ดูการบุกจาก 3 เมตรของน้อง ดูจังหวะแก้ไขสู้บล๊อค ดูการเข้าทำบอลสูตร อันนี้เราไม่มีความสงสัยใด ๆ เลย ประสบการณ์วันนี้จะสอนบิ๋มเอง


บีมทำไป 31 แต้ม (2.58 per set) spike success rate 36.14% (30/83) reception eff. rate 44.44% (ปิดบอลแรกแมตช์โด), dig 1.7 per set เกมสุดท้ายกับโด ขุดได้ถึง 3 per set
                             มาถึงบอลหลักซึ่งในสนามแรกหวังผลได้มากที่สุด ด้วย success rate 36.14% คือปกติอ่ะ เราค่อนข้างชอบจังหวะการเข้าทำของบีมเป็นทุนเดิน โดยเฉพาะจากเสาขวา และสนามนี้บีมก็ยังทำผลงานได้ดี แต่สิ่งที่ประทับใจกว่าคือการปรับตัวของบีมมาลองชิมบอลแรก ซึ่งมันสำคัญมากนะคะในเชิงแทคติค เพราะอนาคต 3 เสา เพียว บิ๋ม บีม ยังไงซะก็ต้องรับบอลแรก 2 ขา + ลิบ ซึ่งเราว่าทีมงานรู้ดีถึงพยายามเข็นบีมมายืนจุดนี้ แต่ reception เป็นสคิลนึงที่ฝึกยากมาก ต่อให้เป็น OH ระดับโลกก็เถอะ และเราดีใจจริงๆที่บีมเปิดตัวในแมตช์ระดับนี้


บอลเร็ว : หน่อง เตย
หน่องทำแต้มสูงสุดให้ทีมชาติไทย 37 แต้ม (3.08 per set) spike success rate 52.83% (28/53), kill block 0.5 per set
                             ไม่มีทีมไหนแข่งกับไทยแล้วไม่รู้ว่าต้องปิดหน่อง บอลตามน้ำหน่องนุศนี่แทบจะเป็นเครื่องหมายการค้าของเราไปแล้ว แต่สาเหตุที่หน่องยังทำผลงานได้ดีขนาดนี้ เพราะถึงทีมไหนอยากจะปิด มันก็ไม่ใช่จะปิดได้ง่าย ๆ  กับหน่องคงไม่ต้องเขียนอะไรมาก คือมันดีแบบที่ดีมาแทบจะตลอดอ่ะ

เตยทำไป 34 แต้ม (3.09 per set) spike success rate 47.46% (28/59) แมตช์โดต้องเรียกว่าระเบิดฟอร์ม ทำได้ถึง 62.98%, kill block 0.36 per set
                             สไตล์การเล่นของเตยคล้ายหน่องมากๆมาแต่ไหนแต่ไร และเป็น MB ไม่กี่คนที่นุศกล้าเปิดบอลเสี่ยงหรือบอลแก้ไขฉับพลันให้ ซึ่งเตยก็มักจะใช้โอกาสนั้นอย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะแมตช์เจอโด คุมกำแพงด้วย Valdez คุมพื้นที่ด้วย Brenda แต่เตยก็เอาตัวรอดมาได้ด้วย top scorer 18 คะแนน มันพิสูจน์ศักยภาพน้องในระดับนึงเลยนะ

เซตเตอร์ : นุศ
running set 9.45 per set, dig 1.27 per set
                            อันนี้ไม่พูดคงไม่ได้ เราไม่ได้เป็นแฟนคลับนุศ แต่ขอวิเคราะห์ผลงานสนามแรกตามเนื้อผ้านะคะ ข้อแรก นุศไม่เคยได้ running set ต่ำกว่า setter ของฝ่ายตรงข้ามเลยแม้แต่เกมเดียว, ข้อสอง แมตช์เจอโดคือเกมที่นุศทำสถิติ running set สูงสุดที่ 10.25 per set
                            ถามว่า running set มันสำคัญมากหรอ ที่จริง stats ของเซตเตอร์เป็นอะไรที่วัดยากมากค่ะ และ running set หรือการเซตเปิดช่องจนฝ่ายตรงข้ามขึ้นบล๊อคไม่ทันหรือทันแต่ไม่สมบูรณ์ ก็คือตัวชี้วัดซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุดแล้วสำหรับ performance ของเซตเตอร์ และมันยิ่งสำคัญขึ้นไปอีกกับทีมจากเอเชีย เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเล่นบอลพิมพ์นิยมแล้วเอาชนะทีมจากยุโรปหรืออเมริกา ตรงนี้แหละที่บอกว่าเซตเตอร์คือหัวใจของทีม
                            ในแมตช์เจอโด เรามองว่าโค้ชด่วนจงใจเก็บนุศไว้ในสนามเพื่อต่อลมหายใจให้ MB เพราะสถานการณ์ตอนนั้น บอลหลักเราเสียสมาธิไปมากๆๆ ในขณะที่บอลเร็ว ไม่ว่าโดจับยังไงก็เอาไม่อยู่ ในจุดล่อแหลมแบบนั้น การเปลี่ยนเซตเตอร์อาจหมายถึงโยนอาวุธเดียวที่ยังใช้งานได้ทิ้งไป (ซึ่งเราอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับการตัดสินใจของโค้ช 100% นะคะ) แต่ไม่ว่ายังไง แมตช์นั้นส่วนตัวเราชื่นชมนุศมาก ในทุกจังหวะโอกาส นุศไม่ได้ play safe เพื่อปกป้องตัวเองเลย ตรงกันข้าม นุศเลือกเปิดบอลยาก เลือกจะเสี่ยง เพราะรู้ว่ามีแต่วิธีนั้น MB ถึงจะทำแต้มให้ทีมได้ คือเอาจริงเราว่ามันไม่แฟร์กับนุศอ่ะ ที่หลายท่านชื่นชมผลงานบอลเร็ว แล้วถล่มนุศซะยับ วิถีวอลเลย์บอลเอเชีย โดยเฉพาะทีมไทย MB กับ setter เหมือนมีลมหายใจร่วมกัน นี่เรื่องจริง (ส่วนเรื่องเปิดบอลหัวเสาโด่ง ส่วนตัวเราว่านุศจงใจนะคะ สังเกตนุศไม่ได้ยกสูงแบบนั้นเป็นปกติ แต่ด้วยรูปเกมที่บอลหลักเราหมอบไปแล้ว นุศถึงต้องลองเปลี่ยนวิธีตั้งบอล เพื่อให้เวลาหัวเสาได้เตรียมตัวมากขึ้น มันคือการตัดสินใจแบบไม่มีอะไรจะเสีย ซึ่งเราไม่โทษนุศเลย)

ลิบ : แป้น เป็ด
แป้น reception eff. rate 63.51%, dig 1.58 per set
เป็ด dig 1.25 per set
                              สำหรับแป้น สนามนี้เราพอใจผลงานบอลแรกมากเลยนะคะ ในแมตช์เจอโด แป้นรับลูกเสิร์ฟจากเหล่ายอดหญิงพลังหญิงเกือบครึ่งนึงให้ทีมไทย eff 70.73% ทิ้ง Brenda ไม่ติดฝุ่นเลยนะ คือต้องยอมรับด้วยว่าการยืนโซนบอลแรกเรายังไม่แม่นยำเท่าญี่ปุ่น มันทำให้แป้นคุมพื้นที่อะไรกว้างขึ้นด้วย อันนี้ต้องให้เครดิต
                              ส่วนเป็ด ถ้าจะมาคาดคั้นชี้วัดผลงานสนามนี้ก็โหดร้ายเกินไปอ่ะนะคะ ประสบการณ์นานาชาติของเป็ดก็เป็นที่รู้กัน การที่อยู่ ๆ จะมารับตบพลังช้างสารจาก Plak หรือ De la Cruz ให้ได้ในโอกาสแรกมันก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นเราอยากให้โอกาสเป็ดต่อ มีหลายจังหวะเลยที่ทำผลงานได้ดีมาก ก็ขอให้ดีขึ้นไปอีก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่